แท็ก
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นักวิทยาศาสตร์
อลงกรณ์ พลบุตร
โรงแรมคอนราด
อภิสิทธิ์
“ปชป”ชูนโยบายปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นธงนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยหลังจาก ๒ สถาบันระดับโลกไอเอ็มดี.และดับเบิลยูอีเอฟจัดลำดับความสามารถใน การแข่งขันของไทยลดลง “อภิสิทธิ์”ระดมสมองสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำพลิกวิกฤติเป็นโอกาสนำประเทศสู่สังคมฐานความรู้
นายอลงกรณ์ พลบุตร และ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แถลงวันนี้ (๕ ส.ค.)ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ในระดับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญนั่นคือความอ่อนแอทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังจากสถาบันจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (National Competitiveness)ระดับโลก ๒ สถาบันได้แก่ ไอเอ็มดี.(International Institute for Management Development : IMD) และ ดับเบิลยูอีเอฟ.(World Economic Forum : WEF)จัดลำดับความสามารถของประเทศไทยในปี ๒๕๕๐ ลดลง ด้วยเหตุนี้พรรคประชาธิปัตย์โดยวิสัยทัศน์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคจึงมีนโยบายให้พลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการกำหนดแนวทางการปฏิรูปวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นธงนำของยุทธศาสตร์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อปรับรากฐานระดับโครงสร้างของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศครั้งใหญ่โดยจะมีการระดมความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศอาทิ ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รศ.ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ดร.เกรียงศักดิ์ ศิริพงษาโรจน์ และดร.รุ่งเรือง ลิ้ม ชูปฏิภาณ์ ผู้เขียนหนังสือ “ การสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย”ร่วมเสวนาเชิงนโยบาย ในวันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคมนี้ เวลา ๑๓.๐๐ น.ที่พรรคประชาธิปัตย์เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society)
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ประเทศจีนเพิ่งเปิดประเทศได้ ๑๐ กว่าปีก็สามารถพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดเพราะใช้วิยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแนวทางหลักเช่นเดียวกับ เกาหลี สิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น วันนี้ประเทศไทยจะต้องแก้จุดอ่อนสร้างจุดแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งใหญ่บนความร่วมมือ ๓ ประสานระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาควิชาการ โดยเฉพาะการเพิ่มงบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D)และการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่สู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2550--จบ--
นายอลงกรณ์ พลบุตร และ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แถลงวันนี้ (๕ ส.ค.)ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ในระดับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญนั่นคือความอ่อนแอทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังจากสถาบันจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (National Competitiveness)ระดับโลก ๒ สถาบันได้แก่ ไอเอ็มดี.(International Institute for Management Development : IMD) และ ดับเบิลยูอีเอฟ.(World Economic Forum : WEF)จัดลำดับความสามารถของประเทศไทยในปี ๒๕๕๐ ลดลง ด้วยเหตุนี้พรรคประชาธิปัตย์โดยวิสัยทัศน์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคจึงมีนโยบายให้พลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการกำหนดแนวทางการปฏิรูปวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นธงนำของยุทธศาสตร์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อปรับรากฐานระดับโครงสร้างของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศครั้งใหญ่โดยจะมีการระดมความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศอาทิ ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รศ.ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ดร.เกรียงศักดิ์ ศิริพงษาโรจน์ และดร.รุ่งเรือง ลิ้ม ชูปฏิภาณ์ ผู้เขียนหนังสือ “ การสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย”ร่วมเสวนาเชิงนโยบาย ในวันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคมนี้ เวลา ๑๓.๐๐ น.ที่พรรคประชาธิปัตย์เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society)
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ประเทศจีนเพิ่งเปิดประเทศได้ ๑๐ กว่าปีก็สามารถพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดเพราะใช้วิยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแนวทางหลักเช่นเดียวกับ เกาหลี สิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น วันนี้ประเทศไทยจะต้องแก้จุดอ่อนสร้างจุดแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งใหญ่บนความร่วมมือ ๓ ประสานระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาควิชาการ โดยเฉพาะการเพิ่มงบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D)และการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่สู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2550--จบ--