สสร. ไทยอาสาที่ช่วยป้องกันวิกฤตได้
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
26 เมษายน 2550
“เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารตามมาตรา 26 แล้ว หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มให้กระทำได้ เมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ ......”
ข้อความข้างต้นนี้ ก็คือข้อความใน มาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 ที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานี้ ซึ่งวันสองวันนี้ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ก็คงจะได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่ คณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำเสร็จแล้วครบถ้วนทั่วถึงกันทุกคน และหาก สสร. ท่านใดประสงค์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรก็ให้กระทำได้ตามที่ได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวดังกล่าวข้างต้นนี้
ผมเชื่อว่าคงมี สสร. ขอแปรญัตติ หรือขอแก้ไขเพิ่มเติมกันเป็นจำนวนมากแน่นอน ซึ่งสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกเหนือจากความสำคัญของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กฎหมายอื่นต้องเดินตามและไม่อาจขัดแย้งได้แล้ว ตลอดระยะเวลาของการยกร่างก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมาก ถึงความไม่เหมาะสมในประเด็นสำคัญ ๆ ต่าง ๆ มากมาย และแม้กระทั่งเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำเสร็จแล้ว เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ไม่ได้ลดลงแต่ประการใด
เช่นข้อวิพากษ์วิจารณ์ของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ของมูลนิธิองค์กรกลางซึ่งไปไกลถึงขนาด ไม่อาจรับได้ในการทำประชามติ หากไมมีการแก้ไขในประเด็นหลัก ๆ ซึ่งก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับความเห็นของนักวิชาการบางท่าน และก็ยังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ของบรรดาสื่อมวลชน นักวิชาการ นักการเมือง และผู้สนใจ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการเคลื่อนไหว ชุมนุม ซึ่งมีข้อเรียกร้องประกอบด้วย
เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนโน้น ผมได้เขียนบทความแสดงความวิตกกังวลเอาไว้ว่า หากคณะกรรมาธิการยกร่าง และสภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำรัฐธรรมนูญ ที่สวนทางกับความรู้สึกของคนจำนวนมากจนถึงขนาดเกิดอาการรับไม่ได้ขึ้นมา ก็จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ที่ค่อนข้างจะตึงเครียดอยู่แล้วในเวลานี้ให้เกิดความตึงเครียดมากยิ่งขึ้นและก็อาจกลายเป็นการจุดชนวนระเบิดให้เกิดวิกฤตในประเทศได้ ซึ่งเมื่อมาถึงวันนี้ ผมก็ยังมีความรู้สึกวิตกกังวลอยู่เช่นเดิมและดูจะยิ่งมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เมื่อเห็นประเด็นข้อขัดแย้งในร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบวกกับการเคลื่อนไหวคัดค้านที่เกิดขึ้นและข่าวคราวความเคลื่อนไหวคัดค้านที่จะมีขึ้นต่อไปอีก ทั้งของกลุ่มองค์กรพระพุทธศาสนา และกลุ่มประชาชนอื่น ๆ ซึ่งมีสัญญาณบอกเหตุว่าจะเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นทุกที เข้มข้นถึงขนาดที่ใครต่อใครหลายคนกล้าฟันธงว่า รัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านการจัดทำประชามติเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญจะผ่านการจัดทำประชามติหรือไม่ผ่าน หรือการจัดทำรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นการจุดชนวนระเบิดให้เกิดวิกฤตหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับบรรดาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ บรรดาสสร.ทั้งหลายนั่นเอง
เพราะบรรดาข้อขัดแย้งทั้งหลายในร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำแล้วเสร็จนั้น สามารถที่จะแก้ไขได้ ในขั้นตอนของการขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม โดยสสร. และในชั้นพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทั้งสิ้น
