แท็ก
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระจักรพรรดิ
กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงกลาโหม
พิพิธภัณฑ์
ราชดำเนิน
กรุงเทพ--12 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เวลา ๑๑.๕๐ น. ของวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังมหาวิหารเซนต์ไอแซค (St. Isaac’s Cathedral) โดยมีนายนิโคลัย วิคโตโรวิช นากอร์สกี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จทอดพระเนตรมหาวิหารไอแซคเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซีย สร้างในแบบศิลปะคลาสสิกผสมบาร็อกฝีมือนายช่างอิตาเลียนและฝรั่งเศส โดยสถาปนิกคนสำคัญที่มีบทบาทในการก่อสร้างคือนาย เอากุสต์ เดอ มองต์เฟอรองด์ ชาวฝรั่งเศส เริ่มต้นสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๗๑ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ และซ่อมสร้างใหม่หลายครั้ง กินเวลาหลายรัชกาล ถึงประมาณ ๑๓๐ ปีจึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ รัชสมัยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ ๓
ลักษณะภายนอกอาคารวิหารมีเสาขนาดใหญ่หลายสิบต้น ทำจากหินแกรนิต เรียงรายประกอบหน้ามุขทั้ง ๔ ทิศ หลังคาเป็นรูปโดมสีทองขนาดใหญ่ ภายในมีภาพสำคัญทางศาสนา ที่สำคัญคือภาพของนักบุญไอแซค ซึ่งเป็นนักบุญอุปถัมภ์องค์หนึ่งประจำวันประสูติของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ภาพนักบุญปีเตอร์อัครสาวกของพระเยซู ซึ่งคริสตศาสนิกชนเชื่อว่าเป็นผู้ถือกุญแจประตูสวรรค์ และเป็นนักบุญองค์อุปถัมถ์พระเจ้าปีเตอร์มหาราชเช่นกัน มีภาพพระเยซูเจ้า ภาพแม่พระ ภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู และภาพบูชาทางศาสนาอื่นๆ ขนาดใหญ่บนผนังและเพดาน เป็นภาพกระเบื้องโมเสคฝีมือละเอียดงดงามยิ่ง กล่าวกันว่าช่างฝีมือต้องใช้เวลาถึง ๑ ปีในการประกอบภาพโมเสคให้ได้พื้นที่ ๑ ตารางเมตร นอกจากนั้นยังมีเสาหินที่สร้างจากแร่มาลาไคท์สีเขียวทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ เมตร จำนวน ๑๐ ต้น เป็นหินแร่หายากสีเขียวจากแถบเทือกเขาอูราล และศิลปวัตถุอื่นๆ อีกมาก
จากนั้นเวลา ๑๒.๐๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินถึงโรงงานของบริษัทอัญมณีอานานอฟ โดยมีนายอันเดร อานานอฟ เจ้าของและผู้อำนวยการบริษัทอัญมณีอานานอฟ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จไปทอดพระเนตรห้องทำงานของช่างประดิษฐ์เครื่องอัญมณี และห้องลงยา นายอันเดร อานานอฟ นอกจากจะเป็นเจ้าของบริษัทอานานอฟแล้ว ยังเป็นหัวหน้าช่างออกแบบของบริษัทด้วย และนับว่าเป็น นักออกแบบเครื่องเพชรและอัญมณีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในรัสเซียปัจจุบัน ได้ก่อตั้งบริษัทอานานอฟขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๒ และได้รับรางวัลต่างๆ ในระดับนานาชาติมากมาย ในวงการการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับของโลกถือกันว่า ช่างของบริษัทอานานอฟสามารถสร้างผลงานไข่ประดับอัญมณี เครื่องลงยา และเครื่องประดับต่างๆ ได้ใกล้เคียงและคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับผลงาน “ไข่ฟาแบร์เช่” ของนายคาร์ล ฟาแบร์เช่ นายช่างอัญมณีฝีมือเอกที่เคยทำงานถวายสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ สมเด็จพระจักรพรรดินิโคลัสที่ ๒ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงศตวรรษที่แล้ว และตัวนายอานานอฟเองได้รับรางวัลจากมูลนิธิคาร์ล ฟาแบร์เช่ เมื่อปี ๒๕๔๓ ในฐานะ “นักออกแบบอัญมณีที่ดีที่สุดของศตวรรษนี้” จึงกล่าวได้ว่า นายอานานอฟเป็นนายช่างอัญมณีที่ได้สืบทอดวิชาของฟาแบร์เช่มาได้อย่างใกล้ชิดผู้หนึ่งของรัสเซียในสมัยปัจจุบัน
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นักเรียนศิลปาชีพของโครงการภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการทำงานของช่างอัญมณีฝีมือเยี่ยมของรัสเซียด้วย
