เมื่อเวลา 10.30 น. คณะทำงานแก้ไขปัญหา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุม โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงาน กล่าวว่า วันนี้ได้มีการประชุมอดีตส.ส. 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อหารือถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งที่ประชุมมีความเป็นห่วงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคและนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ได้ลงพื้นที่เป็นระยะๆ ก็ยอมรับว่าสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ และเห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนทุกองค์กรในการแก้ไขปัญหา และพรรคก็ได้มีการประชุมเพื่อนำแนวคิดและประสบการณ์ไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ จะจัดโครงการเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “เมืองไทยสันติสุข” โดยมีนายอภิสิทธิ์ เป็นประธาน และเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์และมีแนวคิดมาให้ความคิดเห็น จากนั้นพรรคจะจัดสมัชชาเพื่อระดมคนในพื้นที่ที่มีความรู้และมีประสบการณ์มาร่วมแสดงความคิดเห็นในวันที่ 14-15 ก.ค.นี้ ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อระดมแนวความคิดและรับฟังปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทาง ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา
นายนิพนธ์ กล่าว่า ปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพเป็นปัญหาหลักในการจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องยอมรับว่า ส่วนที่รับผิดชอบหลักทางความมั่นคง ในการประสานความร่วมมือกับฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เป็นไปในลักษณะที่ไม่ส่งผลดีในการแก้ไขปัญหา เราอยากเห็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐทุกส่วนมีความร่วมมือกันมากกว่าปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือวันนี้เราต้องตัดสินใจว่า จะต้องเอาองค์กรปกครองส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาในขณะนี้กำลังจะบานปลายกลายเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจกัน ฝ่ายตรงข้ามพยายามสร้างให้เห็นว่าเป็นเรื่องของความแตกแยกของคนในพื้นที่ ซึ่งพวกเราเห็นว่าไม่มีหน่วยใดที่จะเข้าใจประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ดีกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การนำทหารนอกพื้นที่เข้ามาทำงานมวลชนในพื้นที่อาจจะไม่มีความเข้าใจในปัญหาและวัฒนธรรม ประเพณีอย่างดีพอ จึงเห็นว่ารัฐบาลจะต้องเลิกระแวงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องใช้กลไกในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมกันแก้ไขปัญหาและทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ให้มีความหวาดระแวงในอำนาจรัฐ
“วันนี้ที่มีม๊อบต่างๆ ออกมาปิดถนน และยากที่จะสลาย เพราะมีความไม่เข้าใจกันระหว่างพี่น้องประชาชนกับฝ่ายราชการ มีความหวาดระแวงกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจะต้องสร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่ให้ได้”นายนิพนธ์ กล่าว
ด้านนายสุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีตส.ส.นราธิวาส กล่าวว่า เหตุการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่ผ่านมา ถึง 2 รัฐบาลแนวทางการแก้ไขปัญหายังไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ประชาชนอยู่ด้วยความหวาดกลัวและไม่มั่นใจ ซึ่งกระทบกับชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้อดีตส.ส.ในพื้นที่ของพรรคก็มีความเป็นห่วง โดยได้หารือกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นนโยบายของรัฐ ว่าดำเนินการไม่ประสบผลเท่าที่ควร รัฐบาลจะต้องปรับกลยุทธ์และวิธีการ โดยพาะในเรื่องของความเป็นเอกภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ยังมีจุดอ่อน และการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนต้องทำโดยด่วน คือการดึงมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้
