สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว
(เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่แล้ว)
โดยที่ประชุมได้พิจารณาในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗ บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการ ปกครอบประชาธิปไตยมิได้ ซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอให้บรรจุเรื่องบุคคลที่ทุจริตการเลือกตั้งถือเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น อันส่งผลให้เพิก ถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ขอให้เพิ่มข้อความว่า บุคคลจะทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐมิได้เอาไว้ในมาตรา ๖๗ ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการไม่ขัดข้อง แต่ขอให้นำไปรวมไว้ในมาตรา ๒๓๑/๑ ที่บัญญัติ เกี่ยวกับบทลงโทษการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้วพิจารณาไปพร้อมกัน ส่วนการแปรญัตติของ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคจาก ๕ ปี เป็น ๑๐ ปี แต่กรรมาธิการไม่เห็นด้วย เพราะหากพิจารณาคดีอาญาแล้วกรรมการบริหารพรรคมีความผิดก็จะต้องถูกตัดสิทธิทาง การเมืองเป็นเวลา ๑๐ ปีอยู่แล้ว
มาตรา ๖๘ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดวรรค ๒ ที่ให้มีองค์กรแก้วิกฤติบ้านเมืองออกไป แต่ นางสดศรี สัตยธรรม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เสนอให้เพิ่มวรรค ๒ เพื่อให้มีคณะบุคคลแก้ไขวิกฤติบ้านเมือง โดยให้เพิ่มผู้นำเหล่าทัพเป็นกรรมการองค์กร และระบุว่าการให้มีวรรค ๒ ไว้จะเป็นทางออกสำหรับบ้านเมือง เมื่อเกิดเหตุวิกฤติการเมืองที่ไม่มีทางออก และอาจก่อให้เกิดเหตุความรุนแรงที่ไม่
สามารถแก้ไขด้วยองค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ แต่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ได้ชี้แจงว่า เห็นด้วยที่ให้มีมาตรา ๖๘ วรรค ๒ เพื่อให้เป็นเวทีและขัดขวางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมืองในภาวะฉุกเฉิน แต่จากการรับฟังความคิดเห็นของ ๑๒ องค์กร และประชาชนแล้ว ไม่เห็นด้วยกับการให้มีองค์กรดังกล่าว และจะไม่เป็นการเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญอาจขัดต่อระบบรัฐสภา นอกจากนี้ อาจเป็นการสร้างความสับสนมากกว่าการแก้ไขปัญหาได้จริง ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นด้วยกับการตัดวรรค ๒ ออกไปด้วยคะแนน ๔๔ เสียง ต่อ ๒๘ เสียง
หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย ไม่มีการแก้ไข มาตรา ๖๙ บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ และมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดคำว่า และมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ออก เพื่อนำไปเพิ่มในมาตรา ๗๐ ว่า บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมายแทนซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้อง
มาตรา ๗๑ ไม่มีการแก้ไข แต่ได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขอแปรญัตติ โดยให้ใช้ถ้อยคำว่า “บุคคลมีสิทธิเลือกตั้ง” หรือให้การเลือกตั้งเป็นสิทธิมากกว่าหน้าที่ โดยให้เหตุผลว่า การบัญญัติให้เป็นหน้าที่เหมือนรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่าการกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่มีประโยชน์ที่ทำให้คนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น และที่ประชุมได้มีมติให้คงไว้ตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสียง ๔๖ ต่อ ๑๗ เสียง
มาตรา ๗๒ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๓ มีการแก้ไข
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๔ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๕ ไม่มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๒ แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๖ มีการแก้ไข โดยนายวิชัย รูปขำดี ขอแปรญัตติแก้ความรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหารอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้แก้ไขตามผู้ขอแปรญัตติ
ส่วนที่ ๓ แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๗ มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๔ แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม มีการแก้ไข
โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ขอแปรญัตติได้แก้ชื่อเป็นแนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การศึกษา การสาธารณสุขและวัฒนธรรม กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ขัดข้อง
มาตรา ๗๘ นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสงวนคำแปรญัตติขอแก้ไขให้เพิ่มข้อความศานาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญ เพื่อขอเลื่อนการพิจารณามาตรานี้ออกไปเป็นวันที่ ๒๗—๒๘ มิถุนายน ทั้งนี้ เพื่อหาทางออกให้ดีที่สุดจะได้ไม่ขัดแย้งกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณามาตราดังกล่าวออกไป
มาตรา ๗๙ มีการแก้ไข ซึ่งกรรมาธิการได้ขอสงวนความเห็นและแก้ความในมาตรา ๗๙ (๓) พร้อมได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบ แต่เนื่องจากได้มีสมาชิกอภิปรายไม่เห็นด้วยและขัดแย้งกับการแก้ความในมาตราดังกล่าวนี้ของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประธานจึงได้หารือที่ประชุม เพื่อขอให้แขวนมาตรานี้ไว้ก่อน
ที่ประชุมเห็นชอบ
ส่วนที่ ๕ แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ไม่มีการแก้ไข โดยมาตรา ๘๐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอปรับปรุงถ้อยคำ (๑) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๔๐ (๓) (๔) เป็น “ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม ทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ”
ส่วนที่ ๖ แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ไม่มีการแก้ไข มาตรา ๘๑ มีการแก้ไข โดยนายวิชัย รูปขำดี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติแก้ความรัฐต้องส่งเสริม การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับนานาประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ การจัดทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านการค้า การลงทุน และการบริการ
ต้องเป็นไปตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและมีกระบวนการ ตัดสินใจที่ถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและภาคประชาสังคม รัฐต้องหามาตรการและแนวทางป้องกัน คุ้มครอง และเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วย
ปิดประชุมเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา
-----------------------------------------
วันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว
(เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่แล้ว)
โดยที่ประชุมได้พิจารณาในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗ บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการ ปกครอบประชาธิปไตยมิได้ ซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอให้บรรจุเรื่องบุคคลที่ทุจริตการเลือกตั้งถือเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น อันส่งผลให้เพิก ถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ขอให้เพิ่มข้อความว่า บุคคลจะทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐมิได้เอาไว้ในมาตรา ๖๗ ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการไม่ขัดข้อง แต่ขอให้นำไปรวมไว้ในมาตรา ๒๓๑/๑ ที่บัญญัติ เกี่ยวกับบทลงโทษการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้วพิจารณาไปพร้อมกัน ส่วนการแปรญัตติของ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคจาก ๕ ปี เป็น ๑๐ ปี แต่กรรมาธิการไม่เห็นด้วย เพราะหากพิจารณาคดีอาญาแล้วกรรมการบริหารพรรคมีความผิดก็จะต้องถูกตัดสิทธิทาง การเมืองเป็นเวลา ๑๐ ปีอยู่แล้ว
มาตรา ๖๘ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดวรรค ๒ ที่ให้มีองค์กรแก้วิกฤติบ้านเมืองออกไป แต่ นางสดศรี สัตยธรรม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เสนอให้เพิ่มวรรค ๒ เพื่อให้มีคณะบุคคลแก้ไขวิกฤติบ้านเมือง โดยให้เพิ่มผู้นำเหล่าทัพเป็นกรรมการองค์กร และระบุว่าการให้มีวรรค ๒ ไว้จะเป็นทางออกสำหรับบ้านเมือง เมื่อเกิดเหตุวิกฤติการเมืองที่ไม่มีทางออก และอาจก่อให้เกิดเหตุความรุนแรงที่ไม่
สามารถแก้ไขด้วยองค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ แต่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ได้ชี้แจงว่า เห็นด้วยที่ให้มีมาตรา ๖๘ วรรค ๒ เพื่อให้เป็นเวทีและขัดขวางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมืองในภาวะฉุกเฉิน แต่จากการรับฟังความคิดเห็นของ ๑๒ องค์กร และประชาชนแล้ว ไม่เห็นด้วยกับการให้มีองค์กรดังกล่าว และจะไม่เป็นการเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญอาจขัดต่อระบบรัฐสภา นอกจากนี้ อาจเป็นการสร้างความสับสนมากกว่าการแก้ไขปัญหาได้จริง ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นด้วยกับการตัดวรรค ๒ ออกไปด้วยคะแนน ๔๔ เสียง ต่อ ๒๘ เสียง
หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย ไม่มีการแก้ไข มาตรา ๖๙ บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ และมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดคำว่า และมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ออก เพื่อนำไปเพิ่มในมาตรา ๗๐ ว่า บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมายแทนซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้อง
มาตรา ๗๑ ไม่มีการแก้ไข แต่ได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขอแปรญัตติ โดยให้ใช้ถ้อยคำว่า “บุคคลมีสิทธิเลือกตั้ง” หรือให้การเลือกตั้งเป็นสิทธิมากกว่าหน้าที่ โดยให้เหตุผลว่า การบัญญัติให้เป็นหน้าที่เหมือนรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่าการกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่มีประโยชน์ที่ทำให้คนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น และที่ประชุมได้มีมติให้คงไว้ตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสียง ๔๖ ต่อ ๑๗ เสียง
มาตรา ๗๒ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๓ มีการแก้ไข
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๔ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๕ ไม่มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๒ แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๖ มีการแก้ไข โดยนายวิชัย รูปขำดี ขอแปรญัตติแก้ความรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหารอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้แก้ไขตามผู้ขอแปรญัตติ
ส่วนที่ ๓ แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๗๗ มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๔ แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม มีการแก้ไข
โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ขอแปรญัตติได้แก้ชื่อเป็นแนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การศึกษา การสาธารณสุขและวัฒนธรรม กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ขัดข้อง
มาตรา ๗๘ นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสงวนคำแปรญัตติขอแก้ไขให้เพิ่มข้อความศานาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญ เพื่อขอเลื่อนการพิจารณามาตรานี้ออกไปเป็นวันที่ ๒๗—๒๘ มิถุนายน ทั้งนี้ เพื่อหาทางออกให้ดีที่สุดจะได้ไม่ขัดแย้งกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณามาตราดังกล่าวออกไป
มาตรา ๗๙ มีการแก้ไข ซึ่งกรรมาธิการได้ขอสงวนความเห็นและแก้ความในมาตรา ๗๙ (๓) พร้อมได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบ แต่เนื่องจากได้มีสมาชิกอภิปรายไม่เห็นด้วยและขัดแย้งกับการแก้ความในมาตราดังกล่าวนี้ของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประธานจึงได้หารือที่ประชุม เพื่อขอให้แขวนมาตรานี้ไว้ก่อน
ที่ประชุมเห็นชอบ
ส่วนที่ ๕ แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ไม่มีการแก้ไข โดยมาตรา ๘๐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอปรับปรุงถ้อยคำ (๑) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๔๐ (๓) (๔) เป็น “ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม ทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ”
ส่วนที่ ๖ แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ไม่มีการแก้ไข มาตรา ๘๑ มีการแก้ไข โดยนายวิชัย รูปขำดี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติแก้ความรัฐต้องส่งเสริม การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับนานาประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ การจัดทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านการค้า การลงทุน และการบริการ
ต้องเป็นไปตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและมีกระบวนการ ตัดสินใจที่ถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและภาคประชาสังคม รัฐต้องหามาตรการและแนวทางป้องกัน คุ้มครอง และเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วย
ปิดประชุมเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา
-----------------------------------------