กล่าวคือว่า ประเด็นใดที่เป็นข้อขัดแย้งเพราะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับที่คณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำมาเมื่อมี สสร. เสนอข้อแก้ไขโดยมี สสร. ด้วยกันเข้าชื่อรับรองให้ไม่น้อยกว่า 10 คน (1 ใน 10 ของจำนวน สสร. ที่มีอยู่) แล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประเด็นนั้นก็จะได้รับการแก้ไขตามที่ สสร. เสนอขอแก้ไข ซึ่งก็เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 28 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ถ้าประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งนั้นเป็นประเด็นที่สวนทางกับความรู้สึกของคนจำนวนมากถึงขนาดเกิดอาการรับไม่ได้ และจะกลายเป็นชนวนระเบิดให้เกิดวิกฤต ขณะนี้ สสร. และสภาร่างรัฐธรรมนูญก็อยู่ในฐานะของนักกู้ระเบิด ที่จะช่วยกันกู้ระเบิดไม่ให้เกิดวิกฤตได้โดย สสร. ขอแก้ไขเพิ่มเติมและสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นชอบเท่านี้ก็เรียบร้อย
ปัญหาจึงมีว่า สสร. และสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก็คือบรรดา สสร. ทั้งหลายจะมีความเต็มใจที่จะช่วยกู้ระเบิด เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตหรือไม่ ซึ่งก็คงจะไม่มีใครไม่เต็มใจ หากเห็นว่าจะระเบิดและจะเกิดวิกฤตจริง ๆ
ปัญหาที่มีอยู่ จึงน่าจะมีแต่เพียงว่า สสร. อาจจะมองข้ามไป โดยเห็นว่าไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ขัดแย้งอย่างรุนแรงถึงขนาดรับกันไม่ได้หรือไม่ก็อาจเชื่อมั่นในความคิดเห็นของคนเอง และมุ่งที่จะให้เป็นไปตามความคิดเห็นนั้นเป็นสำคัญ จนกลายเป็นตั้งอยู่ในความประมาท
ผมจึงอยากเห็นท่าน สสร. ทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในความประมาทดังที่กล่าวมานี้ หากแต่ควรจะได้พิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่าง อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้รู้แจ้งชัดในข้อขัดแย้งที่มี เพื่อช่วยกันป้องกันมิให้ การจัดทำรัฐธรรมนูญ ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เกิดวิกฤตได้ดังนี้
1. สสร. พึงตระหนักว่า สถานการณ์บ้านเมืองโดยทั่วไปในขณะนี้มีแนวโน้มอันตรายที่อาจจะกลายเป็นวิกฤตได้เสมอ หากมีปัญหาและสถานการณ์ร้ายแรงใดเพิ่มเติมขึ้นมาอีก
2. สสร. ควรแสดงทีท่าให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อให้สังคมมั่นใจได้ว่าไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ในร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขไม่ได้ และก็พร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นกลไกรับแก้ไขให้ในข้อเรียกร้องที่มีเหตุผลรับฟังได้และจำเป็นต้องแก้ไข
3. เร่งพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างประกอบกับข้อวิพากษ์วิจารณ์และข้อเรียกร้องของทุกฝ่าย เมื่อเห็นว่าข้อขัดแย้งใดมีเหตุผลเพียงพอที่จะแก้ไข ก็ควรที่จะได้ร่วมมือกันแก้ไข
4. ข้อขัดแย้งใดที่เคยเป็นปัญหามาแล้วในอดีต หรือมีลักษณะสืบทอดอำนาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือที่ขัดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยหรือมีความล้าหลังไปกว่ารัฐธรรมนูญเดิม ข้อขัดแย้งนั้นควรที่จะได้ร่วมมือกันแก้ไขในทันที
หาก สสร. จะได้ร่วมมือกันเช่นนี้ พวกเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะไม่ต้องมานั่งวิตกกังวลกันว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านการจัดทำประชามติหรือเกิดวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เพราะมีไทยอาสาคือ สสร. ทั้งหลายพร้อมที่จะช่วยป้องกันไว้ให้แล้ว.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 เม.ย. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
26 เมษายน 2550
“เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารตามมาตรา 26 แล้ว หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มให้กระทำได้ เมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ ......”
