สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดลดลงประกอบกับความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ 39.94 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,100 (บวกลบ 42 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,000 (บวกลบ 39 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.35 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.94
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดค่อนข้างคึกคัก เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก แต่ความต้องการบริโภคยังคงมีอย่าง ต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวถึงสถานการณ์จากที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้จัดสรรโควตานำเข้าไก่แปรรูป (ไก่ปรุงสุก) ให้กับผู้ส่งออกของไทยจำนวน 160,033 ตัน ภาษีในโควตา 8.0% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา โดยกำหนดเงื่อนไขการส่งภายใต้โควตาปีละ 4 ครั้ง แต่ละครั้งกำหนดระยะเวลา 3 เดือนในอัตรา 30, 30, 20 และ 20% ของปริมาณการโควตา ช่วงเวลา ส่งออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไปโดยกำหนดให้แต่ละรายสามารถนำเข้าได้ไม่เกิน 10% ของปริมาณโควตารวมในไตรมาสนั้น ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวได้ส่งผลดีต่อการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปอียูอย่างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม อียูได้เร่งนำเข้าไก่จากไทยทุกรายได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น มีสาเหตุสำคัญจากความชัดของเงื่อนไขและโควตาการนำเข้าแต่ละงวด รวมทั้งในช่วงครึ่งหลังของปีปกติจะมีคำสั่งซื้อเข้ามากเพราะเป็นฤดูการซื้อขาย ทั้งนี้สมาคมได้ตั้งเป้าหมายการส่งออก ปี2550 ไก่ปรุงสุกปริมาณ 300,000 ตัน มูลค่า 34,500 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกไปตลาดอียูปริมาณ 140,000 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% ที่เหลือส่งไปยังตลาดญี่ปุ่นและตลาดอื่นๆ ซึ่งล่าสุดอียูได้มาตรวจโรงงานแปรรูปไก่มาตรฐานส่งออกของไทยจำนวน 52 โรงงาน โดยผ่านการรับอนุญาตให้ส่งออกได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดีขณะนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไก่ทุกรายของไทยต่างประสบปัญหา การขาดแคนเนื้อไก่ในการแปรรูปเพื่อส่งออก เป็นผลจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้ผลิตทุกรายต้องปรับลดการเลี้ยงไก่ลงเหลือรวมกันประมาณ 15 ล้านตัว/สัปดาห์ จากเมื่อก่อนหน้านี้ประมาณ 16-18 ล้านตัว/สัปดาห์ ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่ามากทำให้ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังในการรับคำสั่งซื้อมากขึ้น เพราะแม้จะส่งออกปริมาณมากแต่อาจได้กำไรน้อยหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.06บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.88 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.28 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 13.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 12.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.82 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.20
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากฝนตกชุกแทบทุกพื้นที่มีสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติ แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 209 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 210 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 219 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 217 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 200 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 227 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน (เฉลี่ย เบอร์ 0-4) ร้อยฟองละ 231 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 248 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 246 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 207 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 254 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 269 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 224 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.36 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.94 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.75 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.75 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.33 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9-15 ก.ค. 2550--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดลดลงประกอบกับความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ 39.94 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,100 (บวกลบ 42 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,000 (บวกลบ 39 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.35 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.94
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดค่อนข้างคึกคัก เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก แต่ความต้องการบริโภคยังคงมีอย่าง ต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวถึงสถานการณ์จากที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้จัดสรรโควตานำเข้าไก่แปรรูป (ไก่ปรุงสุก) ให้กับผู้ส่งออกของไทยจำนวน 160,033 ตัน ภาษีในโควตา 8.0% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา โดยกำหนดเงื่อนไขการส่งภายใต้โควตาปีละ 4 ครั้ง แต่ละครั้งกำหนดระยะเวลา 3 เดือนในอัตรา 30, 30, 20 และ 20% ของปริมาณการโควตา ช่วงเวลา ส่งออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไปโดยกำหนดให้แต่ละรายสามารถนำเข้าได้ไม่เกิน 10% ของปริมาณโควตารวมในไตรมาสนั้น ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวได้ส่งผลดีต่อการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปอียูอย่างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม อียูได้เร่งนำเข้าไก่จากไทยทุกรายได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น มีสาเหตุสำคัญจากความชัดของเงื่อนไขและโควตาการนำเข้าแต่ละงวด รวมทั้งในช่วงครึ่งหลังของปีปกติจะมีคำสั่งซื้อเข้ามากเพราะเป็นฤดูการซื้อขาย ทั้งนี้สมาคมได้ตั้งเป้าหมายการส่งออก ปี2550 ไก่ปรุงสุกปริมาณ 300,000 ตัน มูลค่า 34,500 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกไปตลาดอียูปริมาณ 140,000 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% ที่เหลือส่งไปยังตลาดญี่ปุ่นและตลาดอื่นๆ ซึ่งล่าสุดอียูได้มาตรวจโรงงานแปรรูปไก่มาตรฐานส่งออกของไทยจำนวน 52 โรงงาน โดยผ่านการรับอนุญาตให้ส่งออกได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดีขณะนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไก่ทุกรายของไทยต่างประสบปัญหา การขาดแคนเนื้อไก่ในการแปรรูปเพื่อส่งออก เป็นผลจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้ผลิตทุกรายต้องปรับลดการเลี้ยงไก่ลงเหลือรวมกันประมาณ 15 ล้านตัว/สัปดาห์ จากเมื่อก่อนหน้านี้ประมาณ 16-18 ล้านตัว/สัปดาห์ ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่ามากทำให้ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังในการรับคำสั่งซื้อมากขึ้น เพราะแม้จะส่งออกปริมาณมากแต่อาจได้กำไรน้อยหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.06บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.88 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.28 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 13.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 12.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.82 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.20
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากฝนตกชุกแทบทุกพื้นที่มีสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติ แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 209 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 210 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 219 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 217 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 200 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 227 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน (เฉลี่ย เบอร์ 0-4) ร้อยฟองละ 231 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 248 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 246 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 207 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 254 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 269 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 224 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.36 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.94 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.75 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.75 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.33 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9-15 ก.ค. 2550--
-พห-