แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
มหาวิทยาลัยบูรพา
พรรคประชาธิปัตย์
ชายแดนภาคใต้
สร้างความหวัง หยุดยั้งความกลัว สู่อนาคต: ก้าวต่อไปของการแก้ปัญหาชายแดนใต้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
www.abhisit.org
การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ เมื่อปีที่แล้วตอนช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ก่อนจะมีการปฏิวัติ ผมเคยพูดเรื่องนี้ว่า ประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เท่ากับว่าปัญหานี้แก้ไขได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครนำแนวทางการแก้ปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ ไปใช้ และชนะการเลือกตั้ง แก้ปัญหาได้ ผมไม่มีความเสียใจเลย
จากนี้ไปไม่ว่าจะเป็นฝ่ายราชการ ฝ่ายการเมือง นักวิชาการ ท้องถิ่น และชุมชน ปัญหานี้ต้องไม่มีเรื่องการช่วงชิงอีกต่อไป ต้องเป็นเรื่องของการเดินไปด้วยกัน บนทิศทางที่มีความชัดเจน
การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้นั้นจะต้องมองทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต
อดีตนั้นเราต้องทราบเพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนมาใช้ แต่ว่าขอให้เรามองอดีต หรือหยิบอดีตขึ้นมาบนความเข้าใจว่า อดีตเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาพูดเรื่องอดีตในความรู้สึกที่ว่ามันไม่น่าเป็นอย่างนั้น มันไม่น่าเป็นอย่างนี้ มันผ่านไปแล้ว มันเป็นตัวกำหนดสภาพปัจจุบันอยู่แล้ว ตอนนี้สิ่งสำคัญกว่าก็คือต้องมองอนาคต
เพราะฉะนั้นที่ผมจะมองเรื่องอดีตนั้น ไม่ต้องการที่จะตำหนิติติงใคร แต่จะหยิบเอาอดีต ว่าวันนี้มันคือการรบกันเรื่องอะไร สมรภูมิที่สำคัญมากคือเรื่องของสื่อ และสุดท้ายจริงๆก็คือมันเป็นเรื่องของ “ความคิดและจิตใจ”
“ความคิด” คือเรื่องอุดมการณ์ ปัญหาในช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นในเรื่องของความคิดนั้นมันมีทั้งปัจจัยจากข้างนอก และในประเทศ นอกประเทศก็คือปรากฏการณ์ที่เราเห็นทั่วโลก ในแง่ของสภาพความขัดแย้งของความเชื่อที่แตกต่างกัน ถ้าจะพูดค่อนข้างจะหยาบ ๆ ก็อาจจะบอกว่าโลกตะวันตก กับโลกมุสลิม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าความขัดแย้งตรงนี้มีผลมีอิทธิพลต่อความคิดอุดมการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือของคนรุ่นใหม่ ของเด็ก ของเยาวชน นั่นเราวางไว้ส่วนหนึ่งในเรื่องความคิด แต่ที่ภายในมาเติมเชื้อเข้าไปก็คือ ตัวที่ไปปลุกให้เกิดความรุนแรงทางความคิดคือเรื่อง “ความไม่เป็นธรรม หรือความอยุติธรรม”
ความอยุติธรรมซึ่งมันไปปลุกเร้าให้คนต่อสู้รุนแรงที่สุด คือ ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐ ฉะนั้นในส่วนอดีตที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ที่ไปเติมให้สงครามความคิดมันรุนแรงมากขึ้นนั้น ก็คือการไปก้าวผิดพลาดในเรื่องของนโยบายที่ไปสร้างความอยุติธรรมผ่านความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ
สำหรับ “ จิตใจ” ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าความรุนแรงในเรื่องของความคิด ค่อนข้างจะอยู่ในกลุ่มเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ เพราะความคิดของคนเรามันถูกหล่อหลอมโดยประสบการณ์ที่ค่อนข้างยาวนานต่อเนื่อง ผมไม่คิดว่าคนรุ่นที่อายุมากขึ้นมาจะคล้อยตามความคิด เพราะท่านเหล่านั้นก็ได้ผ่านอดีตซึ่งมองเห็นความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของรัฐเช่นเดียวกันในหลาย ๆ ช่วง แต่ถ้าเขยิบขึ้นไปอีกรุ่นหนึ่งอาจจะมีความคิดค้างเก่าอยู่เพราะเคยมีอดีตก่อนหน้านั้น เช่น ยุคสมัยจอมพล ป. ที่มาเป็นตัวกระตุ้นตรงนี้ เพราะฉะนั้นอันนี้คือภาพที่เราเห็นในเชิงของผู้เกี่ยวข้องในแต่ละรุ่นในเรื่องของความคิด
ที่ต้องย้ำ “ จิตใจ” เพราะสำหรับคนที่ไม่มีความคิดแต่กลายเป็นแนวร่วมเพราะจิตใจ คือปัญหาความกลัว เพราะฝ่ายกระทำขณะนี้ไม่ได้สนใจที่จะต้องแย่งชิงจิตใจของมวลชนอีกจำนวนมาก แต่ต้องการให้กลัว ให้ร่วมมือ ให้เดินตาม ให้ยอม นี่คือสภาพที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นในทุก ๆ ด้าน ที่ผมเคยนำเสนอ ๖ ด้าน (ดูบทความใน www.abhisit.org เรื่อง สู่วาระประชาชนภาค ๒ — “ประชาชนต้องมาก่อน” โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ผมจะขอขยายความว่าสิ่งเหล่านี้ไปตอบโจทย์ทั้งทางด้านความคิด และทางด้านจิตใจอย่างไร