ข้อความข้างต้นนี้ ก็คือข้อความใน มาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 ที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานี้ ซึ่งวันสองวันนี้ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ก็คงจะได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่ คณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำเสร็จแล้วครบถ้วนทั่วถึงกันทุกคน และหาก สสร. ท่านใดประสงค์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรก็ให้กระทำได้ตามที่ได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวดังกล่าวข้างต้นนี้
ผมเชื่อว่าคงมี สสร. ขอแปรญัตติ หรือขอแก้ไขเพิ่มเติมกันเป็นจำนวนมากแน่นอน ซึ่งสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกเหนือจากความสำคัญของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กฎหมายอื่นต้องเดินตามและไม่อาจขัดแย้งได้แล้ว ตลอดระยะเวลาของการยกร่างก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมาก ถึงความไม่เหมาะสมในประเด็นสำคัญ ๆ ต่าง ๆ มากมาย และแม้กระทั่งเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำเสร็จแล้ว เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ไม่ได้ลดลงแต่ประการใด
เช่นข้อวิพากษ์วิจารณ์ของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ของมูลนิธิองค์กรกลางซึ่งไปไกลถึงขนาด ไม่อาจรับได้ในการทำประชามติ หากไมมีการแก้ไขในประเด็นหลัก ๆ ซึ่งก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับความเห็นของนักวิชาการบางท่าน และก็ยังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ของบรรดาสื่อมวลชน นักวิชาการ นักการเมือง และผู้สนใจ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการเคลื่อนไหว ชุมนุม ซึ่งมีข้อเรียกร้องประกอบด้วย
เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนโน้น ผมได้เขียนบทความแสดงความวิตกกังวลเอาไว้ว่า หากคณะกรรมาธิการยกร่าง และสภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำรัฐธรรมนูญ ที่สวนทางกับความรู้สึกของคนจำนวนมากจนถึงขนาดเกิดอาการรับไม่ได้ขึ้นมา ก็จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ที่ค่อนข้างจะตึงเครียดอยู่แล้วในเวลานี้ให้เกิดความตึงเครียดมากยิ่งขึ้นและก็อาจกลายเป็นการจุดชนวนระเบิดให้เกิดวิกฤตในประเทศได้ ซึ่งเมื่อมาถึงวันนี้ ผมก็ยังมีความรู้สึกวิตกกังวลอยู่เช่นเดิมและดูจะยิ่งมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เมื่อเห็นประเด็นข้อขัดแย้งในร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบวกกับการเคลื่อนไหวคัดค้านที่เกิดขึ้นและข่าวคราวความเคลื่อนไหวคัดค้านที่จะมีขึ้นต่อไปอีก ทั้งของกลุ่มองค์กรพระพุทธศาสนา และกลุ่มประชาชนอื่น ๆ ซึ่งมีสัญญาณบอกเหตุว่าจะเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นทุกที เข้มข้นถึงขนาดที่ใครต่อใครหลายคนกล้าฟันธงว่า รัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านการจัดทำประชามติเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญจะผ่านการจัดทำประชามติหรือไม่ผ่าน หรือการจัดทำรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นการจุดชนวนระเบิดให้เกิดวิกฤตหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับบรรดาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ บรรดาสสร.ทั้งหลายนั่นเอง
เพราะบรรดาข้อขัดแย้งทั้งหลายในร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำแล้วเสร็จนั้น สามารถที่จะแก้ไขได้ ในขั้นตอนของการขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม โดยสสร. และในชั้นพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทั้งสิ้น
