1. ออสเตรเลียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 19 ของโลกในปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้า 118,610.277 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.82 และปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้า 132,680.154 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.86 ในช่วงระยะเดียวกัน
2. แหล่งผลิตสำคัญที่ออสเตรเลียนำเข้า ปี 2549 ได้แก่
- จีน ร้อยละ 14.50 มูลค่า 19,236.996 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.36
- สหรัฐฯ ร้อยละ 13.85 มูลค่า 18,377.374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.69
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.80 มูลค่า 13,008.373 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.56 มูลค่า 4,722.826 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.92
3. รัฐมนตรีคลังออสเตรเลีย นายปีเตอร์ คอสเตลโล่ กล่าวถึงตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของออสเตรเลียในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2550 จะอยู่ที่ 2.50% พร้อมกับให้ความเห็นว่า ภัยแล้งที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบท และจะส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกของประเทศเช่นเดียวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม
4. ออสเตรเลียได้ดุลการค้ากับทั่วโลกปี 2549 มูลค่า 9,234.318 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเสียดุลการค้ากับสหรัฐฯเป็นอันดับหนึ่งมูลค่า10,773.261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.45 เยอรมนีเป็นอันดับ 2 มูลค่า 5,712.467 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 และได้เปรียบดุลการค้ากับอินเดียเป็นอันดับ 1 มูลค่า 5,706.826 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.98
5. ปี 2549 ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยโดยมีสัดส่วนส่งออกไปตลาดนี้ ร้อยละ 3.35 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทย หรือมูลค่า 4,351.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.07
6. สินค้าไทยส่งออกไปออสเตรเลีย ปี 2549 มีโครงสร้าง ดังนี้
- สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง) ร้อยละ 2.70
- สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ร้อยละ 6.74
- สินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 85.04
- สินค้าแร่ เชื้อเพลิง และอื่นๆ ร้อยละ 5.52
7. สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลีย แยกตามหมวดสินค้าปี 2549
จากสถิติโครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลีย จะเห็นว่าสินค้าแต่ละกลุ่ม มีสถิติเพิ่มขึ้นในระดับ ที่แตกต่างกัน โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.46 เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.56 และอุตสาห-กรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.63
7.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปออสเตรเลีย ปี 2549 มีมูลค่า 117.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับ 117.29 ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน
สินค้าเกษตรกรรมสำคัญส่งออกไปออสเตรเลีย ได้แก่
- ข้าว สัดส่วนร้อยละ 30.30
- กุ้ง สัดส่วนร้อยละ 19.22
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สัดส่วนร้อยละ 9.23
- ยางพารา สัดส่วนร้อยละ 7.84
- ปลาหมึก สัดส่วนร้อยละ 7.34
ข้าว : เป็นสินค้าเกษตร (กสิกรรม) สำคัญอันดับหนึ่งที่ไทยส่งออกไปออสเตรเลีย มูลค่า 35.74 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 ลดลงร้อยละ 0.98 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าข้าว (HS.1006 RICE) ในประเทศออสเตรเลีย ปี 2549 ซึ่งมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 63.18 มูลค่า 35.578 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.89 รองลงไปเป็นการนำเข้าจากปากีสถาน อินเดีย และสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 13.87 12.02 และ 3.51 ตามลำดับ
กุ้ง : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) สำคัญอันดับที่สองซึ่งไทยส่งออกไปออสเตรเลีย โดยมีมูลค่า 22.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 ลดลงร้อยละ 26.68 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าของออสเตรเลียปี 2549 พบว่าออสเตรเลียนำเข้ากุ้ง (Hs.030613 SHRIMP, PRAWN FROZEN) จากตลาดโลกเป็นมูลค่า 186.025 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.35 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 มูลค่า 36.684 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.04 ส่วนอันดับหนึ่งและอันดับสอง นำเข้าจาก เวียดนาม จีน ในสัดส่วนร้อยละ 37.64 และ 21.58 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง : เป็นสินค้าเกษตร สำคัญอันดับ 3 ซึ่งไทยส่งออกไปออสเตรเลีย โดยมีมูลค่า 10.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 เมื่อเทียบกับ 10.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง HS 0714 CASSAVA, ARROWROOT, ETC ของออสเตรเลีย พบว่าปี 2549 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5.015 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.45 นำเข้าจากไทยอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 2.51 มูลค่า 0.126 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับหนึ่งและสองนำเข้าจาก ฟิจิ เวียดนาม ในสัดส่วนร้อยละ 73.38 และ 7.88 ตามลำดับ
