เห็นข่าวที่หนังสือพิมพ์ต่างประเทศรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังว่าจ้างบริษัทลอบบี้ยิสต์ / ประชาสัมพันธ์ของต่างชาติแล้ว อดคิดไม่ได้ว่า คำพูดผ่านสถานีโทรทัศน์ CNN ของ พ. ต.ท.ทักษิณฯ ว่า “พอเป็นพอ” (enough is enough) ก็คงเป็นการ “พูดอย่างทำอย่าง” อีกครั้ง
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ ใครเป็นพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก็ต้องดิ้นรนต่อสู้ ยิ่งมีกำลังเงิน มีเครือข่าย มีผลประโยชน์มหาศาลที่ต้องปกป้องอยู่แล้ว ก็คงไม่ถอยออกไปจากเวทีการเมืองอย่างเงียบๆแน่นอน
ยิ่งเห็นการเคลื่อนไหวที่สิงคโปร์จนเป็นที่มาของการตอบโต้กันระหว่างสองประเทศแล้ว ก็ยิ่งตอกย้ำชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะทำทุกวิถีทางเพื่อประโยชน์ของตน โดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
การเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณฯ จำเป็นต้องมีการสร้างภาพลักษณ์ในหลายๆด้าน เพื่อสร้างความชอบธรรมทั้งในการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน และ รองรับการเคลื่อนไหวในอนาคต แต่การสร้างภาพลักษณ์จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยเงื่อนไข เหตุการณ์ ตลอดจนการกระทำของฝ่ายต่างๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทท่าทีของรัฐบาล และ คมช. มีผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณฯ
สิ่งที่น่าห่วงใยในขณะนี้ คือรัฐบาล และคมช. โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม กำลังช่วย พ.ต.ท.ทักษิณฯ ในการสร้างภาพลักษณ์สามด้าน ทั้งๆที่ความเป็นจริงกับภาพลักษณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณฯกำลังสร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน
ความจริงที่ควรได้รับการตอกย้ำทั้ง ๓ ด้านคือ
๑. พ.ต.ท.ทักษิณฯ ไม่คู่ควรกับการเป็นตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย ตลอดระยะเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ และพรรคไทยรักไทยครองอำนาจ หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยถูกทำลายมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
- การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่นโยบายฆ่าตัดตอนในการทำสงครามกับยาเสพติด
การใช้ความรุนแรงเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนนโยบายสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนการข่มขู่ คุกคาม นักเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ เช่น นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมือง ได้มีการระดมคนมาใช้ความรุนแรงกับผู้ต่อต้านรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ทั้งการทำร้ายร่างกาย พังเวทีปราศรัย ปิดล้อมการสัมมนา ตลอดจนมีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่บ้านประธานองคมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และสันติอโศก
- การแทรกแซง ครอบงำสื่อสารมวลชน ด้วยรูปแบบที่หลากหลายทั้งโดยใช้อำนาจรัฐ อิทธิพล
ทางธุรกิจผ่านเครือข่ายรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจของครอบครัว จนองค์กรสื่อมวลชนไร้พรมแดน ได้ลดอันดับความมีเสรีภาพของสื่อมวลชนของประเทศไทยอย่างฮวบฮาบ
- การเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม จนทำให้ผู้มีอำนาจกลายเป็นผู้อยู่เหนือ
กฎหมาย ตลอดจนมีการใช้กลไกรัฐ เช่น ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ปปง. เพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยใช้วิธีการ เช่น การทุจริตการเลือกตั้ง การดักฟังโทรศัพท์ เป็นต้น
- การใช้เงินมาทำลายการเมือง โดยการซื้อ สส. ซื้อเสียง การทุจริต ฯลฯ
