ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสแสดงปาฐกถาต่อที่ประชุมแห่งนี้ ผมขอขอบคุณผู้จัดการประชุม Euro Money ที่เชิญผมมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยในห้วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับท่านทั้งหลายที่อยู่ที่ฮ่องกง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐ ปีของการส่งมอบเกาะฮ่องกง แต่สำหรับคนไทยสิบปีที่แล้วคือ จุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่
สิบปีหลังจากเหตุการณ์นั้น แม้เราจะฟื้นจากวิกฤตดังกล่าว แต่เราได้สูญเสียเวลาอีกเกือบ ๒ ปี ไปกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ขณะที่โลกไม่ได้หยุดอยู่กับที่ ประเทศอื่นๆได้รุดหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ส่งผลให้สถานะของประเทศไทยถดถอย
สำหรับเพื่อนร่วมชาติของผม ความถดถอยนี้จับต้องได้ การเดินทางไปทั่วประเทศของผม ทำให้ผมได้สัมผัสกับความอึดอัดที่รายได้ของคนไทยเพิ่มขึ้นไม่ทันกับค่าครองชีพ อึดอัดกับเศรษฐกิจที่หยุดรอปัญหาการเมืองให้คลี่คลาย และอึดอัดกับความหวาดกลัวที่เป็นผลกระทบมาจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ปัญหาที่แท้จริงของประเทศไทยอยู่ตรงนี้ ตรงที่ผลประโยชน์ของคนไทยทั่วไปถูกจัดอันดับความสำคัญอยู่ในระดับหลังๆ จนถึงกันยายนปีที่แล้ว การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมหาศาลได้ขโมยความมั่งคั่งและศักยภาพไปจากประเทศไทย ทำให้คนหยิบมือเดียวร่ำรวยขึ้นมาก แต่คนส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญกับความยากลำบาก หลังจากกันยายนปีที่แล้ว รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารก็หมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมือง ความต้องการและผลประโยชน์ของประชาชนจึงได้รับการตอบสนองอย่างช้าๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การศึกษา ความยากจน หรือความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เวลานี้จึงเป็นเวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย ที่เราต้องทำให้ “ประชาชนต้องมาก่อน” แม้ในวันนี้เรามาพูดถึงเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผมนึกถึงความอึดอัดในระดับบุคคลที่สะท้อนความเป็นจริงของคนไทยทั่วไป คำตอบที่ผมและพรรคประชาธิปัตย์มีคือ “วาระประชาชน” ที่จะยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ และเดินหน้าทำงานเพื่อให้ประเทศรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามเรื่องที่เป็นความทุกข์ในใจที่รอการแก้ไขที่พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ กำลังเร่งคลี่คลาย คือ ความต้องการฟื้นฟูประชาธิปไตย ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และฟื้นฟูความสงบในภาคใต้
ประชาธิปไตย
สำหรับการฟื้นฟูประชาธิปไตยนั้น ขณะนี้สภาร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับการฟื้นประชาธิปไตย ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะมีการทำประชามติในวันที่ ๑๙ สิงหาคม แม้จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์ หลายฝ่ายมองว่าร่างฯ นี้ดีพอที่จะเคลื่อนประเทศสู่การเลือกตั้ง ซึ่งอาจมีขึ้นได้เร็วในเดือนพฤศจิกายน แต่ในกรณีที่คนไทยไม่รับร่างฯนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยกว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และรัฐบาลก็จะต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกฉบับภายในเวลาประมาณ ๑ เดือน ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะมีรัฐธรรมนูญที่ทำให้กระบวนการประชาธิปไตยเดินต่อได้ ส่วนการเลือกตั้งภายในสิ้นปี นายกรัฐมนตรีไทยได้สัญญาเช่นนั้น และพรรคประชาธิปัตย์ก็จะผลักดันให้คำสัญญานั้นเป็นจริง
