วันนี้( 28 ม.ค.50 ) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แถลงว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนผ่านตู้ปณ. 222 คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานและหลักฐานประกอบผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการวุฒิสภามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการฮุบที่หลวงโดยออกโฉนดโดยมิชอบทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มนักการเมืองอิทธิพลและยังนำโฉนดที่ออกโดยมิชอบไปจำนองธนาคารด้วยราคาสูงผิดปกติ
จากการสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
1. การนำโฉนดที่ดินที่ได้มาโดยมิชอบเพราะเป็นที่หลวงไปค้ำประกันกับธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะแปลงโฉนดเลขที่8564 (บ้านใหญ่ของนายเนวิน ชิดชอบ) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2518 โดยนายประพันธ์ สมานประธาน(บิดานายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ในขณะนั้น) ผู้ขอออกโฉนดได้นำที่ดินแปลงนี้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ ในวงเงิน100,000 บาท และปี2532 ขอเพิ่มวงเงินเป็น300,000 บาท ต่อมาได้เปลี่ยนมือผู้ถือครองหลายรายภายในกลุ่มนายเนวิน จนถึงวันที่14 กรกฏาคม 2540 นางกรุณา ชิดชอบภรรยานายเนวินได้ซื้อต่อจากนายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล (ส.ส.กลุ่มเนวิน-กลุ่ม ๑๖)และวันเดียวกันได้นำที่ดินแปลงนี้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาบุรีรัมย์ในนาม บ.อาเซียน จำกัดวงเงินกู้สูงถึง 70 ล้านบาทซึ่งเป็นวงเงินที่สูงผิดปกติ ทั้งที่สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือถึงธนาคารกรุงไทยเพื่อแจ้งและยืนยันว่าที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยแต่ธนาคารยังปล่อยเงินกู้
2. การนำที่ดินแปลงเลขที่ 3466 ที่นายชัย ชิดขอบเป็นผู้ขอออกโฉนดโดยไม่มีที่มาโดยมิชอบไปค้ำประกันเงินกู้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2525 ธนาคารกรุงไทย ต่อมาไถ่ถอนและขายให้นางละออง ชิดชอบภรรยาตัวเองวันเดียวกันนั้นนางละอองก็ขายให้แก่บ.ศิลาชัย1991จำกัดพร้อมกันนั้นบ.ศิลาชัยฯได้นำที่ดินแปลงนี้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารสหธนาคารสาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ในวงเงิน31 ล้านบาททันที ซึ่งบ.ศิลาชัยฯมีทุนจดทะเบียนเพียง 5ล้านบาท(ปี2535) ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีนายเนวิน ชิดชอบเป็นประธานบริษัท นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล นายชัย ชิดชอบ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ , พ.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ (พี่เขยนายเนวิน-ปัจจุบันเป็นนายก อบจ. บุรีรัมย์)และนางละออง ชิดชอบเป็นกรรมการบริษัท
โดยที่ดินทั้งสองแปลงเป็นที่ดินของการรถไฟแห้งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟแผ่นดิน ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นที่หลวงของการรถไฟแห่งประเทศไทย
คณะทำงานฯ.พิจารณาจากพยานและหลักฐานเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวส่อว่าเข้าข่ายการกระทำความผิดกฎหมาย 5 ประเด็น
1. ฮุบที่หลวงโดยออกโฉนดผิดกฎหมาย
2. การครอบครองโดยมิชอบ
3. การซื้อ-ขาย-ไถ่-โอนที่หลวงโดยทุจริต
4.การนำที่หลวงไปจำนองธนาคารโดยฉ้อฉล
5.การปั่นราคาหลักทรัพย์โดยกลุ่มการเมืองเดียวกันเพื่อให้ได้วงเงินจำนองราคาสูงผิดปกติ
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดงนี้ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยและกรมที่ดินต่างเพิกเฉยต่อหน้าที่ในส่วนของตนที่รับผิดชอบไม่รีบดำเนินการแก้ไข จึงก่อให้เกิดปัญหาขยายออกไป เช่นกรณีการนำที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมานไปค้ำประกันเงินกู้ธนาคารในจำนวนเงินที่สูงมากผิดปกติ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ทั้งพนักงานของการรถไฟ พนักงานที่ดิน ผู้ขอออกโฉนด เจ้าหน้าที่ธนาคารและผู้นำโฉนดไปค้ำประกันโดยไม่สุจริต ซึ่งพึงรู้อยู่แล้วว่าที่ดินทั้ง 2 แปลงเป็นที่ดินที่มีปัญหาในกรรมสิทธิ์เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินตามกระบวนการทางกฎหมายนำคนผิดมาดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้รัฐบาลสั่งการให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบธนาคารกรุงไทยและธนาคารที่เกี่ยวข้องและให้กระทรวงคมนาคมสอบสวนผู้บริหารการรถไฟฯ เช่นเดียวกับให้กระทรวงคมนาคมสอบสวนผู้บริหารกรมที่ดินตลอดจนสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินคดีกับ 4 กลุ่ม 1. กลุ่มนักการเมือง 2. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ 3. พนักงานธนาคาร 4. บริษัทนิติบุคคล สถาบีนการเงินและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รองหัวหน้าพรรคกล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ม.ค. 2550--จบ--
จากการสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
1. การนำโฉนดที่ดินที่ได้มาโดยมิชอบเพราะเป็นที่หลวงไปค้ำประกันกับธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะแปลงโฉนดเลขที่8564 (บ้านใหญ่ของนายเนวิน ชิดชอบ) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2518 โดยนายประพันธ์ สมานประธาน(บิดานายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ในขณะนั้น) ผู้ขอออกโฉนดได้นำที่ดินแปลงนี้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ ในวงเงิน100,000 บาท และปี2532 ขอเพิ่มวงเงินเป็น300,000 บาท ต่อมาได้เปลี่ยนมือผู้ถือครองหลายรายภายในกลุ่มนายเนวิน จนถึงวันที่14 กรกฏาคม 2540 นางกรุณา ชิดชอบภรรยานายเนวินได้ซื้อต่อจากนายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล (ส.ส.กลุ่มเนวิน-กลุ่ม ๑๖)และวันเดียวกันได้นำที่ดินแปลงนี้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาบุรีรัมย์ในนาม บ.อาเซียน จำกัดวงเงินกู้สูงถึง 70 ล้านบาทซึ่งเป็นวงเงินที่สูงผิดปกติ ทั้งที่สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือถึงธนาคารกรุงไทยเพื่อแจ้งและยืนยันว่าที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยแต่ธนาคารยังปล่อยเงินกู้
2. การนำที่ดินแปลงเลขที่ 3466 ที่นายชัย ชิดขอบเป็นผู้ขอออกโฉนดโดยไม่มีที่มาโดยมิชอบไปค้ำประกันเงินกู้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2525 ธนาคารกรุงไทย ต่อมาไถ่ถอนและขายให้นางละออง ชิดชอบภรรยาตัวเองวันเดียวกันนั้นนางละอองก็ขายให้แก่บ.ศิลาชัย1991จำกัดพร้อมกันนั้นบ.ศิลาชัยฯได้นำที่ดินแปลงนี้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารสหธนาคารสาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ในวงเงิน31 ล้านบาททันที ซึ่งบ.ศิลาชัยฯมีทุนจดทะเบียนเพียง 5ล้านบาท(ปี2535) ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีนายเนวิน ชิดชอบเป็นประธานบริษัท นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล นายชัย ชิดชอบ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ , พ.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ (พี่เขยนายเนวิน-ปัจจุบันเป็นนายก อบจ. บุรีรัมย์)และนางละออง ชิดชอบเป็นกรรมการบริษัท
โดยที่ดินทั้งสองแปลงเป็นที่ดินของการรถไฟแห้งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟแผ่นดิน ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นที่หลวงของการรถไฟแห่งประเทศไทย
คณะทำงานฯ.พิจารณาจากพยานและหลักฐานเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวส่อว่าเข้าข่ายการกระทำความผิดกฎหมาย 5 ประเด็น
1. ฮุบที่หลวงโดยออกโฉนดผิดกฎหมาย
2. การครอบครองโดยมิชอบ
3. การซื้อ-ขาย-ไถ่-โอนที่หลวงโดยทุจริต
4.การนำที่หลวงไปจำนองธนาคารโดยฉ้อฉล
5.การปั่นราคาหลักทรัพย์โดยกลุ่มการเมืองเดียวกันเพื่อให้ได้วงเงินจำนองราคาสูงผิดปกติ
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดงนี้ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยและกรมที่ดินต่างเพิกเฉยต่อหน้าที่ในส่วนของตนที่รับผิดชอบไม่รีบดำเนินการแก้ไข จึงก่อให้เกิดปัญหาขยายออกไป เช่นกรณีการนำที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมานไปค้ำประกันเงินกู้ธนาคารในจำนวนเงินที่สูงมากผิดปกติ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ทั้งพนักงานของการรถไฟ พนักงานที่ดิน ผู้ขอออกโฉนด เจ้าหน้าที่ธนาคารและผู้นำโฉนดไปค้ำประกันโดยไม่สุจริต ซึ่งพึงรู้อยู่แล้วว่าที่ดินทั้ง 2 แปลงเป็นที่ดินที่มีปัญหาในกรรมสิทธิ์เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินตามกระบวนการทางกฎหมายนำคนผิดมาดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้รัฐบาลสั่งการให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบธนาคารกรุงไทยและธนาคารที่เกี่ยวข้องและให้กระทรวงคมนาคมสอบสวนผู้บริหารการรถไฟฯ เช่นเดียวกับให้กระทรวงคมนาคมสอบสวนผู้บริหารกรมที่ดินตลอดจนสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินคดีกับ 4 กลุ่ม 1. กลุ่มนักการเมือง 2. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ 3. พนักงานธนาคาร 4. บริษัทนิติบุคคล สถาบีนการเงินและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รองหัวหน้าพรรคกล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ม.ค. 2550--จบ--