ยางพารา : เป็นสินค้าเกษตรซึ่งไทยส่งออกไปออสเตรเลียอันดับที่สี่ มูลค่า 10.75 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.35 และเมื่อดูจากสถิติการนำเข้ายางพารา HS 4001 RUBBER (NATURAL) ของออสเตรเลียพบว่าปี 2549 ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 48.551 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.29 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 16.53 มูลค่า 8.024 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.94 ในขณะที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นอันดับที่ 1 และ 3 สัดส่วนร้อยละ 68.29 และ 11.71 ตามลำดับ
ปลา : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง)สำคัญอันดับที่ 5 ซึ่งไทยส่งออกไปออสเตรเลีย โดยมีมูลค่า 8.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 ปี 2549 ในด้านการนำเข้าของออสเตรเลีย ปี 2549 มีการนำเข้าปลา จากตลาดโลก (Hs.0302 FRESH FISH, NOT FILLET มูลค่ารวม 29.908 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.16 มีการนำเข้าจากนิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย และอินเดีย เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 0.96 มูลค่า 0.286 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13,175.28
สินค้าเกษตรที่มีความสำคัญรองลงไปคือ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ยางแท่ง หอย ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง เป็นต้น
7.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรไปออสเตรเลียที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สัดส่วนร้อยละ 52.52
- อาหารสัตว์เลี้ยง สัดส่วนร้อยละ 11.82
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 6.31
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สัดส่วนร้อยละ 6.28
- สิ่งปรุงรสอาหาร สัดส่วนร้อยละ 5.60
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลีย เป็นมูลค่า 154.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 แต่ในด้านสถิติการนำเข้าของออสเตรเลีย มีการนำเข้า
-(HS 1604 FISH AND CAVIAR) ปี 2549 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปจากตลาดโลกมูลค่า 229.340 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.33 นำเข้าจากไทย สหรัฐฯ และแคนาดา เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 51.66 มูลค่า 118.473 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.92
-(HS 1605 CRUSTACEAN, MOLLUSCS) ปู กุ้ง ปลาหมึก บรรจุภาชนะอัดลม (อาหารทะเลแปรรูป) ปี 2549 ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 72.655 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.78 มีการนำเข้าจาก ไทย จีน มาเลเซีย เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 37.37 มูลค่า 21.147 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.87
อาหารสัตว์เลี้ยง : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลีย มูลค่า 34.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.37 และในด้านการนำเข้าของออสเตรเลีย ปี 2549 ในรหัส HS 23 FOODWAST : ANIMAL FEED มีมูลค่า 252.459 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.45 มีการนำเข้าจากสหรัฐฯ บราซิล และไทย เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 26.14 24.46 และ 13.24 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 13.24 มูลค่า 33.436 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.45
ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลีย เป็นมูลค่า 18.51 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 เทียบกับ 18.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2548 ลดลงร้อยละ 1.56 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าในรหัส HS 19 BAKING RELATED ปี 2549 พบว่าออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 408.997 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.98 มีการนำเข้าจากนิวซีแลนด์ จีน และไอร์แลนด์ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 18.10 11.58 และ 9.84 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.85 มูลค่า 15.762 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.67
