กรุงเทพ--30 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 นาย Alexander Arvizu อุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และพลเอกทรงกิตติ จักกาบาตร์ เสนาธิการทหารได้แถลงข่าวการฝึกคอบร้าโกลด์ประจำปี 2550 ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ทั้งนี้ การฝึกคอบร้าโกลด์ในปีนี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8-18 พฤษภาคม 2550 โดยมีผู้แทนฝ่ายทหารจากเหล่าทัพต่างๆ ของไทยและสหรัฐฯ พร้อมด้วยสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก สาระสำคัญของการแถลงข่าว สรุปได้ดังนี้
1. พล.อ. ทรงกิตติฯ กล่าวว่าการฝึกคอบร้าโกลด์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างไทยและสหรัฐฯ โดยการฝึกจะช่วยส่งเสริมความใกล้ชิดและความเข้าใจอันดี ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะหลากมิติ (multi-faceted) และเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การฝึกปฏิบัติการทำให้เหล่าทัพของประเทศที่เข้าร่วมสามารถนำทักษะดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ โดยประโยชน์จากการฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ก็ได้ประจักษ์ชัดจากปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สึนามิ และขอให้สื่อมวลชนประชาสัมพันธ์การฝึกคอบร้าโกลด์ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ยิ่งต่อไทยให้สาธารณชนได้รับทราบด้วย
2. นาย Arvizu ย้ำว่าคอบร้าโกลด์เป็นการฝึกทางทหารที่สำคัญและมีความเป็นรูปธรรมที่สุดในภูมิภาค และได้แสดงความยินดีที่ในปีนี้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินโดนิเซียเข้าร่วมการฝึกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกดังกล่าวที่ได้พัฒนามาเป็นความร่วมมือที่สำคัญระหว่างประเทศ นาย Arvizu กล่าวถึงความสำคัญของการฝึกเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในกรอบการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเพื่อเตรียมการรองรับสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับเหตุการณ์สึนามิ ทั้งนี้ การฝึกในปีนี้จะมีทั้ง (1) การฝึกทักษะภาคพื้นดิน ทางอากาศและทางน้ำระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (2) การฝึกร่วมของทุกประเทศในหลักสูตรการปฏิบัติการร่วมในการรักษาสันติภาพแบบพหุภาคีภายใต้สถานการณ์ซึ่งจำลองโดยระบบคอมพิวเตอร์ และ (3) กองกำลังของประเทศเข้าร่วมทั้งหมดจะร่วมในโครงการพัฒนาชุมชนไทยด้วย
3. การฝึกในปีนี้ เป็นปีที่ 26 มีประเทศเข้าร่วมฝึกทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินโดนิเซีย ตลอดจนมีผู้แทนจาก Multinational Planning Augmentation Team (MPA) และประเทศสังเกตการณ์อีก 5 ประเทศเข้าร่วมด้วย การฝึกในปีนี้เน้นพัฒนาขีดความสามารถด้านความพร้อมรบ การช่วยเหลือประชาชน การปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัย และความ สามารถในการปฏิบัติการร่วมกันของประเทศต่างๆ ฝ่ายไทยจะจัดสรรงบประมาณ 25 ล้านบาท และส่งกองกำลังเข้าร่วมฝึกจำนวน 3,089 นาย ในขณะนี้สหรัฐฯ จะจัดสรรงบประมาณ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งกองกำลังเข้าร่วมประมาณ 2,000 นาย (ส่วนสิงคโปร์ส่งกำลังเข้าร่วมฝึก 70 นาย ญี่ปุ่น 47 นาย และอินโดนีเชีย 27 นาย ตามลำดับ)
4. ในช่วงคำถาม-คำตอบ สื่อมวลชนไทยและต่างประเทศให้ความสนใจในประเด็นผลกระทบของเหตุการณ์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ต่อการฝึกคอบร้าโกลด์ ซึ่งนาย Arvizu ได้ชี้แจงว่า แม้ว่า สหรัฐฯ จะผิดหวังกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย โดยเห็นว่าเป็นก้าวถอยหลังของประชาธิปไตย และหวังว่าไทยจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนผ่านเพื่อกลับสู่ครรลองประชาธิปไตยโดยเร็ว โดยสหรัฐฯ จะยังคงจับตามองพัฒนาการเมืองของไทยต่อไปอย่างใกล้ชิด แต่สหรัฐฯ ยังตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์กับไทยและจะคงสานต่อความร่วมมือในประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน (mutual interests) ซึ่งการฝึกคอบร้าโกลด์ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ เล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในระดับภูมิภาคอีกด้วย ซึ่งความสำเร็จของการปฏิบัติการร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในช่วงสึนามิก็แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ต้องฝึกปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน อนึ่ง นาย Arvizu ได้ชี้แจงต่อคำถามสื่อมวลชนว่า การที่สหรัฐฯ ลดจำนวนทหารที่ส่งมาร่วมฝึกในปีนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2550 แต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 นาย Alexander Arvizu อุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และพลเอกทรงกิตติ จักกาบาตร์ เสนาธิการทหารได้แถลงข่าวการฝึกคอบร้าโกลด์ประจำปี 2550 ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ทั้งนี้ การฝึกคอบร้าโกลด์ในปีนี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8-18 พฤษภาคม 2550 โดยมีผู้แทนฝ่ายทหารจากเหล่าทัพต่างๆ ของไทยและสหรัฐฯ พร้อมด้วยสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก สาระสำคัญของการแถลงข่าว สรุปได้ดังนี้