กล่าวคือว่า ประเด็นใดที่เป็นข้อขัดแย้งเพราะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับที่คณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำมาเมื่อมี สสร. เสนอข้อแก้ไขโดยมี สสร. ด้วยกันเข้าชื่อรับรองให้ไม่น้อยกว่า 10 คน (1 ใน 10 ของจำนวน สสร. ที่มีอยู่) แล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประเด็นนั้นก็จะได้รับการแก้ไขตามที่ สสร. เสนอขอแก้ไข ซึ่งก็เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 28 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ถ้าประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งนั้นเป็นประเด็นที่สวนทางกับความรู้สึกของคนจำนวนมากถึงขนาดเกิดอาการรับไม่ได้ และจะกลายเป็นชนวนระเบิดให้เกิดวิกฤต ขณะนี้ สสร. และสภาร่างรัฐธรรมนูญก็อยู่ในฐานะของนักกู้ระเบิด ที่จะช่วยกันกู้ระเบิดไม่ให้เกิดวิกฤตได้โดย สสร. ขอแก้ไขเพิ่มเติมและสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นชอบเท่านี้ก็เรียบร้อย
ปัญหาจึงมีว่า สสร. และสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก็คือบรรดา สสร. ทั้งหลายจะมีความเต็มใจที่จะช่วยกู้ระเบิด เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตหรือไม่ ซึ่งก็คงจะไม่มีใครไม่เต็มใจ หากเห็นว่าจะระเบิดและจะเกิดวิกฤตจริง ๆ
ปัญหาที่มีอยู่ จึงน่าจะมีแต่เพียงว่า สสร. อาจจะมองข้ามไป โดยเห็นว่าไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ขัดแย้งอย่างรุนแรงถึงขนาดรับกันไม่ได้หรือไม่ก็อาจเชื่อมั่นในความคิดเห็นของคนเอง และมุ่งที่จะให้เป็นไปตามความคิดเห็นนั้นเป็นสำคัญ จนกลายเป็นตั้งอยู่ในความประมาท
ผมจึงอยากเห็นท่าน สสร. ทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในความประมาทดังที่กล่าวมานี้ หากแต่ควรจะได้พิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่าง อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้รู้แจ้งชัดในข้อขัดแย้งที่มี เพื่อช่วยกันป้องกันมิให้ การจัดทำรัฐธรรมนูญ ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เกิดวิกฤตได้ดังนี้
1. สสร. พึงตระหนักว่า สถานการณ์บ้านเมืองโดยทั่วไปในขณะนี้มีแนวโน้มอันตรายที่อาจจะกลายเป็นวิกฤตได้เสมอ หากมีปัญหาและสถานการณ์ร้ายแรงใดเพิ่มเติมขึ้นมาอีก
2. สสร. ควรแสดงทีท่าให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อให้สังคมมั่นใจได้ว่าไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ในร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขไม่ได้ และก็พร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นกลไกรับแก้ไขให้ในข้อเรียกร้องที่มีเหตุผลรับฟังได้และจำเป็นต้องแก้ไข
3. เร่งพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างประกอบกับข้อวิพากษ์วิจารณ์และข้อเรียกร้องของทุกฝ่าย เมื่อเห็นว่าข้อขัดแย้งใดมีเหตุผลเพียงพอที่จะแก้ไข ก็ควรที่จะได้ร่วมมือกันแก้ไข
4. ข้อขัดแย้งใดที่เคยเป็นปัญหามาแล้วในอดีต หรือมีลักษณะสืบทอดอำนาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือที่ขัดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยหรือมีความล้าหลังไปกว่ารัฐธรรมนูญเดิม ข้อขัดแย้งนั้นควรที่จะได้ร่วมมือกันแก้ไขในทันที
หาก สสร. จะได้ร่วมมือกันเช่นนี้ พวกเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะไม่ต้องมานั่งวิตกกังวลกันว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านการจัดทำประชามติหรือเกิดวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เพราะมีไทยอาสาคือ สสร. ทั้งหลายพร้อมที่จะช่วยป้องกันไว้ให้แล้ว.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 เม.ย. 2550--จบ--