แท็ก
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
บล.ธนชาต จำกัด (มหาชน)
กระทรวงการต่างประเทศ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
บล.ไทยพาณิชย์
โรงแรมคอนราด
กรุงเทพ--6 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ในวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาประเทศ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาประทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ที่วิเทศสโมสร เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานที่สมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์แห่งสวีเดน ตามคำขอของสถาบันเหล่านั้น ในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
2. กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับพระเมตตาให้จัดงานพระราชทานพระไตรปิฎก ณ กระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ เพราะเมื่อ 114 ปีมาแล้ว กระทรวงการต่างประเทศไทยได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานจัดการพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศทั่วโลก กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬี อักษรสยาม สำเร็จเป็นชุด เป็นครั้งแรกของโลก และได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญไปพระราชทานแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศสยาม ในสมัยนั้น เป็นผู้วางแผนจัดส่งพระไตรปิฎกเป็นพระธัมมทานโดยทางเรือผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ได้อย่างสำเร็จงดงาม
3. การพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ให้สถาบันต่างๆ ในนานาประเทศ ครั้งนี้ เป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการ ดำเนินตามรอยประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาที่สำคัญของชาติไทยในอดีต และเป็นภูมิปัญญาไทยสากล รวมทั้งเป็นวัฒนธรรมแห่งสันติสุขที่ได้สืบทอดมาแล้วในโลกเป็นเวลากว่า 2,500 ปี อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและส่งเสริมสันติสุขที่ยั่งยืนแก่ประชาชนชาวไทย และในสังคมโลกโดยรวม
4. เมื่อปี พ.ศ. 2548 เนื่องในวาระครบ 112 ปี แห่งการพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬี ฉบับ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม” สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฏกอักษรโรมันในนานาประเทศ ได้เสด็จจาริกอัญเชิญพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน ไปพระราชทานเป็นปฐมฤกษ์แก่ ฯพณฯ ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 ตามคำกราบทูลเชิญของประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา นับแต่นั้นเป็นต้นมา สถาบันสำคัญต่าง ๆ ในนานาประเทศได้กราบทูลขอพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน จากประเทศไทยเป็นลำดับ โดยในปีนี้ มีการขอพระราชทานมาจากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์แห่งสวีเดน จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระไตรปิฎก ทั้ง 3 ชุดนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศและผู้อุปถัมภ์ เพื่อจะได้ดำเนินการจาริกอัญเชิญ ไปประดิษฐาน ณ สถาบันต่าง ๆ ในประเทศทั้งสาม ตามเวลาที่เหมาะสมต่อไป
5. ในอดีต มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งสำคัญยิ่งในประเทศสยามได้แก่ พระไตรปิฏกบาฬี ฉบับ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม” ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานผ่านกระทรวงการต่างประเทศ (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน) ไปยังสถาบันองค์กรสำคัญต่างๆ ในนานา ประเทศกว่า 260 สถาบันใน กว่า 30 ประเทศ
6. พระไตรปิฎกซึ่งรวบรวม พุทธวจนะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าถือเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาสูงสุดของมนุษยชาติ การจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ที่กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ฯ ได้จัดทำขึ้นครั้งนี้ เป็นผลของความพยายามพากเพียรของคณะผู้จัดทำที่ได้ดำเนินการนำผลการสังคายนาพระไตรปิฎกโดยพระสงฆ์เถรวาทนานาชาติที่สหภาพพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2500 มาจัดพิมพ์ด้วยอักษรโรมันที่เป็นสากลแก่ผู้อ่านในนานาประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. ในวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาประเทศ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาประทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ที่วิเทศสโมสร เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานที่สมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์แห่งสวีเดน ตามคำขอของสถาบันเหล่านั้น ในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
2. กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับพระเมตตาให้จัดงานพระราชทานพระไตรปิฎก ณ กระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ เพราะเมื่อ 114 ปีมาแล้ว กระทรวงการต่างประเทศไทยได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานจัดการพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศทั่วโลก กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬี อักษรสยาม สำเร็จเป็นชุด เป็นครั้งแรกของโลก และได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญไปพระราชทานแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศสยาม ในสมัยนั้น เป็นผู้วางแผนจัดส่งพระไตรปิฎกเป็นพระธัมมทานโดยทางเรือผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ได้อย่างสำเร็จงดงาม
3. การพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ให้สถาบันต่างๆ ในนานาประเทศ ครั้งนี้ เป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการ ดำเนินตามรอยประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาที่สำคัญของชาติไทยในอดีต และเป็นภูมิปัญญาไทยสากล รวมทั้งเป็นวัฒนธรรมแห่งสันติสุขที่ได้สืบทอดมาแล้วในโลกเป็นเวลากว่า 2,500 ปี อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและส่งเสริมสันติสุขที่ยั่งยืนแก่ประชาชนชาวไทย และในสังคมโลกโดยรวม
4. เมื่อปี พ.ศ. 2548 เนื่องในวาระครบ 112 ปี แห่งการพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬี ฉบับ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม” สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฏกอักษรโรมันในนานาประเทศ ได้เสด็จจาริกอัญเชิญพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน ไปพระราชทานเป็นปฐมฤกษ์แก่ ฯพณฯ ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 ตามคำกราบทูลเชิญของประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา นับแต่นั้นเป็นต้นมา สถาบันสำคัญต่าง ๆ ในนานาประเทศได้กราบทูลขอพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน จากประเทศไทยเป็นลำดับ โดยในปีนี้ มีการขอพระราชทานมาจากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์แห่งสวีเดน จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระไตรปิฎก ทั้ง 3 ชุดนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศและผู้อุปถัมภ์ เพื่อจะได้ดำเนินการจาริกอัญเชิญ ไปประดิษฐาน ณ สถาบันต่าง ๆ ในประเทศทั้งสาม ตามเวลาที่เหมาะสมต่อไป
5. ในอดีต มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งสำคัญยิ่งในประเทศสยามได้แก่ พระไตรปิฏกบาฬี ฉบับ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม” ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานผ่านกระทรวงการต่างประเทศ (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน) ไปยังสถาบันองค์กรสำคัญต่างๆ ในนานา ประเทศกว่า 260 สถาบันใน กว่า 30 ประเทศ
6. พระไตรปิฎกซึ่งรวบรวม พุทธวจนะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าถือเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาสูงสุดของมนุษยชาติ การจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ที่กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ฯ ได้จัดทำขึ้นครั้งนี้ เป็นผลของความพยายามพากเพียรของคณะผู้จัดทำที่ได้ดำเนินการนำผลการสังคายนาพระไตรปิฎกโดยพระสงฆ์เถรวาทนานาชาติที่สหภาพพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2500 มาจัดพิมพ์ด้วยอักษรโรมันที่เป็นสากลแก่ผู้อ่านในนานาประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-