ข้อแรก. การหยุดยั้งวงจรของความรุนแรง เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่ท่านผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) เคยพูดว่า ถ้าเด็ก ๒ คน ไม่พูดกัน จ้องที่จะทำร้ายกันในอีก ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๐ ปีข้างหน้าอย่างนี้ไม่มีทางหรอกครับ แม้จะมีนโยบายสวยหรูอย่างไร ถ้าสภาพความเป็นจริงของจิตใจของเด็กเป็นอย่างนั้น แก้ไม่ได้ ผมถึงบอกว่าการหยุดยั้งความสูญเสีย ความรุนแรง สำคัญ เพราะถามว่า ตาย ๑ คน โกรธกี่คน แค้นกี่คน โศกเศร้ากี่คน ความสูญเสียเรานับบอกว่าตายวันละคน ปีละสามร้อยกว่าคน แต่ถามว่าคนโกรธ คนแค้น ถึงหลักพัน ถึงหลักหมื่นหรือเปล่า เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องหยุด ต้องทำทุกวิถีทาง ผมทราบดีว่าไม่ง่ายหรอกสำหรับฝ่ายความมั่นคงแต่ว่ามันต้องเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำให้เกิดขึ้น แล้วก็ต้องมีความพยายามไม่ใช่เพียงแต่การป้องกันเท่านั้นในแง่ของเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแต่กระบวนการทำงานเพื่อสลายความรู้สึกที่จะโกรธ จะแค้น แล้วก็ไปชักจูงเด็ก ๆ เข้าสู่สันติวิธี เป็นโครงการที่สำคัญมาก
ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พบกับกลุ่มเด็กกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกหลานของผู้สูญเสีย เขาทำกันเอง สิ่งที่เขากำลังทำคือ สิ่งที่สลายความรู้สึกที่จะโกรธ จะแค้น โดยช่วยกันดูแลเพื่อน ๆ ที่สูญเสียพ่อแม่ว่า อย่าปล่อยให้โกรธ อย่าปล่อยให้แค้น อย่าปล่อยให้เด็กซึ่งเคยร่าเริงกลายเป็นเด็กที่ซึม ที่เหงา ที่มีความสร้อยเศร้า และเก็บอะไรไว้ในใจ มันต้องมีกระบวนการเข้าไปดูแล เข้าไปบำบัด เข้าไปสร้างความหวังให้คนเหล่านี้ อันนี้ก็คือสิ่งที่มันจะเป็นตัวหยุดยั้งวงจรในระยะยาวได้
แต่ในระยะสั้นนั้นเราก็ต้องมาพูดกันว่าจะจัดลำดับความสำคัญและมีแผนที่ค่อนข้างชัดว่าจะดำเนินการอย่างไรและเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
ประเด็นก็คือว่า ถ้าสงครามมันเป็นเรื่องของ “ความคิด จิตใจ” และโดยเฉพาะในระดับภาพรวมต้องการให้เกิดความกลัวนั้น เราไม่แปลกใจหรอกครับว่าทำไมหาดใหญ่เข้าไปอยู่ในกระบวนการนี้หรือทำไมเมือง หรือทำไมชุมชน หรือทำไมเป้าที่มันเห็นได้ชัดอยู่ใกล้กับโลกของสื่อ มันจะต้องเป็นเป้าหมายของฝ่ายกระทำแน่นอน แต่ตรงนี้ในมุมของรัฐ มันควรจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดที่จะป้องกัน ไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ว่ามันมีหลายเรื่องซึ่งเดินหน้าได้เลย อย่างเช่นในชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เทคโนโลยีช่วยได้เยอะ ใครจะคิดว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญแต่ผมคิดว่าสำคัญ เช่นการมีกล้องวงจรปิด อย่างที่เทศบาล อบจ. ได้ดำเนินการไปที่หาดใหญ่ แต่มันไม่พอ ต่างประเทศก็ต้องทำอย่างนี้แล้วทั้งนั้นครับขณะนี้ เพราะมันก็เป็นตัวที่ป้องกัน หรือปรามได้ส่วนหนึ่ง
สังเกตได้ว่าระเบิดที่เกิดขึ้นที่หาดใหญ่ปีนี้ พื้นที่ที่เกิดขึ้นเทียบกับปีที่แล้วมันขยับออกไปเพราะหลังจากปีที่แล้วมีการติดกล้องวงจรปิดอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ตรงศูนย์กลาง อันนี้ก็ต้องทำ แล้วสิ่งที่หาดใหญ่อย่างน้อยต้องเป็นแบบอย่างของชุมชนที่จะเรียกว่า พื้นที่สีเขียวหรือสีขาวใน ๓ จังหวัดต้องทำทันที ก็คือว่า แสดงให้เห็นว่าประชาชนเองนั้นสามารถสร้างระบบของการสอดส่องดูแลกันเองให้ได้ผลได้ ถ้าเราบอกว่ามวลชนตรงนี้ยังไม่ได้แพ้ไปในความหมายของ “ความคิด จิตใจ” ต้องแสดงให้เห็นเลยว่าพร้อมสู้ แล้วสู้ได้ด้วย ที่หาดใหญ่ผมเสนอแนะแนวทางต่อท่านนายกเทศมนตรีกับนายก อบจ. ไปแล้ว บอกในกลางเมืองนี้ ทุกชุมชน ทุกซอย ตั้งกลุ่มขึ้นมาเลยว่าจะมีระบบการสอดส่องดูแลให้ความรู้เขา อบรมเขาเรื่องปัญหาการก่อความไม่สงบ การก่อการร้ายอย่างไร ทำให้เข้มแข็ง แล้วยันให้อยู่สักระยะหนึ่งว่า เหตุใหญ่ ๆ เกิดไม่ได้ในเมืองแบบนี้ นั่นหละถึงจะหยุดยั้งความกลัวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของการพูดถึงวงจรของความรุนแรงที่มันสามารถที่จะต้องเข้ามาทำให้ได้ให้สำเร็จให้มันเป็นภาพของความหวัง กำลังใจ
การหยุดยั้งวงจรแบบนี้ ระบบการบริหารจัดการเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของกลไก แม้จะเห็นด้วยว่ารัฐบาลนี้ได้ส่งสัญญาณที่ถูกต้องในเชิงยุทธศาสตร์สมานฉันท์ แต่ก็มีบางเรื่องซึ่งเห็นว่ายังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น เรื่อง ศอ.บต. ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่งเลยที่รัฐบาลจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นความสำเร็จ แต่ปรากฏว่ากฎหมาย ศอ.บต. ถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าและ มีความเป็นไปได้ด้วยว่าจะไม่เสร็จทันรัฐบาลนี้ มันเป็นสิ่งสะท้อนถึงว่า แล้วเจตจำนงที่พูดเอาไว้ว่านี่คือหัวใจสำคัญของนโยบาย แล้วสภาก็เป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้งทำไมกฎหมายฉบับนี้ถึงยังไม่สามารถออกมาให้มีผลบังคับใช้ ได้
เพราะฉะนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควรที่จะต้องผลักดันกฎหมาย ศอ.บต.ออกมาให้ได้ ในทางตรงกันข้ามถามว่าที่กำลังทำกฎหมายความมั่นคงนั้นส่งสัญญาณอะไรใช่หรือไม่ แล้วกำลังจะมาเพิ่มปัญหาในพื้นที่หรือไม่ เพราะตอนนี้มีทั้งกฎอัยการศึก มีทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ มีกฎหมายความมั่นคงเข้ามาอีกฉบับ ถามว่าเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติทราบหรือไม่ว่าการปฏิบัติงานนั้นปฏิบัติโดยใช้กฎหมายฉบับใด และใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับไหน อย่างไร ใครรายงานต่อใคร หากมีการจำกัดสิทธิและมีการใช้อำนาจโดยไม่ตรวจสอบ ก็อาจไปสร้างเงื่อนไขความรุนแรงขึ้นมาอีก
เพราะฉะนั้นสิ่งซึ่งผมยืนยันว่าถ้าจะต้องการหยุดยั้งวงจรของความรุนแรงแล้ว นอกเหนือจากประเด็นง่าย ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น เรื่องของพื้นที่อย่างเช่นที่หาดใหญ่แล้วนั้น การแสดงออกถึงความเป็นเอกภาพของฝ่ายรัฐเอง มันต้องชัด ขณะนี้มีรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมายให้มาดูแลพื้นที่คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ขอบเขตความรับผิดชอบของท่านก็จำกัด แม้แต่ผู้อำนวยการศอ.บต. ก็ทำได้แค่เพียงบางบทบาทเท่านั้น แล้วประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ตำรวจ ทหาร โดยเฉพาะหน่วยพิเศษ ที่มาจากนอกพื้นที่ กับบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่นั้นไปทิศทางเดียวกัน อะไรคือทิศทางของรัฐบาลที่ชัดเจนเวลามันมีพฤติกรรมของบางคนซึ่งอาจจะพลั้งเผลอหรืออาจจะผิดพลาดแล้วมันออกไปนอกลู่ นอกทาง ประชาชนจะรู้หรือไม่ว่ามันเป็นความพลั้งเผลอ ผิดพลาด หรือคิดว่านโยบายรัฐบาลไม่ชัด เพราะฉะนั้นในแง่ของการตั้งประเด็น “การหยุดยั้ง วงจรของความรุนแรง” ก็เพื่อหยุดยั้งสภาพในปัจจุบัน ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญที่ต้องการความเป็นเอกภาพในการผลักดันเพื่อให้เกิดขึ้น นั่นคือประเด็นที่หนึ่ง
ข้อที่สอง. คือการสร้างบรรยากาศของความปรองดอง
เรืน็นHองความยุติธรรม และปัญหาของสื่อสารมวลชน การสร้างบรรยากาศของความปรองดองจะสร้างกันอยู่ใน ๓ หรือ ๕ จังหวัดไม่ได้ มันต้องสร้างทั้งประเทศ แต่วันนี้ถามท่านที่อยู่ในประเทศแล้วเดินทางไปที่อื่นในประเทศไทย หรือถามคนที่อยู่ในประเทศไทยแล้วเดินทางมาที่หาดใหญ่หรือ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามสิครับว่าบรรยากาศของความปรองดองดีขึ้น หรือแย่ลง คำตอบทุกคนตรงกันในใจ เราปล่อยสภาพอย่างนี้ไม่ได้ ความสมานฉันท์ที่เราถือเป็นธงที่กำลังจะสื่อสารไปยังพี่น้องทุกคน ถูกตีความผิดบ้าง บิดเบือนบ้าง การ์ตูนในหนังสือพิมพ์บางฉบับ เอาไปล้อเลียนเหมือนเป็นนโยบายซึ่งเข้าข้างฝ่ายผู้กระทำไม่สนใจผู้ถูกกระทำแล้วบรรยากาศความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นการรุกตรงนี้มันไม่ใช่นโยบายพื้นที่ มันคือนโยบายชาติ มันต้องไปให้ถึงเหนือ อีสาน กลาง กรุงเทพฯ หรือภาคใต้ในส่วนที่ไม่ใช่ ๓ จังหวัด ๕ จังหวัดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่มีการทำในเชิงรุกเพียงพอ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับเรื่องของประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ในทุกแง่มุม อย่าเอียงไปมุมใดมุมหนึ่ง ว่ากันตามความเป็นจริง ส่วนเรื่องของการจัดการในการใช้กำลังเมื่อมีความจำเป็น แต่มีกระบวนการตรวจสอบให้เกิดความเข้าใจว่ามันยังมีความรักษาความยุติธรรมและการเคารพสิทธิ เสรีภาพ มันก็จะได้ทำได้ พร้อม ๆ กันไป บรรยากาศตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก แม้ว่านโยบายภาพรวมในขณะนี้ถ้อยคำที่ใช้นั้นมันใช่ แต่ในทางปฏิบัติมันยังไม่เกิดแล้วถ้าเราปล่อยให้ ถ้อยคำนี้ถูกเข้าใจผิดกลายเป็นของไม่ดีไปมันจะยากขึ้นอีกเท่าไหร่ในการที่จะมาแก้ไข ฉะนั้นบรรยากาศของความปรองดองจึงเป็นประเด็นที่สอง
สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่อาจจะต้องใช้เวลาในการทำงาน เราไปพูดไม่ได้หรอกว่า อีก ๑ ปีสงบ ๕ ปีสงบ ๑๐ ปีสงบแต่ว่าสถานการณ์คลี่คลายนั้นต้องมีเป้าหมายให้ได้ นโยบายหลายเรื่องมันใช้เวลา เช่น เราพูดถึงระบบการศึกษา เราพูดถึงเศรษฐกิจ มันคงใช้เวลานาน ความสำคัญคงไม่ใช่ว่าต้องรอให้งานพวกนี้เสร็จ เราถึงจะสามารถรุกคืบไปได้ในด้าน“ความคิด จิตใจ”ไม่ใช่ แต่มันคือเรื่องของการสร้างความหวัง ถ้าในพื้นที่เริ่มมีการพูดกันว่าจริง ๆ ตอนนี้ก็ไม่รู้แล้ว ไม่สนใจแล้วว่าจะแบ่งแยก ไม่แบ่งแยก แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอยู่ไปทำไม อยู่กับฝ่ายหนึ่งไปทำไม อยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งไปทำไม มันก็ไม่มีความหวัง มันก็ไม่มีความผูกพัน มันก็ไม่มีพลังในการที่จะไปชนะในเรื่องของ “ความคิด จิตใจ” ได้เลย
ความสำเร็จในอดีตรัฐมี แต่ว่าในทางการเมือง สิ่งนี้ไม่พอที่จะเป็นหลักประกันความหวัง ความดีในอดีตถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วเพราะมันเป็นหน้าที่รัฐ แต่หน้าที่วันนี้คือ “อนาคต” จะทำอะไรให้ เพราะฉะนั้นมันไม่จำเป็นต้องมีความสำเร็จในทันทีเสมอไป ขอให้มีรูปธรรมของการเริ่มต้นในสิ่งเหล่านี้ให้เห็นว่ามันมีความตั้งใจจริง มันมีงานที่เริ่มออกมา มันจะเป็นตัวสร้างความหวังที่จะเป็นตัวผูกให้เราสามารถเอาชนะกันในทาง “ความคิด จิตใจ” ได้
กรณีเศรษฐกิจพิเศษนั้น ต้องทำให้มันหมายถึงเศรษฐกิจชาวบ้าน เศรษฐกิจชาวบ้านคือเราสามารถตอบได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจตรงนี้นั้นมันสอดคล้องกับพื้นฐานวิถีชีวิต ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบที่คนข้างนอกคิดเอง เออเองมายัดเยียดให้ มันต้องคิดมาจากฐานว่าวิถีชีวิต ความเชื่อไม่ถูกกระทบอย่างไร แล้วมันเป็นเศรษฐกิจที่พี่น้องใน ๓ จังหวัดภาคภูมิใจว่ามันเป็นเศรษฐกิจของเขาจริง ๆ แต่ว่ามันเจริญมีความก้าวหน้าได้แล้วก็สร้างโอกาสได้ให้กับคนของเรา ให้กับลูกหลานของเราทุกคน อันนี้ก็ต้องทำ
ในเรื่องของการศึกษา ตั้งแต่เล็กขึ้นมาจนถึงประถม มัธยม ทั้งโรงเรียนรัฐ ทั้งโรงเรียนสอนศาสนานั้น ต้องมีคำตอบ ไม่ว่าจะไปอยู่โรงเรียนรัฐ หรือโรงเรียนสอนศาสนาต้องมั่นใจว่าเด็กจบมาแล้ว อย่างน้อยทำงานได้ มีงานทำ และขณะเดียวกันก็คือ ออกมาแล้ว เข้าใจรู้จักหลักคำสอนทางศาสนาที่ถูกต้อง อันนี้ก็ต้องทำเป็นระบบ ไม่เห็นผลทันทีแต่ว่าแต่ละมาตรการที่ออกมานั่นคือการเติมความหวัง ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญที่สุดตอนนี้ที่ต้องทำให้คนของเรามี
สำหรับกรณีการมีส่วนร่วม เดี๋ยวนี้กำลังจะไป“ติดกับ” คือ การมาถกเถียงเรื่อง “เขตปกครองพิเศษ” ที่ “ติดกับ” ก็คือว่าสาระสำคัญของตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่โครงสร้าง ความสำคัญมันอยู่ที่ว่าประชาชนแต่ละคนนั้นรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ มีสิทธิในการกำหนดอนาคตแค่ไหน ถ้าเราบอกว่ามีเขตปกครองพิเศษ แต่ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนมีอำนาจกับคนประชาชนธรรมดาไม่ได้ต่างกัน เพียงแต่เปลี่ยนคนที่มาถืออำนาจนั้นมันจะแก้ปัญหาอะไรได้
เพราะฉะนั้นรูปแบบที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต.) หัวใจคือทำอย่างไรให้ตรงนั้นประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นสาระมันอยู่ที่การมีส่วนร่วมของคนในชีวิตประจำวันในพื้นที่จริง ๆ มากกว่าเรื่องทางโครงสร้าง การมีส่วนร่วมตรงนี้ก็คือขอให้คิดอย่าเฉพาะเรื่องของการเมือง การบริหาร ต้องคิดเรื่องการศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ คือทำให้มันเป็นวิถีปฏิบัติ ยึดถือว่าเป็นหลักการของทุกวงการ ทุกส่วน ตรงนี้แหละที่มันจะทำให้สัมผัสได้จริงว่า อำนาจอยู่ในมือของคนที่อยู่ในพื้นที่
สุดท้ายเรื่องการต่างประเทศนั้น ขณะนี้ถือว่ารัฐบาลได้ทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งควรจะสานต่อไป จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้จะโยงกลับไปถึงเรื่องของหลักคิดใหญ่เรื่อง “ความคิด จิตใจ” มันอยู่ที่ว่า เราทำให้คนในพื้นที่รู้สึกอย่างไร
ปณิธานของเราคือ ทำให้พี่น้องที่นี่ทุกคนมีชีวิตที่สงบสุข มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความหวัง มีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินเดียวกันใต้ร่มบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หากความรู้สึกนี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนผมมองไม่เห็นว่าองค์กรไหนจะมาเอาชนะได้ และทั้งหมดนี้มันยึดหลักง่าย ๆนั่นคือ “ประชาชนต้องมาก่อน”
(ที่มา:ปรับปรุงมาจากการอภิปราย ในหัวข้อ “จากอดีตถึงปัจจุบันกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้”โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ในโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้” ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