เวลา ๑๖.๓๕ น. ของวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ตามเวลาท้องถิ่นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระราชวังของสมเด็จพระจักรพรรดินี แคเธอรีนที่ ๒ มหาราชินี ณ เมืองซาร์สโกเย เซโล หรือเมืองพุชกิน ตามชื่อของกวีเอกคนสำคัญที่สุดของรัสเซียที่มีภูมิลำเนาในแถบนี้ ตั้งอยู่ห่างจาก นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง นายอิวาน เปรโตวิช ซาวตอฟ (Mr. Ivan P. Sautov) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรห้องต่าง ๆ ภายในพระราชวัง ส่วนที่ได้รับการบูรณะใหม่เรียบร้อยแล้ว
พระราชวังแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ประมาณเกือบ ๓๐๐ ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่ประทับฤดูร้อนของมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าปีเตอร์ ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแคเธอรีนที่ ๑ ต่อจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับการต่อเติมสร้างเสริมเรื่อยมา โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ ๒ หรือที่รู้จักกันว่าแคทเธอรีนมหาราชินี อาคารเป็นสไตล์ศิลปะโรโคโรอย่างงดงามอลังการ พระราชวังนี้ถูกทิ้งร้างในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โรมานอฟ และภายหลังการปฏิวัติได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่ได้ถูกทำลายลงมากระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลรัสเซียได้บูรณะพระราชวังนี้ขึ้นมาใหม่ และเพิ่งเปิดบางส่วนให้ประชาชนเข้าชมได้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ๓๐๐ ปี แห่งการก่อตั้งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้งานการบูรณะส่วนต่างๆ ของพระราชวังแห่งนี้ยังดำเนินต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน พระราชวังแห่งนี้ได้ใช้เป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G8 ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ๒๕๔๙
ห้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในพระราชวังนี้คือห้องอำพัน (Amber Room) ขนาด ๑๐๐ ตารางเมตร ผนังห้องและกรอบรูปประดับห้อง ได้รับการตกแต่งด้วยอำพันอายุ ๕๐ ล้านปีตลอดทั้งผนังแทบทุกด้าน ยกเว้นผนังด้านตะวันตก ซึ่งได้ประดับกระจกไว้แทนเพื่อสร้างความสมดุลของแสงและเน้นความงดงามของอำพันที่ประดับบนผนังด้านอื่นๆ
อำพันเป็นอัญมณีชนิดหนึ่ง สีเหลืองทองใสสว่าง เกิดจากยางไม้ในยุค ๕๐ ล้านปีก่อน ที่ได้กลายสภาพเป็นสินแร่ ชาวกรีกและโรมันโบราณเชื่อว่าอำพันมีพลังอำนาจพิเศษ สามารถรักษาโรคได้ และได้มีการนำอำพันมาใช้เป็นสร้อยคอและเครื่องประดับเพื่อบรรเทาอาการโรคบางอย่างมาตั้งแต่สมัยนั้น อำพันมีอยู่มากในรัสเซีย เอเชียกลาง และยุโรปบางประเทศ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพนาซีเยอรมันที่เข้ามายึดครองเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเมืองพุชกินได้ทำลายพระราชวังและห้องนี้ และนำอำพันแทบทั้งหมดกลับไปเยอรมัน โดยไม่มีใครได้พบเห็นสมบัติล้ำค่าดังกล่าวนี้อีกเลย แม้ว่าภายหลังสงคราม จะได้มีความพยายามทั้งจากทางการรัสเซียและทางการเยอรมันที่จะค้นหาอำพันจำนวนมากดังกล่าว แต่ก็ไม่พบ
ในปี ค.ศ. ๑๙๗๙ รัฐบาลรัสเซียได้ตัดสินใจเริ่มต้นบูรณะฟื้นฟูห้องอำพันให้อยู่ในสภาพเดิม โดยใช้อำพันคุณภาพดีที่สุดของรัสเซียมากกว่า ๑๐๐๐ ชิ้น น้ำหนักรวมถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ใช้เวลาบูรณะถึง ๒๕ ปี จึงสามารถเปิด ให้ประชาชนเข้าชมได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในสภาพใกล้เคียงของเดิม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ได้กราบบังคมทูลว่า ห้องนี้ได้รับการกล่าวขานว่ามีความสวยงามพิเศษที่สุด เป็นแห่งเดียวในโลก
