ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่า ธปท.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 ในการประชุมเดือน เม.ย.นี้ จากผลสำรวจ
ของรอยเตอร์ พบว่า นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อลดลง และค่าเงินบาทที่
แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(อาร์พี 1 วัน) ลงอย่างมาก โดยจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 ในการประชุมวันที่ 11 เม.ย.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังเร่งกระตุ้นรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุน รายงานจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (4 เม.ย.) ก.คลังได้เรียก
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่มาประชุม 17 แห่ง เพื่อมอบนโยบายและร่วมหารือแนวทางการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำ
ปี 50 โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่าย งปม.ที่เป็นงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดในปีนี้จำนวน 354,592 ล้านบาท แต่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่าย
ได้จริงร้อยละ 90 ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.49-ก.พ.50) มีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายไปได้จริง 50,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 14.15 ของเป้าหมาย แต่คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ยอดการเบิกจ่ายจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยร้อยละ 20-25 อย่างไรก็ตาม จากการ
หารือกับรัฐวิสาหกิจ 17 แห่งที่มีขนาดใหญ่มีงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติสูงถึง 331,280 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะเบิกจ่ายได้จริง 260,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งตามปกติจะเบิกได้เพียงร้อยละ 70 เท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ,
มติชน, แนวหน้าข่าวสด)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในเดือน ก.พ.50 ส่วนใหญ่ลดลง ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการในเดือน ก.พ.50 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.50 ว่า ธุรกิจส่วนใหญ่
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง โดยภาคการค้าและบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.5 จากระดับ 46.9 เช่นเดียวกับการค้าส่งและค้าปลีก อยู่ที่ 44.8
จากระดับ 45.7 และภาคบริการอยู่ที่ 46.5 จากระดับ 48.7 เนื่องจากการปรับลดลงกำไรและยอดขายเป็นหลัก ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของ
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่อธุรกิจตนเอง ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.4 จากระดับ 45.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศเพิ่มขึ้นอยู่
ที่ 36.4 จากระดับ 34.1 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าปี งปม.50 ไทยอาจขาดดุล งปม. ร้อยละ 2.1 ของจีดีพี รายงานข่าวจาก บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เปิดเผยว่า ในปี งปม.50 รัฐบาลอาจขาดดุล งปม. 170,000-200,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลกำหนดเป้าหมายว่าจะจัดเก็บรายได้ได้
1.42 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 49 และจะมีรายจ่ายปี งปม.50 และรายจ่ายเหลื่อมปีรวมกัน 1.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.3 จากปีก่อน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลขาดดุลเงิน งปม. 173,566 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
เทียบกับที่ขาดดุล 55,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7 ของจีดีพีในปี 49 อย่างไรก็ตาม การขาดดุล งปม.อาจมากกว่านี้ เนื่องจาก
เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีหลักได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่ง 5 เดือน
ที่ผ่านมา ภาครัฐจัดเก็บภาษี 2 รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย (เดลินิวส์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลการสำรวจคาดว่าในเดือน มี.ค. ผู้ประกอบการสรอ. จะจ้างงานเพิ่ม 120,000 ตำแหน่ง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
วันที่ 4 เม.ย. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า ในเดือนมี.ค. ผู้ประกอบการในสรอ. จะมีการจ้างงานใหม่จำนวนมาก
หลังจากที่มีการจ้างงานน้อยที่สุดในรอบกว่า 2 ปีในเดือน ก.พ. เนื่องจากสภาพภูมิอากาศดีขึ้นจากที่หนาวจัดในเดือน ก.พ. จึงเอื้อต่อภาคบริการ
ประกอบกับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รายงานโดย ก.พาณิชย์ได้ถูกปรับให้สูงขึ้นโดยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมาได้มีการทบทวนตัวเลข GDP
ของไตรมาสที่ 4/49 เป็นครั้งสุดท้ายขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 จากที่รายงานไว้เบื้องต้นที่ร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจเพิ่มสต็อกสินค้า
คงคลังมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ผลการสำรวจคาดว่าในเดือน มี.ค. ผู้ประกอบการจะจ้างงานเพิ่มขึ้น 120,000 ตำแหน่ง หลังจากที่มีการ
จ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 97,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะคงอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ทางการ สรอ.
มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
2. ธ.พาณิชย์ของเกาหลีใต้มีแผนขยายการทำธุรกิจไปยังต่างประเทศ รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 4 เม.ย.50
ธ.พาณิชย์ของเกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และกำลังพุ่งเป้าขยายการทำธุรกิจไปยังธนาคารขนาดเล็ก
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกของอดีตสหภาพโซเวียตเป็นอันดับแรกในการออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศในช่วงทศวรรษนี้
โดย Kookmin Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้สินเชื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และมีมูลค่าทางการตลาดประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
กำลังมีเป้าหมายอยู่ที่เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย และคาดว่าแผนงานแรกจะเกิดขึ้นภายในปลายปีนี้ ซึ่งปัจจุบัน Kookmin Bank ได้เข้าไป
ถือหุ้นใน PT Bank International Indonesia ที่มี Temasek Holdings ของสิงคโปร์ร่วมอยู่ด้วย ขณะที่ Shinhan Bank ธ.พาณิชย์
ในเครือ Shinhan Financial Group ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการที่ให้บริการทางการเงินใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ กำลังเจรจากับรัสเซีย
รวมถึงญี่ปุ่น ตุรกี และรัฐอิสระในเครือจักรภพของอังกฤษ ส่วน Woori Bank กำลังมีแผนที่จะใช้เงิน 281.6 พันล้านวอน (299.9 ล้านดอลลาร์
สรอ.) ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินในจีน หลังจากที่กลุ่ม Woori ได้เคยลงทุนจำนวน 19.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในฮ่องกงเมื่อเดือน ต.ค.
ที่ผ่านมา และยังมีแผนจะทำธุรกิจในรัสเซียด้วย ด้าน Hana Financial Group กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินอันดับ 4 ของประเทศ กล่าวว่า
จะใช้เงิน 259 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจของตนเองในจีน โดยเมื่อปี 47 ได้เข้าไปถือหุ้นร้อยละ 79 ของธนาคารในเมือง
Tsingtao สำหรับ Industrial Bank of Korea ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของเกาหลีใต้และมีความเชี่ยวชาญในการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดเล็ก กำลังให้ความสนใจในภูมิภาคอื่นของเอเชีย จีน อินเดีย เวียดนาม รวมถึงยุโรปตะวันออกและอเมริกาใต้ ด้วย (รอยเตอร์)
3. ยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อเดือน รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ
4 เม.ย.50 ก.เศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน
ธ.ค.47 เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อฯ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากใน
เดือน ก.พ.ดังกล่าว ได้รับแรงสนับสนุนจากคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.8 โดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุน อย่างไรก็ตาม
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังคงสนับสนุนการขยายตัวของคำสั่งซื้อฯ ในประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันการขยายตัวของผลผลิตโรงงานในช่วงหลังจากนี้
โดยคำสั่งซื้อภายในประเทศที่ขยายตัวประกอบด้วย คำสั่งซื้อสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 คำสั่งซื้อสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ
คำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ซึ่งในส่วนของคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นการขยายตัวของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
ถึงร้อยละ 11 อนึ่ง บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ตัวเลขผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 ว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5
หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ รายงานจาก จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 เม.ย.50
Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียน รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ว่า
ธ.กลางมาเลเซีย (BNM) ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเวลานี้ แม้ว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อในปีนี้
จะบรรเทาลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดย BNM ต้องการสร้างสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นก่อนมีการเปลี่ยนแปลง
อัตราดอกเบี้ย และโดยที่ในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.0 — 2.5 ต่ำกว่าร้อยละ 3.6 ในปี 49 ขณะที่เศรษฐกิจปีนี้คาดว่าจะขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 6 จากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวและการลงทุนจากต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.50
เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 จากปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.50 ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายมาเป็นเวลาเกือบ 1 ปี และมีกำหนดจะประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 27 เม.ย.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 เม.ย. 50 4 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.979 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7618/35.1039 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.6275 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.54/17.22 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.22 61.5 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/24.54* 28.39*/24.54* 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่า ธปท.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 ในการประชุมเดือน เม.ย.นี้ จากผลสำรวจ