แต่รัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประชาธิปไตย หมายถึงการมีทางเลือก เราต้องการการแข่งขันทางการเมือง และการเลือกตั้งที่มีความหมาย ถ้าผู้ก่อรัฐประหารอยากมีอำนาจทางการเมือง เราเรียกร้องให้เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง เราพร้อมที่จะแข่งขันทั้งกับคนกลุ่มนี้ และสมาชิกของพรรคไทยรักไทยเดิมของพ.ต.ท.ทักษิณฯ เราต้องการเพียงให้การเลือกตั้ง สุจริต เที่ยงธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลจะต้องจัดให้มีขึ้น
ผมให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องแรก เพราะผมไม่เชื่อว่าปัญหาสำคัญของประเทศ — ปัญหาภาคใต้ หรือ ปัญหาเศรษฐกิจ — จะแก้ได้ด้วยวิถีทางอื่น ระบอบที่ไม่มีผู้แทนในพื้นที่ภาคใต้ไม่สามารถที่จะคลี่คลายวิกฤตที่ฝังลงไปในจิตใจของคนในพื้นที่ และแบ่งแยกชุมชนท้องถิ่น และหากไม่มีการฟื้นประชาธิปไตย ความเชื่อมั่น หรือ แม้แต่ความยอมรับในหมู่นักลงทุนก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ถ้าผมและพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสบริหารบ้านเมือง เราจะยึดถือธรรมาภิบาลเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นใหม่ นั่นหมายถึงการบริหารอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก ไม่มีความลำเอียง วงการธุรกิจจะมั่นใจได้ว่าจะมีการแข่งขันอย่างเท่าเทียม จะไม่มีคำถามใดๆว่า ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตยในโลก หรือส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกที่อิงกลไกตลาดหรือไม่
เศรษฐกิจ
ในส่วนของเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องยากที่จะพูดถึงอนาคตเศรษฐกิจไทยโดยไม่อ้างอิงถึงวิกฤตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แม้ว่าเราจะฟื้นจากวิกฤตแล้วก็ตาม แต่วิกฤตครั้งนั้นยังส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของเราในปัจจุบัน
เมื่อมีการลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ผู้ส่งออกเราได้เปรียบในด้านการแข่งขันเรื่องราคาทันทีเกือบเท่าตัว หลังจากนั้น สัดส่วนของการส่งออกของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ได้เพิ่มจากต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ มาเป็นร้อยละ ๗๐ ในปัจจุบันน่าเสียดายว่าการเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากค่าเงินที่อ่อนลง มากกว่าจากการเพิ่มประสิทธิภาพ อาจกล่าวได้ว่าเราปล่อยโอกาสสำคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจ วิธีการทำธุรกิจของเราในประทศยังไม่ต่างจาก ๑๐ ปีที่แล้วมากนัก เมื่อครั้งที่เราเป็นรัฐบาลในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ — ๒๕๔๔ เราได้เริ่มต้นการปฏิรูปหลายด้าน จากการปฏิรูปราชการ การธนาคาร โทรคมนาคม และพยายามสร้างสภาวะแวดล้อมที่มีการแข่งขัน แต่รัฐบาลต่อๆมาไม่ได้สานต่อเจตนารมณ์ตรงนี้ เศรษฐกิจในภาพรวมวันนี้อาจจะดูว่าไปได้ แต่ศักยภาพในการสร้างความมั่งคั่งของภาคเอกชนและคนไทยยังถูกละเลย คนไทยทั่วไปจึงรู้สึกอึดอัด
ถึงเวลาแล้วที่จะกลับไปแก้ปัญหาพื้นฐาน ด้วยการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตทั้งหลาย — แรงงาน ทรัพยากร ทุน และเทคโนโลยี ยี่สิบปีที่แล้วเมื่อประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แรงงานถูกเป็นข้อได้เปรียบของเรา วันนี้ แรงงานของเราแพงกว่าจีนและเวียดนาม แต่ผู้ใช้แรงงานไทยยังยากจนอยู่ - เป็นการสะท้อนว่าผลิตภาพของเราเพิ่มน้อยไป และค่าแรงก็เพิ่มตามค่าครองชีพไม่ทัน คำตอบเรื่องนี้ง่ายมาก - อยู่ที่การศึกษา และการวิจัยและพัฒนา ถึงเวลาที่ระบบการศึกษาของเราจะต้องตอบสนองสอดคล้องกับสังคมเปิดในยุคนี้ นั่นหมายถึงการเพิ่มทักษะด้านภาษา และการให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษา การผลักดันให้เกิดการก้าวกระโดดในเรื่องโอกาส และคุณภาพทางการศึกษาจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ เราจะได้ทำให้เด็กไทยได้เรียนฟรีจริงจนจบมัธยม
