ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยยอดเอ็นพีแอลทั้งระบบในไตรมาส 2 ปี 50 เพิ่มขึ้น 97,249 ล้านบาท รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก่อนหักกันสำรองในไตรมาส 2 ของสถาบันการเงิน (Gross NPL) ว่า มี
จำนวนเพิ่มขึ้นทั้งหมด 97,249 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 63,972 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลที่เคยปรับโครงสร้างหนี้
สำเร็จแล้วกลับเข้ามาเป็นเอ็นพีแอลอีก (Re-Entry) มีจำนวนถึง 24,253 ล้านบาท ที่เหลืออีก 9,024 ล้านบาท เป็นเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจาก
กรณีอื่น ๆ โดยหากเทียบปริมาณเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกแล้ว พบว่า ปริมาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลใน
ไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นมากกว่าไตรมาสแรกที่มียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทั้งหมด 76,816 ล้านบาทค่อนข้างมาก โดยการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลรายใหม่
ในไตรมาสแรกมีจำนวน 39,172 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลย้อนกลับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 16,786 ล้านบาททั้งนี้ หากแบ่งตามประเภทของสถาบัน
การเงินแล้วพบว่าเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นรายใหม่เป็นเอ็นพีแอลของ ธพ.ไทยจำนวน 61,763 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างประเทศ 1,915 ล้านบาท
บง. 294 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลย้อนกลับเป็นของ ธพ.ที่จดทะเบียนในประเทศหมดทั้งจำนวน 24,253 ล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์,
ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
2. ก.คลังเตรียมศึกษาแนวทางส่งเสริมให้ บ.เอกชนไปลงทุนในต่างประเทศ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะจัดตั้งคณะทำงาน
ขึ้น 1 ชุด เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมให้ บ.เอกชนของไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเกิดประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรในประเทศให้
มากขึ้น โดยจะผลักดันให้ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้การช่วยเหลือด้านเงินทุน พร้อมมีนโยบายลดหย่อนภาษีเป็นตัว
จูงใจด้วย โดยจะจัดตั้งคณะทำงานให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ก.คลังไม่เห็นด้วยที่ให้ บ.จดทะเบียนย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เพราะ
อาจจะกระทบกับการจ้างงานในประเทศได้ (เดลินิวส์)
3. กรมสรรพากรเผยนโยบายจัดเก็บภาษีในปี 51 อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึง แนวนโยบายในการจัดเก็บภาษีในปี 51 เพื่อให้
บรรลุเป้าหมาย 1.2 ล้านล้านบาท ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การขยายฐานภาษีใหม่ทำได้ลำบาก ดังนั้น แนวทางในการทำงาน
ของกรมสรรพากรจะเน้นเรื่องการตรวจสอบผู้เสียภาษีที่เคยใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการหลบเลี่ยงภาษีให้เสียภาษีให้ถูกต้อง โดยเน้นกลุ่มที่มี
พฤติกรรมเสี่ยงเท่านั้น ส่วนกลุ่มนิติบุคคลรายเล็กจะมีการตั้งสำนักงานเพื่อสร้างความเข้าใจในการเสียภาษีให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหา
ในอนาคต ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่เข้าข่ายพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้เกิน 2 พันล้านบาทขึ้นไป
จำนวน 2,345 ราย และบริษัทขนาดใหญ่ 10 อันดับแรกในพื้นที่ 16 พื้นที่อีก 160 บริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการเสียภาษีร้อยละ 75 ของ
รายได้รวมของกรมสรรพากร (ข่าวสด, บ้านเมือง)
4. บีโอไอเผยความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีมากขึ้นภายหลังลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านการลงทุนของประเทศไทยว่า ภายหลังจากลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ และจะมีการเลือกตั้งภายในปีนี้
ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนหน้าใหม่ หรือนักลงทุนที่ยังไม่เคยลงทุนในประเทศไทย
และได้ชะลอการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยช่วงก่อนหน้านี้ จะมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังเชื่อว่าทิศทางการลงทุนในปีนี้
จะมีการลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5 แสนล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.50) มีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ทั้งสิ้น 756 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 728 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 272,516.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 211,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.14 (บ้านเมือง, ข่าวสด, เดลินิวส์)
5. ยอดการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในปีนี้ติดลบ รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดการค้าชายแดนระหว่าง
ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ในปีนี้มีมูลค่าการค้าลดลงถึงขึ้นติดลบ โดยเฉพาะการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย
สาเหตุมาจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการค้าระหว่างชายแดนที่อิงกับค่าเงินบาท เปรียบเทียบกับปี 49 ที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 42 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ปัจจุบันอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ค่าเงินบาทแข็งค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านมองว่าสินค้าจากไทย
มีราคาสูงขึ้น จึงหันไปซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านแถบชายแดนใกล้เคียงกัน ที่แม้คุณภาพด้อยกว่าสินค้าไทย แต่ราคาถูกกว่าแทน หรือหันไปใช้
สินค้าภายในประเทศตัวเองมากขึ้น (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 24 ส.ค.50
ก.พาณิชย์ สรอ.รายงานคำสั่งซื้อใหม่สินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.0
โดยคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่ใช่อาวุธยุทโธปกรณ์และไม่รวมเครื่องบินซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการลงทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 สูงกว่าที่คาดไว้ว่า
จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และหากไม่รวมคำสั่งซื้อในภาคการขนส่งซึ่งค่อนข้างผันผวนแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน ส.ค.48 และนับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกของคำสั่งซื้อสินค้าคงทนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.50 และหากไม่รวมอาวุธยุทโธปกรณ์แล้ว
คำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 นักวิเคราะห์จึงเห็นว่าภาคธุรกิจของ สรอ.ยังคงไปได้ด้วยดี แม้ว่า
ภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนเตือนว่าจะต้องรอ
อีกสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเห็นผลกระทบของวิกฤตดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 24 ส.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาส 2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 นับเป็นการ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 ทำให้อัตราเพิ่มขึ้นเทียบต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ไว้และเพิ่มความเป็นไปได้ที่ ธ.กลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคตถ้าความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลกลดลง ในขณะที่
ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ
กว่า 10 นับตั้งแต่ปี 2539 (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นธุรกิจของยุโรปในเดือน ส.ค. ส่งสัญญานอ่อนตัวลง รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 50 ผลการสำรวจ
ความคาดหวังของธุรกิจในยูโรโซนซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของธุรกิจในเดือน ส.ค. ลดลงอยู่ที่ 60.2 จาก 64.1 ในเดือน ก.ค. อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 46 และเป็นความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่ สรอ. เริ่มทำสงครามกับอิรัก เนื่องจากได้รับผล
กระทบจากวิกฤติหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 25.5 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
วันที่ 24 ส.ค. 50 ทางการสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 25.5
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 5 คนโดยรอยเตอร์ที่คาดว่า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8.6 และร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบต่อเดือน และเทียบต่อปีตามลำดับ เนื่องจาก
การชะลอตัวของภาคอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นนี้เนื่องจากผลผลิตยาเพิ่มขึ้นอย่างมากจึงสามารถชดเชย
กับผลผลิตในภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องได้ (รอยเตอร์)
5. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 24 ส.ค.50 ธ.กลาง
มาเลเซีย ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 สาเหตุจากในช่วง
ครึ่งแรกของปี เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวในระดับที่ดีจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศ ซึ่งช่วยชดเชยภาวะชะลอตัวของความ
ต้องการจากต่างประเทศได้ โดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า
ธ.กลางมาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อรอดูผลกระทบของปัญหาด้านสินเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาวะเศรษฐกิจโลก
เพียงใด ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธ.กลางมาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมจนถึงสิ้นปีนี้ สอดคล้องกับความเห็นของ
ธ.กลางมาเลเซียที่คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอัตราเงินเฟ้อ
ล่าสุดในเดือน ก.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ระดับร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ส.ค. 50 24 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.376 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1664/34.4880 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 790.72/9.95 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.90 66.21 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยยอดเอ็นพีแอลทั้งระบบในไตรมาส 2 ปี 50 เพิ่มขึ้น 97,249 ล้านบาท รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก่อนหักกันสำรองในไตรมาส 2 ของสถาบันการเงิน (Gross NPL) ว่า มี
