ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.กำชับให้ ธพ.ดูแลการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของผู้ส่งออก รายงานข่าวจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกหนังสือด่วนผ่านระบบอีเมล์ถึง ธพ.ทุกธนาคาร ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง
ประเทศไทย ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย ธ.ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อกำชับให้สถาบันการเงินดูแลการทำธุรกรรมการซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้าของผู้ส่งออกให้เข้มงวดมากขึ้น ไม่ให้ใช้เป็นช่องทางในการเก็งกำไรค่าเงินบาท เนื่องจาก ธปท.พบว่าผู้ส่งออก
จำนวนมากได้เร่งเทขายเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ธปท.มีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ทำธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนตามที่เห็นสมควร โดยกรณีที่ผู้ส่งออกมีเอกสาร
หลักฐานที่แสดงแหล่งเงินได้เงินตราต่างประเทศในอนาคตที่ชัดเจนสามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้ตามปรกติ (โลกวันนี้,
กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด )
2. ธปท.ขยายขอบเขตการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุนของ ธพ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
มีหนังสือเวียนไปยัง ธพ.ทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการขยายขอบเขตให้ ธพ. สามารถทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุน
ได้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของตลาดในปัจจุบัน ทั้งนี้ อนุญาตเป็นการทั่วไปสำหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินตราสารทุนขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย สัญญาฟอร์เวิร์ดตราสารทุน (Equity Forwards) สัญญาฟิวเจอร์ตราสารทุน (Equity Futures) สัญญาสวอปตราสารทุน
(Equity Linked Swaps) และสัญญาออฟชั่นตราสารทุน (Equity Option) เท่านั้น สำหรับอนุพันธ์ประเภทอื่นต้องขออนุญาตจาก ธปท.
เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ธพ.ที่ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของ ธปท. โดยการอนุญาต
ดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. S&P คงระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นของตราสารหนี้รัฐบาลไทย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้
สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ได้ประกาศยืนยันระดับ
เครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Long 3 term/Short-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ
BBB+/A-2 และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินบาท (Long-term/Short-term Local Currency Rating)
ที่ระดับ A/A-1 โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) สำหรับปัจจัยที่ทำให้ S&P คงระดับเครดิตตราสารหนี้
รัฐบาลไทยไว้เท่าเดิม เนื่องจากไทยยังมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ มีการจัดการทางด้านการคลังอย่างระมัดระวัง และภาระหนี้
สุทธิของรัฐบาลที่ลดลง ซึ่งแม้ว่าจะมีปัจจัยด้านความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายการเมืองค่อนข้างมากนับตั้งแต่ปี 49 รวมทั้งความเสี่ยงเกี่ยวกับ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งจะทำให้ไทยยังคงรักษาระดับเครดิตไว้ได้ แต่หาก
ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงยืดเยื้อและไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบอบการเมืองตามปกติได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางเครดิต
ของไทยได้ในระยะต่อไป (ไทยโพสต์)
4. ผลการวิจัยระบุคนกรุงเทพฯ มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจไทยลดลง นางสาววิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการ
ตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการวิจัย “Thai View” ครั้งที่ 7 ไตรมาส 2 ปี 50 ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-10 มิ.ย.50
จากผู้ตอบอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 500 คน รายได้ครอบครัวตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เพื่อสำรวจแนวโน้มความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ
ที่มีต่อคุณภาพชีวิต สภาวะทางการเงินในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่า
คนกรุงเทพฯ มีความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนต่อจากนี้ ลดลงจาก 45% เป็น 25% เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว นอกจากนี้
ผลการวิจัยระบุว่า คนกรุงเทพฯ มีความสุขลดลงจาก 91% เป็น 85% โดยส่วนใหญ่เป็นกังวลต่อเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะว่างงาน อีกทั้งคาดการณ์
ว่าเศรษฐกิจการเมืองและอาชญากรรมมีทิศทางเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงภายใน 1-2 ปีข้างหน้านี้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดค้าปลีกของ สรอ. ในเดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน พ.ค. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 50
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จากกิจการขนาดใหญ่ในวอลสตรีท คาดว่าดัชนีค้าปลีกของก.พาณิชย์ ในเดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ร้อยละ 0.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเดือนที่แล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงจากเดือนที่แล้วประกอบกับยอดขายรถยนต์ลดลง แต่หาก
ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน พ.ค. ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จำนวน