หลังจากทอดพระเนตรตัวอาคารพระราชวังแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนิน โดยรถม้าพระที่นั่งแบบโบราณเทียมม้าคู่ ประพาสโดยรอบอุทยานของพระราชวัง ซึ่งมีความงดงามในลักษณะการจัดสวนแบบยุโรป ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าแคทเธอรีนมหาราชินี โดยมีผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ตามเสด็จในรถม้าพระที่นั่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เวลา ๑๑.๕๐ น. ของวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังมหาวิหารเซนต์ไอแซค (St. Isaac’s Cathedral) โดยมีนายนิโคลัย วิคโตโรวิช นากอร์สกี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จทอดพระเนตรมหาวิหารไอแซคเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซีย สร้างในแบบศิลปะคลาสสิกผสมบาร็อกฝีมือนายช่างอิตาเลียนและฝรั่งเศส โดยสถาปนิกคนสำคัญที่มีบทบาทในการก่อสร้างคือนาย เอากุสต์ เดอ มองต์เฟอรองด์ ชาวฝรั่งเศส เริ่มต้นสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๗๑ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ และซ่อมสร้างใหม่หลายครั้ง กินเวลาหลายรัชกาล ถึงประมาณ ๑๓๐ ปีจึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ รัชสมัยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ ๓
ลักษณะภายนอกอาคารวิหารมีเสาขนาดใหญ่หลายสิบต้น ทำจากหินแกรนิต เรียงรายประกอบหน้ามุขทั้ง ๔ ทิศ หลังคาเป็นรูปโดมสีทองขนาดใหญ่ ภายในมีภาพสำคัญทางศาสนา ที่สำคัญคือภาพของนักบุญไอแซค ซึ่งเป็นนักบุญอุปถัมภ์องค์หนึ่งประจำวันประสูติของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ภาพนักบุญปีเตอร์อัครสาวกของพระเยซู ซึ่งคริสตศาสนิกชนเชื่อว่าเป็นผู้ถือกุญแจประตูสวรรค์ และเป็นนักบุญองค์อุปถัมถ์พระเจ้าปีเตอร์มหาราชเช่นกัน มีภาพพระเยซูเจ้า ภาพแม่พระ ภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู และภาพบูชาทางศาสนาอื่นๆ ขนาดใหญ่บนผนังและเพดาน เป็นภาพกระเบื้องโมเสคฝีมือละเอียดงดงามยิ่ง กล่าวกันว่าช่างฝีมือต้องใช้เวลาถึง ๑ ปีในการประกอบภาพโมเสคให้ได้พื้นที่ ๑ ตารางเมตร นอกจากนั้นยังมีเสาหินที่สร้างจากแร่มาลาไคท์สีเขียวทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ เมตร จำนวน ๑๐ ต้น เป็นหินแร่หายากสีเขียวจากแถบเทือกเขาอูราล และศิลปวัตถุอื่นๆ อีกมาก
จากนั้นเวลา ๑๒.๐๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินถึงโรงงานของบริษัทอัญมณีอานานอฟ โดยมีนายอันเดร อานานอฟ เจ้าของและผู้อำนวยการบริษัทอัญมณีอานานอฟ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จไปทอดพระเนตรห้องทำงานของช่างประดิษฐ์เครื่องอัญมณี และห้องลงยา นายอันเดร อานานอฟ นอกจากจะเป็นเจ้าของบริษัทอานานอฟแล้ว ยังเป็นหัวหน้าช่างออกแบบของบริษัทด้วย และนับว่าเป็น นักออกแบบเครื่องเพชรและอัญมณีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในรัสเซียปัจจุบัน ได้ก่อตั้งบริษัทอานานอฟขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๒ และได้รับรางวัลต่างๆ ในระดับนานาชาติมากมาย ในวงการการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับของโลกถือกันว่า ช่างของบริษัทอานานอฟสามารถสร้างผลงานไข่ประดับอัญมณี เครื่องลงยา และเครื่องประดับต่างๆ ได้ใกล้เคียงและคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับผลงาน “ไข่ฟาแบร์เช่” ของนายคาร์ล ฟาแบร์เช่ นายช่างอัญมณีฝีมือเอกที่เคยทำงานถวายสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ สมเด็จพระจักรพรรดินิโคลัสที่ ๒ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงศตวรรษที่แล้ว และตัวนายอานานอฟเองได้รับรางวัลจากมูลนิธิคาร์ล ฟาแบร์เช่ เมื่อปี ๒๕๔๓ ในฐานะ “นักออกแบบอัญมณีที่ดีที่สุดของศตวรรษนี้” จึงกล่าวได้ว่า นายอานานอฟเป็นนายช่างอัญมณีที่ได้สืบทอดวิชาของฟาแบร์เช่มาได้อย่างใกล้ชิดผู้หนึ่งของรัสเซียในสมัยปัจจุบัน
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นักเรียนศิลปาชีพของโครงการภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการทำงานของช่างอัญมณีฝีมือเยี่ยมของรัสเซียด้วย