การใช้ทรัพยากรของเราก็ต้องปรับปรุง เราเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่สุดเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ เรานำเข้าน้ำมันถึง ๑๖ % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม เราไม่ควรปล่อยให้การจราจรที่ติดขัดผลาญเวลาและพลังงานต่อไป เราต้องเพิ่มเครือข่ายการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันใช้รถบรรทุกในการขนส่งสินค้าเกือบทั้งหมด เราตั้งใจที่จะลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อสร้างเครือข่ายกรขนส่งหลายรูปแบบโดยตั้งใจจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จากเกือบ ๒๐ % มาเป็นต่ำกว่า ๑๕ % ภายใน ๔ ปี
ในด้านการเกษตร เราอาจจะเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ส่งออกอาหาร แต่เรามีศักยภาพอีกมาก การบริหารจัดการเรื่องที่ดิน และน้ำ จะทำให้เราเพิ่มผลผลิตต่อได้อีกมาก และการแปรรูป รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจะเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตรของเรา เราตั้งใจจะใช้มันสำปะหลังกับอ้อยผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจอีกมาก การทำเช่นนี้จะได้ประโยชน์ถึง ๓ ทาง
- สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และรายได้ที่สูงขึ้นสำหรับเกษตรกร
เรามีทุนสำรองเหลือเฟือ เรายังคงเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ในระดับที่ต่ำ เหล่านี้ทำให้เรามั่นใจว่าการลงทุนในอนาคตของประเทศจะไม่สร้างปัญหาด้านเสถียรภาพ หรือวินัย
เรายังทำอะไรได้อีกมากในส่วนของทุนและเทคโนโลยี เพียงแค่เราต้องเผชิญกับความเป็นจริงที่เราต้องการการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและปรับท่าทีนโยบายของเรา เราเชื่อว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเงินทุนระยะยาวมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งหมายถึง การสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
หนึ่งในแนวทางที่เราจะดึงดูดการลงทุน คือ การพัฒนาตลาดทุน — ทั้งตลาดตราสาร และตลาดหุ้น ทุกท่านทราบดีว่าสัดส่วนของตลาดตราสารหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ ๓๖ % ควรจะเพิ่มได้เป็นเท่าตัว ขณะที่การซื้อขายตลาดหุ้นก็ต่ำกว่าศักยภาพ
ความตั้งใจของเราไม่เพียงแต่ต้องการฟื้นเศรษฐกิจไทย แต่ต้องการให้พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง การฟื้นคัวของเศรษฐกิจไทยจะต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน
ผมมั่นใจว่า เมื่อมีการเลือกตั้ง ความเชื่อมั่นของคนทั้งในและต่างประเทศจะทำให้การบริโภคและการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อตลาดหุ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของท่านที่จะได้ประโยชน์จากหุ้นไทยที่มีราคาต่ำ
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เราจะใช้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นดังนี้
ประการแรก เราจะเร่งรัดการทำงานอย่างรวดเร็ว ในฐานะผู้นำทางการเมือง ผมก็อึดอัดไม่แพ้ใครที่เราสูญเสียโอกาสไปมาก และประเทศไทยต้องไม่สูญเสียเวลาอีกต่อไป เศรษฐกิจต้องเดินหน้า ทุกวินาทีที่สูญเสีย คือ ความสูญเสียโอกาสของคนไทย
ประการที่สอง เราจะส่งสัญญาณที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในประชาคมโลก มาตรการหลายมาตรการของรัฐบาลปัจจุบันจะต้องมีการทบทวน มาตรการ ๓๐ % การแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน
เราจะบอกกับประชาคมโลกอย่างชัดเจนว่า เราพร้อมสำหรับ การค้า การลงทุน และ การแลกเปลี่ยน เราพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ
เศรษฐกิจไทยในอดีตก้าวหน้ามาได้เพราะเป็นเศรษฐกิจเปิด ทำให้เราเคยเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตสูงสุดอยู่ถึงสองถึงสามทศวรรษ เรายังยืนยันที่จะเดินบนเส้นทางนี้
