สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับการผลิตสุกรประสบปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจทำให้มีสุกรส่วนหนึ่งเสียหาย ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดจึงเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.30 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.55 บาท ส่วนราคา ลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ความต้องการบริโภคจึงลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
กรมปศุสัตว์ ได้ร่างคู่มือความปลอดภัยทางชีวภาพระดับชาติของการทำฟาร์มไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ เพื่อเข้าสู่ระบบคอมพาร์ทเมนท์ซึ่งคู่มือนี้ได้อ้างอิงจากระเบียบการเลี้ยงสัตว์ปีกที่ปลอดภัย จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรป ซึ่งระบบดังกล่าวจะเน้นการควบคุมและการเลี้ยงด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ โรคที่สำคัญที่ป้องกันได้มี 2 ชนิด คือ ไข้หวัดนก และนิวคาสเซิล การควบคุมจะต้องเพิ่มความเข้มงวดทุกระบบการเลี้ยง โดยแยกออกเป็นฟาร์ม และควรมีเขตกันชนรอบฟาร์มอย่างน้อย 1 กิโลเมตร
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการต่อสู้กับไข้หวัดนกในเวียดนามจะได้ดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจากประเทศออสเตรเลีย ฟินแลนด์ ลักแซมเบิร์ก สวีเดน และ สวิตเซอร์แลนด์ รวม 5 ประเทศ ได้มอบเงินจำนวน 5.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวงเงินที่ต้องใช้เงินทั้งหมด 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการต่อสู้ไข้หวัดนก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับสหประชาชาติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 41.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.16 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.29 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล และข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 227 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 232 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 213 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 247 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 292 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 297 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 255 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 288 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 287 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.01 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.98 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.02 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พ.ย.-4 ธ.ค. 2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับการผลิตสุกรประสบปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจทำให้มีสุกรส่วนหนึ่งเสียหาย ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดจึงเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.30 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.55 บาท ส่วนราคา ลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ความต้องการบริโภคจึงลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
กรมปศุสัตว์ ได้ร่างคู่มือความปลอดภัยทางชีวภาพระดับชาติของการทำฟาร์มไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ เพื่อเข้าสู่ระบบคอมพาร์ทเมนท์ซึ่งคู่มือนี้ได้อ้างอิงจากระเบียบการเลี้ยงสัตว์ปีกที่ปลอดภัย จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรป ซึ่งระบบดังกล่าวจะเน้นการควบคุมและการเลี้ยงด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ โรคที่สำคัญที่ป้องกันได้มี 2 ชนิด คือ ไข้หวัดนก และนิวคาสเซิล การควบคุมจะต้องเพิ่มความเข้มงวดทุกระบบการเลี้ยง โดยแยกออกเป็นฟาร์ม และควรมีเขตกันชนรอบฟาร์มอย่างน้อย 1 กิโลเมตร
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการต่อสู้กับไข้หวัดนกในเวียดนามจะได้ดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจากประเทศออสเตรเลีย ฟินแลนด์ ลักแซมเบิร์ก สวีเดน และ สวิตเซอร์แลนด์ รวม 5 ประเทศ ได้มอบเงินจำนวน 5.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวงเงินที่ต้องใช้เงินทั้งหมด 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการต่อสู้ไข้หวัดนก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับสหประชาชาติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 41.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.16 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.29 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล และข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 227 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 232 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 213 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 247 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 292 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 297 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 255 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 288 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 287 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.01 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.98 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.02 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พ.ย.-4 ธ.ค. 2548--
-พห-