แท็ก
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 504 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ —13.1 มีการจ้างงานลดลงจากเดือนมีนาคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 12,034 คน ร้อยละ -16.4 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนลดลงเช่นกันจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุน 14,868.87 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ -22.4
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 67 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจำนวน 27 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง มีเงินทุน 1,212 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากพลาสติกมีเงินทุน 824 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 725 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 583 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 165 ราย น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 170 ราย คิดเป็นร้อยละ -2.9 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,641.72 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,796.24 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,812 คน น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,777 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 228 ราย ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,500 คน แต่ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,283.06 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 22 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 17 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คืออุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้วเงินทุน 1,851 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมสี ฝัด หรือขัดข้าว เงินทุน 311 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 417 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว คนงาน 322 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 114 โครงการ น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่มีจำนวน 118 โครงการ ร้อยละ 3.39 และมีเงินลงทุน 22,500 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่มีเงินลงทุน 113,700 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 80.21
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่มีจำนวน 120 โครงการ ร้อยละ 5.0 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 77,200 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 70.85
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 125 48,500
2.โครงการต่างชาติ 100% 123 58,700
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 101 68,900
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2550 คือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 75,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 37,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 67 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจำนวน 27 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง มีเงินทุน 1,212 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากพลาสติกมีเงินทุน 824 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 725 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 583 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 165 ราย น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 170 ราย คิดเป็นร้อยละ -2.9 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,641.72 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,796.24 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,812 คน น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,777 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 228 ราย ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,500 คน แต่ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,283.06 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 22 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 17 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คืออุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้วเงินทุน 1,851 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมสี ฝัด หรือขัดข้าว เงินทุน 311 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 417 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว คนงาน 322 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 114 โครงการ น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่มีจำนวน 118 โครงการ ร้อยละ 3.39 และมีเงินลงทุน 22,500 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่มีเงินลงทุน 113,700 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 80.21
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่มีจำนวน 120 โครงการ ร้อยละ 5.0 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 77,200 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 70.85
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 125 48,500
2.โครงการต่างชาติ 100% 123 58,700
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 101 68,900
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2550 คือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 75,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 37,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-