ประการที่สาม ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย เราจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว เราต้องกล้าคิด กล้าทำ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่เราต้องกล้าที่จะพัฒนาเศรษฐกิจบนหลักของความยั่งยืน
ประการสุดท้าย เราจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการเติบโตเพื่อทุกคน เราจะเปิดเศรษฐกิจ แต่การเปิดนั้นต้องนำไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าของคนไทยทั่วไป
ภาคใต้
ในส่วนของปัญหาภาคใต้นั้น พรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าแนวทางสมานฉันท์เป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่การปฏิบัติในขณะนี้ขาดประสิทธิผล การจัดการและการประสานงานที่ดีกว่านี้ การทุมเททรัพยากรบุคคลที่มุ่งมั่นจะต้องมีการนำมาใช้ พร้อมๆกับนโยบายสำคัญต่อไปนี้
ประการแรก เราเชื่อว่าความสงบสุขจะเกิดขึ้นเมื่อมีความยุติธรรม เราต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความผิดพลาดของรัฐในอดีต และมีมาตรการที่เหมาะสมที่จะฟื้นความไว้เนื้อเชื่อใจจากชุมชนท้องถิ่น
ประการที่สอง เราจะสร้างความสงบสุขในระยะยาวจากการสร้างโอกาสทางการศึกษาและเศรษฐกิจ พื้นที่ภาคใต้สามารถที่จะเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับตะวันออกกลาง และโลกมุสลิมเป็นอย่างดี
ผมขอย้ำภารกิจที่สำคัญ ๓ ข้อคือ — ประชาธิปไตย การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ ความสงบสุขในภาคใต้ สิ่งที่ผมกล่าวกับท่านในวันนี้ คือ สิ่งที่ผมพูดกับผู้คนในประเทศไทยทั่วประเทศ เพื่อขอความสนับสนุนสำหรับ “วาระประชาชน” ซึ่งผมมั่นใจว่าคนไทยจะร่วมกันผลักดัน
ถ้าเรามีโอกาส ผมยืนยันว่า เราจะใช้เจตจำนงทางการเมืองที่แน่วแน่ผลักดันสิ่งเหล่านี้ เพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทยที่ดีกว่า สดใสกว่า อนาคตที่ผมขอเชิญชวนทุกท่านมามีส่วนร่วมสร้าง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.ค. 2550--จบ--
ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสแสดงปาฐกถาต่อที่ประชุมแห่งนี้ ผมขอขอบคุณผู้จัดการประชุม Euro Money ที่เชิญผมมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยในห้วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับท่านทั้งหลายที่อยู่ที่ฮ่องกง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐ ปีของการส่งมอบเกาะฮ่องกง แต่สำหรับคนไทยสิบปีที่แล้วคือ จุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่
สิบปีหลังจากเหตุการณ์นั้น แม้เราจะฟื้นจากวิกฤตดังกล่าว แต่เราได้สูญเสียเวลาอีกเกือบ ๒ ปี ไปกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ขณะที่โลกไม่ได้หยุดอยู่กับที่ ประเทศอื่นๆได้รุดหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ส่งผลให้สถานะของประเทศไทยถดถอย
สำหรับเพื่อนร่วมชาติของผม ความถดถอยนี้จับต้องได้ การเดินทางไปทั่วประเทศของผม ทำให้ผมได้สัมผัสกับความอึดอัดที่รายได้ของคนไทยเพิ่มขึ้นไม่ทันกับค่าครองชีพ อึดอัดกับเศรษฐกิจที่หยุดรอปัญหาการเมืองให้คลี่คลาย และอึดอัดกับความหวาดกลัวที่เป็นผลกระทบมาจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ปัญหาที่แท้จริงของประเทศไทยอยู่ตรงนี้ ตรงที่ผลประโยชน์ของคนไทยทั่วไปถูกจัดอันดับความสำคัญอยู่ในระดับหลังๆ จนถึงกันยายนปีที่แล้ว การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมหาศาลได้ขโมยความมั่งคั่งและศักยภาพไปจากประเทศไทย ทำให้คนหยิบมือเดียวร่ำรวยขึ้นมาก แต่คนส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญกับความยากลำบาก หลังจากกันยายนปีที่แล้ว รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารก็หมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมือง ความต้องการและผลประโยชน์ของประชาชนจึงได้รับการตอบสนองอย่างช้าๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การศึกษา ความยากจน หรือความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เวลานี้จึงเป็นเวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย ที่เราต้องทำให้ “ประชาชนต้องมาก่อน” แม้ในวันนี้เรามาพูดถึงเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผมนึกถึงความอึดอัดในระดับบุคคลที่สะท้อนความเป็นจริงของคนไทยทั่วไป คำตอบที่ผมและพรรคประชาธิปัตย์มีคือ “วาระประชาชน” ที่จะยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ และเดินหน้าทำงานเพื่อให้ประเทศรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามเรื่องที่เป็นความทุกข์ในใจที่รอการแก้ไขที่พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ กำลังเร่งคลี่คลาย คือ ความต้องการฟื้นฟูประชาธิปไตย ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และฟื้นฟูความสงบในภาคใต้
ประชาธิปไตย
สำหรับการฟื้นฟูประชาธิปไตยนั้น ขณะนี้สภาร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับการฟื้นประชาธิปไตย ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะมีการทำประชามติในวันที่ ๑๙ สิงหาคม แม้จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์ หลายฝ่ายมองว่าร่างฯ นี้ดีพอที่จะเคลื่อนประเทศสู่การเลือกตั้ง ซึ่งอาจมีขึ้นได้เร็วในเดือนพฤศจิกายน แต่ในกรณีที่คนไทยไม่รับร่างฯนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยกว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และรัฐบาลก็จะต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกฉบับภายในเวลาประมาณ ๑ เดือน ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะมีรัฐธรรมนูญที่ทำให้กระบวนการประชาธิปไตยเดินต่อได้ ส่วนการเลือกตั้งภายในสิ้นปี นายกรัฐมนตรีไทยได้สัญญาเช่นนั้น และพรรคประชาธิปัตย์ก็จะผลักดันให้คำสัญญานั้นเป็นจริง
แต่รัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประชาธิปไตย หมายถึงการมีทางเลือก เราต้องการการแข่งขันทางการเมือง และการเลือกตั้งที่มีความหมาย ถ้าผู้ก่อรัฐประหารอยากมีอำนาจทางการเมือง เราเรียกร้องให้เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง เราพร้อมที่จะแข่งขันทั้งกับคนกลุ่มนี้ และสมาชิกของพรรคไทยรักไทยเดิมของพ.ต.ท.ทักษิณฯ เราต้องการเพียงให้การเลือกตั้ง สุจริต เที่ยงธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลจะต้องจัดให้มีขึ้น
ผมให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องแรก เพราะผมไม่เชื่อว่าปัญหาสำคัญของประเทศ — ปัญหาภาคใต้ หรือ ปัญหาเศรษฐกิจ — จะแก้ได้ด้วยวิถีทางอื่น ระบอบที่ไม่มีผู้แทนในพื้นที่ภาคใต้ไม่สามารถที่จะคลี่คลายวิกฤตที่ฝังลงไปในจิตใจของคนในพื้นที่ และแบ่งแยกชุมชนท้องถิ่น และหากไม่มีการฟื้นประชาธิปไตย ความเชื่อมั่น หรือ แม้แต่ความยอมรับในหมู่นักลงทุนก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ถ้าผมและพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสบริหารบ้านเมือง เราจะยึดถือธรรมาภิบาลเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นใหม่ นั่นหมายถึงการบริหารอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก ไม่มีความลำเอียง วงการธุรกิจจะมั่นใจได้ว่าจะมีการแข่งขันอย่างเท่าเทียม จะไม่มีคำถามใดๆว่า ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตยในโลก หรือส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกที่อิงกลไกตลาดหรือไม่
เศรษฐกิจ
ในส่วนของเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องยากที่จะพูดถึงอนาคตเศรษฐกิจไทยโดยไม่อ้างอิงถึงวิกฤตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แม้ว่าเราจะฟื้นจากวิกฤตแล้วก็ตาม แต่วิกฤตครั้งนั้นยังส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของเราในปัจจุบัน
เมื่อมีการลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ผู้ส่งออกเราได้เปรียบในด้านการแข่งขันเรื่องราคาทันทีเกือบเท่าตัว หลังจากนั้น สัดส่วนของการส่งออกของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ได้เพิ่มจากต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ มาเป็นร้อยละ ๗๐ ในปัจจุบันน่าเสียดายว่าการเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากค่าเงินที่อ่อนลง มากกว่าจากการเพิ่มประสิทธิภาพ อาจกล่าวได้ว่าเราปล่อยโอกาสสำคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจ วิธีการทำธุรกิจของเราในประทศยังไม่ต่างจาก ๑๐ ปีที่แล้วมากนัก เมื่อครั้งที่เราเป็นรัฐบาลในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ — ๒๕๔๔ เราได้เริ่มต้นการปฏิรูปหลายด้าน จากการปฏิรูปราชการ การธนาคาร โทรคมนาคม และพยายามสร้างสภาวะแวดล้อมที่มีการแข่งขัน แต่รัฐบาลต่อๆมาไม่ได้สานต่อเจตนารมณ์ตรงนี้ เศรษฐกิจในภาพรวมวันนี้อาจจะดูว่าไปได้ แต่ศักยภาพในการสร้างความมั่งคั่งของภาคเอกชนและคนไทยยังถูกละเลย คนไทยทั่วไปจึงรู้สึกอึดอัด
ถึงเวลาแล้วที่จะกลับไปแก้ปัญหาพื้นฐาน ด้วยการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตทั้งหลาย — แรงงาน ทรัพยากร ทุน และเทคโนโลยี ยี่สิบปีที่แล้วเมื่อประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แรงงานถูกเป็นข้อได้เปรียบของเรา วันนี้ แรงงานของเราแพงกว่าจีนและเวียดนาม แต่ผู้ใช้แรงงานไทยยังยากจนอยู่ - เป็นการสะท้อนว่าผลิตภาพของเราเพิ่มน้อยไป และค่าแรงก็เพิ่มตามค่าครองชีพไม่ทัน คำตอบเรื่องนี้ง่ายมาก - อยู่ที่การศึกษา และการวิจัยและพัฒนา ถึงเวลาที่ระบบการศึกษาของเราจะต้องตอบสนองสอดคล้องกับสังคมเปิดในยุคนี้ นั่นหมายถึงการเพิ่มทักษะด้านภาษา และการให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษา การผลักดันให้เกิดการก้าวกระโดดในเรื่องโอกาส และคุณภาพทางการศึกษาจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ เราจะได้ทำให้เด็กไทยได้เรียนฟรีจริงจนจบมัธยม
การใช้ทรัพยากรของเราก็ต้องปรับปรุง เราเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่สุดเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ เรานำเข้าน้ำมันถึง ๑๖ % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม เราไม่ควรปล่อยให้การจราจรที่ติดขัดผลาญเวลาและพลังงานต่อไป เราต้องเพิ่มเครือข่ายการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันใช้รถบรรทุกในการขนส่งสินค้าเกือบทั้งหมด เราตั้งใจที่จะลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อสร้างเครือข่ายกรขนส่งหลายรูปแบบโดยตั้งใจจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จากเกือบ ๒๐ % มาเป็นต่ำกว่า ๑๕ % ภายใน ๔ ปี
ในด้านการเกษตร เราอาจจะเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ส่งออกอาหาร แต่เรามีศักยภาพอีกมาก การบริหารจัดการเรื่องที่ดิน และน้ำ จะทำให้เราเพิ่มผลผลิตต่อได้อีกมาก และการแปรรูป รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจะเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตรของเรา เราตั้งใจจะใช้มันสำปะหลังกับอ้อยผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจอีกมาก การทำเช่นนี้จะได้ประโยชน์ถึง ๓ ทาง
- สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และรายได้ที่สูงขึ้นสำหรับเกษตรกร
เรามีทุนสำรองเหลือเฟือ เรายังคงเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ในระดับที่ต่ำ เหล่านี้ทำให้เรามั่นใจว่าการลงทุนในอนาคตของประเทศจะไม่สร้างปัญหาด้านเสถียรภาพ หรือวินัย
เรายังทำอะไรได้อีกมากในส่วนของทุนและเทคโนโลยี เพียงแค่เราต้องเผชิญกับความเป็นจริงที่เราต้องการการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและปรับท่าทีนโยบายของเรา เราเชื่อว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเงินทุนระยะยาวมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งหมายถึง การสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
