ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ทิศทางของนโยบายการเงินในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 18 ก.ค.นี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลในช่วงเวลานั้น
สำหรับช่วงนี้เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลจากเรื่องการเมืองและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงไป
ก่อนหน้านี้จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจต้องใช้เวลา 4-6 ไตรมาส ซึ่งหาก ธปท.ยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเรื่อยๆ เมื่อความเชื่อมั่นกลับคืนมา
เศรษฐกิจไทยอาจต้องตกอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยขาขึ้นกลับมาเร็วมาก และการดำเนินนโยบายการเงินจะมีความ
หวือหวาเกินไป อนึ่ง ขณะนี้ ธ.กลางในต่างประเทศบางแห่งมีแนวโน้มว่าจะระบุถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ตลาดคาดการณ์ได้ ทำให้เกิด
ความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ยังไม่มี ธ.กลางประเทศใดที่ดำเนินการไปแล้ว และ ธปท.ยังไม่มีแนวคิดที่จะดำเนินการเช่นกัน โดยมองว่า
หากอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามแนวโน้มที่ระบุไว้ จะทำให้ ธ.กลางขาดความน่าเชื่อถือได้ จึงเห็นว่าการให้ตลาดได้รับทราบทิศทางก็เพียงพอ
ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ (มติชน, เดลินิวส์)
2. ช่วงครึ่งแรกปี 50 คุณภาพลูกหนี้ของ ธพ.ลดลงเล็กน้อย นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.ไทยธนาคาร จำกัด
(มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่าคุณภาพลูกหนี้ของธนาคารไม่ค่อยดีนัก แต่ยังไม่ถึงระดับที่น่ากังวล ซึ่งธนาคารคงจะมีการ
พิจาณากำหนดเป้าหมายการขยายตัวของสินเชื่อในครึ่งปีหลังอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ประเทศญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับที่ดี จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น ด้านนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าบริหาร
ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ลูกค้าของธนาคารมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่ถือว่าอยู่ในระดับที่ผิดปกติ ซึ่งธนาคาร
คงต้องมีการปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวังมากขึ้นอีก (มติชน)
3. สถิติการว่างงานเดือน เม.ย.50 สูงสุดในรอบ 35 เดือน รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถิติการ
ว่างงานในเดือน เม.ย.50 มีจำนวน 6.3 แสนคน นับเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 35 เดือน และเพิ่มจากเดือน มี.ค.ถึง 8 หมื่นคน โดยผู้ที่
จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 2.3 แสนคน ส่วนอาชีพที่ว่างงานมากที่สุดคือจากภาคเกษตรกรรม 8 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม อัตรา
การว่างงานเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกลับลดลง 1.3 แสนคน โดยหากพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตรา
ว่างงานลดลงมากที่สุด 1 แสนคน ภาคกลางลดลง 5 หมื่นคน ภาคเหนือและภาคใต้เพิ่มขึ้นภาคละ 1 หมื่นคน ส่วนกรุงเทพฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
(เดลินิวส์)
4. สศอ.วิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อภาวะการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์
รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้วิเคราะห์ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 49 จนถึง
ปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 34.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นกว่า 15.5% โดยระบุว่า การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้
ประกอบการไทยมีขีดความสามารถการแข่งขันที่ลดลง โดยเฉพาะเมื่อส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักอย่างกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
โดยทำให้สินค้าของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพื่อส่งออกได้รับผลกระทบ
มากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ต้นทุนหลักในเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานของไทยสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศจีน อินเดีย และเวียดนาม แต่ต่ำกว่า
เกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ ขณะที่ผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมไทยยังสูงกว่าจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย สำหรับการเปรียบเทียบกับประเทศ
คู่แข่งจำนวน 17 ประเทศ พบว่าไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 12 การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ทั้งในด้านประสิทธิภาพของทุน
และแรงงาน จะทำให้ลดผลกระทบจากภาวะการแข็งค่าของเงินบาทได้ เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจาก
ภายนอก (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดส่งออกของเยอรมนีในไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 1.2 จากผลกระทบของค่าเงินยูโรที่สูงขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 21 มิ.ย.50 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานยอดส่งออกในไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 1.2 โดยคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงเดือน เม.ย.50 ก่อนที่จะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยเงินยูโรพุ่งสูงขึ้นอยู่
ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.3686 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรเมื่อสิ้นเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้วเยอรมนีครองตำแหน่ง
ประเทศผู้ส่งออกสินค้ามากที่สุดของโลกซึ่งมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 สูงสุดในรอบ 6 ปี แต่ยอดส่งออกที่ลดลงได้ทำให้
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือ GDP ในไตรมาสแรกลดลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัว
ร้อยละ 2.3 ต่อปี จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ยังคงใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวมประเทศเป็นต้นมา
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 มิ.ย.50
The Confederation of British Industry เปิดเผยว่า ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +8
จากระดับ +5 ในเดือน พ.ค.50 ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือน มี.ค.50 ที่เป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า
จะอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีการคาดการณ์ของผู้ประกอบการเกี่ยวกับผลผลิตโรงงานในอนาคตเพิ่มขึ้นอยู่
ที่ระดับ +25 จากระดับ +18 อันเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลข pricing intentions balances ลดลง
อย่างมากโดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ +16 หลังจากที่เคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีที่ระดับ +25 และจากแรงกดดันด้านราคาที่ลดลงทำให้มีการ
คาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยว่าอาจจะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนนี้ ธ.กลางอังกฤษยังคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
21 มิ.ย.50 ก.คลังของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากปีก่อน มูลค่ารวม
6.57 ล้านล้านเยน (53.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ร้อยละ 11.1 โดยการส่งออกไปยังเอเชียเพิ่มขึ้น
สูงถึงร้อยละ 18.6 มูลค่ารวม 3.23 ล้านล้านเยน ไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 มูลค่ารวม 1.03 ล้านล้านเยน และยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ
17.9 มูลค่ารวม 971 พันล้านเยน ซึ่งช่วยชดเชยการส่งออกไปยัง สรอ. ลูกค้ารายใหญ่สุดที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.4 จากปีก่อน มูลค่า 1.30 ล้านล้านเยน หลังจากที่การส่งออกไป สรอ. ในเดือน เม.ย.50 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี
ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 10.5 เนื่องจากค่าเงินเยนลดลง มูลค่ารวม
6.18 ล้านล้านเยน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงเหนือระดับ 6 ล้านล้านเยน เป็นครั้งแรก ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.3 จากปีก่อน มูลค่า 389.5 พันล้านเยน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 448.5 พันล้านเยน ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ในภาพรวมการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีทำให้คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ตามที่หลายสถาบันคาดการณ์ไว้
และมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 โดยคาดว่าจะเป็นเดือน ส.ค.50 (รอยเตอร์)
4. ธ. กลางเกาหลีใต้จะลดเพดานการสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กลงอีกในไตรมาสที่ 3 รายงานจากกรุงโซล
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 50 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 3 จะปรับลดเพดานการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กจากปัจจุบันที่ให้กู้สูงสุด
ได้ไม่เกิน 8 ล้าน ล้าน วอน เป็น 6.5 ล้าน ล้าน วอน (7.01 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) โดยให้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ซึ่งต่ำกว่า
อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 4.50 เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งนี้การจำกัดสินเชื่อดังกล่าวส่งสัญญานว่า ธ.กลางมี
ความกังวลเรื่องสภาพคล่องในระบบการเงินที่อยู่ในระดับสูง แต่นักวิเคราะห์หลายคนมีความเห็นว่านโยบายดังกล่าวจะกระทบต่อการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางเกาหลีใต้ ทำให้ ธ.กลางยืดเวลาการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปอีกจากที่มีการคาดการณ์
ว่าจะมีการปรับในเดือน ก.ค. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา นาย Lee Seong-tae
ผวก.ธ.กลางเกาหลีใต้เคยกล่าวเตือนถึงปริมาณเงินที่ขยายตัวอย่างมากว่าอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ จึงทำให้มีการคาดการณ์กันว่า
ธ.กลางเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างช้าในเดือนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 มิ.ย. 50 21 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.610 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3930/34.7281 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67344 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 776.20/23.52 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.45 65.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ทิศทางของนโยบายการเงินในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 18 ก.ค.นี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลในช่วงเวลานั้น