แต่ทั้งหมดนี้กลับกลายเป็นอดีตที่กำลังถูกลืม โดยเฉพาะในต่างประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลความจริงที่กล่าวมาอยู่แล้ว ก็พร้อมที่จะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ในปัจจุบัน
กลยุทธของพ.ต.ท.ทักษิณฯ และพรรคไทยรักไทย จึงต้องการสร้างให้ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย โดยอ้างคะแนนเสียงที่ได้รับในการเลือกตั้ง และการถูกคณะรัฐประหารแย่งชิงอำนาจไป แม้แต่ในคดียุบพรรคก็มีความพยายามยั่วยุสร้างกระแสว่าตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือของเผด็จการ
ยิ่งรัฐบาล หรือ คมช. ตอกย้ำการห้ามเข้าประเทศ ควบคุมสื่อ ซึ่งลามไปถึงการระงับสัญญาณถ่ายทอดรายการปกติของสถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศ ก็ยิ่งเข้าทางของ พ.ต.ท.ทักษิณฯมากเท่านั้น
หากไม่มีการปรับแนวทางเหล่านี้ โดยการหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ขัดหลักประชาธิปไตย (โดยเฉพาะทำในสิ่งที่กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณฯไว้) และขยันชี้แจง ตอบโต้ หักล้าง สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ และเครือข่ายโฆษณาชวนเชื่อ ๕ เดือนของพ.ต.ท.ทักษิณฯ ในฐานะผู้ถูกกระทำจะกลบ ๕ ปี ของพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก่อนหน้านี้
๒. พ.ต.ท.ทักษิณฯ ไม่ได้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ (เสรีนิยม) แต่เป็นผู้ที่เติบโตมาจาก
ธุรกิจผูกขาด และระบบอุปถัมภ์ เมื่อมีโอกาสมาบริหารประเทศ ก็ยิ่งตอกย้ำระบบนี้ (cronyism) การแข่งขันทางธุรกิจไม่ได้เกิดความเป็นธรรม แต่กลับมีการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง ในขณะที่ละเลยการสร้างความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในเศรษฐกิจยุคใหม่คือเรื่องคุณภาพคน เทคโนโลยี และธรรมาภิบาล
แต่ความเสียหายจากนโยบายและการส่งสัญญาณที่ผิดของรัฐบาลปัจจุบัน ผ่านมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย และวิธีการที่กำลังผลักดันการแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้ทำให้นักลงทุนเกิดความหวั่นไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนต่างชาติ ยิ่งมีการให้สัมภาษณ์ในลักษณะที่อิงกระแสชาตินิยมเพื่อตอบโต้ผู้วิจารณ์ หรือกลบเกลื่อนความรับผิดชอบ ก็ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่า รัฐบาลไทยหลังยุคทักษิณเข้าใจเศรษฐกิจสมัยใหม่น้อยลง หรือร้ายกว่านั้น เริ่มไม่ต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ
ท่าทีเหล่านี้ควรมีการปรับแก้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการหาจุดสมดุลระหว่างการยอมรับกลไกตลาด กับการสร้างความพอดี ตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่ได้ขัดแย้งกับเศรษฐกิจสมัยใหม่แต่ประการใด
การโฆษณาชวนเชื่อของพ.ต.ท.ทักษิณฯมาโดยตลอด คือ การให้คนมองข้ามปัญหาที่ตนสร้างขื้น เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การขาดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ แต่เน้นความสำเร็จ หรือความทันสมัยในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุน หากรัฐบาลและคมช.ไม่สามารถพิสูจน์ถึงความเท่าทันต่อปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวมแล้ว ก็จะเป็นการช่วยสร้างภาพของพ.ต.ท.ทักษิณฯไปในตัว
๓. พ.ต.ท.ทักษิณฯ ไม่ได้ผูกขาดการแก้ปัญหาความยากจน แม้ว่านโยบายการแก้ปัญหาความยากจนของ
พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะมีการนำเสนออย่างต่อเนื่องในช่วง ๔-๕ ปีที่ผ่านมา แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณฯจะอ้างตัวเป็นผู้ผูกขาดการแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ดังจะเห็นได้จาก