ของรอยเตอร์ พบว่า นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อลดลง และค่าเงินบาทที่
แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(อาร์พี 1 วัน) ลงอย่างมาก โดยจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 ในการประชุมวันที่ 11 เม.ย.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังเร่งกระตุ้นรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุน รายงานจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (4 เม.ย.) ก.คลังได้เรียก
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่มาประชุม 17 แห่ง เพื่อมอบนโยบายและร่วมหารือแนวทางการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำ
ปี 50 โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่าย งปม.ที่เป็นงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดในปีนี้จำนวน 354,592 ล้านบาท แต่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่าย
ได้จริงร้อยละ 90 ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.49-ก.พ.50) มีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายไปได้จริง 50,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 14.15 ของเป้าหมาย แต่คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ยอดการเบิกจ่ายจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยร้อยละ 20-25 อย่างไรก็ตาม จากการ
หารือกับรัฐวิสาหกิจ 17 แห่งที่มีขนาดใหญ่มีงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติสูงถึง 331,280 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะเบิกจ่ายได้จริง 260,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งตามปกติจะเบิกได้เพียงร้อยละ 70 เท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ,
มติชน, แนวหน้าข่าวสด)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในเดือน ก.พ.50 ส่วนใหญ่ลดลง ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการในเดือน ก.พ.50 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.50 ว่า ธุรกิจส่วนใหญ่
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง โดยภาคการค้าและบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.5 จากระดับ 46.9 เช่นเดียวกับการค้าส่งและค้าปลีก อยู่ที่ 44.8
จากระดับ 45.7 และภาคบริการอยู่ที่ 46.5 จากระดับ 48.7 เนื่องจากการปรับลดลงกำไรและยอดขายเป็นหลัก ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของ
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่อธุรกิจตนเอง ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.4 จากระดับ 45.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศเพิ่มขึ้นอยู่
ที่ 36.4 จากระดับ 34.1 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าปี งปม.50 ไทยอาจขาดดุล งปม. ร้อยละ 2.1 ของจีดีพี รายงานข่าวจาก บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เปิดเผยว่า ในปี งปม.50 รัฐบาลอาจขาดดุล งปม. 170,000-200,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลกำหนดเป้าหมายว่าจะจัดเก็บรายได้ได้
1.42 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 49 และจะมีรายจ่ายปี งปม.50 และรายจ่ายเหลื่อมปีรวมกัน 1.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.3 จากปีก่อน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลขาดดุลเงิน งปม. 173,566 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
เทียบกับที่ขาดดุล 55,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7 ของจีดีพีในปี 49 อย่างไรก็ตาม การขาดดุล งปม.อาจมากกว่านี้ เนื่องจาก
เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีหลักได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่ง 5 เดือน
ที่ผ่านมา ภาครัฐจัดเก็บภาษี 2 รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย (เดลินิวส์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลการสำรวจคาดว่าในเดือน มี.ค. ผู้ประกอบการสรอ. จะจ้างงานเพิ่ม 120,000 ตำแหน่ง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
วันที่ 4 เม.ย. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า ในเดือนมี.ค. ผู้ประกอบการในสรอ. จะมีการจ้างงานใหม่จำนวนมาก
หลังจากที่มีการจ้างงานน้อยที่สุดในรอบกว่า 2 ปีในเดือน ก.พ. เนื่องจากสภาพภูมิอากาศดีขึ้นจากที่หนาวจัดในเดือน ก.พ. จึงเอื้อต่อภาคบริการ
ประกอบกับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รายงานโดย ก.พาณิชย์ได้ถูกปรับให้สูงขึ้นโดยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมาได้มีการทบทวนตัวเลข GDP
ของไตรมาสที่ 4/49 เป็นครั้งสุดท้ายขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 จากที่รายงานไว้เบื้องต้นที่ร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจเพิ่มสต็อกสินค้า
คงคลังมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ผลการสำรวจคาดว่าในเดือน มี.ค. ผู้ประกอบการจะจ้างงานเพิ่มขึ้น 120,000 ตำแหน่ง หลังจากที่มีการ
จ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 97,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะคงอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ทางการ สรอ.
มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
2. ธ.พาณิชย์ของเกาหลีใต้มีแผนขยายการทำธุรกิจไปยังต่างประเทศ รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 4 เม.ย.50
ธ.พาณิชย์ของเกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และกำลังพุ่งเป้าขยายการทำธุรกิจไปยังธนาคารขนาดเล็ก
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกของอดีตสหภาพโซเวียตเป็นอันดับแรกในการออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศในช่วงทศวรรษนี้
โดย Kookmin Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้สินเชื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และมีมูลค่าทางการตลาดประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
กำลังมีเป้าหมายอยู่ที่เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย และคาดว่าแผนงานแรกจะเกิดขึ้นภายในปลายปีนี้ ซึ่งปัจจุบัน Kookmin Bank ได้เข้าไป
ถือหุ้นใน PT Bank International Indonesia ที่มี Temasek Holdings ของสิงคโปร์ร่วมอยู่ด้วย ขณะที่ Shinhan Bank ธ.พาณิชย์
ในเครือ Shinhan Financial Group ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการที่ให้บริการทางการเงินใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ กำลังเจรจากับรัสเซีย
รวมถึงญี่ปุ่น ตุรกี และรัฐอิสระในเครือจักรภพของอังกฤษ ส่วน Woori Bank กำลังมีแผนที่จะใช้เงิน 281.6 พันล้านวอน (299.9 ล้านดอลลาร์
สรอ.) ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินในจีน หลังจากที่กลุ่ม Woori ได้เคยลงทุนจำนวน 19.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในฮ่องกงเมื่อเดือน ต.ค.
ที่ผ่านมา และยังมีแผนจะทำธุรกิจในรัสเซียด้วย ด้าน Hana Financial Group กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินอันดับ 4 ของประเทศ กล่าวว่า
จะใช้เงิน 259 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจของตนเองในจีน โดยเมื่อปี 47 ได้เข้าไปถือหุ้นร้อยละ 79 ของธนาคารในเมือง
Tsingtao สำหรับ Industrial Bank of Korea ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของเกาหลีใต้และมีความเชี่ยวชาญในการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดเล็ก กำลังให้ความสนใจในภูมิภาคอื่นของเอเชีย จีน อินเดีย เวียดนาม รวมถึงยุโรปตะวันออกและอเมริกาใต้ ด้วย (รอยเตอร์)
3. ยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อเดือน รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ
4 เม.ย.50 ก.เศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน
ธ.ค.47 เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อฯ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากใน
เดือน ก.พ.ดังกล่าว ได้รับแรงสนับสนุนจากคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.8 โดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุน อย่างไรก็ตาม
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังคงสนับสนุนการขยายตัวของคำสั่งซื้อฯ ในประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันการขยายตัวของผลผลิตโรงงานในช่วงหลังจากนี้
โดยคำสั่งซื้อภายในประเทศที่ขยายตัวประกอบด้วย คำสั่งซื้อสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 คำสั่งซื้อสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ
คำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ซึ่งในส่วนของคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นการขยายตัวของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
ถึงร้อยละ 11 อนึ่ง บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ตัวเลขผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 ว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5
หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ รายงานจาก จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 เม.ย.50
Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียน รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ว่า
ธ.กลางมาเลเซีย (BNM) ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเวลานี้ แม้ว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อในปีนี้
จะบรรเทาลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดย BNM ต้องการสร้างสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นก่อนมีการเปลี่ยนแปลง
อัตราดอกเบี้ย และโดยที่ในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.0 — 2.5 ต่ำกว่าร้อยละ 3.6 ในปี 49 ขณะที่เศรษฐกิจปีนี้คาดว่าจะขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 6 จากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวและการลงทุนจากต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.50
เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 จากปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.50 ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายมาเป็นเวลาเกือบ 1 ปี และมีกำหนดจะประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 27 เม.ย.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 เม.ย. 50 4 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.979 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7618/35.1039 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.6275 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.54/17.22 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.22 61.5 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/24.54* 28.39*/24.54* 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--