1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 — 21 ธ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,363.84 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 594.89 ตัน สัตว์น้ำจืด 768.95 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.57 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.67 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 106.66 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.83 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 65.15 ตัน
การตลาด
มกอช.ประกาศมาตรฐานปลาทูน่า เพื่อความสะดวกในการส่งออก
นายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เห็นชอบประกาศใช้มาตรฐานปลาทูน่าและโบนิโตในภาชนะบรรจุปิดสนิท ตามที่ มกอช.เสนอให้พิจารณาแล้ว มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานสมัครใจ โดยไม่มีการบังคับให้ผู้ประกอบการ ทุกรายปฏิบัติตาม แต่เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการใช้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าปลาทูน่าเพื่อการส่งออก รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ มาตรฐานมีข้อกำหนดที่ครอบคลุมถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต รูปแบบของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมี 5 รูปแบบ คือ ปลาชิ้นขนาดใหญ่มีหนังหรือไม่มีหนัง ปลาชิ้นขนาดกลาง ปลาชิ้นขนาดเล็ก ปลาชิ้นย่อย และรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งกำหนดส่วนประกอบ ปัจจัยคุณภาพ วัตถุเจือปนอาหาร สารปนเปื้อน สุขลักษณะ โดยเฉพาะเครื่องหมายและฉลากต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานของ Codex กรณีที่ผลิตเพื่อการส่งออกเครื่องหมายและฉลากต้องเป็นไปตามข้อตกลงของประเทศคู่ค้าด้วย นอกจากนี้มาตรฐานปลาทูน่าฯ ดังกล่าว ยังกำหนดวิธีวิเคราะห์และชักตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ และการยอมรับรุ่นสินค้าในแต่ละล็อตที่ผลิต หรือสินค้าที่ส่งมอบในคราวเดียวกัน
อนาคตคาดว่ามาตรฐานปลาทูน่าฯ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกปลาทูน่าและโบนิโตของไทยได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถรักษาตลาดและครองความเป็นผู้นำในการส่งออกปลาทูน่าของโลกตลอดไป สินค้าปลาทูน่า เป็นสินค้าที่ตลาดมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าและโบนิโตในภาชนะบรรจุปิดสนิทและเนื้อปลาทูน่าและโบนิโตในรูปแบบแช่แข็งเป็นอันดับหนึ่งของโลก การประกาศมาตรฐานดังกล่าว เพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตไทย ได้ใช้มาตรฐานที่ประกาศออกมาเป็นกลไกนำในการผลิต ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อ โดยสังเกตคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากมาตรฐานเป็นหลัก
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.77 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 113.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.95 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.29 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1 — 5 ม.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1-7 มกราคม 2550--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 — 21 ธ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,363.84 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 594.89 ตัน สัตว์น้ำจืด 768.95 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.57 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.67 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 106.66 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.83 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 65.15 ตัน
การตลาด
มกอช.ประกาศมาตรฐานปลาทูน่า เพื่อความสะดวกในการส่งออก
นายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เห็นชอบประกาศใช้มาตรฐานปลาทูน่าและโบนิโตในภาชนะบรรจุปิดสนิท ตามที่ มกอช.เสนอให้พิจารณาแล้ว มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานสมัครใจ โดยไม่มีการบังคับให้ผู้ประกอบการ ทุกรายปฏิบัติตาม แต่เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการใช้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าปลาทูน่าเพื่อการส่งออก รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ มาตรฐานมีข้อกำหนดที่ครอบคลุมถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต รูปแบบของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมี 5 รูปแบบ คือ ปลาชิ้นขนาดใหญ่มีหนังหรือไม่มีหนัง ปลาชิ้นขนาดกลาง ปลาชิ้นขนาดเล็ก ปลาชิ้นย่อย และรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งกำหนดส่วนประกอบ ปัจจัยคุณภาพ วัตถุเจือปนอาหาร สารปนเปื้อน สุขลักษณะ โดยเฉพาะเครื่องหมายและฉลากต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานของ Codex กรณีที่ผลิตเพื่อการส่งออกเครื่องหมายและฉลากต้องเป็นไปตามข้อตกลงของประเทศคู่ค้าด้วย นอกจากนี้มาตรฐานปลาทูน่าฯ ดังกล่าว ยังกำหนดวิธีวิเคราะห์และชักตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ และการยอมรับรุ่นสินค้าในแต่ละล็อตที่ผลิต หรือสินค้าที่ส่งมอบในคราวเดียวกัน
อนาคตคาดว่ามาตรฐานปลาทูน่าฯ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกปลาทูน่าและโบนิโตของไทยได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถรักษาตลาดและครองความเป็นผู้นำในการส่งออกปลาทูน่าของโลกตลอดไป สินค้าปลาทูน่า เป็นสินค้าที่ตลาดมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าและโบนิโตในภาชนะบรรจุปิดสนิทและเนื้อปลาทูน่าและโบนิโตในรูปแบบแช่แข็งเป็นอันดับหนึ่งของโลก การประกาศมาตรฐานดังกล่าว เพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตไทย ได้ใช้มาตรฐานที่ประกาศออกมาเป็นกลไกนำในการผลิต ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อ โดยสังเกตคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากมาตรฐานเป็นหลัก
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.77 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 113.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.95 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.29 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1 — 5 ม.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1-7 มกราคม 2550--
-พห-