แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
อรรชกา สีบุญเรือง
มหาวิทยาลัยบูรพา
โรงแรมคอนราด
สศอ.ชี้ ปิโตรเคมี ปี 2550 หืดจับ เหตุตลาดโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันผันผวน ผู้นำเข้าแต่ละประเทศเริ่มผลิตใช้เอง แนะทำตลาดในประเทศ หนุนผู้ผลิตขนาดกลางและเล็กให้แกร่ง ก่อนลุยตลาดนอก
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในปี 2549 และคาดการณ์แนวโน้มปี 2550 โดยพบว่า ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2550 จะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งมีผลโดยตรงต่อราคาวัตถุดิบที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อีกทั้งภาวะความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลกเริ่มชะลอลง เนื่องจากแต่ละประเทศได้ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของตนและใช้วัตถุดิบภายในประเทศ อีกทั้งยังมีการร่วมทุนระหว่างประเทศในการผลิตและใช้วัตถุดิบ และมีข้อตกลงในการจัดสรรสัดส่วนวัตถุดิบที่ผลิตได้มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงไม่ควรมองข้ามตลาดในประเทศ โดยการพัฒนาและให้การส่งเสริม สนับสนุนผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปลายทาง เช่น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อเป็นแหล่งรองรับวัตถุดิบปิโตรเคมีที่ผลิตได้ต่อไป
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สถานการณ์ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมากจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ทั้งนี้มีสาเหตุจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองนิวเคลียร์ของอิหร่าน การทดลองยิงขีปนาวุธในเกาหลีเหนือ ภาวะสงครามในเลบานอน และความไม่สงบทางการเมืองของไนจีเรีย หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแผนขยายกำลังการผลิตของตน โดยมีการลงทุนในเอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย อินเดีย จีน โอมาน ฟิลิปปินส์ และอิหร่าน โดยกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปลายปี 2549 เป็นต้นไป
ด้าน การตลาด มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2549 มีมูลค่า 22,854.89 36,987.95 และ 61,105.23 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 135 ส่วนมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นกลาง และขั้นปลายลดลงร้อยละ 22.56 และ 5.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2548 ส่วนมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายในปี 2549 มีมูลค่า 27,694.41 41,729.94 และ 151,468.05 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อยละ 24.41 ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.46 และ 0.10 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในปี 2549 และคาดการณ์แนวโน้มปี 2550 โดยพบว่า ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2550 จะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งมีผลโดยตรงต่อราคาวัตถุดิบที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อีกทั้งภาวะความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลกเริ่มชะลอลง เนื่องจากแต่ละประเทศได้ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของตนและใช้วัตถุดิบภายในประเทศ อีกทั้งยังมีการร่วมทุนระหว่างประเทศในการผลิตและใช้วัตถุดิบ และมีข้อตกลงในการจัดสรรสัดส่วนวัตถุดิบที่ผลิตได้มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงไม่ควรมองข้ามตลาดในประเทศ โดยการพัฒนาและให้การส่งเสริม สนับสนุนผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปลายทาง เช่น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อเป็นแหล่งรองรับวัตถุดิบปิโตรเคมีที่ผลิตได้ต่อไป
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สถานการณ์ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมากจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ทั้งนี้มีสาเหตุจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองนิวเคลียร์ของอิหร่าน การทดลองยิงขีปนาวุธในเกาหลีเหนือ ภาวะสงครามในเลบานอน และความไม่สงบทางการเมืองของไนจีเรีย หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแผนขยายกำลังการผลิตของตน โดยมีการลงทุนในเอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย อินเดีย จีน โอมาน ฟิลิปปินส์ และอิหร่าน โดยกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปลายปี 2549 เป็นต้นไป
ด้าน การตลาด มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2549 มีมูลค่า 22,854.89 36,987.95 และ 61,105.23 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 135 ส่วนมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นกลาง และขั้นปลายลดลงร้อยละ 22.56 และ 5.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2548 ส่วนมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายในปี 2549 มีมูลค่า 27,694.41 41,729.94 และ 151,468.05 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อยละ 24.41 ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.46 และ 0.10 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-