เมื่อวันที่ 10 มีนาคมนี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช ให้ความเห็นถึงการกำหนดในร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้นักการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในธุรกิจสื่อว่า เป็นหลักการที่ดีมาก แม้ว่าในทางปฏิบัติ นักการเมืองที่คิดจะแทรกแซงหรือครอบครองสื่อด้วยการซื้อธุรกิจ จะมีกลวิธีหลบหลีกได้มากมายก็ตาม แต่การเขียนบัญญัติไว้จะช่วยกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักและช่วยกันตรวจสอบกันมากขึ้น ทั้งนี้หลักการดังกล่าวจะเป็นจริงมากขึ้นได้ ต้องบัญญัติรายละเอียดที่ชัดเจนไว้ในกฎหมายลูก ทั้งใน พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะออกมาในอนาคตด้วย
นายอภิชาต กล่าวว่า ในอนาคตรัฐจะต้องสนับสนุนให้มีองค์กรอิสระตรวจสอบการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างจริงจัง เพื่อให้สื่อมวลชนทำหน้าที่อยู่บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ใช่แอบอิง ซ่อนเร้น เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง หรือกลุ่มทุน รวมทั้งให้องค์กรอิสระดังกล่าวคอยตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงในองค์กรสื่อต่างๆ ที่อาจจะกระทบต่อการทำหน้าที่ตามหลักการแห่งวิชาชีพ เช่น การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น, การปรับผังรายการ, การแสดงบทบาทในแต่ละช่วงสถานการณ์ที่อาจจะมีวาระซ่อนเร้น ขาดความเที่ยงธรรม หรือการนำเสนอเนื้อหาสาระที่หมิ่นเหม่ว่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบสุข เสื่อมเสียศีลธรรม ฯลฯ
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า องค์กรอิสระดังกล่าวอาจจัดตั้งเป็นรูปแบบคณะกรรมการที่มีมาจากภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ตัวแทนภาครัฐ สมาคมวิชาชีพสื่อ องค์กรด้านคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ เป็นต้น โดยมีโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน และต่อเนื่อง เมื่อพบเห็นสิ่งไม่ชอบมาพากลในการทำหน้าที่ของสื่อ ก็ต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ศึกษา ตรวจสอบ แล้วบอกเตือนกับสังคมเป็นระยะ ๆ ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์กลุ่มเล็ก ๆ พยายามตรวจสอบสื่อทำนองนี้มาแล้ว แต่ไม่มีกลไกรองรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพจึงทำได้เพียงการวิจารณ์เป็นครั้งคราวเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 มี.ค. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า ในอนาคตรัฐจะต้องสนับสนุนให้มีองค์กรอิสระตรวจสอบการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างจริงจัง เพื่อให้สื่อมวลชนทำหน้าที่อยู่บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ใช่แอบอิง ซ่อนเร้น เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง หรือกลุ่มทุน รวมทั้งให้องค์กรอิสระดังกล่าวคอยตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงในองค์กรสื่อต่างๆ ที่อาจจะกระทบต่อการทำหน้าที่ตามหลักการแห่งวิชาชีพ เช่น การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น, การปรับผังรายการ, การแสดงบทบาทในแต่ละช่วงสถานการณ์ที่อาจจะมีวาระซ่อนเร้น ขาดความเที่ยงธรรม หรือการนำเสนอเนื้อหาสาระที่หมิ่นเหม่ว่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบสุข เสื่อมเสียศีลธรรม ฯลฯ
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า องค์กรอิสระดังกล่าวอาจจัดตั้งเป็นรูปแบบคณะกรรมการที่มีมาจากภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ตัวแทนภาครัฐ สมาคมวิชาชีพสื่อ องค์กรด้านคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ เป็นต้น โดยมีโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน และต่อเนื่อง เมื่อพบเห็นสิ่งไม่ชอบมาพากลในการทำหน้าที่ของสื่อ ก็ต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ศึกษา ตรวจสอบ แล้วบอกเตือนกับสังคมเป็นระยะ ๆ ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์กลุ่มเล็ก ๆ พยายามตรวจสอบสื่อทำนองนี้มาแล้ว แต่ไม่มีกลไกรองรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพจึงทำได้เพียงการวิจารณ์เป็นครั้งคราวเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 มี.ค. 2550--จบ--