อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวม 84.05 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 40.99 ล้านตัน และปูน
ซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 43.06 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.41 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับ
ปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศไม่
ขยายตัวมากเท่าที่ควร
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณการจำหน่ายรวม 32.15 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.26
ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 31.89 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.55 ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
ตามราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 14.75 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 19,784.63 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกปูนเม็ด
จำนวน 7.23 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 8,380.22 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 7.52 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 11,404.41 ล้าน
บาท โดยเมื่อเทียบปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.44 และ 6.99 ตามลำดับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากผู้ผลิตขยายตลาด
ส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ชะลอตัวลง สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 5,427.26 ตัน คิดเป็นมูลค่า 82.18ล้านบาท แบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด
จำนวน 23.54 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.52 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 5,403.72 ตัน คิดเป็นมูลค่า 81.66 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบ
กับปีก่อนปริมาณ
การนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 33.41 แต่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่
สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมา
ก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปี 2549 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้ง
ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศไม่ขยายตัวมากเท่า
ที่ควร
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2550 คาดว่าจะเป็นไปตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มเติบ
โตขึ้นจากปัจจัยบวกคือภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยซึ่งคงที่ในระดับสูงอาจมีการปรับตัวลง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามราคา
น้ำมัน ส่งผลให้ผู้บริโภคน่าจะมีความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย การเข้ามาของ
รัฐบาลชุดใหม่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ ของภาคเอกชนไทยและการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งแผนการลงทุนใน
โครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐที่ชะลออยู่ก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่อไปได้
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ใน ปี 2549 ขยายตัวดี เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศขยายตลาดส่งออกเพื่อทดแทนตลาดใน
ประเทศที่ชะลอตัว ประกอบกับสามารถจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บัง
คลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ใน ปี 2550 มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น
ตลาดหลักขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากการปรับลดการลงทุนในตลาดที่อยู่อาศัย
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 32.91 35.36 38.77 40.99
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 7.44 9.64 5.73
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 33.91 37.53 40.22 43.06
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 10.68 7.17 7.06
รวม 66.82 72.89 78.99 84.05
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 9.08 8.37 6.41
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 : ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 0.17 0.1 0.2 0.26
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -41.18 100 30
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 25.85 29.65 31.15 31.89
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 14.7 5.06 2.38
รวม 26.02 29.75 31.35 32.15
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 14.34 5.38 2.55
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 : ปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 7.22 7.12 8.27 7.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.39 16.15 -12.58
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 4.99 4.75 6.27 7.52
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -4.81 32 19.94
รวม 12.21 11.87 14.54 14.75
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -2.78 22.49 1.44
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 4 : มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 6,127.24 6,099.28 9,369.22 8,380.22
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.46 53.61 -10.56
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 6,459.44 6,430.52 9,120.92 11,404.41
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.45 41.84 25.04
รวม 12,586.68 12,529.80 18,492.14 19,784.63
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.45 47.59 6.99
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 5 : ปริมาณการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 29.66 74.17 8.7 23.54
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 150.07 -88.27 170.57
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 4,028.79 13,630.46 8,141.85 5,403.72
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 238.33 -40.27 -33.63
รวม 4,058.45 13,704.63 8,150.55 5,427.26
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 237.68 -40.53 -33.41
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 6 : มูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 0.39 1.47 0.19 0.52
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 276.92 -87.07 173.68
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 75.16 122.3 79.59 81.66
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 62.72 -34.92 2.6
รวม 75.55 123.77 79.78 82.18
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 63.83 -35.54 3.01
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวม 84.05 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 40.99 ล้านตัน และปูน
ซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 43.06 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.41 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับ
ปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศไม่
ขยายตัวมากเท่าที่ควร
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณการจำหน่ายรวม 32.15 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.26
ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 31.89 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.55 ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
ตามราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 14.75 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 19,784.63 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกปูนเม็ด
จำนวน 7.23 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 8,380.22 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 7.52 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 11,404.41 ล้าน
บาท โดยเมื่อเทียบปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.44 และ 6.99 ตามลำดับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากผู้ผลิตขยายตลาด
ส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ชะลอตัวลง สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 5,427.26 ตัน คิดเป็นมูลค่า 82.18ล้านบาท แบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด
จำนวน 23.54 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.52 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 5,403.72 ตัน คิดเป็นมูลค่า 81.66 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบ
กับปีก่อนปริมาณ
การนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 33.41 แต่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่
สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมา
ก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปี 2549 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้ง
ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศไม่ขยายตัวมากเท่า
ที่ควร
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2550 คาดว่าจะเป็นไปตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มเติบ
โตขึ้นจากปัจจัยบวกคือภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยซึ่งคงที่ในระดับสูงอาจมีการปรับตัวลง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามราคา
น้ำมัน ส่งผลให้ผู้บริโภคน่าจะมีความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย การเข้ามาของ
รัฐบาลชุดใหม่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ ของภาคเอกชนไทยและการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งแผนการลงทุนใน
โครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐที่ชะลออยู่ก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่อไปได้
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ใน ปี 2549 ขยายตัวดี เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศขยายตลาดส่งออกเพื่อทดแทนตลาดใน
ประเทศที่ชะลอตัว ประกอบกับสามารถจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บัง
คลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ใน ปี 2550 มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น
ตลาดหลักขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากการปรับลดการลงทุนในตลาดที่อยู่อาศัย
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 32.91 35.36 38.77 40.99
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 7.44 9.64 5.73
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 33.91 37.53 40.22 43.06
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 10.68 7.17 7.06
รวม 66.82 72.89 78.99 84.05
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 9.08 8.37 6.41
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 : ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 0.17 0.1 0.2 0.26
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -41.18 100 30
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 25.85 29.65 31.15 31.89
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 14.7 5.06 2.38
รวม 26.02 29.75 31.35 32.15
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 14.34 5.38 2.55
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 : ปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 7.22 7.12 8.27 7.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.39 16.15 -12.58
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 4.99 4.75 6.27 7.52
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -4.81 32 19.94
รวม 12.21 11.87 14.54 14.75
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -2.78 22.49 1.44
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 4 : มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 6,127.24 6,099.28 9,369.22 8,380.22
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.46 53.61 -10.56
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 6,459.44 6,430.52 9,120.92 11,404.41
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.45 41.84 25.04
รวม 12,586.68 12,529.80 18,492.14 19,784.63
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.45 47.59 6.99
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 5 : ปริมาณการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 29.66 74.17 8.7 23.54
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 150.07 -88.27 170.57
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 4,028.79 13,630.46 8,141.85 5,403.72
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 238.33 -40.27 -33.63
รวม 4,058.45 13,704.63 8,150.55 5,427.26
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 237.68 -40.53 -33.41
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 6 : มูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
ปูนเม็ด 0.39 1.47 0.19 0.52
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 276.92 -87.07 173.68
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 75.16 122.3 79.59 81.66
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 62.72 -34.92 2.6
รวม 75.55 123.77 79.78 82.18
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 63.83 -35.54 3.01
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-