นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 2 หรือการจัด Roadshow ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนประกอบด้วย (1) Dato Ali Apong ปลัดกระทรวงการคลังของบรูไน (2) นาย Kong Vibol First Secretary กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจกัมพูชา (3) J.B. Kristiadi ปลัดกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย (4) Tan Sri Nor Mohamed Yakcop รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองมาเลเซีย (5) นาย Margarito B. Teves Finance Secretary กระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ (6) นาย Raymond Lim รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังคนที่สองสิงคโปร์ (7) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย และ (8) นาง Le Thi Bang Tam รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเวียดนาม ซึ่งได้ร่วมกันจัด ณ โรงแรม Royal Lancaster กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในวันที่ 21 กันยายน 2548 โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดทำ ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งนี้ เป็นการดำเนินการร่วมกันครั้งที่สองของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้นักลงทุนยุโรปตระหนักถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของของภาคการผลิตในภูมิภาคอาเซียน การพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน และในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้จัด Roadshow ในส่วนของประเทศไทยเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีจุดเด่นในการลงทุนที่แตกต่างจากสมาชิกในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ
2. สำหรับในการจัดทำ ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งนี้ มีผู้บริหารกองทุนบริษัท และผู้สนใจในสหราชอาณาจักรและยุโรป เข้าร่วมประชุมประมาณ 485 คน เป็นนักลงทุนมากกว่า 200 คนจาก 170 บริษัทมาจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ผู้บริหารกองทุนดังกล่าวบริหารเงินกองทุนซึ่งลงทุนในเอเชียมากกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จากมูลค่าการลงทุนทั่วโลกทั้งสิ้น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. ในช่วงเช้าของวันที่ 21 กันยายน 2547 นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน กล่าวเปิดการประชุม โดยได้ชี้ให้นักลงทุนเห็นถึงโอกาสในการลงทุนใน ASEAN ภายใต้หัวข้อหลัก (theme) คือ “ASEAN: One Region, Unlimited Opportunities” โดยได้แถลงถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ASEAN ในฐานะการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกสำหรับสินค้าหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อาหารแปรรูป สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอาเซียนมีศักยภาพในภาคการบริการๆ ได้แก่ การท่องเที่ยว การให้บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น
4. ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้มีความคืบหน้าไปอย่างมากในการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปภาคการเงิน การปรับโครงสร้างภาคเอกชนให้มีบรรษัทภิบาลมากขึ้น เพื่อสร้างรากฐานสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เน้นให้นักลงทุนทราบถึงความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ร่วมมือกันผลักดัน และส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ซึ่งจะมีการรวมตัวกันอย่างแท้จริงทั้งทางด้านสินค้า บริการ และเงินทุนในปี 2563 ในด้านตลาดเงินและตลาดทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีความร่วมมือในการจัดทำแผนเพื่อสนับสนุนการรวมตัวทางการเงินของอาเซียนใน 4 ด้านได้แก่ การเปิดเสรีด้านบริการการเงิน การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรีเงินทุน การพัฒนาตลาดทุน และความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความคืบหน้าของการลดภาษีศุลกากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการพัฒนาระบบศุลกากร อาเซียนให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมซึ่งสามารถทำให้บรรลุได้โดยการสร?งความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันการดึงศักยภาพความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกอาเซียนที่แตกต่างกันมารวมกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายของอาเซียน
5. ในช่วงที่ 2 นาย Raymond Lim, Second Minister of Finance Singapore ได้กล่าวนำภาพรวมการพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนของ 5 ประเทศ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนเข้าด้วยกัน โดยจะพัฒนาอาเซียน ASEAN Securities Market Place ภายในปี 2553 ( ค.ศ. 2010) การพัฒนา ASEAN Asset Class เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการลงทุนในภูมิภาคแก่นักลงทุนต่างประเทศ นอกจากนี้ นาง Le Thi Bang Tam, Vice Minister of Finance of Vietnam ในฐานะผู้แทนของประเทศอาเซียนที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังพัฒนาได้กล่าวถึงโอกาสการลงทุนในประเทศดังกล่าว โดยในช่วงนี้ มีผู้แทนจากภาคเอกชนประกอบด้วย Mr.Bunt Ghosh, Managing Director and Global Head of Fixed Income Research & Economics, CSFB ลอนดอน และ Mr. Matthew Dobbs, Fund Manager, Schoders กล่าวถึงปัจจัยดึงดูดการลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุนในมุมมองของเอกชน
6. ในช่วงที่ 3 Tan Sri Nor Mohamed Yakcop, Minister of Finance II Malaysia ได้กล่าวนำเสนอ ASEAN Index และ BCLMV Booklet (ข้อมูลการลงทุนในประเทศบรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ร่วมกับผู้แทนตลาดหลักทรัพย์ของสมาชิกอาเซียน โดย Mr. Yusli Mohamed Yusoff, CEO ของ Bursa Malaysia Berhad จะเป็นผู้กล่าวนำ และ นาย Carl Beckley ผู้แทน FTSE ได้ร่วมเปิดตัวดัชนี FTSE/ASEAN ในงานนี้ด้วย เพื่อสร้างแบรนด์ “อาเซียน” ให้โดดเด่นในแง่การเป็นทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจ และเป็นดัชนีที่ใช้วัดการเคลื่อนไหว ของตลาดหุ้นอาเซียนโดยรวม และเป็นดัชนีให้อาเซียนอ้างอิงสำหรับตราสารทางการเงินและเอื้อให้มีสินค้าใหม่ๆในตลาดด้วย ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมกันระหว่างตลาดหลักทรัพย์อาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ดัชนี FTSE/ASEAN ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2548 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
1) ดัชนี FTSE/ASEAN เป็นดัชนีอ้างอิง (Benchmark Index) สำหรับตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน 5 แห่งคำนวณโดยใช้ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ 180 แห่งในตลาดหุ้นทั้ง 5 แห่งดังกล่าว
2) ดัชนี FTSE/ASEAN 40 เป็นดัชนีที่สามารถซื้อขายได้ (Tradable Index) สำหรับกองทุนต่างๆ กองทุนประเทศอีทีเอฟ (Exchange Traded Funds) รวมถึงเป็นตลาดหลักทรัพย์อ้างอิงสำหรับสัญญาอนุพันธ์ (Derivatives Contracts) ต่างๆ
ซึ่งนายนริศฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนยุโรปอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนได้พบปะและรับฟังนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนโดยตรง ซึ่งได้สร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนและเป็นผลดีต่อภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทยในระยะยาว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2548 22 กันยายน 48--
1. การจัดทำ ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งนี้ เป็นการดำเนินการร่วมกันครั้งที่สองของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้นักลงทุนยุโรปตระหนักถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของของภาคการผลิตในภูมิภาคอาเซียน การพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน และในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้จัด Roadshow ในส่วนของประเทศไทยเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีจุดเด่นในการลงทุนที่แตกต่างจากสมาชิกในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ
2. สำหรับในการจัดทำ ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งนี้ มีผู้บริหารกองทุนบริษัท และผู้สนใจในสหราชอาณาจักรและยุโรป เข้าร่วมประชุมประมาณ 485 คน เป็นนักลงทุนมากกว่า 200 คนจาก 170 บริษัทมาจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ผู้บริหารกองทุนดังกล่าวบริหารเงินกองทุนซึ่งลงทุนในเอเชียมากกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จากมูลค่าการลงทุนทั่วโลกทั้งสิ้น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. ในช่วงเช้าของวันที่ 21 กันยายน 2547 นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน กล่าวเปิดการประชุม โดยได้ชี้ให้นักลงทุนเห็นถึงโอกาสในการลงทุนใน ASEAN ภายใต้หัวข้อหลัก (theme) คือ “ASEAN: One Region, Unlimited Opportunities” โดยได้แถลงถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ASEAN ในฐานะการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกสำหรับสินค้าหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อาหารแปรรูป สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอาเซียนมีศักยภาพในภาคการบริการๆ ได้แก่ การท่องเที่ยว การให้บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น
4. ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้มีความคืบหน้าไปอย่างมากในการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปภาคการเงิน การปรับโครงสร้างภาคเอกชนให้มีบรรษัทภิบาลมากขึ้น เพื่อสร้างรากฐานสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เน้นให้นักลงทุนทราบถึงความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ร่วมมือกันผลักดัน และส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ซึ่งจะมีการรวมตัวกันอย่างแท้จริงทั้งทางด้านสินค้า บริการ และเงินทุนในปี 2563 ในด้านตลาดเงินและตลาดทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีความร่วมมือในการจัดทำแผนเพื่อสนับสนุนการรวมตัวทางการเงินของอาเซียนใน 4 ด้านได้แก่ การเปิดเสรีด้านบริการการเงิน การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรีเงินทุน การพัฒนาตลาดทุน และความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความคืบหน้าของการลดภาษีศุลกากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการพัฒนาระบบศุลกากร อาเซียนให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมซึ่งสามารถทำให้บรรลุได้โดยการสร?งความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันการดึงศักยภาพความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกอาเซียนที่แตกต่างกันมารวมกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายของอาเซียน
5. ในช่วงที่ 2 นาย Raymond Lim, Second Minister of Finance Singapore ได้กล่าวนำภาพรวมการพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนของ 5 ประเทศ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนเข้าด้วยกัน โดยจะพัฒนาอาเซียน ASEAN Securities Market Place ภายในปี 2553 ( ค.ศ. 2010) การพัฒนา ASEAN Asset Class เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการลงทุนในภูมิภาคแก่นักลงทุนต่างประเทศ นอกจากนี้ นาง Le Thi Bang Tam, Vice Minister of Finance of Vietnam ในฐานะผู้แทนของประเทศอาเซียนที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังพัฒนาได้กล่าวถึงโอกาสการลงทุนในประเทศดังกล่าว โดยในช่วงนี้ มีผู้แทนจากภาคเอกชนประกอบด้วย Mr.Bunt Ghosh, Managing Director and Global Head of Fixed Income Research & Economics, CSFB ลอนดอน และ Mr. Matthew Dobbs, Fund Manager, Schoders กล่าวถึงปัจจัยดึงดูดการลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุนในมุมมองของเอกชน
6. ในช่วงที่ 3 Tan Sri Nor Mohamed Yakcop, Minister of Finance II Malaysia ได้กล่าวนำเสนอ ASEAN Index และ BCLMV Booklet (ข้อมูลการลงทุนในประเทศบรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ร่วมกับผู้แทนตลาดหลักทรัพย์ของสมาชิกอาเซียน โดย Mr. Yusli Mohamed Yusoff, CEO ของ Bursa Malaysia Berhad จะเป็นผู้กล่าวนำ และ นาย Carl Beckley ผู้แทน FTSE ได้ร่วมเปิดตัวดัชนี FTSE/ASEAN ในงานนี้ด้วย เพื่อสร้างแบรนด์ “อาเซียน” ให้โดดเด่นในแง่การเป็นทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจ และเป็นดัชนีที่ใช้วัดการเคลื่อนไหว ของตลาดหุ้นอาเซียนโดยรวม และเป็นดัชนีให้อาเซียนอ้างอิงสำหรับตราสารทางการเงินและเอื้อให้มีสินค้าใหม่ๆในตลาดด้วย ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมกันระหว่างตลาดหลักทรัพย์อาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ดัชนี FTSE/ASEAN ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2548 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
1) ดัชนี FTSE/ASEAN เป็นดัชนีอ้างอิง (Benchmark Index) สำหรับตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน 5 แห่งคำนวณโดยใช้ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ 180 แห่งในตลาดหุ้นทั้ง 5 แห่งดังกล่าว
2) ดัชนี FTSE/ASEAN 40 เป็นดัชนีที่สามารถซื้อขายได้ (Tradable Index) สำหรับกองทุนต่างๆ กองทุนประเทศอีทีเอฟ (Exchange Traded Funds) รวมถึงเป็นตลาดหลักทรัพย์อ้างอิงสำหรับสัญญาอนุพันธ์ (Derivatives Contracts) ต่างๆ
ซึ่งนายนริศฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนยุโรปอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนได้พบปะและรับฟังนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนโดยตรง ซึ่งได้สร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนและเป็นผลดีต่อภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทยในระยะยาว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2548 22 กันยายน 48--