1. พล.อ. ทรงกิตติฯ กล่าวว่าการฝึกคอบร้าโกลด์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างไทยและสหรัฐฯ โดยการฝึกจะช่วยส่งเสริมความใกล้ชิดและความเข้าใจอันดี ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะหลากมิติ (multi-faceted) และเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การฝึกปฏิบัติการทำให้เหล่าทัพของประเทศที่เข้าร่วมสามารถนำทักษะดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ โดยประโยชน์จากการฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ก็ได้ประจักษ์ชัดจากปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สึนามิ และขอให้สื่อมวลชนประชาสัมพันธ์การฝึกคอบร้าโกลด์ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ยิ่งต่อไทยให้สาธารณชนได้รับทราบด้วย
2. นาย Arvizu ย้ำว่าคอบร้าโกลด์เป็นการฝึกทางทหารที่สำคัญและมีความเป็นรูปธรรมที่สุดในภูมิภาค และได้แสดงความยินดีที่ในปีนี้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินโดนิเซียเข้าร่วมการฝึกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกดังกล่าวที่ได้พัฒนามาเป็นความร่วมมือที่สำคัญระหว่างประเทศ นาย Arvizu กล่าวถึงความสำคัญของการฝึกเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในกรอบการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเพื่อเตรียมการรองรับสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับเหตุการณ์สึนามิ ทั้งนี้ การฝึกในปีนี้จะมีทั้ง (1) การฝึกทักษะภาคพื้นดิน ทางอากาศและทางน้ำระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (2) การฝึกร่วมของทุกประเทศในหลักสูตรการปฏิบัติการร่วมในการรักษาสันติภาพแบบพหุภาคีภายใต้สถานการณ์ซึ่งจำลองโดยระบบคอมพิวเตอร์ และ (3) กองกำลังของประเทศเข้าร่วมทั้งหมดจะร่วมในโครงการพัฒนาชุมชนไทยด้วย
3. การฝึกในปีนี้ เป็นปีที่ 26 มีประเทศเข้าร่วมฝึกทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินโดนิเซีย ตลอดจนมีผู้แทนจาก Multinational Planning Augmentation Team (MPA) และประเทศสังเกตการณ์อีก 5 ประเทศเข้าร่วมด้วย การฝึกในปีนี้เน้นพัฒนาขีดความสามารถด้านความพร้อมรบ การช่วยเหลือประชาชน การปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัย และความ สามารถในการปฏิบัติการร่วมกันของประเทศต่างๆ ฝ่ายไทยจะจัดสรรงบประมาณ 25 ล้านบาท และส่งกองกำลังเข้าร่วมฝึกจำนวน 3,089 นาย ในขณะนี้สหรัฐฯ จะจัดสรรงบประมาณ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งกองกำลังเข้าร่วมประมาณ 2,000 นาย (ส่วนสิงคโปร์ส่งกำลังเข้าร่วมฝึก 70 นาย ญี่ปุ่น 47 นาย และอินโดนีเชีย 27 นาย ตามลำดับ)
4. ในช่วงคำถาม-คำตอบ สื่อมวลชนไทยและต่างประเทศให้ความสนใจในประเด็นผลกระทบของเหตุการณ์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ต่อการฝึกคอบร้าโกลด์ ซึ่งนาย Arvizu ได้ชี้แจงว่า แม้ว่า สหรัฐฯ จะผิดหวังกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย โดยเห็นว่าเป็นก้าวถอยหลังของประชาธิปไตย และหวังว่าไทยจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนผ่านเพื่อกลับสู่ครรลองประชาธิปไตยโดยเร็ว โดยสหรัฐฯ จะยังคงจับตามองพัฒนาการเมืองของไทยต่อไปอย่างใกล้ชิด แต่สหรัฐฯ ยังตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์กับไทยและจะคงสานต่อความร่วมมือในประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน (mutual interests) ซึ่งการฝึกคอบร้าโกลด์ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ เล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในระดับภูมิภาคอีกด้วย ซึ่งความสำเร็จของการปฏิบัติการร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในช่วงสึนามิก็แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ต้องฝึกปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน อนึ่ง นาย Arvizu ได้ชี้แจงต่อคำถามสื่อมวลชนว่า การที่สหรัฐฯ ลดจำนวนทหารที่ส่งมาร่วมฝึกในปีนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2550 แต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-