ด้านการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 8.09 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.09 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 8.00 ล้านตัน
โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 และ 7.01 ตามลำดับ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูฝนและอยู่ในช่วงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา
ทั้งนี้เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณก่อนปิดงบประมาณปี 2549 ในการลงทุนโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนในตลาดที่อยู่อาศัยประเภทปลูกสร้างเอง ยังอยู่ในทิศทางที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ 24.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.45
เซรามิก
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.62 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.05 และ 12.84 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.12 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.10 และ 12.58 ตามลำดับ ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 111.63 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 6.42 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.51 และ 8.41 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน ของบริษัท
ในการจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 38.11 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 5.32 และ 4.34 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.18 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.38 และ 6.97ตามลำดับ ซึ่งความต้องการใช้เซรามิกลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 178.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.83 และ 4.69 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งหากพิจารณาในสินค้าดังกล่าวจะพบว่าเครื่องสุขภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา โดยเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.45 และ 87.50 ตามลำดับ
อัญมณีและเครื่องประดับ
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 ด้านการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นเพียงทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป โดยอัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 302.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออก ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2 , 21.4 และ 18.4 ตามลำดับ และแม้ว่าการจำหน่ายและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ทำให้การนำเข้าสินค้าเพื่อเป็นวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามอัญมณีและเครื่องประดับของไทยยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพมากอุตสาหกรรมหนึ่ง เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมดและยังเป็นสินค้าส่งออกของไทยติด 1 ใน 10 รายการมาอย่างต่อเนื่อง เทคนิคการเผาพลอยและฝีมือการเจียระไนของแรงงานไทยเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การจ้างงาน ตลอดจนการสนับสนุนการท่องเที่ยว และปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 16.9
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 และ 7.01 ตามลำดับ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูฝนและอยู่ในช่วงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา
ทั้งนี้เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณก่อนปิดงบประมาณปี 2549 ในการลงทุนโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนในตลาดที่อยู่อาศัยประเภทปลูกสร้างเอง ยังอยู่ในทิศทางที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ 24.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.45
เซรามิก
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.62 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.05 และ 12.84 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.12 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.10 และ 12.58 ตามลำดับ ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 111.63 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 6.42 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.51 และ 8.41 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน ของบริษัท
ในการจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 38.11 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 5.32 และ 4.34 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.18 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.38 และ 6.97ตามลำดับ ซึ่งความต้องการใช้เซรามิกลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 178.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.83 และ 4.69 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งหากพิจารณาในสินค้าดังกล่าวจะพบว่าเครื่องสุขภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา โดยเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.45 และ 87.50 ตามลำดับ
อัญมณีและเครื่องประดับ
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 ด้านการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นเพียงทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป โดยอัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 302.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออก ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2 , 21.4 และ 18.4 ตามลำดับ และแม้ว่าการจำหน่ายและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ทำให้การนำเข้าสินค้าเพื่อเป็นวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามอัญมณีและเครื่องประดับของไทยยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพมากอุตสาหกรรมหนึ่ง เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมดและยังเป็นสินค้าส่งออกของไทยติด 1 ใน 10 รายการมาอย่างต่อเนื่อง เทคนิคการเผาพลอยและฝีมือการเจียระไนของแรงงานไทยเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การจ้างงาน ตลอดจนการสนับสนุนการท่องเที่ยว และปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 16.9
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-