กรุงเทพ--20 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรมดุสิตธานี เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย Kim Hak-Su รองเลขาธิการสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารเอสแคป (Under-Secretary-General of the United Nations and Executive Secretary of ESCAP) ในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง โดยมีนาง Gwi Yeop Son หัวหน้าสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เข้าร่วมด้วย
นาย Kim ดำรงตำแหน่งเลขาธิการบริหารเอสแคปมาแล้วเป็นสมัยที่ 2 (ตั้งแต่ปี 2543-ปัจจุบัน) ตลอดช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง นาย Kim ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันและมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเอสแคปมาโดยตลอด
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก หรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) เป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมาธิการภูมิภาค (regional commissions) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2490 ในชื่อเดิมว่า คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกล หรืออีคาเฟ่ (Economic Commission for Asia and the Far East - ECAFE) โดยมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และในเดือนมกราคม 2492 ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อมา ในเดือนสิงหาคม 2517 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก เพื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิก และได้มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังเช่น โครงการในการพัฒนาชุมชนในภูมิภาคนี้อย่างจริงจัง เช่น ..
ESCAP เป็นคณะกรรมาธิการภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (ประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศ และประเทศนอกภูมิภาค 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา) และมีสมาชิกสมทบ (associate members) 9 แห่ง (เป็นดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง/มิได้เป็นรัฐอิสระ/มิได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ) ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลก
การที่กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของ ESCAP ทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ได้รับฉายาว่าเป็น “เจนีวาแห่งตะวันออกไกล” (Geneva of the East) และดึงดูดให้องค์การระหว่างประเทศต่างๆ มาตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคในไทยเป็นจำนวนมาก และมีการจ้างงานคนไทยในสำนักเลขาธิการขององค์การระหว่างประเทศเหล่านี้ตามมาด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรมดุสิตธานี เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย Kim Hak-Su รองเลขาธิการสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารเอสแคป (Under-Secretary-General of the United Nations and Executive Secretary of ESCAP) ในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง โดยมีนาง Gwi Yeop Son หัวหน้าสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เข้าร่วมด้วย
นาย Kim ดำรงตำแหน่งเลขาธิการบริหารเอสแคปมาแล้วเป็นสมัยที่ 2 (ตั้งแต่ปี 2543-ปัจจุบัน) ตลอดช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง นาย Kim ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันและมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเอสแคปมาโดยตลอด
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก หรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) เป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมาธิการภูมิภาค (regional commissions) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2490 ในชื่อเดิมว่า คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกล หรืออีคาเฟ่ (Economic Commission for Asia and the Far East - ECAFE) โดยมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และในเดือนมกราคม 2492 ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อมา ในเดือนสิงหาคม 2517 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก เพื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิก และได้มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังเช่น โครงการในการพัฒนาชุมชนในภูมิภาคนี้อย่างจริงจัง เช่น ..
ESCAP เป็นคณะกรรมาธิการภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (ประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศ และประเทศนอกภูมิภาค 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา) และมีสมาชิกสมทบ (associate members) 9 แห่ง (เป็นดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง/มิได้เป็นรัฐอิสระ/มิได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ) ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลก
การที่กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของ ESCAP ทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ได้รับฉายาว่าเป็น “เจนีวาแห่งตะวันออกไกล” (Geneva of the East) และดึงดูดให้องค์การระหว่างประเทศต่างๆ มาตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคในไทยเป็นจำนวนมาก และมีการจ้างงานคนไทยในสำนักเลขาธิการขององค์การระหว่างประเทศเหล่านี้ตามมาด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-