หนึ่งในแนวทางที่เราจะดึงดูดการลงทุน คือ การพัฒนาตลาดทุน — ทั้งตลาดตราสาร และตลาดหุ้น ทุกท่านทราบดีว่าสัดส่วนของตลาดตราสารหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ ๓๖ % ควรจะเพิ่มได้เป็นเท่าตัว ขณะที่การซื้อขายตลาดหุ้นก็ต่ำกว่าศักยภาพ
ความตั้งใจของเราไม่เพียงแต่ต้องการฟื้นเศรษฐกิจไทย แต่ต้องการให้พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง การฟื้นคัวของเศรษฐกิจไทยจะต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน
ผมมั่นใจว่า เมื่อมีการเลือกตั้ง ความเชื่อมั่นของคนทั้งในและต่างประเทศจะทำให้การบริโภคและการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อตลาดหุ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของท่านที่จะได้ประโยชน์จากหุ้นไทยที่มีราคาต่ำ
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เราจะใช้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นดังนี้
ประการแรก เราจะเร่งรัดการทำงานอย่างรวดเร็ว ในฐานะผู้นำทางการเมือง ผมก็อึดอัดไม่แพ้ใครที่เราสูญเสียโอกาสไปมาก และประเทศไทยต้องไม่สูญเสียเวลาอีกต่อไป เศรษฐกิจต้องเดินหน้า ทุกวินาทีที่สูญเสีย คือ ความสูญเสียโอกาสของคนไทย
ประการที่สอง เราจะส่งสัญญาณที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในประชาคมโลก มาตรการหลายมาตรการของรัฐบาลปัจจุบันจะต้องมีการทบทวน มาตรการ ๓๐ % การแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน
เราจะบอกกับประชาคมโลกอย่างชัดเจนว่า เราพร้อมสำหรับ การค้า การลงทุน และ การแลกเปลี่ยน เราพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ
เศรษฐกิจไทยในอดีตก้าวหน้ามาได้เพราะเป็นเศรษฐกิจเปิด ทำให้เราเคยเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตสูงสุดอยู่ถึงสองถึงสามทศวรรษ เรายังยืนยันที่จะเดินบนเส้นทางนี้
ประการที่สาม ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย เราจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว เราต้องกล้าคิด กล้าทำ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่เราต้องกล้าที่จะพัฒนาเศรษฐกิจบนหลักของความยั่งยืน
ประการสุดท้าย เราจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการเติบโตเพื่อทุกคน เราจะเปิดเศรษฐกิจ แต่การเปิดนั้นต้องนำไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าของคนไทยทั่วไป
ภาคใต้
ในส่วนของปัญหาภาคใต้นั้น พรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าแนวทางสมานฉันท์เป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่การปฏิบัติในขณะนี้ขาดประสิทธิผล การจัดการและการประสานงานที่ดีกว่านี้ การทุมเททรัพยากรบุคคลที่มุ่งมั่นจะต้องมีการนำมาใช้ พร้อมๆกับนโยบายสำคัญต่อไปนี้
ประการแรก เราเชื่อว่าความสงบสุขจะเกิดขึ้นเมื่อมีความยุติธรรม เราต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความผิดพลาดของรัฐในอดีต และมีมาตรการที่เหมาะสมที่จะฟื้นความไว้เนื้อเชื่อใจจากชุมชนท้องถิ่น
ประการที่สอง เราจะสร้างความสงบสุขในระยะยาวจากการสร้างโอกาสทางการศึกษาและเศรษฐกิจ พื้นที่ภาคใต้สามารถที่จะเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับตะวันออกกลาง และโลกมุสลิมเป็นอย่างดี
ผมขอย้ำภารกิจที่สำคัญ ๓ ข้อคือ — ประชาธิปไตย การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ ความสงบสุขในภาคใต้ สิ่งที่ผมกล่าวกับท่านในวันนี้ คือ สิ่งที่ผมพูดกับผู้คนในประเทศไทยทั่วประเทศ เพื่อขอความสนับสนุนสำหรับ “วาระประชาชน” ซึ่งผมมั่นใจว่าคนไทยจะร่วมกันผลักดัน
ถ้าเรามีโอกาส ผมยืนยันว่า เราจะใช้เจตจำนงทางการเมืองที่แน่วแน่ผลักดันสิ่งเหล่านี้ เพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทยที่ดีกว่า สดใสกว่า อนาคตที่ผมขอเชิญชวนทุกท่านมามีส่วนร่วมสร้าง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.ค. 2550--จบ--