“วันนี้เราต้องยอมรับว่าความหวาดระแวงของประชาชนในพื้นที่ยังมีอยู่ จึงอยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการเมืองในทุกระดับ ให้เจ้าหน้าที่ได้มีบทบาท เพราะมีพื้นที่ที่ล่อแหลมเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เราจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งในเรื่องการมีส่วนร่วม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาคือภาครัฐจะต้องใช้การเมืองนำการทหารจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้ เพราะการเมืองเป็นภาคของประชาชนโดยตรง เราจึงมั่นใจว่าการเมืองเท่านั้นที่จะชนะใจประชาชน โดยการดึงประชาขนเข้ามามีส่วนร่วม มาทำหน้าที่กับภาครัฐเพื่อขจัดความหวาดระแวงและความไม่พอใจใดๆ ทั้งสิ้น”นายสุรเชษฐ์ กล่าว
ส่วนนายฮอซาลี ม่าเหร็ม อดีตส.ส.สตูล กล่าวว่า ระยะนี้มีนักเรียนและครูและครูสอนศาสนา เสียชีวิต จึงอยากเสนอมาตรการต่อรัฐบาลคือ 1. ดึงให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสวัสดิภาพชีวิตครู 2.รัฐบาลต้องมีงบประมาณปรับปรุงสถานศึกษา ตรวจจนมาตรการตรวจสอบการเข้า-ออก และมีป้อมยามในสถานศึกษา 3. รัฐต้องมีมาตรการชดเชยและเพิ่มคุณภาพของการจัดการเรียนการสอบ ในระยะที่โรงเรียนปิดเนื่องจากเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ และเพิ่มคุรภาพการศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ และ 4. รัฐต้องมีมาตรการให้นักเรียนหรือคนในท้อนถิ่นได้เข้าเรียนครู และได้รับทุนการศึกษา เพื่อจบออกมาแล้วกลับมาบรรจุเป็นครูในท้องถิ่นเพื่อลดปัญหาการเดินทางของครูและลดปัญหาเรื่องความปลอดภัย
ด้านายอันวาร์ สาและ อดีตส.ส.ปัตตานี กล่าวว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ทำให้มีปัญหาเศรษฐกิจตามมา หากรัฐบาลไม่เข้าไปดูแลภาวะวิกฤตในพื้นที่ก็จะเกิดความซ้ำซ้อนของรัฐบาล และไม่สามารถแยกแยะปัญหาว่าเกิดจากอะไรได้ อาจจะมีความยุ่งยากในการแก้ปัญหา ดังนั้นวันนี้รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแลนักธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ ที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งรัฐบาลจะต้องเข้าไปรักษากลุ่มนักลงทุน และกลุ่มทุนในพื้นที่ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤต หรือไม่ก็ต่อยอดให้เขาอยู่ได้ในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้รัฐเข้าไปดูแลการลงทุนในพื้นที่ และการประกอบอาชีพที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพประมงรัฐจะต้องเข้าไปดูแลเรื่องต้นทุน น้ำมัน และขยายเขตจับสัตว์น้ำออกไป รวมถึงปัญหาแรงงานที่รัฐจะต้องสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับคนในพื้นที่ให้ได้ ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจก็จะไม่สามารถขยายตัวไปได้ เพราะไม่แน่ใจว่าปัญหาจะยุติเมื่อไหร่ และรัฐต้องเตรียมบุคลากรและแรงงานให้พร้อมที่จะรองรับโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุน เนื่องจากในพื้นที่ยังมีศักยภาพในการลงทุน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 มิ.ย. 2550--จบ--
นายนิพนธ์ กล่าว่า ปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพเป็นปัญหาหลักในการจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องยอมรับว่า ส่วนที่รับผิดชอบหลักทางความมั่นคง ในการประสานความร่วมมือกับฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เป็นไปในลักษณะที่ไม่ส่งผลดีในการแก้ไขปัญหา เราอยากเห็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐทุกส่วนมีความร่วมมือกันมากกว่าปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือวันนี้เราต้องตัดสินใจว่า จะต้องเอาองค์กรปกครองส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาในขณะนี้กำลังจะบานปลายกลายเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจกัน ฝ่ายตรงข้ามพยายามสร้างให้เห็นว่าเป็นเรื่องของความแตกแยกของคนในพื้นที่ ซึ่งพวกเราเห็นว่าไม่มีหน่วยใดที่จะเข้าใจประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ดีกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การนำทหารนอกพื้นที่เข้ามาทำงานมวลชนในพื้นที่อาจจะไม่มีความเข้าใจในปัญหาและวัฒนธรรม ประเพณีอย่างดีพอ จึงเห็นว่ารัฐบาลจะต้องเลิกระแวงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องใช้กลไกในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมกันแก้ไขปัญหาและทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ให้มีความหวาดระแวงในอำนาจรัฐ
