แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เกียรติคุณ ชาติประเสริฐ
กระทรวงการต่างประเทศ
บล.เครดิต สวิส
สวนสัตว์
ช้าง
กรุงเทพ--11 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ว่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ กงสุลใหญ่ฯ ได้นำนายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่ของช้างไทย 5 เชือกที่อาศัยอยู่ในสวนสัตว์ Taronga นครซิดนีย์ โดยมีนาย Guy Cooper ผู้อำนวยการสวนสัตว์ Taronga ให้การต้อนรับและนำชมโรงช้างทั้งด้านนอกและด้านในโดยละเอียด
การส่งช้างไทยมายังสวนสัตว์ Taronga เป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ จากการตรวจเยี่ยมพบว่า ช้างไทยเหล่านี้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการดูแลอย่างดีมาก อาทิ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การติดเครื่องทำความร้อนขนาดใหญ่ในโรงช้างเพื่อให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว การปรับอุณหภูมิบ่อน้ำและน้ำตกที่จัดไว้ให้ช้างลงเล่นน้ำให้อุ่นอยู่ตลอดเวลา และการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลอาบน้ำช้างทุกวัน
ผู้อำนวยการสวนสัตว์ Taronga ได้นำคณะของปลัดกระทรวงฯ เยี่ยมชมโรงช้างและพื้นที่อยู่อาศัยของช้าง ซึ่งทางสวนสัตว์ได้ลงทุนงบประมาณในการก่อสร้างไปกว่า 14 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยนาย Cooper กล่าวถึงความสำคัญของช้างไทยในสวนสัตว์ดังกล่าวว่า ฝ่ายออสเตรเลียมีความซาบซึ้งในความผูกพันระหว่างช้างกับสังคมไทย ประเทศไทยถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ช้างและคนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ช้างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ คนไทยได้ให้เกียรติและปฏิบัติกับช้างอย่างดี นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญของภูมิภาค สวนสัตว์ Taronga รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลช้างไทยทั้ง 5 เชือก ถึงแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลถึงหนึ่งแสนดอลลาร์ออสเตรเลียต่อเชือกต่อปีก็ตาม
ช้างไทยทั้ง 5 เชือก ได้แก่ กุ้ง ผักบุ้ง ทองดี แตงโม และพรทิพย์ ซึ่งสวนสัตว์ฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมสวนสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ที่ตั้งใจเข้ามาชมช้าง โดยเฉพาะ “กุ้ง” ซึ่งเป็นช้างเพศผู้ เป็นที่ชื่นชอบมากเป็นพิเศษ เพราะบุคลิกลักษณะที่ซุกซน ทางสวนสัตว์ฯ จึงได้จัดทำตุ๊กตาช้าง “Gung” จำหน่ายในร้านขายของที่ระลึกด้วยและในอนาคตอันใกล้นี้ สวนสัตว์ฯ จะใช้งบประมาณอีก 7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อขยายพื้นที่อยู่อาศัยและโรงช้างให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่
กงสุลใหญ่ฯ กล่าวเสริมเกี่ยวกับความสำคัญของช้างไทยว่า ถึงแม้สวนสัตว์ Taronga จะมีความร่วมมือกับสวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนสัตว์จากต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง แต่ช้างไทยเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่ทางสวนสัตว์ได้จัดสร้างและตกแต่งพื้นที่ให้เป็นพิเศษ โดยอยู่ใกล้กับศาลาไทยซึ่งรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินสร้างให้เมื่อปี 2548 ชาวออสเตรเลียที่เข้ามาชมช้างจึงไม่เพียงได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของช้างเท่านั้น แต่จะได้รับทราบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับออสเตรเลียด้วย ดังนั้น ช้างจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันที่ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถสัมผัสได้ และมีส่วนสำคัญของในการส่งเสริมการทูตในระดับประชาชนระหว่างไทยและออสเตรเลีย
สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียนั้น ออสเตรเลียได้ส่งหมีโคอาล่าให้สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในอนาคตอันใกล้จะส่งจิงโจ้แดงและวอมแบ็ตให้ไทยต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ว่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ กงสุลใหญ่ฯ ได้นำนายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่ของช้างไทย 5 เชือกที่อาศัยอยู่ในสวนสัตว์ Taronga นครซิดนีย์ โดยมีนาย Guy Cooper ผู้อำนวยการสวนสัตว์ Taronga ให้การต้อนรับและนำชมโรงช้างทั้งด้านนอกและด้านในโดยละเอียด
การส่งช้างไทยมายังสวนสัตว์ Taronga เป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ จากการตรวจเยี่ยมพบว่า ช้างไทยเหล่านี้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการดูแลอย่างดีมาก อาทิ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การติดเครื่องทำความร้อนขนาดใหญ่ในโรงช้างเพื่อให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว การปรับอุณหภูมิบ่อน้ำและน้ำตกที่จัดไว้ให้ช้างลงเล่นน้ำให้อุ่นอยู่ตลอดเวลา และการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลอาบน้ำช้างทุกวัน
ผู้อำนวยการสวนสัตว์ Taronga ได้นำคณะของปลัดกระทรวงฯ เยี่ยมชมโรงช้างและพื้นที่อยู่อาศัยของช้าง ซึ่งทางสวนสัตว์ได้ลงทุนงบประมาณในการก่อสร้างไปกว่า 14 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยนาย Cooper กล่าวถึงความสำคัญของช้างไทยในสวนสัตว์ดังกล่าวว่า ฝ่ายออสเตรเลียมีความซาบซึ้งในความผูกพันระหว่างช้างกับสังคมไทย ประเทศไทยถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ช้างและคนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ช้างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ คนไทยได้ให้เกียรติและปฏิบัติกับช้างอย่างดี นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญของภูมิภาค สวนสัตว์ Taronga รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลช้างไทยทั้ง 5 เชือก ถึงแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลถึงหนึ่งแสนดอลลาร์ออสเตรเลียต่อเชือกต่อปีก็ตาม
ช้างไทยทั้ง 5 เชือก ได้แก่ กุ้ง ผักบุ้ง ทองดี แตงโม และพรทิพย์ ซึ่งสวนสัตว์ฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมสวนสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ที่ตั้งใจเข้ามาชมช้าง โดยเฉพาะ “กุ้ง” ซึ่งเป็นช้างเพศผู้ เป็นที่ชื่นชอบมากเป็นพิเศษ เพราะบุคลิกลักษณะที่ซุกซน ทางสวนสัตว์ฯ จึงได้จัดทำตุ๊กตาช้าง “Gung” จำหน่ายในร้านขายของที่ระลึกด้วยและในอนาคตอันใกล้นี้ สวนสัตว์ฯ จะใช้งบประมาณอีก 7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อขยายพื้นที่อยู่อาศัยและโรงช้างให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่
กงสุลใหญ่ฯ กล่าวเสริมเกี่ยวกับความสำคัญของช้างไทยว่า ถึงแม้สวนสัตว์ Taronga จะมีความร่วมมือกับสวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนสัตว์จากต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง แต่ช้างไทยเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่ทางสวนสัตว์ได้จัดสร้างและตกแต่งพื้นที่ให้เป็นพิเศษ โดยอยู่ใกล้กับศาลาไทยซึ่งรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินสร้างให้เมื่อปี 2548 ชาวออสเตรเลียที่เข้ามาชมช้างจึงไม่เพียงได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของช้างเท่านั้น แต่จะได้รับทราบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับออสเตรเลียด้วย ดังนั้น ช้างจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันที่ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถสัมผัสได้ และมีส่วนสำคัญของในการส่งเสริมการทูตในระดับประชาชนระหว่างไทยและออสเตรเลีย
สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียนั้น ออสเตรเลียได้ส่งหมีโคอาล่าให้สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในอนาคตอันใกล้จะส่งจิงโจ้แดงและวอมแบ็ตให้ไทยต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-