www.abhisit.org
การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ เมื่อปีที่แล้วตอนช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ก่อนจะมีการปฏิวัติ ผมเคยพูดเรื่องนี้ว่า ประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เท่ากับว่าปัญหานี้แก้ไขได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครนำแนวทางการแก้ปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ ไปใช้ และชนะการเลือกตั้ง แก้ปัญหาได้ ผมไม่มีความเสียใจเลย
จากนี้ไปไม่ว่าจะเป็นฝ่ายราชการ ฝ่ายการเมือง นักวิชาการ ท้องถิ่น และชุมชน ปัญหานี้ต้องไม่มีเรื่องการช่วงชิงอีกต่อไป ต้องเป็นเรื่องของการเดินไปด้วยกัน บนทิศทางที่มีความชัดเจน
การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้นั้นจะต้องมองทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต
อดีตนั้นเราต้องทราบเพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนมาใช้ แต่ว่าขอให้เรามองอดีต หรือหยิบอดีตขึ้นมาบนความเข้าใจว่า อดีตเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาพูดเรื่องอดีตในความรู้สึกที่ว่ามันไม่น่าเป็นอย่างนั้น มันไม่น่าเป็นอย่างนี้ มันผ่านไปแล้ว มันเป็นตัวกำหนดสภาพปัจจุบันอยู่แล้ว ตอนนี้สิ่งสำคัญกว่าก็คือต้องมองอนาคต
เพราะฉะนั้นที่ผมจะมองเรื่องอดีตนั้น ไม่ต้องการที่จะตำหนิติติงใคร แต่จะหยิบเอาอดีต ว่าวันนี้มันคือการรบกันเรื่องอะไร สมรภูมิที่สำคัญมากคือเรื่องของสื่อ และสุดท้ายจริงๆก็คือมันเป็นเรื่องของ “ความคิดและจิตใจ”
“ความคิด” คือเรื่องอุดมการณ์ ปัญหาในช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นในเรื่องของความคิดนั้นมันมีทั้งปัจจัยจากข้างนอก และในประเทศ นอกประเทศก็คือปรากฏการณ์ที่เราเห็นทั่วโลก ในแง่ของสภาพความขัดแย้งของความเชื่อที่แตกต่างกัน ถ้าจะพูดค่อนข้างจะหยาบ ๆ ก็อาจจะบอกว่าโลกตะวันตก กับโลกมุสลิม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าความขัดแย้งตรงนี้มีผลมีอิทธิพลต่อความคิดอุดมการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือของคนรุ่นใหม่ ของเด็ก ของเยาวชน นั่นเราวางไว้ส่วนหนึ่งในเรื่องความคิด แต่ที่ภายในมาเติมเชื้อเข้าไปก็คือ ตัวที่ไปปลุกให้เกิดความรุนแรงทางความคิดคือเรื่อง “ความไม่เป็นธรรม หรือความอยุติธรรม”
ความอยุติธรรมซึ่งมันไปปลุกเร้าให้คนต่อสู้รุนแรงที่สุด คือ ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐ ฉะนั้นในส่วนอดีตที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ที่ไปเติมให้สงครามความคิดมันรุนแรงมากขึ้นนั้น ก็คือการไปก้าวผิดพลาดในเรื่องของนโยบายที่ไปสร้างความอยุติธรรมผ่านความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ
สำหรับ “ จิตใจ” ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าความรุนแรงในเรื่องของความคิด ค่อนข้างจะอยู่ในกลุ่มเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ เพราะความคิดของคนเรามันถูกหล่อหลอมโดยประสบการณ์ที่ค่อนข้างยาวนานต่อเนื่อง ผมไม่คิดว่าคนรุ่นที่อายุมากขึ้นมาจะคล้อยตามความคิด เพราะท่านเหล่านั้นก็ได้ผ่านอดีตซึ่งมองเห็นความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของรัฐเช่นเดียวกันในหลาย ๆ ช่วง แต่ถ้าเขยิบขึ้นไปอีกรุ่นหนึ่งอาจจะมีความคิดค้างเก่าอยู่เพราะเคยมีอดีตก่อนหน้านั้น เช่น ยุคสมัยจอมพล ป. ที่มาเป็นตัวกระตุ้นตรงนี้ เพราะฉะนั้นอันนี้คือภาพที่เราเห็นในเชิงของผู้เกี่ยวข้องในแต่ละรุ่นในเรื่องของความคิด
ที่ต้องย้ำ “ จิตใจ” เพราะสำหรับคนที่ไม่มีความคิดแต่กลายเป็นแนวร่วมเพราะจิตใจ คือปัญหาความกลัว เพราะฝ่ายกระทำขณะนี้ไม่ได้สนใจที่จะต้องแย่งชิงจิตใจของมวลชนอีกจำนวนมาก แต่ต้องการให้กลัว ให้ร่วมมือ ให้เดินตาม ให้ยอม นี่คือสภาพที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นในทุก ๆ ด้าน ที่ผมเคยนำเสนอ ๖ ด้าน (ดูบทความใน www.abhisit.org เรื่อง สู่วาระประชาชนภาค ๒ — “ประชาชนต้องมาก่อน” โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ผมจะขอขยายความว่าสิ่งเหล่านี้ไปตอบโจทย์ทั้งทางด้านความคิด และทางด้านจิตใจอย่างไร