73 คนคาดว่ายอดค้าปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์จะอยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 1.4 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อีก 66 คน
มีความเห็นแตกต่างกันโดยคาดว่ายอดค้าปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์จะอยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 1.0 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ทางการ
สรอ. มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ก.ค.50
สถาบันผู้สำรวจรับอนุญาตหรือ RICS รายงานดัชนีชี้วัดราคาบ้านในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มิ.ย.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +10.6 ลดลงมา
อยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ +22.5 และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 ที่ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยระยะยาว เป็นสัญญาณว่าราคาบ้านเริ่มชะลอตัวลงหลังจากราคาเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 49 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นถึง
5 ครั้งในช่วงไม่ถึง 1 ปีที่ผ่านมาเริ่มส่งผลทางจิตวิทยาต่อตลาดทำให้ผู้ที่คิดจะซื้อบ้านรายใหม่ต้องคิดทบทวนอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ โดยราคา
บ้านนอกตัวเมืองชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ราคาบ้านในลอนดอน สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือยังคงมีราคาสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของจีนภายหลังการทบทวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 สูงสุดในรอบ 12 ปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 ก.ค.50 รัฐบาลจีน
เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนทั้งปี 49 (ภายหลังการทบทวนใหม่) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 11.1 จากร้อยละ 10.7 นับ
เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 12 ปี และเป็นการประกาศก่อนที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ในไตรมาส 2 ปี 50 และตัวเลขอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับเดือน มิ.ย.50 ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ อนึ่ง เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติกล่าวเพิ่มเติมว่า
รายงานตัวเลขการทบทวนจีดีพีที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (www.stats.gov.cn) ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมและ
ภาคบริการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งกว่าที่รายงานไว้เบื้องต้นก่อนหน้านี้ โดยภาคบริการในปี 49 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 จากร้อยละ 10.3
ส่วนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากร้อยละ 12.5 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ขยายตัวไม่
ต่ำกว่าร้อยละ 10 สำหรับไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 11.1 เหนือกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงาน
สถิติ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จีดีพีของจีนทั้งปี 49 มีจำนวน 21.09 ล้านล้านหยวน (2.79 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) อย่างไรก็ตาม ตัวเลข
ดังกล่าวอาจมีการทบทวนอีกครั้งให้สอดคล้องกับกิจกรรมตามปกติ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนช่วงครึ่งแรกปีนี้พุ่งขึ้นถึงระดับ 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงปักกิ่ง
ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 ก.ค.50 ธ.กลางของจีน เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงครึ่งแรก
ของปีนี้เพิ่มขึ้น 266.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ยอดรวมพุ่งขึ้นถึงระดับ 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลมาจากการได้เปรียบ
ดุลการค้าจำนวนมากทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้า ซึ่งทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีการเร่งตัวเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.2550
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากจีนได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก และยัง
คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างไรก็ตาม คาดว่าตัวเลขเกินดุลการค้าของจีนจะลดลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลัง
ของปีนี้ ทั้งนี้ ทุนสำรองฯ ของจีนเพิ่มขึ้น 130.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงไตรมาส 2 หลังจากที่ตัวเลขรายไตรมาสเพิ่มขึ้นเป็นสถิติ
135.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก ซึ่งต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้น 78.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และ 46.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาส 4 และไตรมาส 3 ปี 49 ตามลำดับ อนึ่ง ทุนสำรองฯ ของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจาก
ธ.กลางของจีนได้พยายามควบคุมค่าเงินหยวน โดยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจากการเกินดุลการค้า การไหลเข้า
ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการเก็งกำไรค่าเงิน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.ค. 50 11 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.297 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0848/33.4298 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.65094 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 846.28/34.40 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.81 70.44 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 30.39*/25.74** 30.39*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 7 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.กำชับให้ ธพ.ดูแลการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของผู้ส่งออก รายงานข่าวจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกหนังสือด่วนผ่านระบบอีเมล์ถึง ธพ.ทุกธนาคาร ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง
ประเทศไทย ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย ธ.ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อกำชับให้สถาบันการเงินดูแลการทำธุรกรรมการซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้าของผู้ส่งออกให้เข้มงวดมากขึ้น ไม่ให้ใช้เป็นช่องทางในการเก็งกำไรค่าเงินบาท เนื่องจาก ธปท.พบว่าผู้ส่งออก
จำนวนมากได้เร่งเทขายเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ธปท.มีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ทำธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนตามที่เห็นสมควร โดยกรณีที่ผู้ส่งออกมีเอกสาร
หลักฐานที่แสดงแหล่งเงินได้เงินตราต่างประเทศในอนาคตที่ชัดเจนสามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้ตามปรกติ (โลกวันนี้,
กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด )
2. ธปท.ขยายขอบเขตการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุนของ ธพ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
มีหนังสือเวียนไปยัง ธพ.ทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการขยายขอบเขตให้ ธพ. สามารถทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุน
ได้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของตลาดในปัจจุบัน ทั้งนี้ อนุญาตเป็นการทั่วไปสำหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินตราสารทุนขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย สัญญาฟอร์เวิร์ดตราสารทุน (Equity Forwards) สัญญาฟิวเจอร์ตราสารทุน (Equity Futures) สัญญาสวอปตราสารทุน
(Equity Linked Swaps) และสัญญาออฟชั่นตราสารทุน (Equity Option) เท่านั้น สำหรับอนุพันธ์ประเภทอื่นต้องขออนุญาตจาก ธปท.
เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ธพ.ที่ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของ ธปท. โดยการอนุญาต
ดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. S&P คงระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นของตราสารหนี้รัฐบาลไทย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้
สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ได้ประกาศยืนยันระดับ
เครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Long 3 term/Short-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ
BBB+/A-2 และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินบาท (Long-term/Short-term Local Currency Rating)
ที่ระดับ A/A-1 โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) สำหรับปัจจัยที่ทำให้ S&P คงระดับเครดิตตราสารหนี้
รัฐบาลไทยไว้เท่าเดิม เนื่องจากไทยยังมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ มีการจัดการทางด้านการคลังอย่างระมัดระวัง และภาระหนี้
สุทธิของรัฐบาลที่ลดลง ซึ่งแม้ว่าจะมีปัจจัยด้านความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายการเมืองค่อนข้างมากนับตั้งแต่ปี 49 รวมทั้งความเสี่ยงเกี่ยวกับ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งจะทำให้ไทยยังคงรักษาระดับเครดิตไว้ได้ แต่หาก
ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงยืดเยื้อและไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบอบการเมืองตามปกติได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางเครดิต
ของไทยได้ในระยะต่อไป (ไทยโพสต์)
4. ผลการวิจัยระบุคนกรุงเทพฯ มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจไทยลดลง นางสาววิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการ
ตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการวิจัย “Thai View” ครั้งที่ 7 ไตรมาส 2 ปี 50 ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-10 มิ.ย.50
จากผู้ตอบอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 500 คน รายได้ครอบครัวตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เพื่อสำรวจแนวโน้มความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ
ที่มีต่อคุณภาพชีวิต สภาวะทางการเงินในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่า
คนกรุงเทพฯ มีความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนต่อจากนี้ ลดลงจาก 45% เป็น 25% เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว นอกจากนี้
ผลการวิจัยระบุว่า คนกรุงเทพฯ มีความสุขลดลงจาก 91% เป็น 85% โดยส่วนใหญ่เป็นกังวลต่อเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะว่างงาน อีกทั้งคาดการณ์
ว่าเศรษฐกิจการเมืองและอาชญากรรมมีทิศทางเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงภายใน 1-2 ปีข้างหน้านี้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดค้าปลีกของ สรอ. ในเดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน พ.ค. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 50
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จากกิจการขนาดใหญ่ในวอลสตรีท คาดว่าดัชนีค้าปลีกของก.พาณิชย์ ในเดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ร้อยละ 0.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเดือนที่แล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงจากเดือนที่แล้วประกอบกับยอดขายรถยนต์ลดลง แต่หาก
ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน พ.ค. ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จำนวน
73 คนคาดว่ายอดค้าปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์จะอยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 1.4 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อีก 66 คน