เวลา ๑๖.๓๕ น. ของวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ตามเวลาท้องถิ่นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระราชวังของสมเด็จพระจักรพรรดินี แคเธอรีนที่ ๒ มหาราชินี ณ เมืองซาร์สโกเย เซโล หรือเมืองพุชกิน ตามชื่อของกวีเอกคนสำคัญที่สุดของรัสเซียที่มีภูมิลำเนาในแถบนี้ ตั้งอยู่ห่างจาก นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง นายอิวาน เปรโตวิช ซาวตอฟ (Mr. Ivan P. Sautov) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรห้องต่าง ๆ ภายในพระราชวัง ส่วนที่ได้รับการบูรณะใหม่เรียบร้อยแล้ว
พระราชวังแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ประมาณเกือบ ๓๐๐ ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่ประทับฤดูร้อนของมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าปีเตอร์ ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแคเธอรีนที่ ๑ ต่อจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับการต่อเติมสร้างเสริมเรื่อยมา โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ ๒ หรือที่รู้จักกันว่าแคทเธอรีนมหาราชินี อาคารเป็นสไตล์ศิลปะโรโคโรอย่างงดงามอลังการ พระราชวังนี้ถูกทิ้งร้างในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โรมานอฟ และภายหลังการปฏิวัติได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่ได้ถูกทำลายลงมากระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลรัสเซียได้บูรณะพระราชวังนี้ขึ้นมาใหม่ และเพิ่งเปิดบางส่วนให้ประชาชนเข้าชมได้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ๓๐๐ ปี แห่งการก่อตั้งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้งานการบูรณะส่วนต่างๆ ของพระราชวังแห่งนี้ยังดำเนินต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน พระราชวังแห่งนี้ได้ใช้เป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G8 ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ๒๕๔๙
ห้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในพระราชวังนี้คือห้องอำพัน (Amber Room) ขนาด ๑๐๐ ตารางเมตร ผนังห้องและกรอบรูปประดับห้อง ได้รับการตกแต่งด้วยอำพันอายุ ๕๐ ล้านปีตลอดทั้งผนังแทบทุกด้าน ยกเว้นผนังด้านตะวันตก ซึ่งได้ประดับกระจกไว้แทนเพื่อสร้างความสมดุลของแสงและเน้นความงดงามของอำพันที่ประดับบนผนังด้านอื่นๆ
อำพันเป็นอัญมณีชนิดหนึ่ง สีเหลืองทองใสสว่าง เกิดจากยางไม้ในยุค ๕๐ ล้านปีก่อน ที่ได้กลายสภาพเป็นสินแร่ ชาวกรีกและโรมันโบราณเชื่อว่าอำพันมีพลังอำนาจพิเศษ สามารถรักษาโรคได้ และได้มีการนำอำพันมาใช้เป็นสร้อยคอและเครื่องประดับเพื่อบรรเทาอาการโรคบางอย่างมาตั้งแต่สมัยนั้น อำพันมีอยู่มากในรัสเซีย เอเชียกลาง และยุโรปบางประเทศ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพนาซีเยอรมันที่เข้ามายึดครองเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเมืองพุชกินได้ทำลายพระราชวังและห้องนี้ และนำอำพันแทบทั้งหมดกลับไปเยอรมัน โดยไม่มีใครได้พบเห็นสมบัติล้ำค่าดังกล่าวนี้อีกเลย แม้ว่าภายหลังสงคราม จะได้มีความพยายามทั้งจากทางการรัสเซียและทางการเยอรมันที่จะค้นหาอำพันจำนวนมากดังกล่าว แต่ก็ไม่พบ
ในปี ค.ศ. ๑๙๗๙ รัฐบาลรัสเซียได้ตัดสินใจเริ่มต้นบูรณะฟื้นฟูห้องอำพันให้อยู่ในสภาพเดิม โดยใช้อำพันคุณภาพดีที่สุดของรัสเซียมากกว่า ๑๐๐๐ ชิ้น น้ำหนักรวมถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ใช้เวลาบูรณะถึง ๒๕ ปี จึงสามารถเปิด ให้ประชาชนเข้าชมได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในสภาพใกล้เคียงของเดิม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ได้กราบบังคมทูลว่า ห้องนี้ได้รับการกล่าวขานว่ามีความสวยงามพิเศษที่สุด เป็นแห่งเดียวในโลก
หลังจากทอดพระเนตรตัวอาคารพระราชวังแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนิน โดยรถม้าพระที่นั่งแบบโบราณเทียมม้าคู่ ประพาสโดยรอบอุทยานของพระราชวัง ซึ่งมีความงดงามในลักษณะการจัดสวนแบบยุโรป ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าแคทเธอรีนมหาราชินี โดยมีผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ตามเสด็จในรถม้าพระที่นั่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-