แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
องอาจ คล้ามไพบูลย์
พรรคประชาธิปัตย์
ร่างรัฐธรรมนูญ
โรงแรมคอนราด
วันที่ 18 สค. 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคเกี่ยวกับการลงประชามติในวันที่ 19 สค.นี้ ว่า พรุ่งนี้ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะมีการลงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์จึงขอเชิญชวน และเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์ในการออกเสียงลงประชามติได้ไปใช้สิทธิ์ของท่านอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม เพราะเชื่อมั่นว่าการใช้สิทธิ์ของประชาชนคนไทยในครั้งนี้จะมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยกันทำให้กระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างเต็มภาคภูมิ
อย่างไรก็ดีนายองอาจ กล่าวว่า การใช้สิทธิ์ในครั้งนี้ตนคิดว่ายังมีเวลาในวันนี้และพรุ่งนี้ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวล และต้องการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาดำเนินการอย่างจริงจัง กล่าวคือ ต้องการให้ กกต. และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาหาทางสกัดกั้นป้องกันไม่ให้มีการใช้อามิสสินจ้าง ไม่ว่าจากฝ่ายที่รณรงค์ให้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม เพราะการที่ประชาชนถูกเข้าไปแทรกแซง ถูกเข้าไปทำให้เบี่ยงเบนความคิดการตัดสินใจนั้นก็คงไม่เป็นสิ่งที่พวกเราปรารถนาอยากจะให้เกิดขึ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 10 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ คือหลอกลวง บังคับขู่เข็ญหรือใช้อิทธิพลคุกคามเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องถือว่าเป็นความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และศาลอาจจะสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 5 ปีด้วย
นอกเหนือจากนั้นนายองอาจยังแสดงความเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่ามีความพยายามเคลื่อนไหวจากหลาย ๆ ฝ่าย ในการพยายามชี้นำการออกเสียงลงประชามติครั้งนี้ว่าเป็นการเลือกข้างทางการเมือง ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า หรือกลุ่มอำนาจใหม่ ซึ่งการชี้นำลักษณะนี้ตนเห็นว่าเป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เพราะในความเป็นจริงแล้ว การลงประชามติไม่ว่าประชาชนจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม ไม่ใช่การเลือกข้าง ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าหรือกลุ่มอำนาจใหม่เพราะถ้าเราพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็จะเห็นว่า ในกลุ่มคนที่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็อาจจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ คมช. กับรัฐบาล หรือกับการปฏิวัติรัฐประหาร ในทางตรงกันข้าม ในกลุ่มคนที่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการเห็นด้วยกับกลุ่มกลุ่มอำนาจเก่า ฉะนั้นการออกเสียงลงประชามติว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นจึงไม่ใช่เป็นการเลือกข้างระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า กับกลุ่มอำนาจใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นการไปใช้สิทธิ์โดยเสรี เพื่อให้ประเทศไทยจะได้เดินหน้าต่อไปในทางการเมืองว่าเราจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
นายองอาจยังกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องหลังจากมีการผลลงประชามติออกมา 3 ประการ ประการที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในฝ่ายที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขอให้ยอมรับผลการลงประชามติ ไม่ว่าผลของการลงประชามติจะออกมาอย่างไรก็ตาม จะถูกใจหรือไม่ถูกใจ แต่ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการลงประชามติ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ประการที่ 2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายไม่ควรเอารัฐธรรมนูญมาสร้างเงื่อนไขให้เกิดผลกระทบต่อการเดินหน้าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายใดทั้งสิ้น ประการที่ 3 ต้องการเรียกร้องให้ทุก ๆ ฝ่ายดำเนินงานทางการเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ไม่ควรใช้วิธีการนอกระบบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องในวันนี้ ตนเห็นว่าเป็นการเรียกร้องด้วยความปรารถนาดี ที่ต้องการจะเห็นบ้านเมืองของเราสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข สามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกันไม่ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ไม่ควรนำผลของการลงประชามติหลังจากวันพรุ่งนี้ (19 สค.50) ไปแล้วมาก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม ในบ้านเมืองของเราอีกต่อไป
