กรุงเทพ--23 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม มีกำหนดการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 22 — 23 มีนาคม 2550 ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ระหว่างการเยือนครั้งนี้ นายนิตย์ฯ จะได้เข้าหารือกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คาดว่า ทั้งสองฝ่ายจะได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนปากีสถาน อียิปต์ และซูดาน
นายสวนิตย์ คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่การกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดการเยือนประเทศปากีสถาน ระหว่างวันที่ 4 — 7 เมษายน 2550 และ ประเทศอียิปต์และประเทศซูดาน ระหว่างวันที่ 17 — 11 เมษายน 2550 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดำเนินด้วยดีมาอย่างต่อเนื่องให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นมิตรประเทศที่เข้าใจและสนับสนุนไทยมาโดยตลอด
ในการเดินทางเยือนครั้งนี้ นายสวนิตย์ฯ มีกำหนดการเข้าพบและหารือร่วมกับบุคคลสำคัญ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ และ แกรนด์ เช็ค แห่ง อัล-อัซฮาร์ ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ของประเทศอียิปต์ รวมทั้งจะได้มีโอกาสพบปะกับนักเรียนมุสลิมชาวไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศอียิปต์ และปากีสถานเป็นต้น
3. การเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีศรีลังกา
นายรัตนศิริ วิกรามานายากา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา มีกำหนดการเดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อการเจรจาการทำงาน (Working Visit) ในระหว่างวันที่ 29 มีนาคม-1 เมษายน 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยี่ยมเยือนฉันมิตรประเทศ ตามกำหนดการนายกรัฐมนตรีศรีลังกาจะเข้าเยี่ยมคารวะพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 เพื่อหารือข้อราชการ หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีของไทยจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีศรีลังกา
4. ผลการดำเนินการโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาไทยมุสลิมในอียิปต์ เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2550 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร และคณะเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิมที่กำลังศึกษาอยู่ในอียิปต์ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 2,000 คน (อียิปต์เป็นประเทศที่มีนักศึกษาไทยรวมตัวอยู่ด้วยกันมากที่สุด)
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการดำเนินการครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้แก่นักศึกษา เช่น การพิสูจน์อาหารฮาลาลด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ ว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านวิทยาการอาหารฮาลาล
การดำเนินการในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิมได้มีโอกาสและทางเลือกเพิ่มขึ้นในการประกอบอาชีพในอนาคต อันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรของไทยของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมุสลิมที่มีนักศึกษาไทยมุสลิมไปศึกษาอยู่ กำลังดำเนินโครงการหลายด้านด้วยกัน เพื่อดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุน และสร้างโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิม
5. ผลการประชุม CICA
ผลการประชุมคณะทำงานพิเศษและเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชียหรือ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA ในระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม CICA ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการประชุม CICA นอกประเทศคาซัคสถาน โดยมีผู้เข้าร่วม 16 ประเทศ และผู้สังเกตการณ์จากมาเลเซีย เวียดนาม และ League of Arab States โดยทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานได้เดินทางเข้าร่วมในการประชุมด้วย
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก โดยที่ประชุมมีการหารือด้านมาตรการความร่วมมือใน 4 สาขา ได้แก่1) เศรษฐกิจ อาทิ การส่งเสริมความเชื่อมโยงและความปลอดภัยด้านการขนส่ง การตรวจลงตรา การท่องเที่ยว การเงิน การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้า 2) สิ่งแวดล้อม 3) ด้านมนุษย์ (human dimension) 4) สิ่งท้าทายใหม่ อาทิ ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านอาชญกรรมข้ามชาติ และความร่วมมือด้านโรคติดต่อและโรคระบาด
ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการประชุมครั้งนี้ในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศ สมาชิกอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงความมั่นใจและความใกล้ชิดที่ประเทศเหล่านี้มีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ ประเทศคาซัคสถานได้เพิ่มเที่ยวบินตรงมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากการที่ประเทศทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
6. ไทยจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4
ในวันที่ 26 มีนาคม 2550 เวลา 10.00 น. ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ (Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand and the Philippines — JC) ครั้งที่ 4 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและนายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์เป็นประธานร่วมกัน ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีด้วย
คณะกรรมาธิการร่วมฯ จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2536 เพื่อเป็นกลไกหารือและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้ประชุมร่วมกันมาแล้ว 3 ครั้ง
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ในครั้งนี้จะมีการหารือร่วมกันใน 8 สาขาหลัก คือ
1) ด้านการค้าและการลงทุน 2) ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม 3) ด้านวิชาการและวัฒนธรรม 4) ด้านการท่องเที่ยวและการขนส่ง 5) ด้านแรงงาน ทรัพยากรบุคคล และกฎหมาย
6) ประเด็นที่เกี่ยวกับภาษี 7) ด้านพลังงาน และ 8) ความร่วมมือด้านความมั่นคง
7. กระทรวงการต่างประเทศจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่บริการชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศจะจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการรับ คำร้องทำหนังสือเดินทางแก่ชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยจะเปิดให้บริการ ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ 22-27 มีนาคม 2550
การดำเนินการดังกล่าวเป็นการให้บริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ครั้งที่ 2 ในปี 2550 (ก่อนหน้านี้ มีการส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนที่จังหวัดปัตตานีในเดือนกุมภาพันธ์ 2550) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินภารกิจตามนโยบายการทูตเพื่อประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารและจังหวัดที่ไม่มีสำนักงานหนังสือเดินทางตั้งอยู่
กระทรวงการต่างประเทศมีสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวในพื้นที่ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลาและสุราษฎ์ธานี และที่ผ่านมา ได้มีการส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนเป็นระยะ โดยเมื่อปี 2548 กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชน 31 ครั้ง รวมทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยะลา นราธิวาส และปัตตานี และเมื่อปี 2549 ให้บริการ 32 ครั้งรวมถึงจังหวัดปัตตานี ชุมพร ภูเก็ต และสุราษฎ์ธานี
ประเด็นคำถาม
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบคำถามสื่อมวลชนที่เกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมทักษะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้แก่นักศึกษาไทยในอียิปต์ และการดูแลนักศึกษาไทยมุสลิมในต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์และความใกล้ชิดระหว่างสถานเอกอัครราชทูตไทยในอียิปต์กับนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ โดยเน้นในด้านอาหาร การแพทย์ และการกีฬา (ฟุตบอล) เพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพให้แก่นักศึกษาไทยเมื่อจบการศึกษาและกลับประเทศไทย
2. สำหรับนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาในประเทศอื่นๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย และซูดาน รัฐบาลไทย โดยเฉพาะสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศดังกล่าว ดำเนินนโยบายที่สร้างความเชื่อมั่นและอุ่นใจกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในประเทศเหล่านั้น มาโดยตลอด อาทิเช่น ประเทศปากีสถาน ผู้บัญชาการทหารบกได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนนักศึกษา เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศปากีสถานก็ได้เปิดทำเนียบเลี้ยงอาหารนักศึกษาเป็นประจำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังจะเดินทางไปเยือนประเทศปากีสถาน มีจุดมุ่งหมายที่จะพบปะนักศึกษาด้วย
3. สำหรับการจัดหาอาชีพเพื่อรองรับนักศึกษากว่า 3 พันที่เดินทางกลับมาประเทศไทย รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงศึกษาธิการ กำลังดำเนินการเพื่อรับรองวิทยะฐานะของนักศึกษาดังกล่าว โดยอาจจะมีการเรียนหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อเปิดช่องการทำงานให้กว้างมากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้รับนักศึกษาจำนวนหนึ่งเพื่ออบรมดูงาน โดยในปีนี้ จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาดูงานให้มากขึ้นอีก นอกจากนั้น ก็มีบุคลากรจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บรรจุเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม มีกำหนดการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 22 — 23 มีนาคม 2550 ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ระหว่างการเยือนครั้งนี้ นายนิตย์ฯ จะได้เข้าหารือกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คาดว่า ทั้งสองฝ่ายจะได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนปากีสถาน อียิปต์ และซูดาน