“วันนี้ที่มีม๊อบต่างๆ ออกมาปิดถนน และยากที่จะสลาย เพราะมีความไม่เข้าใจกันระหว่างพี่น้องประชาชนกับฝ่ายราชการ มีความหวาดระแวงกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจะต้องสร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่ให้ได้”นายนิพนธ์ กล่าว
ด้านนายสุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีตส.ส.นราธิวาส กล่าวว่า เหตุการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่ผ่านมา ถึง 2 รัฐบาลแนวทางการแก้ไขปัญหายังไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ประชาชนอยู่ด้วยความหวาดกลัวและไม่มั่นใจ ซึ่งกระทบกับชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้อดีตส.ส.ในพื้นที่ของพรรคก็มีความเป็นห่วง โดยได้หารือกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นนโยบายของรัฐ ว่าดำเนินการไม่ประสบผลเท่าที่ควร รัฐบาลจะต้องปรับกลยุทธ์และวิธีการ โดยพาะในเรื่องของความเป็นเอกภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ยังมีจุดอ่อน และการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนต้องทำโดยด่วน คือการดึงมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้
“วันนี้เราต้องยอมรับว่าความหวาดระแวงของประชาชนในพื้นที่ยังมีอยู่ จึงอยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการเมืองในทุกระดับ ให้เจ้าหน้าที่ได้มีบทบาท เพราะมีพื้นที่ที่ล่อแหลมเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เราจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งในเรื่องการมีส่วนร่วม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาคือภาครัฐจะต้องใช้การเมืองนำการทหารจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้ เพราะการเมืองเป็นภาคของประชาชนโดยตรง เราจึงมั่นใจว่าการเมืองเท่านั้นที่จะชนะใจประชาชน โดยการดึงประชาขนเข้ามามีส่วนร่วม มาทำหน้าที่กับภาครัฐเพื่อขจัดความหวาดระแวงและความไม่พอใจใดๆ ทั้งสิ้น”นายสุรเชษฐ์ กล่าว
ส่วนนายฮอซาลี ม่าเหร็ม อดีตส.ส.สตูล กล่าวว่า ระยะนี้มีนักเรียนและครูและครูสอนศาสนา เสียชีวิต จึงอยากเสนอมาตรการต่อรัฐบาลคือ 1. ดึงให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสวัสดิภาพชีวิตครู 2.รัฐบาลต้องมีงบประมาณปรับปรุงสถานศึกษา ตรวจจนมาตรการตรวจสอบการเข้า-ออก และมีป้อมยามในสถานศึกษา 3. รัฐต้องมีมาตรการชดเชยและเพิ่มคุณภาพของการจัดการเรียนการสอบ ในระยะที่โรงเรียนปิดเนื่องจากเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ และเพิ่มคุรภาพการศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ และ 4. รัฐต้องมีมาตรการให้นักเรียนหรือคนในท้อนถิ่นได้เข้าเรียนครู และได้รับทุนการศึกษา เพื่อจบออกมาแล้วกลับมาบรรจุเป็นครูในท้องถิ่นเพื่อลดปัญหาการเดินทางของครูและลดปัญหาเรื่องความปลอดภัย
ด้านายอันวาร์ สาและ อดีตส.ส.ปัตตานี กล่าวว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ทำให้มีปัญหาเศรษฐกิจตามมา หากรัฐบาลไม่เข้าไปดูแลภาวะวิกฤตในพื้นที่ก็จะเกิดความซ้ำซ้อนของรัฐบาล และไม่สามารถแยกแยะปัญหาว่าเกิดจากอะไรได้ อาจจะมีความยุ่งยากในการแก้ปัญหา ดังนั้นวันนี้รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแลนักธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ ที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งรัฐบาลจะต้องเข้าไปรักษากลุ่มนักลงทุน และกลุ่มทุนในพื้นที่ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤต หรือไม่ก็ต่อยอดให้เขาอยู่ได้ในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้รัฐเข้าไปดูแลการลงทุนในพื้นที่ และการประกอบอาชีพที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพประมงรัฐจะต้องเข้าไปดูแลเรื่องต้นทุน น้ำมัน และขยายเขตจับสัตว์น้ำออกไป รวมถึงปัญหาแรงงานที่รัฐจะต้องสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับคนในพื้นที่ให้ได้ ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจก็จะไม่สามารถขยายตัวไปได้ เพราะไม่แน่ใจว่าปัญหาจะยุติเมื่อไหร่ และรัฐต้องเตรียมบุคลากรและแรงงานให้พร้อมที่จะรองรับโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุน เนื่องจากในพื้นที่ยังมีศักยภาพในการลงทุน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 มิ.ย. 2550--จบ--