สำหรับวันพรุ่งนี้ซึ่งจะเป็นวันลงประชามตินั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เดินทางไปลงประชามติ ณ หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนสวัสดี สุขุมวิท ซอย 31 ในเวลาประมาณ 8.30 น.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ส.ค. 2550--จบ--
อย่างไรก็ดีนายองอาจ กล่าวว่า การใช้สิทธิ์ในครั้งนี้ตนคิดว่ายังมีเวลาในวันนี้และพรุ่งนี้ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวล และต้องการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาดำเนินการอย่างจริงจัง กล่าวคือ ต้องการให้ กกต. และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาหาทางสกัดกั้นป้องกันไม่ให้มีการใช้อามิสสินจ้าง ไม่ว่าจากฝ่ายที่รณรงค์ให้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม เพราะการที่ประชาชนถูกเข้าไปแทรกแซง ถูกเข้าไปทำให้เบี่ยงเบนความคิดการตัดสินใจนั้นก็คงไม่เป็นสิ่งที่พวกเราปรารถนาอยากจะให้เกิดขึ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 10 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ คือหลอกลวง บังคับขู่เข็ญหรือใช้อิทธิพลคุกคามเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องถือว่าเป็นความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และศาลอาจจะสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 5 ปีด้วย
นอกเหนือจากนั้นนายองอาจยังแสดงความเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่ามีความพยายามเคลื่อนไหวจากหลาย ๆ ฝ่าย ในการพยายามชี้นำการออกเสียงลงประชามติครั้งนี้ว่าเป็นการเลือกข้างทางการเมือง ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า หรือกลุ่มอำนาจใหม่ ซึ่งการชี้นำลักษณะนี้ตนเห็นว่าเป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เพราะในความเป็นจริงแล้ว การลงประชามติไม่ว่าประชาชนจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม ไม่ใช่การเลือกข้าง ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าหรือกลุ่มอำนาจใหม่เพราะถ้าเราพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็จะเห็นว่า ในกลุ่มคนที่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็อาจจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ คมช. กับรัฐบาล หรือกับการปฏิวัติรัฐประหาร ในทางตรงกันข้าม ในกลุ่มคนที่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการเห็นด้วยกับกลุ่มกลุ่มอำนาจเก่า ฉะนั้นการออกเสียงลงประชามติว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นจึงไม่ใช่เป็นการเลือกข้างระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า กับกลุ่มอำนาจใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นการไปใช้สิทธิ์โดยเสรี เพื่อให้ประเทศไทยจะได้เดินหน้าต่อไปในทางการเมืองว่าเราจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
นายองอาจยังกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องหลังจากมีการผลลงประชามติออกมา 3 ประการ ประการที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในฝ่ายที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขอให้ยอมรับผลการลงประชามติ ไม่ว่าผลของการลงประชามติจะออกมาอย่างไรก็ตาม จะถูกใจหรือไม่ถูกใจ แต่ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการลงประชามติ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ประการที่ 2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายไม่ควรเอารัฐธรรมนูญมาสร้างเงื่อนไขให้เกิดผลกระทบต่อการเดินหน้าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายใดทั้งสิ้น ประการที่ 3 ต้องการเรียกร้องให้ทุก ๆ ฝ่ายดำเนินงานทางการเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ไม่ควรใช้วิธีการนอกระบบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องในวันนี้ ตนเห็นว่าเป็นการเรียกร้องด้วยความปรารถนาดี ที่ต้องการจะเห็นบ้านเมืองของเราสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข สามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกันไม่ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ไม่ควรนำผลของการลงประชามติหลังจากวันพรุ่งนี้ (19 สค.50) ไปแล้วมาก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม ในบ้านเมืองของเราอีกต่อไป
สำหรับวันพรุ่งนี้ซึ่งจะเป็นวันลงประชามตินั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เดินทางไปลงประชามติ ณ หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนสวัสดี สุขุมวิท ซอย 31 ในเวลาประมาณ 8.30 น.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ส.ค. 2550--จบ--