- นโยบายหลายเรื่องดำเนินมาก่อนรัฐบาลทักษิณ แต่มีการขยายเป็นขั้นเป็นตอน เช่น การเรียนฟรี
การรักษาพยาบาลฟรีสำหรับผู้ยากไร้ หรือโครงการที่ให้เงินทุนแก่ชุมชนในระดับหมู่บ้าน บางเรื่องเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐
- นโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ ได้สร้างปัญหาให้คนจนไม่น้อย เช่น การเพิ่มพูนหนี้สิน
ครัวเรือน ผลกระทบต่อมาตรฐานการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลภาครัฐ ผลกระทบจากเขตการค้าเสรี (FTA) หรือ การสร้างความเสียหายจากโครงการแทรกแซงราคาพืชผลต่างๆ
แต่การสร้างภาพความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา และการผลิตนโยบายใหม่อย่างถี่ยิบเพื่อสร้าง
ความหวัง ทำให้เกิดความรู้สึกว่า หากขาดพ.ต.ท.ทักษิณฯ การแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้จะสิ้นสุดลง
จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำให้ประชาชนรู้สึกว่า ปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนของประชาชนจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ และขจัดความกลัวว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว จะยังมีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของเขา
๓-๔ เดือนที่ผ่านมา การแก้ปัญหาในด้านนี้ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือหลังน้ำท่วม ถูกมองว่าล่าช้า ยิ่งเครือข่ายระบอบทักษิณในภาคราชการใส่เกียร์ว่าง หรือยังขับรถให้นายเก่าอยู่ ก็ยิ่งเป็นการช่วยภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณฯ
พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะต้องมีความเคลื่อนไหวต่อไปแน่นอน รัฐบาลและคมช. อย่าคิดแต่จะไปห้าม หรือ สกัดกั้น สิ่งที่เป็นสิทธิของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ แต่ควรเร่งปรับปรุงท่าทีและแนวทางการทำงาน มิฉะนั้นรัฐบาลและ คมช.เอง จะเป็นผู้ช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณฯบรรลุเป้าหมาย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ม.ค. 2550--จบ--
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ ใครเป็นพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก็ต้องดิ้นรนต่อสู้ ยิ่งมีกำลังเงิน มีเครือข่าย มีผลประโยชน์มหาศาลที่ต้องปกป้องอยู่แล้ว ก็คงไม่ถอยออกไปจากเวทีการเมืองอย่างเงียบๆแน่นอน
ยิ่งเห็นการเคลื่อนไหวที่สิงคโปร์จนเป็นที่มาของการตอบโต้กันระหว่างสองประเทศแล้ว ก็ยิ่งตอกย้ำชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะทำทุกวิถีทางเพื่อประโยชน์ของตน โดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
การเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณฯ จำเป็นต้องมีการสร้างภาพลักษณ์ในหลายๆด้าน เพื่อสร้างความชอบธรรมทั้งในการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน และ รองรับการเคลื่อนไหวในอนาคต แต่การสร้างภาพลักษณ์จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยเงื่อนไข เหตุการณ์ ตลอดจนการกระทำของฝ่ายต่างๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทท่าทีของรัฐบาล และ คมช. มีผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณฯ
สิ่งที่น่าห่วงใยในขณะนี้ คือรัฐบาล และคมช. โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม กำลังช่วย พ.ต.ท.ทักษิณฯ ในการสร้างภาพลักษณ์สามด้าน ทั้งๆที่ความเป็นจริงกับภาพลักษณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณฯกำลังสร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน
ความจริงที่ควรได้รับการตอกย้ำทั้ง ๓ ด้านคือ
๑. พ.ต.ท.ทักษิณฯ ไม่คู่ควรกับการเป็นตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย ตลอดระยะเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ และพรรคไทยรักไทยครองอำนาจ หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยถูกทำลายมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
- การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่นโยบายฆ่าตัดตอนในการทำสงครามกับยาเสพติด
การใช้ความรุนแรงเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนนโยบายสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนการข่มขู่ คุกคาม นักเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ เช่น นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมือง ได้มีการระดมคนมาใช้ความรุนแรงกับผู้ต่อต้านรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ทั้งการทำร้ายร่างกาย พังเวทีปราศรัย ปิดล้อมการสัมมนา ตลอดจนมีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่บ้านประธานองคมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และสันติอโศก
- การแทรกแซง ครอบงำสื่อสารมวลชน ด้วยรูปแบบที่หลากหลายทั้งโดยใช้อำนาจรัฐ อิทธิพล
ทางธุรกิจผ่านเครือข่ายรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจของครอบครัว จนองค์กรสื่อมวลชนไร้พรมแดน ได้ลดอันดับความมีเสรีภาพของสื่อมวลชนของประเทศไทยอย่างฮวบฮาบ
- การเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม จนทำให้ผู้มีอำนาจกลายเป็นผู้อยู่เหนือ
กฎหมาย ตลอดจนมีการใช้กลไกรัฐ เช่น ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ปปง. เพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยใช้วิธีการ เช่น การทุจริตการเลือกตั้ง การดักฟังโทรศัพท์ เป็นต้น
- การใช้เงินมาทำลายการเมือง โดยการซื้อ สส. ซื้อเสียง การทุจริต ฯลฯ
แต่ทั้งหมดนี้กลับกลายเป็นอดีตที่กำลังถูกลืม โดยเฉพาะในต่างประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลความจริงที่กล่าวมาอยู่แล้ว ก็พร้อมที่จะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ในปัจจุบัน
กลยุทธของพ.ต.ท.ทักษิณฯ และพรรคไทยรักไทย จึงต้องการสร้างให้ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย โดยอ้างคะแนนเสียงที่ได้รับในการเลือกตั้ง และการถูกคณะรัฐประหารแย่งชิงอำนาจไป แม้แต่ในคดียุบพรรคก็มีความพยายามยั่วยุสร้างกระแสว่าตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือของเผด็จการ
ยิ่งรัฐบาล หรือ คมช. ตอกย้ำการห้ามเข้าประเทศ ควบคุมสื่อ ซึ่งลามไปถึงการระงับสัญญาณถ่ายทอดรายการปกติของสถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศ ก็ยิ่งเข้าทางของ พ.ต.ท.ทักษิณฯมากเท่านั้น
หากไม่มีการปรับแนวทางเหล่านี้ โดยการหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ขัดหลักประชาธิปไตย (โดยเฉพาะทำในสิ่งที่กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณฯไว้) และขยันชี้แจง ตอบโต้ หักล้าง สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ และเครือข่ายโฆษณาชวนเชื่อ ๕ เดือนของพ.ต.ท.ทักษิณฯ ในฐานะผู้ถูกกระทำจะกลบ ๕ ปี ของพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก่อนหน้านี้
๒. พ.ต.ท.ทักษิณฯ ไม่ได้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ (เสรีนิยม) แต่เป็นผู้ที่เติบโตมาจาก
ธุรกิจผูกขาด และระบบอุปถัมภ์ เมื่อมีโอกาสมาบริหารประเทศ ก็ยิ่งตอกย้ำระบบนี้ (cronyism) การแข่งขันทางธุรกิจไม่ได้เกิดความเป็นธรรม แต่กลับมีการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง ในขณะที่ละเลยการสร้างความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในเศรษฐกิจยุคใหม่คือเรื่องคุณภาพคน เทคโนโลยี และธรรมาภิบาล