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลียเป็นมูลค่า 18.42 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.76 ปี 2549 ส่วนในด้านการนำเข้าของออสเตรเลียในรหัส HS 2008 OTHER FRUIT, NUT จากตลาดโลกมีมูลค่า 84.178 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.79 ในปี 2549 นำเข้าจากจีน ไทย และแอฟริกาใต้ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 20.00 16.39 และ 12.89 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 16.39 มูลค่า 13.794 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.83
สิ่งปรุงรสอาหาร : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลียเป็นมูลค่า 16.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.06 ในปี 2549 และในด้านการนำเข้าของออสเตรเลีย ปี 2549 ในรหัส HS 21 MISCELLANEOUS จากตลาดโลก มีมูลค่า 913.793 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43 มีการนำเข้าจาก ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 30.34 16.87 และ 10.60 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 3.44 มูลค่า 31.439 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.67
สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่สำคัญรองลงไปซึ่งไทยส่งไปออสเตรเลีย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผักกระป๋องและ แปรรูป โกโก้และของปรุงแต่ง ขนมปังกรอบ เป็นต้น
7.3 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปออสเตรเลีย 5 อันดับ ได้แก่
- ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 42.57
- เครื่องใช้ไฟฟ้า สัดส่วนร้อยละ 14.46
- เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ สัดส่วนร้อยละ 8.45
- อัญมณีและเครื่องประดับ สัดส่วนร้อยละ 7.74
- ผลิตภัณฑ์ยาง สัดส่วนร้อยละ 2.51
ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลียในปี 2549 เป็นมูลค่า 1,575.25 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.66 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าสินค้าในรหัส HS.87 VEHICALS, NOT RAILWAY ของประเทศออสเตรเลียในปี 2549 พบว่ามีการนำเข้าจากตลาดโลกรวม 16,613.521 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 นำเข้าจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และไทย เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 สัดส่วน ร้อยละ 9.80 มูลค่า 1,627.667 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.34
เครื่องใช้ไฟฟ้า : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลีย ปี 2549 มูลค่า 535.09 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.29 ส่วนในด้านการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของออสเตรเลีย (HS 85 ELECTRICAL MACHINERY) ปี 2549 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 14,493.911 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.44 โดยการนำเข้าจากจีน สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ที่อันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ 2.53 มูลค่า 367.097 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.20
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ : ไทยส่งสินค้านี้ออกไปออสเตรเลีย ปี 2549 เป็นมูลค่า 312.55 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.52 ส่วนในด้านการนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ในตลาดออสเตรเลีย ปี 2549 ในรหัสสินค้า HS 72 IRON AND STEEL จากตลาดโลกมีมูลค่า 1,687.363 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.47 โดยนำเข้าจากไทยอันดับที่ 12 สัดส่วนร้อยละ 2.10 มูลค่า 35.493 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 40.14 ทั้งนี้นำเข้าจากญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน เป็นหลัก สัดส่วนร้อยละ 14.63 8.96 และ 8.01 ตามลำดับ
อัญมณีและเครื่องประดับ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปออสเตรเลีย ปี 2549 มูลค่า 286.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 55.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 415.65 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของออสเตรเลีย ปี 2549 ในรหัสสินค้า HS 71 PRECIOUS STONES, METALS มีมูลค่า 5,490.099 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.85 โดยนำเข้าจากสิงคโปร์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 6.94 มูลค่า 380.902 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.64
ผลิตภัณฑ์ยาง : ไทยส่งสินค้านี้ไปออสเตรเลีย ปี 2549 มูลค่า 92.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 58.36 ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.86 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของออสเตรเลีย ปี 2549 ในรหัสสินค้า