สำหรับช่วงนี้เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลจากเรื่องการเมืองและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงไป
ก่อนหน้านี้จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจต้องใช้เวลา 4-6 ไตรมาส ซึ่งหาก ธปท.ยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเรื่อยๆ เมื่อความเชื่อมั่นกลับคืนมา
เศรษฐกิจไทยอาจต้องตกอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยขาขึ้นกลับมาเร็วมาก และการดำเนินนโยบายการเงินจะมีความ
หวือหวาเกินไป อนึ่ง ขณะนี้ ธ.กลางในต่างประเทศบางแห่งมีแนวโน้มว่าจะระบุถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ตลาดคาดการณ์ได้ ทำให้เกิด
ความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ยังไม่มี ธ.กลางประเทศใดที่ดำเนินการไปแล้ว และ ธปท.ยังไม่มีแนวคิดที่จะดำเนินการเช่นกัน โดยมองว่า
หากอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามแนวโน้มที่ระบุไว้ จะทำให้ ธ.กลางขาดความน่าเชื่อถือได้ จึงเห็นว่าการให้ตลาดได้รับทราบทิศทางก็เพียงพอ
ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ (มติชน, เดลินิวส์)
2. ช่วงครึ่งแรกปี 50 คุณภาพลูกหนี้ของ ธพ.ลดลงเล็กน้อย นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.ไทยธนาคาร จำกัด
(มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่าคุณภาพลูกหนี้ของธนาคารไม่ค่อยดีนัก แต่ยังไม่ถึงระดับที่น่ากังวล ซึ่งธนาคารคงจะมีการ
พิจาณากำหนดเป้าหมายการขยายตัวของสินเชื่อในครึ่งปีหลังอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ประเทศญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับที่ดี จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น ด้านนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าบริหาร
ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ลูกค้าของธนาคารมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่ถือว่าอยู่ในระดับที่ผิดปกติ ซึ่งธนาคาร
คงต้องมีการปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวังมากขึ้นอีก (มติชน)
3. สถิติการว่างงานเดือน เม.ย.50 สูงสุดในรอบ 35 เดือน รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถิติการ
ว่างงานในเดือน เม.ย.50 มีจำนวน 6.3 แสนคน นับเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 35 เดือน และเพิ่มจากเดือน มี.ค.ถึง 8 หมื่นคน โดยผู้ที่
จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 2.3 แสนคน ส่วนอาชีพที่ว่างงานมากที่สุดคือจากภาคเกษตรกรรม 8 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม อัตรา
การว่างงานเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกลับลดลง 1.3 แสนคน โดยหากพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตรา
ว่างงานลดลงมากที่สุด 1 แสนคน ภาคกลางลดลง 5 หมื่นคน ภาคเหนือและภาคใต้เพิ่มขึ้นภาคละ 1 หมื่นคน ส่วนกรุงเทพฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
(เดลินิวส์)
4. สศอ.วิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อภาวะการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์
รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้วิเคราะห์ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 49 จนถึง
ปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 34.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นกว่า 15.5% โดยระบุว่า การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้
ประกอบการไทยมีขีดความสามารถการแข่งขันที่ลดลง โดยเฉพาะเมื่อส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักอย่างกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
โดยทำให้สินค้าของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพื่อส่งออกได้รับผลกระทบ
มากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ต้นทุนหลักในเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานของไทยสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศจีน อินเดีย และเวียดนาม แต่ต่ำกว่า
เกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ ขณะที่ผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมไทยยังสูงกว่าจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย สำหรับการเปรียบเทียบกับประเทศ
คู่แข่งจำนวน 17 ประเทศ พบว่าไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 12 การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ทั้งในด้านประสิทธิภาพของทุน
และแรงงาน จะทำให้ลดผลกระทบจากภาวะการแข็งค่าของเงินบาทได้ เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจาก
ภายนอก (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดส่งออกของเยอรมนีในไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 1.2 จากผลกระทบของค่าเงินยูโรที่สูงขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 21 มิ.ย.50 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานยอดส่งออกในไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 1.2 โดยคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงเดือน เม.ย.50 ก่อนที่จะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยเงินยูโรพุ่งสูงขึ้นอยู่
ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.3686 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรเมื่อสิ้นเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้วเยอรมนีครองตำแหน่ง
ประเทศผู้ส่งออกสินค้ามากที่สุดของโลกซึ่งมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 สูงสุดในรอบ 6 ปี แต่ยอดส่งออกที่ลดลงได้ทำให้
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือ GDP ในไตรมาสแรกลดลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัว
ร้อยละ 2.3 ต่อปี จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ยังคงใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวมประเทศเป็นต้นมา
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 มิ.ย.50
The Confederation of British Industry เปิดเผยว่า ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +8
จากระดับ +5 ในเดือน พ.ค.50 ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือน มี.ค.50 ที่เป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า
จะอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีการคาดการณ์ของผู้ประกอบการเกี่ยวกับผลผลิตโรงงานในอนาคตเพิ่มขึ้นอยู่
ที่ระดับ +25 จากระดับ +18 อันเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลข pricing intentions balances ลดลง
อย่างมากโดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ +16 หลังจากที่เคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีที่ระดับ +25 และจากแรงกดดันด้านราคาที่ลดลงทำให้มีการ
คาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยว่าอาจจะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนนี้ ธ.กลางอังกฤษยังคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
21 มิ.ย.50 ก.คลังของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากปีก่อน มูลค่ารวม
6.57 ล้านล้านเยน (53.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ร้อยละ 11.1 โดยการส่งออกไปยังเอเชียเพิ่มขึ้น
สูงถึงร้อยละ 18.6 มูลค่ารวม 3.23 ล้านล้านเยน ไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 มูลค่ารวม 1.03 ล้านล้านเยน และยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ
17.9 มูลค่ารวม 971 พันล้านเยน ซึ่งช่วยชดเชยการส่งออกไปยัง สรอ. ลูกค้ารายใหญ่สุดที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.4 จากปีก่อน มูลค่า 1.30 ล้านล้านเยน หลังจากที่การส่งออกไป สรอ. ในเดือน เม.ย.50 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี
ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 10.5 เนื่องจากค่าเงินเยนลดลง มูลค่ารวม
6.18 ล้านล้านเยน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงเหนือระดับ 6 ล้านล้านเยน เป็นครั้งแรก ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.3 จากปีก่อน มูลค่า 389.5 พันล้านเยน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 448.5 พันล้านเยน ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ในภาพรวมการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีทำให้คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ตามที่หลายสถาบันคาดการณ์ไว้
และมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 โดยคาดว่าจะเป็นเดือน ส.ค.50 (รอยเตอร์)
4. ธ. กลางเกาหลีใต้จะลดเพดานการสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กลงอีกในไตรมาสที่ 3 รายงานจากกรุงโซล
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 50 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 3 จะปรับลดเพดานการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กจากปัจจุบันที่ให้กู้สูงสุด
ได้ไม่เกิน 8 ล้าน ล้าน วอน เป็น 6.5 ล้าน ล้าน วอน (7.01 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) โดยให้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ซึ่งต่ำกว่า
อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 4.50 เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งนี้การจำกัดสินเชื่อดังกล่าวส่งสัญญานว่า ธ.กลางมี
ความกังวลเรื่องสภาพคล่องในระบบการเงินที่อยู่ในระดับสูง แต่นักวิเคราะห์หลายคนมีความเห็นว่านโยบายดังกล่าวจะกระทบต่อการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางเกาหลีใต้ ทำให้ ธ.กลางยืดเวลาการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปอีกจากที่มีการคาดการณ์
ว่าจะมีการปรับในเดือน ก.ค. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา นาย Lee Seong-tae
ผวก.ธ.กลางเกาหลีใต้เคยกล่าวเตือนถึงปริมาณเงินที่ขยายตัวอย่างมากว่าอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ จึงทำให้มีการคาดการณ์กันว่า
ธ.กลางเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างช้าในเดือนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 มิ.ย. 50 21 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.610 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3930/34.7281 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67344 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 776.20/23.52 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.45 65.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--