เกษตรกรภาคตะวันออก วอนรัฐบาลเห็นใจ ช่วยสนับสนุนและกระตุ้นราคาผลไม้ไทยให้สูงขึ้น ด้านสศข.6 ชี้หลังเข้าร่วมโครงการยอดขายไม่กระเตื้อง
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 สังกัดสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด เป็นจังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนและมังคุดเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันต้องประสบกับปัญหาด้านราคา ตลาด การกีดกันทางการค้า การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช หรือ (Good Agricultural Practice : GAP) เป็นมาตรการหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตางการเกษตรมีมาตรฐานเพิ่มขึ้น และได้รับการรับรอง สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เพิ่มขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรเขต 6 ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จึงได้ทำการประเมินผลเพื่อทราบ ผลของมาตรการ ปัญหาอุปสรรค ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรการ สำหรับใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาปรับปรุงมาตรการดังกล่าวต่อไป
จากผลการประเมินพบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.78 ทราบข้อมูล เกี่ยวกับโครงการจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกส่วนหนึ่งตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเนื่องจากคิดว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์และคาดว่าจะขายได้ราคาเพิ่มขึ้น/ง่ายขึ้น ในด้านความคาดหวังหลังจากเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ร้อยละ43.10 คาดหวังว่าจะขายสินค้าได้ใน ราคาที่สูงขึ้น รองลงมาร้อยละ 25.68 คาดหวังว่าจะขายสินค้าได้ง่ายขึ้น ร้อยละ 20.55 คาดหวังว่า ต้นทุนการผลิตจะลดลง ร้อยละ 10.67 คาดหวังว่าภาครัฐจะเข้ามาดูแลมากขึ้น เกษตรกรทุกคน เข้าร่วมโครงการฯ ด้วยความสมัครใจโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.53 เข้ารับการอบรมวิธีการปฏิบัติตาม GAP สวนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.27 มีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจแปลง
การปฏิบัติตาม GAP ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.93 เห็นว่าทำให้ต้นทุนลดลง ร้อยละ 83.07 เห็นว่า ยังขายผลผลิตได้ราคาเท่าเดิม เปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ สภาพดินในสวนของ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.80 ของสวนที่เข้าร่วมโครงการมีสภาพดินดีขึ้น ร้อยละ 82.03 มีสภาพต้นไม้ดีขึ้น สุขภาพของเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการฯ ร้อยละ 70.78 มีสุขภาพดีขึ้น ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการ GAP เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.75 มีความพึงพอใจมาก
จะเห็นได้ว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคาดหวังว่าเมื่อเข้าร่วมโครงการแล้วจะทำให้ขาย ผลผลิตทางการเกษตรได้ง่ายในราคาที่สูงขึ้น แต่หลังเข้าร่วมโครงการฯ สินค้าที่ขายได้ยังมีราคา เท่าเดิมและไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังมี ความพึงพอใจในโครงการ เพราะสิ่งที่ได้รับและเห็นผลคือต้นทุนการผลิตลดลง เพราะลดการใช้ปัจจัย ที่เกินความจำเป็นของพืชและมีการปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพมากขึ้น สภาพดิน สภาพต้นไม้ และสุขภาพของเกษตรกรดีขึ้น ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีกำลังที่จะปฏิบัติตามหลัก GAP ต่อ โดยคาดหวังว่าราคาจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการตลาดเข้ามาสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ราคาผลผลิตจากสวนของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีราคาสูงมากขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 สังกัดสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด เป็นจังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนและมังคุดเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันต้องประสบกับปัญหาด้านราคา ตลาด การกีดกันทางการค้า การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช หรือ (Good Agricultural Practice : GAP) เป็นมาตรการหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตางการเกษตรมีมาตรฐานเพิ่มขึ้น และได้รับการรับรอง สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เพิ่มขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรเขต 6 ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จึงได้ทำการประเมินผลเพื่อทราบ ผลของมาตรการ ปัญหาอุปสรรค ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรการ สำหรับใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาปรับปรุงมาตรการดังกล่าวต่อไป
จากผลการประเมินพบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.78 ทราบข้อมูล เกี่ยวกับโครงการจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกส่วนหนึ่งตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเนื่องจากคิดว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์และคาดว่าจะขายได้ราคาเพิ่มขึ้น/ง่ายขึ้น ในด้านความคาดหวังหลังจากเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ร้อยละ43.10 คาดหวังว่าจะขายสินค้าได้ใน ราคาที่สูงขึ้น รองลงมาร้อยละ 25.68 คาดหวังว่าจะขายสินค้าได้ง่ายขึ้น ร้อยละ 20.55 คาดหวังว่า ต้นทุนการผลิตจะลดลง ร้อยละ 10.67 คาดหวังว่าภาครัฐจะเข้ามาดูแลมากขึ้น เกษตรกรทุกคน เข้าร่วมโครงการฯ ด้วยความสมัครใจโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.53 เข้ารับการอบรมวิธีการปฏิบัติตาม GAP สวนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.27 มีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจแปลง
การปฏิบัติตาม GAP ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.93 เห็นว่าทำให้ต้นทุนลดลง ร้อยละ 83.07 เห็นว่า ยังขายผลผลิตได้ราคาเท่าเดิม เปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ สภาพดินในสวนของ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.80 ของสวนที่เข้าร่วมโครงการมีสภาพดินดีขึ้น ร้อยละ 82.03 มีสภาพต้นไม้ดีขึ้น สุขภาพของเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการฯ ร้อยละ 70.78 มีสุขภาพดีขึ้น ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการ GAP เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.75 มีความพึงพอใจมาก
จะเห็นได้ว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคาดหวังว่าเมื่อเข้าร่วมโครงการแล้วจะทำให้ขาย ผลผลิตทางการเกษตรได้ง่ายในราคาที่สูงขึ้น แต่หลังเข้าร่วมโครงการฯ สินค้าที่ขายได้ยังมีราคา เท่าเดิมและไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังมี ความพึงพอใจในโครงการ เพราะสิ่งที่ได้รับและเห็นผลคือต้นทุนการผลิตลดลง เพราะลดการใช้ปัจจัย ที่เกินความจำเป็นของพืชและมีการปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพมากขึ้น สภาพดิน สภาพต้นไม้ และสุขภาพของเกษตรกรดีขึ้น ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีกำลังที่จะปฏิบัติตามหลัก GAP ต่อ โดยคาดหวังว่าราคาจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการตลาดเข้ามาสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ราคาผลผลิตจากสวนของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีราคาสูงมากขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-