- HS 4015 APPARL AND ACCESS, SFT,VUL มีมูลค่า 66.586 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.17 มีการนำเข้าจากมาเลเซีย ไทย และจีน เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 24.69 มูลค่า 16.441 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.33
- HS 4011 NEW PNEMATIC TIRES มีมูลค่า 1,206.900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.06 มีการนำเข้าจากญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 4.95 มูลค่า 59.794 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.96
- HS 4012 TIRES, RETREAD/USED มีมูลค่า 35.308 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.22 มีการนำเข้าจากสหรัฐฯ ศรีลังกา และไทย เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.99 มูลค่า 3.528 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.79
- HS 4016 OT ART OF UNHARD, VULC มีมูลค่า 220.946 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 มีการนำเข้าจากสหรัฐฯ จีน และเยอรมนี เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 4.04 มูลค่า 8.922 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.64
- HS 4014 HYG/PHARM ART,SFT,VUL มีมูลค่า 7.006 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.50 มีการนำเข้าจากไทย อินเดีย และจีน เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 26.39 มูลค่า 1.849 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.05
สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปออสเตรเลียที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สิ่งทอ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. รัฐมนตรีคลังของประเทศออสเตรเลีย นายปีเตอร์ คอสเตลโล่ ให้ความเห็นว่า ปีงบประมาณ 2550 อัตราการขยายตัวด้านการส่งออกของออสเตรเลีย จะอยู่ที่ 4.0% ในขณะที่การขยายตัวด้านการจ้างงานจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมในภาคทรัพยากรมีการขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงมีการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น 2.25% ทั้งนี้สำนักข่าวซินหัวไฟแนนซ์ รายงานว่า ขณะนี้ออสเตรเลียกำลังประสบสภาวะภัยแล้ง ซึ่งอาจส่งผลให้การขยายตัวด้านผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรลดลงถึง 20%
2. อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ให้ความเห็นเรื่องการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 จนถึงปัจจุบัน ปรากฎผลที่น่าพอใจ โดยปี 2549 การค้ารวมมีมูลค่า 2.95 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.69% แบ่งเป็นไทยส่งออก 1.65 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% นำเข้าจากออสเตรเลีย 1.30 แสนล้านบาท ลดลง 0.28% ส่งผลให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 3.51 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ในด้านการลงทุนพบว่า ออสเตรเลียมีการลงทุนทางตรงในไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดกลางย่อม ที่มีเงินลงทุนต่ำกว่า 500 ล้านบาท เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มสิ่งทอ และอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน อย่างไรก็ตามสินค้าไทยที่ยังไม่พร้อมเปิดเสรี เช่น โคนม โคเนื้อ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยกำหนดว่าจะมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อรองรับการเปิดเสรีในอีก 20 ปีข้างหน้า
3. นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย นายสุรพล ประเทืองธรรม กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกกุ้งไทยไปออสเตรเลียว่า ขณะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งไทยกำลังถูกออสเตรเลียใช้มาตรการ/ข้ออ้างที่ไม่ชอบธรรม หรือที่เรียกว่ามาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการนำเข้า หรือ ไออาร์เอ (Import Risk Analysis-IRA) ซึ่งเป็นข้ออ้างทางด้านเชื้อไวรัส มากล่าวอ้าง เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศออสเตรเลีย หลังจากที่ลงความเห็นว่า ประเทศต่างๆ ได้ส่งกุ้งเข้าไปมาก โดยเฉพาะกุ้งไทยซึ่งได้รับความนิยมมาก ทั้งในแง่คุณภาพและราคา ออสเตรเลียจึงไม่ต้องการให้กุ้งไทยเข้าไปขายแข่งในประเทศของตน ทั้งนี้การที่ไทยทำข้อตกลงเอฟทีเอกับออสเตรเลีย ถือว่าไทยเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ สำหรับสินค้ากุ้ง เช่นเดียวกับสินค้าโคนม ที่ได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าจากออสเตรเลียสามารถเข้ามาขายในประเทศไทยได้อย่างเสรี ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยด้วยเหตุนี้นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย ในฐานะตัวแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เรียกร้องให้ภาครัฐบาลรีบเข้าไปเจรจาต่อรอง โดยขอความร่วมมือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงต่าง-ประเทศร่วมกันเจรจาต่อรอง เพื่อปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของประเทศ
ที่มา: http://www.depthai.go.th