นายสวนิตย์ คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่การกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดการเยือนประเทศปากีสถาน ระหว่างวันที่ 4 — 7 เมษายน 2550 และ ประเทศอียิปต์และประเทศซูดาน ระหว่างวันที่ 17 — 11 เมษายน 2550 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดำเนินด้วยดีมาอย่างต่อเนื่องให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นมิตรประเทศที่เข้าใจและสนับสนุนไทยมาโดยตลอด
ในการเดินทางเยือนครั้งนี้ นายสวนิตย์ฯ มีกำหนดการเข้าพบและหารือร่วมกับบุคคลสำคัญ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ และ แกรนด์ เช็ค แห่ง อัล-อัซฮาร์ ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ของประเทศอียิปต์ รวมทั้งจะได้มีโอกาสพบปะกับนักเรียนมุสลิมชาวไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศอียิปต์ และปากีสถานเป็นต้น
3. การเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีศรีลังกา
นายรัตนศิริ วิกรามานายากา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา มีกำหนดการเดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อการเจรจาการทำงาน (Working Visit) ในระหว่างวันที่ 29 มีนาคม-1 เมษายน 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยี่ยมเยือนฉันมิตรประเทศ ตามกำหนดการนายกรัฐมนตรีศรีลังกาจะเข้าเยี่ยมคารวะพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 เพื่อหารือข้อราชการ หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีของไทยจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีศรีลังกา
4. ผลการดำเนินการโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาไทยมุสลิมในอียิปต์ เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2550 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร และคณะเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิมที่กำลังศึกษาอยู่ในอียิปต์ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 2,000 คน (อียิปต์เป็นประเทศที่มีนักศึกษาไทยรวมตัวอยู่ด้วยกันมากที่สุด)
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการดำเนินการครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้แก่นักศึกษา เช่น การพิสูจน์อาหารฮาลาลด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ ว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านวิทยาการอาหารฮาลาล
การดำเนินการในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิมได้มีโอกาสและทางเลือกเพิ่มขึ้นในการประกอบอาชีพในอนาคต อันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรของไทยของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมุสลิมที่มีนักศึกษาไทยมุสลิมไปศึกษาอยู่ กำลังดำเนินโครงการหลายด้านด้วยกัน เพื่อดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุน และสร้างโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิม
5. ผลการประชุม CICA
ผลการประชุมคณะทำงานพิเศษและเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชียหรือ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA ในระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม CICA ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการประชุม CICA นอกประเทศคาซัคสถาน โดยมีผู้เข้าร่วม 16 ประเทศ และผู้สังเกตการณ์จากมาเลเซีย เวียดนาม และ League of Arab States โดยทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานได้เดินทางเข้าร่วมในการประชุมด้วย
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก โดยที่ประชุมมีการหารือด้านมาตรการความร่วมมือใน 4 สาขา ได้แก่1) เศรษฐกิจ อาทิ การส่งเสริมความเชื่อมโยงและความปลอดภัยด้านการขนส่ง การตรวจลงตรา การท่องเที่ยว การเงิน การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้า 2) สิ่งแวดล้อม 3) ด้านมนุษย์ (human dimension) 4) สิ่งท้าทายใหม่ อาทิ ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านอาชญกรรมข้ามชาติ และความร่วมมือด้านโรคติดต่อและโรคระบาด
ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการประชุมครั้งนี้ในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศ สมาชิกอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงความมั่นใจและความใกล้ชิดที่ประเทศเหล่านี้มีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ ประเทศคาซัคสถานได้เพิ่มเที่ยวบินตรงมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากการที่ประเทศทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
6. ไทยจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4
ในวันที่ 26 มีนาคม 2550 เวลา 10.00 น. ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ (Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand and the Philippines — JC) ครั้งที่ 4 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและนายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์เป็นประธานร่วมกัน ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีด้วย
คณะกรรมาธิการร่วมฯ จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2536 เพื่อเป็นกลไกหารือและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้ประชุมร่วมกันมาแล้ว 3 ครั้ง
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ในครั้งนี้จะมีการหารือร่วมกันใน 8 สาขาหลัก คือ
1) ด้านการค้าและการลงทุน 2) ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม 3) ด้านวิชาการและวัฒนธรรม 4) ด้านการท่องเที่ยวและการขนส่ง 5) ด้านแรงงาน ทรัพยากรบุคคล และกฎหมาย
6) ประเด็นที่เกี่ยวกับภาษี 7) ด้านพลังงาน และ 8) ความร่วมมือด้านความมั่นคง
7. กระทรวงการต่างประเทศจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่บริการชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศจะจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการรับ คำร้องทำหนังสือเดินทางแก่ชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยจะเปิดให้บริการ ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ 22-27 มีนาคม 2550
การดำเนินการดังกล่าวเป็นการให้บริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ครั้งที่ 2 ในปี 2550 (ก่อนหน้านี้ มีการส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนที่จังหวัดปัตตานีในเดือนกุมภาพันธ์ 2550) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินภารกิจตามนโยบายการทูตเพื่อประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารและจังหวัดที่ไม่มีสำนักงานหนังสือเดินทางตั้งอยู่
กระทรวงการต่างประเทศมีสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวในพื้นที่ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลาและสุราษฎ์ธานี และที่ผ่านมา ได้มีการส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนเป็นระยะ โดยเมื่อปี 2548 กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชน 31 ครั้ง รวมทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยะลา นราธิวาส และปัตตานี และเมื่อปี 2549 ให้บริการ 32 ครั้งรวมถึงจังหวัดปัตตานี ชุมพร ภูเก็ต และสุราษฎ์ธานี
ประเด็นคำถาม
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบคำถามสื่อมวลชนที่เกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมทักษะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้แก่นักศึกษาไทยในอียิปต์ และการดูแลนักศึกษาไทยมุสลิมในต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์และความใกล้ชิดระหว่างสถานเอกอัครราชทูตไทยในอียิปต์กับนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ โดยเน้นในด้านอาหาร การแพทย์ และการกีฬา (ฟุตบอล) เพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพให้แก่นักศึกษาไทยเมื่อจบการศึกษาและกลับประเทศไทย
2. สำหรับนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาในประเทศอื่นๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย และซูดาน รัฐบาลไทย โดยเฉพาะสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศดังกล่าว ดำเนินนโยบายที่สร้างความเชื่อมั่นและอุ่นใจกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในประเทศเหล่านั้น มาโดยตลอด อาทิเช่น ประเทศปากีสถาน ผู้บัญชาการทหารบกได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนนักศึกษา เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศปากีสถานก็ได้เปิดทำเนียบเลี้ยงอาหารนักศึกษาเป็นประจำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังจะเดินทางไปเยือนประเทศปากีสถาน มีจุดมุ่งหมายที่จะพบปะนักศึกษาด้วย
3. สำหรับการจัดหาอาชีพเพื่อรองรับนักศึกษากว่า 3 พันที่เดินทางกลับมาประเทศไทย รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงศึกษาธิการ กำลังดำเนินการเพื่อรับรองวิทยะฐานะของนักศึกษาดังกล่าว โดยอาจจะมีการเรียนหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อเปิดช่องการทำงานให้กว้างมากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้รับนักศึกษาจำนวนหนึ่งเพื่ออบรมดูงาน โดยในปีนี้ จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาดูงานให้มากขึ้นอีก นอกจากนั้น ก็มีบุคลากรจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บรรจุเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-