จำนวนเพิ่มขึ้นทั้งหมด 97,249 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 63,972 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลที่เคยปรับโครงสร้างหนี้
สำเร็จแล้วกลับเข้ามาเป็นเอ็นพีแอลอีก (Re-Entry) มีจำนวนถึง 24,253 ล้านบาท ที่เหลืออีก 9,024 ล้านบาท เป็นเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจาก
กรณีอื่น ๆ โดยหากเทียบปริมาณเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกแล้ว พบว่า ปริมาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลใน
ไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นมากกว่าไตรมาสแรกที่มียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทั้งหมด 76,816 ล้านบาทค่อนข้างมาก โดยการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลรายใหม่
ในไตรมาสแรกมีจำนวน 39,172 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลย้อนกลับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 16,786 ล้านบาททั้งนี้ หากแบ่งตามประเภทของสถาบัน
การเงินแล้วพบว่าเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นรายใหม่เป็นเอ็นพีแอลของ ธพ.ไทยจำนวน 61,763 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างประเทศ 1,915 ล้านบาท
บง. 294 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลย้อนกลับเป็นของ ธพ.ที่จดทะเบียนในประเทศหมดทั้งจำนวน 24,253 ล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์,
ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
2. ก.คลังเตรียมศึกษาแนวทางส่งเสริมให้ บ.เอกชนไปลงทุนในต่างประเทศ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะจัดตั้งคณะทำงาน
ขึ้น 1 ชุด เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมให้ บ.เอกชนของไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเกิดประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรในประเทศให้
มากขึ้น โดยจะผลักดันให้ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้การช่วยเหลือด้านเงินทุน พร้อมมีนโยบายลดหย่อนภาษีเป็นตัว
จูงใจด้วย โดยจะจัดตั้งคณะทำงานให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ก.คลังไม่เห็นด้วยที่ให้ บ.จดทะเบียนย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เพราะ
อาจจะกระทบกับการจ้างงานในประเทศได้ (เดลินิวส์)
3. กรมสรรพากรเผยนโยบายจัดเก็บภาษีในปี 51 อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึง แนวนโยบายในการจัดเก็บภาษีในปี 51 เพื่อให้
บรรลุเป้าหมาย 1.2 ล้านล้านบาท ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การขยายฐานภาษีใหม่ทำได้ลำบาก ดังนั้น แนวทางในการทำงาน
ของกรมสรรพากรจะเน้นเรื่องการตรวจสอบผู้เสียภาษีที่เคยใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการหลบเลี่ยงภาษีให้เสียภาษีให้ถูกต้อง โดยเน้นกลุ่มที่มี
พฤติกรรมเสี่ยงเท่านั้น ส่วนกลุ่มนิติบุคคลรายเล็กจะมีการตั้งสำนักงานเพื่อสร้างความเข้าใจในการเสียภาษีให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหา
ในอนาคต ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่เข้าข่ายพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้เกิน 2 พันล้านบาทขึ้นไป
จำนวน 2,345 ราย และบริษัทขนาดใหญ่ 10 อันดับแรกในพื้นที่ 16 พื้นที่อีก 160 บริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการเสียภาษีร้อยละ 75 ของ
รายได้รวมของกรมสรรพากร (ข่าวสด, บ้านเมือง)
4. บีโอไอเผยความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีมากขึ้นภายหลังลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านการลงทุนของประเทศไทยว่า ภายหลังจากลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ และจะมีการเลือกตั้งภายในปีนี้
ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนหน้าใหม่ หรือนักลงทุนที่ยังไม่เคยลงทุนในประเทศไทย
และได้ชะลอการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยช่วงก่อนหน้านี้ จะมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังเชื่อว่าทิศทางการลงทุนในปีนี้
จะมีการลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5 แสนล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.50) มีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ทั้งสิ้น 756 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 728 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 272,516.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 211,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.14 (บ้านเมือง, ข่าวสด, เดลินิวส์)
5. ยอดการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในปีนี้ติดลบ รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดการค้าชายแดนระหว่าง
ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ในปีนี้มีมูลค่าการค้าลดลงถึงขึ้นติดลบ โดยเฉพาะการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย
สาเหตุมาจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการค้าระหว่างชายแดนที่อิงกับค่าเงินบาท เปรียบเทียบกับปี 49 ที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 42 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ปัจจุบันอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ค่าเงินบาทแข็งค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านมองว่าสินค้าจากไทย
มีราคาสูงขึ้น จึงหันไปซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านแถบชายแดนใกล้เคียงกัน ที่แม้คุณภาพด้อยกว่าสินค้าไทย แต่ราคาถูกกว่าแทน หรือหันไปใช้
สินค้าภายในประเทศตัวเองมากขึ้น (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 24 ส.ค.50
ก.พาณิชย์ สรอ.รายงานคำสั่งซื้อใหม่สินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.0
โดยคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่ใช่อาวุธยุทโธปกรณ์และไม่รวมเครื่องบินซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการลงทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 สูงกว่าที่คาดไว้ว่า
จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และหากไม่รวมคำสั่งซื้อในภาคการขนส่งซึ่งค่อนข้างผันผวนแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน ส.ค.48 และนับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกของคำสั่งซื้อสินค้าคงทนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.50 และหากไม่รวมอาวุธยุทโธปกรณ์แล้ว
คำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 นักวิเคราะห์จึงเห็นว่าภาคธุรกิจของ สรอ.ยังคงไปได้ด้วยดี แม้ว่า
ภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนเตือนว่าจะต้องรอ
อีกสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเห็นผลกระทบของวิกฤตดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 24 ส.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาส 2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 นับเป็นการ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 ทำให้อัตราเพิ่มขึ้นเทียบต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ไว้และเพิ่มความเป็นไปได้ที่ ธ.กลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคตถ้าความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลกลดลง ในขณะที่
ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ
กว่า 10 นับตั้งแต่ปี 2539 (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นธุรกิจของยุโรปในเดือน ส.ค. ส่งสัญญานอ่อนตัวลง รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 50 ผลการสำรวจ
ความคาดหวังของธุรกิจในยูโรโซนซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของธุรกิจในเดือน ส.ค. ลดลงอยู่ที่ 60.2 จาก 64.1 ในเดือน ก.ค. อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 46 และเป็นความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่ สรอ. เริ่มทำสงครามกับอิรัก เนื่องจากได้รับผล
กระทบจากวิกฤติหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 25.5 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
วันที่ 24 ส.ค. 50 ทางการสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 25.5
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 5 คนโดยรอยเตอร์ที่คาดว่า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8.6 และร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบต่อเดือน และเทียบต่อปีตามลำดับ เนื่องจาก
การชะลอตัวของภาคอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นนี้เนื่องจากผลผลิตยาเพิ่มขึ้นอย่างมากจึงสามารถชดเชย
กับผลผลิตในภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องได้ (รอยเตอร์)
5. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 24 ส.ค.50 ธ.กลาง
มาเลเซีย ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 สาเหตุจากในช่วง
ครึ่งแรกของปี เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวในระดับที่ดีจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศ ซึ่งช่วยชดเชยภาวะชะลอตัวของความ
ต้องการจากต่างประเทศได้ โดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า
ธ.กลางมาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อรอดูผลกระทบของปัญหาด้านสินเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาวะเศรษฐกิจโลก
เพียงใด ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธ.กลางมาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมจนถึงสิ้นปีนี้ สอดคล้องกับความเห็นของ
ธ.กลางมาเลเซียที่คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอัตราเงินเฟ้อ
ล่าสุดในเดือน ก.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ระดับร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ส.ค. 50 24 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.376 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1664/34.4880 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 790.72/9.95 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.90 66.21 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--