มีความเห็นแตกต่างกันโดยคาดว่ายอดค้าปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์จะอยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 1.0 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ทางการ
สรอ. มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ก.ค.50
สถาบันผู้สำรวจรับอนุญาตหรือ RICS รายงานดัชนีชี้วัดราคาบ้านในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มิ.ย.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +10.6 ลดลงมา
อยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ +22.5 และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 ที่ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยระยะยาว เป็นสัญญาณว่าราคาบ้านเริ่มชะลอตัวลงหลังจากราคาเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 49 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นถึง
5 ครั้งในช่วงไม่ถึง 1 ปีที่ผ่านมาเริ่มส่งผลทางจิตวิทยาต่อตลาดทำให้ผู้ที่คิดจะซื้อบ้านรายใหม่ต้องคิดทบทวนอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ โดยราคา
บ้านนอกตัวเมืองชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ราคาบ้านในลอนดอน สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือยังคงมีราคาสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของจีนภายหลังการทบทวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 สูงสุดในรอบ 12 ปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 ก.ค.50 รัฐบาลจีน
เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนทั้งปี 49 (ภายหลังการทบทวนใหม่) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 11.1 จากร้อยละ 10.7 นับ
เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 12 ปี และเป็นการประกาศก่อนที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ในไตรมาส 2 ปี 50 และตัวเลขอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับเดือน มิ.ย.50 ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ อนึ่ง เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติกล่าวเพิ่มเติมว่า
รายงานตัวเลขการทบทวนจีดีพีที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (www.stats.gov.cn) ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมและ
ภาคบริการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งกว่าที่รายงานไว้เบื้องต้นก่อนหน้านี้ โดยภาคบริการในปี 49 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 จากร้อยละ 10.3
ส่วนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากร้อยละ 12.5 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ขยายตัวไม่
ต่ำกว่าร้อยละ 10 สำหรับไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 11.1 เหนือกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงาน
สถิติ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จีดีพีของจีนทั้งปี 49 มีจำนวน 21.09 ล้านล้านหยวน (2.79 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) อย่างไรก็ตาม ตัวเลข
ดังกล่าวอาจมีการทบทวนอีกครั้งให้สอดคล้องกับกิจกรรมตามปกติ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนช่วงครึ่งแรกปีนี้พุ่งขึ้นถึงระดับ 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงปักกิ่ง
ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 ก.ค.50 ธ.กลางของจีน เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงครึ่งแรก
ของปีนี้เพิ่มขึ้น 266.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ยอดรวมพุ่งขึ้นถึงระดับ 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลมาจากการได้เปรียบ
ดุลการค้าจำนวนมากทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้า ซึ่งทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีการเร่งตัวเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.2550
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากจีนได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก และยัง
คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างไรก็ตาม คาดว่าตัวเลขเกินดุลการค้าของจีนจะลดลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลัง
ของปีนี้ ทั้งนี้ ทุนสำรองฯ ของจีนเพิ่มขึ้น 130.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงไตรมาส 2 หลังจากที่ตัวเลขรายไตรมาสเพิ่มขึ้นเป็นสถิติ
135.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก ซึ่งต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้น 78.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และ 46.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาส 4 และไตรมาส 3 ปี 49 ตามลำดับ อนึ่ง ทุนสำรองฯ ของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจาก
ธ.กลางของจีนได้พยายามควบคุมค่าเงินหยวน โดยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจากการเกินดุลการค้า การไหลเข้า
ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการเก็งกำไรค่าเงิน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.ค. 50 11 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.297 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0848/33.4298 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.65094 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 846.28/34.40 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.81 70.44 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 30.39*/25.74** 30.39*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 7 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--