แต่ความเสียหายจากนโยบายและการส่งสัญญาณที่ผิดของรัฐบาลปัจจุบัน ผ่านมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย และวิธีการที่กำลังผลักดันการแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้ทำให้นักลงทุนเกิดความหวั่นไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนต่างชาติ ยิ่งมีการให้สัมภาษณ์ในลักษณะที่อิงกระแสชาตินิยมเพื่อตอบโต้ผู้วิจารณ์ หรือกลบเกลื่อนความรับผิดชอบ ก็ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่า รัฐบาลไทยหลังยุคทักษิณเข้าใจเศรษฐกิจสมัยใหม่น้อยลง หรือร้ายกว่านั้น เริ่มไม่ต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ
ท่าทีเหล่านี้ควรมีการปรับแก้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการหาจุดสมดุลระหว่างการยอมรับกลไกตลาด กับการสร้างความพอดี ตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่ได้ขัดแย้งกับเศรษฐกิจสมัยใหม่แต่ประการใด
การโฆษณาชวนเชื่อของพ.ต.ท.ทักษิณฯมาโดยตลอด คือ การให้คนมองข้ามปัญหาที่ตนสร้างขื้น เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การขาดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ แต่เน้นความสำเร็จ หรือความทันสมัยในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุน หากรัฐบาลและคมช.ไม่สามารถพิสูจน์ถึงความเท่าทันต่อปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวมแล้ว ก็จะเป็นการช่วยสร้างภาพของพ.ต.ท.ทักษิณฯไปในตัว
๓. พ.ต.ท.ทักษิณฯ ไม่ได้ผูกขาดการแก้ปัญหาความยากจน แม้ว่านโยบายการแก้ปัญหาความยากจนของ
พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะมีการนำเสนออย่างต่อเนื่องในช่วง ๔-๕ ปีที่ผ่านมา แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณฯจะอ้างตัวเป็นผู้ผูกขาดการแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ดังจะเห็นได้จาก
- นโยบายหลายเรื่องดำเนินมาก่อนรัฐบาลทักษิณ แต่มีการขยายเป็นขั้นเป็นตอน เช่น การเรียนฟรี
การรักษาพยาบาลฟรีสำหรับผู้ยากไร้ หรือโครงการที่ให้เงินทุนแก่ชุมชนในระดับหมู่บ้าน บางเรื่องเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐
- นโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ ได้สร้างปัญหาให้คนจนไม่น้อย เช่น การเพิ่มพูนหนี้สิน
ครัวเรือน ผลกระทบต่อมาตรฐานการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลภาครัฐ ผลกระทบจากเขตการค้าเสรี (FTA) หรือ การสร้างความเสียหายจากโครงการแทรกแซงราคาพืชผลต่างๆ
แต่การสร้างภาพความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา และการผลิตนโยบายใหม่อย่างถี่ยิบเพื่อสร้าง
ความหวัง ทำให้เกิดความรู้สึกว่า หากขาดพ.ต.ท.ทักษิณฯ การแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้จะสิ้นสุดลง
จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำให้ประชาชนรู้สึกว่า ปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนของประชาชนจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ และขจัดความกลัวว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว จะยังมีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของเขา
๓-๔ เดือนที่ผ่านมา การแก้ปัญหาในด้านนี้ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือหลังน้ำท่วม ถูกมองว่าล่าช้า ยิ่งเครือข่ายระบอบทักษิณในภาคราชการใส่เกียร์ว่าง หรือยังขับรถให้นายเก่าอยู่ ก็ยิ่งเป็นการช่วยภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณฯ
พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะต้องมีความเคลื่อนไหวต่อไปแน่นอน รัฐบาลและคมช. อย่าคิดแต่จะไปห้าม หรือ สกัดกั้น สิ่งที่เป็นสิทธิของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ แต่ควรเร่งปรับปรุงท่าทีและแนวทางการทำงาน มิฉะนั้นรัฐบาลและ คมช.เอง จะเป็นผู้ช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณฯบรรลุเป้าหมาย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ม.ค. 2550--จบ--