ข้อแรก. การหยุดยั้งวงจรของความรุนแรง เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่ท่านผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) เคยพูดว่า ถ้าเด็ก ๒ คน ไม่พูดกัน จ้องที่จะทำร้ายกันในอีก ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๐ ปีข้างหน้าอย่างนี้ไม่มีทางหรอกครับ แม้จะมีนโยบายสวยหรูอย่างไร ถ้าสภาพความเป็นจริงของจิตใจของเด็กเป็นอย่างนั้น แก้ไม่ได้ ผมถึงบอกว่าการหยุดยั้งความสูญเสีย ความรุนแรง สำคัญ เพราะถามว่า ตาย ๑ คน โกรธกี่คน แค้นกี่คน โศกเศร้ากี่คน ความสูญเสียเรานับบอกว่าตายวันละคน ปีละสามร้อยกว่าคน แต่ถามว่าคนโกรธ คนแค้น ถึงหลักพัน ถึงหลักหมื่นหรือเปล่า เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องหยุด ต้องทำทุกวิถีทาง ผมทราบดีว่าไม่ง่ายหรอกสำหรับฝ่ายความมั่นคงแต่ว่ามันต้องเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำให้เกิดขึ้น แล้วก็ต้องมีความพยายามไม่ใช่เพียงแต่การป้องกันเท่านั้นในแง่ของเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแต่กระบวนการทำงานเพื่อสลายความรู้สึกที่จะโกรธ จะแค้น แล้วก็ไปชักจูงเด็ก ๆ เข้าสู่สันติวิธี เป็นโครงการที่สำคัญมาก
ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พบกับกลุ่มเด็กกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกหลานของผู้สูญเสีย เขาทำกันเอง สิ่งที่เขากำลังทำคือ สิ่งที่สลายความรู้สึกที่จะโกรธ จะแค้น โดยช่วยกันดูแลเพื่อน ๆ ที่สูญเสียพ่อแม่ว่า อย่าปล่อยให้โกรธ อย่าปล่อยให้แค้น อย่าปล่อยให้เด็กซึ่งเคยร่าเริงกลายเป็นเด็กที่ซึม ที่เหงา ที่มีความสร้อยเศร้า และเก็บอะไรไว้ในใจ มันต้องมีกระบวนการเข้าไปดูแล เข้าไปบำบัด เข้าไปสร้างความหวังให้คนเหล่านี้ อันนี้ก็คือสิ่งที่มันจะเป็นตัวหยุดยั้งวงจรในระยะยาวได้
แต่ในระยะสั้นนั้นเราก็ต้องมาพูดกันว่าจะจัดลำดับความสำคัญและมีแผนที่ค่อนข้างชัดว่าจะดำเนินการอย่างไรและเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
ประเด็นก็คือว่า ถ้าสงครามมันเป็นเรื่องของ “ความคิด จิตใจ” และโดยเฉพาะในระดับภาพรวมต้องการให้เกิดความกลัวนั้น เราไม่แปลกใจหรอกครับว่าทำไมหาดใหญ่เข้าไปอยู่ในกระบวนการนี้หรือทำไมเมือง หรือทำไมชุมชน หรือทำไมเป้าที่มันเห็นได้ชัดอยู่ใกล้กับโลกของสื่อ มันจะต้องเป็นเป้าหมายของฝ่ายกระทำแน่นอน แต่ตรงนี้ในมุมของรัฐ มันควรจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดที่จะป้องกัน ไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ว่ามันมีหลายเรื่องซึ่งเดินหน้าได้เลย อย่างเช่นในชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เทคโนโลยีช่วยได้เยอะ ใครจะคิดว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญแต่ผมคิดว่าสำคัญ เช่นการมีกล้องวงจรปิด อย่างที่เทศบาล อบจ. ได้ดำเนินการไปที่หาดใหญ่ แต่มันไม่พอ ต่างประเทศก็ต้องทำอย่างนี้แล้วทั้งนั้นครับขณะนี้ เพราะมันก็เป็นตัวที่ป้องกัน หรือปรามได้ส่วนหนึ่ง
สังเกตได้ว่าระเบิดที่เกิดขึ้นที่หาดใหญ่ปีนี้ พื้นที่ที่เกิดขึ้นเทียบกับปีที่แล้วมันขยับออกไปเพราะหลังจากปีที่แล้วมีการติดกล้องวงจรปิดอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ตรงศูนย์กลาง อันนี้ก็ต้องทำ แล้วสิ่งที่หาดใหญ่อย่างน้อยต้องเป็นแบบอย่างของชุมชนที่จะเรียกว่า พื้นที่สีเขียวหรือสีขาวใน ๓ จังหวัดต้องทำทันที ก็คือว่า แสดงให้เห็นว่าประชาชนเองนั้นสามารถสร้างระบบของการสอดส่องดูแลกันเองให้ได้ผลได้ ถ้าเราบอกว่ามวลชนตรงนี้ยังไม่ได้แพ้ไปในความหมายของ “ความคิด จิตใจ” ต้องแสดงให้เห็นเลยว่าพร้อมสู้ แล้วสู้ได้ด้วย ที่หาดใหญ่ผมเสนอแนะแนวทางต่อท่านนายกเทศมนตรีกับนายก อบจ. ไปแล้ว บอกในกลางเมืองนี้ ทุกชุมชน ทุกซอย ตั้งกลุ่มขึ้นมาเลยว่าจะมีระบบการสอดส่องดูแลให้ความรู้เขา อบรมเขาเรื่องปัญหาการก่อความไม่สงบ การก่อการร้ายอย่างไร ทำให้เข้มแข็ง แล้วยันให้อยู่สักระยะหนึ่งว่า เหตุใหญ่ ๆ เกิดไม่ได้ในเมืองแบบนี้ นั่นหละถึงจะหยุดยั้งความกลัวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของการพูดถึงวงจรของความรุนแรงที่มันสามารถที่จะต้องเข้ามาทำให้ได้ให้สำเร็จให้มันเป็นภาพของความหวัง กำลังใจ
การหยุดยั้งวงจรแบบนี้ ระบบการบริหารจัดการเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของกลไก แม้จะเห็นด้วยว่ารัฐบาลนี้ได้ส่งสัญญาณที่ถูกต้องในเชิงยุทธศาสตร์สมานฉันท์ แต่ก็มีบางเรื่องซึ่งเห็นว่ายังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น เรื่อง ศอ.บต. ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่งเลยที่รัฐบาลจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นความสำเร็จ แต่ปรากฏว่ากฎหมาย ศอ.บต. ถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าและ มีความเป็นไปได้ด้วยว่าจะไม่เสร็จทันรัฐบาลนี้ มันเป็นสิ่งสะท้อนถึงว่า แล้วเจตจำนงที่พูดเอาไว้ว่านี่คือหัวใจสำคัญของนโยบาย แล้วสภาก็เป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้งทำไมกฎหมายฉบับนี้ถึงยังไม่สามารถออกมาให้มีผลบังคับใช้ ได้
เพราะฉะนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควรที่จะต้องผลักดันกฎหมาย ศอ.บต.ออกมาให้ได้ ในทางตรงกันข้ามถามว่าที่กำลังทำกฎหมายความมั่นคงนั้นส่งสัญญาณอะไรใช่หรือไม่ แล้วกำลังจะมาเพิ่มปัญหาในพื้นที่หรือไม่ เพราะตอนนี้มีทั้งกฎอัยการศึก มีทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ มีกฎหมายความมั่นคงเข้ามาอีกฉบับ ถามว่าเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติทราบหรือไม่ว่าการปฏิบัติงานนั้นปฏิบัติโดยใช้กฎหมายฉบับใด และใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับไหน อย่างไร ใครรายงานต่อใคร หากมีการจำกัดสิทธิและมีการใช้อำนาจโดยไม่ตรวจสอบ ก็อาจไปสร้างเงื่อนไขความรุนแรงขึ้นมาอีก
เพราะฉะนั้นสิ่งซึ่งผมยืนยันว่าถ้าจะต้องการหยุดยั้งวงจรของความรุนแรงแล้ว นอกเหนือจากประเด็นง่าย ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น เรื่องของพื้นที่อย่างเช่นที่หาดใหญ่แล้วนั้น การแสดงออกถึงความเป็นเอกภาพของฝ่ายรัฐเอง มันต้องชัด ขณะนี้มีรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมายให้มาดูแลพื้นที่คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ขอบเขตความรับผิดชอบของท่านก็จำกัด แม้แต่ผู้อำนวยการศอ.บต. ก็ทำได้แค่เพียงบางบทบาทเท่านั้น แล้วประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ตำรวจ ทหาร โดยเฉพาะหน่วยพิเศษ ที่มาจากนอกพื้นที่ กับบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่นั้นไปทิศทางเดียวกัน อะไรคือทิศทางของรัฐบาลที่ชัดเจนเวลามันมีพฤติกรรมของบางคนซึ่งอาจจะพลั้งเผลอหรืออาจจะผิดพลาดแล้วมันออกไปนอกลู่ นอกทาง ประชาชนจะรู้หรือไม่ว่ามันเป็นความพลั้งเผลอ ผิดพลาด หรือคิดว่านโยบายรัฐบาลไม่ชัด เพราะฉะนั้นในแง่ของการตั้งประเด็น “การหยุดยั้ง วงจรของความรุนแรง” ก็เพื่อหยุดยั้งสภาพในปัจจุบัน ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญที่ต้องการความเป็นเอกภาพในการผลักดันเพื่อให้เกิดขึ้น นั่นคือประเด็นที่หนึ่ง
ข้อที่สอง. คือการสร้างบรรยากาศของความปรองดอง
เรืน็นHองความยุติธรรม และปัญหาของสื่อสารมวลชน การสร้างบรรยากาศของความปรองดองจะสร้างกันอยู่ใน ๓ หรือ ๕ จังหวัดไม่ได้ มันต้องสร้างทั้งประเทศ แต่วันนี้ถามท่านที่อยู่ในประเทศแล้วเดินทางไปที่อื่นในประเทศไทย หรือถามคนที่อยู่ในประเทศไทยแล้วเดินทางมาที่หาดใหญ่หรือ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามสิครับว่าบรรยากาศของความปรองดองดีขึ้น หรือแย่ลง คำตอบทุกคนตรงกันในใจ เราปล่อยสภาพอย่างนี้ไม่ได้ ความสมานฉันท์ที่เราถือเป็นธงที่กำลังจะสื่อสารไปยังพี่น้องทุกคน ถูกตีความผิดบ้าง บิดเบือนบ้าง การ์ตูนในหนังสือพิมพ์บางฉบับ เอาไปล้อเลียนเหมือนเป็นนโยบายซึ่งเข้าข้างฝ่ายผู้กระทำไม่สนใจผู้ถูกกระทำแล้วบรรยากาศความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นการรุกตรงนี้มันไม่ใช่นโยบายพื้นที่ มันคือนโยบายชาติ มันต้องไปให้ถึงเหนือ อีสาน กลาง กรุงเทพฯ หรือภาคใต้ในส่วนที่ไม่ใช่ ๓ จังหวัด ๕ จังหวัดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่มีการทำในเชิงรุกเพียงพอ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับเรื่องของประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ในทุกแง่มุม อย่าเอียงไปมุมใดมุมหนึ่ง ว่ากันตามความเป็นจริง ส่วนเรื่องของการจัดการในการใช้กำลังเมื่อมีความจำเป็น แต่มีกระบวนการตรวจสอบให้เกิดความเข้าใจว่ามันยังมีความรักษาความยุติธรรมและการเคารพสิทธิ เสรีภาพ มันก็จะได้ทำได้ พร้อม ๆ กันไป บรรยากาศตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก แม้ว่านโยบายภาพรวมในขณะนี้ถ้อยคำที่ใช้นั้นมันใช่ แต่ในทางปฏิบัติมันยังไม่เกิดแล้วถ้าเราปล่อยให้ ถ้อยคำนี้ถูกเข้าใจผิดกลายเป็นของไม่ดีไปมันจะยากขึ้นอีกเท่าไหร่ในการที่จะมาแก้ไข ฉะนั้นบรรยากาศของความปรองดองจึงเป็นประเด็นที่สอง
สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่อาจจะต้องใช้เวลาในการทำงาน เราไปพูดไม่ได้หรอกว่า อีก ๑ ปีสงบ ๕ ปีสงบ ๑๐ ปีสงบแต่ว่าสถานการณ์คลี่คลายนั้นต้องมีเป้าหมายให้ได้ นโยบายหลายเรื่องมันใช้เวลา เช่น เราพูดถึงระบบการศึกษา เราพูดถึงเศรษฐกิจ มันคงใช้เวลานาน ความสำคัญคงไม่ใช่ว่าต้องรอให้งานพวกนี้เสร็จ เราถึงจะสามารถรุกคืบไปได้ในด้าน“ความคิด จิตใจ”ไม่ใช่ แต่มันคือเรื่องของการสร้างความหวัง ถ้าในพื้นที่เริ่มมีการพูดกันว่าจริง ๆ ตอนนี้ก็ไม่รู้แล้ว ไม่สนใจแล้วว่าจะแบ่งแยก ไม่แบ่งแยก แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอยู่ไปทำไม อยู่กับฝ่ายหนึ่งไปทำไม อยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งไปทำไม มันก็ไม่มีความหวัง มันก็ไม่มีความผูกพัน มันก็ไม่มีพลังในการที่จะไปชนะในเรื่องของ “ความคิด จิตใจ” ได้เลย
ความสำเร็จในอดีตรัฐมี แต่ว่าในทางการเมือง สิ่งนี้ไม่พอที่จะเป็นหลักประกันความหวัง ความดีในอดีตถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วเพราะมันเป็นหน้าที่รัฐ แต่หน้าที่วันนี้คือ “อนาคต” จะทำอะไรให้ เพราะฉะนั้นมันไม่จำเป็นต้องมีความสำเร็จในทันทีเสมอไป ขอให้มีรูปธรรมของการเริ่มต้นในสิ่งเหล่านี้ให้เห็นว่ามันมีความตั้งใจจริง มันมีงานที่เริ่มออกมา มันจะเป็นตัวสร้างความหวังที่จะเป็นตัวผูกให้เราสามารถเอาชนะกันในทาง “ความคิด จิตใจ” ได้
กรณีเศรษฐกิจพิเศษนั้น ต้องทำให้มันหมายถึงเศรษฐกิจชาวบ้าน เศรษฐกิจชาวบ้านคือเราสามารถตอบได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจตรงนี้นั้นมันสอดคล้องกับพื้นฐานวิถีชีวิต ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบที่คนข้างนอกคิดเอง เออเองมายัดเยียดให้ มันต้องคิดมาจากฐานว่าวิถีชีวิต ความเชื่อไม่ถูกกระทบอย่างไร แล้วมันเป็นเศรษฐกิจที่พี่น้องใน ๓ จังหวัดภาคภูมิใจว่ามันเป็นเศรษฐกิจของเขาจริง ๆ แต่ว่ามันเจริญมีความก้าวหน้าได้แล้วก็สร้างโอกาสได้ให้กับคนของเรา ให้กับลูกหลานของเราทุกคน อันนี้ก็ต้องทำ
ในเรื่องของการศึกษา ตั้งแต่เล็กขึ้นมาจนถึงประถม มัธยม ทั้งโรงเรียนรัฐ ทั้งโรงเรียนสอนศาสนานั้น ต้องมีคำตอบ ไม่ว่าจะไปอยู่โรงเรียนรัฐ หรือโรงเรียนสอนศาสนาต้องมั่นใจว่าเด็กจบมาแล้ว อย่างน้อยทำงานได้ มีงานทำ และขณะเดียวกันก็คือ ออกมาแล้ว เข้าใจรู้จักหลักคำสอนทางศาสนาที่ถูกต้อง อันนี้ก็ต้องทำเป็นระบบ ไม่เห็นผลทันทีแต่ว่าแต่ละมาตรการที่ออกมานั่นคือการเติมความหวัง ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญที่สุดตอนนี้ที่ต้องทำให้คนของเรามี
สำหรับกรณีการมีส่วนร่วม เดี๋ยวนี้กำลังจะไป“ติดกับ” คือ การมาถกเถียงเรื่อง “เขตปกครองพิเศษ” ที่ “ติดกับ” ก็คือว่าสาระสำคัญของตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่โครงสร้าง ความสำคัญมันอยู่ที่ว่าประชาชนแต่ละคนนั้นรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ มีสิทธิในการกำหนดอนาคตแค่ไหน ถ้าเราบอกว่ามีเขตปกครองพิเศษ แต่ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนมีอำนาจกับคนประชาชนธรรมดาไม่ได้ต่างกัน เพียงแต่เปลี่ยนคนที่มาถืออำนาจนั้นมันจะแก้ปัญหาอะไรได้
เพราะฉะนั้นรูปแบบที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต.) หัวใจคือทำอย่างไรให้ตรงนั้นประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นสาระมันอยู่ที่การมีส่วนร่วมของคนในชีวิตประจำวันในพื้นที่จริง ๆ มากกว่าเรื่องทางโครงสร้าง การมีส่วนร่วมตรงนี้ก็คือขอให้คิดอย่าเฉพาะเรื่องของการเมือง การบริหาร ต้องคิดเรื่องการศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ คือทำให้มันเป็นวิถีปฏิบัติ ยึดถือว่าเป็นหลักการของทุกวงการ ทุกส่วน ตรงนี้แหละที่มันจะทำให้สัมผัสได้จริงว่า อำนาจอยู่ในมือของคนที่อยู่ในพื้นที่
สุดท้ายเรื่องการต่างประเทศนั้น ขณะนี้ถือว่ารัฐบาลได้ทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งควรจะสานต่อไป จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้จะโยงกลับไปถึงเรื่องของหลักคิดใหญ่เรื่อง “ความคิด จิตใจ” มันอยู่ที่ว่า เราทำให้คนในพื้นที่รู้สึกอย่างไร
ปณิธานของเราคือ ทำให้พี่น้องที่นี่ทุกคนมีชีวิตที่สงบสุข มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความหวัง มีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินเดียวกันใต้ร่มบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หากความรู้สึกนี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนผมมองไม่เห็นว่าองค์กรไหนจะมาเอาชนะได้ และทั้งหมดนี้มันยึดหลักง่าย ๆนั่นคือ “ประชาชนต้องมาก่อน”
(ที่มา:ปรับปรุงมาจากการอภิปราย ในหัวข้อ “จากอดีตถึงปัจจุบันกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้”โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ในโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้” ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2550--จบ--