ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ไม่อนุมัติให้ ธ.ทหารไทยจ่ายดอกเบี้ยไฮบริดบอนด์เนื่องจากยังมีผลการดำเนินงานขาดทุน นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. ไม่อนุมัติให้ ธ.ทหารไทยจ่ายดอกเบี้ยไฮบริดจ์บอนด์ เนื่องจากธนาคารยังประสบปัญหาขาดทุนอยู่และเป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ของ BIS เพราะเป็นตราสารที่ค่อนข้างไปทางตราสารทุน ถ้าไม่ทำตามเกณฑ์ของสากลต่างชาติจะขาดความเชื่อถือ สำหรับ
ครั้งที่แล้วธนาคารจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวได้เนื่องจากธนาคารขาดทุนจากการตั้งสำรองตามเกณฑ์บัญชี IAS 39 ซึ่งธนาคารได้ทำล่วงหน้าแทนที่
จะทยอยทำ 3 งวด แต่ครั้งนี้เป็นการขาดทุนที่มีหลักเกณฑ์ประกาศไว้อยู่แล้ว ด้าน นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ
ธ.ทหารไทย กล่าวว่า ธนาคารต้องปฏิบัติตามที่ ธปท. ระบุ และการไม่จ่ายดอกเบี้ยก็ไม่ได้ผิดเงื่อนไข เพราะมีการกำหนดไว้ว่าหากขาดทุน
ก็ไม่จ่ายผลตอบแทน (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. เศรษฐกิจจะขยายตัวได้หากความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนปรับตัวดีขึ้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ขณะนี้ความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัว แต่เศรษฐกิจของประเทศยังสามารถขยายตัวได้ในระดับกว่า
ร้อยละ 4 ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจและแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าหากความเชื่อมั่นกลับเป็นปกติเมื่อใดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ทันที ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้
มีสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว รอเพียงแรงส่ง ได้แก่ การบริโภคและการลงทุนในประเทศ โดย ธปท. ประมาณการล่าสุดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะ
ขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.8 และคาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 3 และ 4 ซึ่งน่าจะส่งผลต่อเนื่องไปยังปีหน้าให้เศรษฐกิจขยายตัวได้
ร้อยละ 4.3 — 5.8 ส่วนประเด็นสำคัญที่น่ากังวลคือ การใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนและการลงทุนที่ชะลอตัวครั้งแรกในรอบหลายปี
แต่เชื่อว่าหลังจากรัฐบาลมีนโยบายในการแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคกับเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย น่าจะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่น
เพิ่มขึ้น (เดลินิวส์)
3. เจบิคขออนุญาตออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในไทยวงเงิน 3 — 4 พันล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้
สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ได้เข้าพบ รมว.คลัง เพื่อขออนุญาตออกพันธบัตรสกุล
เงินบาทในไทย วงเงิน 3 — 4 พันล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่ประกอบกิจการในไทย ซึ่ง สบน. จะนำเรื่องดังกล่าว
เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายหนี้สาธารณะเพื่อพิจารณาอนุมัติในวันที่ 21 มิ.ย.50 ทั้งนี้ ในปี งปม.50 สบน. ได้กำหนดวงเงิน
ออกพันธบัตรสกุลเงินบาททั้งหมด 5 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกของปี งปม. 50 มีสถาบันการเงินต่างประเทศกลุ่มยุโรปและตะวันออกกลาง
ขอออกพันธบัตรสกุลเงินบาทแล้ว 7 พันล้านบาท (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นที่ 9 วงเงิน 500 ล้านบาท อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า
ธนาคารได้เตรียมจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ในปี งปม.50 รุ่นที่ 9 จำนวน 500 ล้านบาท อายุพันธบัตร 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.50
ต่อปี สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์ในปี งปม.50 ออกโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ก.คลัง ในนามรัฐบาลไทย มี ธปท. เป็นนายทะเบียนและตัวแทน
การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น และมอบหมายให้ ธ.กรุงเทพได้รับสิทธิเป็นผู้แทนในการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว วงเงินรวม 6 พันล้านบาท
อายุพันธบัตร 3 ปี กำหนดจำหน่ายทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือน ต.ค.49 ถึง ก.ย.50 วงเงินจำหน่ายครั้งละ 500 ล้านบาท
โดยผู้ลงทุนจะได้รับอัตราผลตอบแทนคงที่ในรูปดอกเบี้ยพันธบัตร กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง และหากผู้ลงทุนต้องการโอนกรรมสิทธิ์ก็สามารถ
ทำได้เมื่อพันธบัตรมีอายุครบ 1 ปี (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน พ.ค.50 จะชะลอตัวที่ร้อยละ 0.2 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 มิ.ย.50
ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน พ.ค.50 น่าจะชะลอตัวลงโดยจะขยายตัวอยู่ที่
ร้อยละ 0.2 อันเป็นผลจากภูมิอากาศที่อบอุ่นขึ้น ส่งผลให้มีการลดจำนวนการผลิตลง ในขณะที่กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และการก่อสร้าง
ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน ส่วนความสามารถของการใช้กำลังการผลิตคาดว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 81.6 ทั้งนี้ ในเดือน
เม.ย.50 ผลผลิตอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจที่ร้อยละ 0.7 เนื่องจากผลผลิตสาธารณูปโภค รถยนต์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ขั้นสูงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมการผลิต (โดยคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตที่ไม่นับรวมสินค้า
หมวดรถยนต์จะขยายตัวร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย.50 หลังจากที่เดือน มี.ค.ขยายตัวร้อยละ 0.6)) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาสำหรับ
การเติบโตทางเศรษฐกิจ สรอ. ซึ่งปัจจุบันยังมีภาวะกดดันจากการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ธ.กลาง สรอ.จะรายงานตัวเลขผลผลิต
อุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย.นี้ เวลา 9.15 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. สินค้าคงคลังภาคธุรกิจของ สรอ.ในเดือน เมงย.50 เพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ร้อยละ 0.4 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 13 มิ.ย.50 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังภาคธุรกิจของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่เดือน
มี.ค.50 ไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 7 เดือน (ตั้งแต่เดือน ก.ย.49) ที่เคยขยายตัวในระดับร้อยละ 0.4 เช่น
เดียวกัน ทั้งนี้ มีสาเหตุจากมีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคการค้าปลีก โดยยอดขายภาคธุรกิจของผู้ค้าปลีก
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต และผู้ค้าส่งในเดือน เม.ย.50 มีจำนวน 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ส่วน
อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายในเดือน เม.ย. (ซึ่งบ่งชี้ถึงจำนวนเดือนที่จะสามารถนำสินค้าคงคลังที่มีอยู่ออกขายได้) ลดลงอยู่ที่ 1.27 เดือน
จาก 1.28 เดือนในเดือน มี.ค.50 (รอยเตอร์)
3. การจ้างงานใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 13 มิ.ย.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานการจ้างงานใน 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 49 โดยคนที่มีงานทำมี
จำนวนทั้งสิ้น 141.6 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าอัตรา
ว่างงานใน Euro zone ในเดือน เม.ย.50 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 7.1 หลังจากเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ขยายตัว
ร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ในมุมมองของ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB เห็นว่าการจ้างงานที่ดีขึ้นอาจนำไป
สู่การสูงขึ้นของค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อในอนาคต นักวิเคราะห์จึงยังคงคาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็น
ร้อยละ 4.25 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
4. รายได้เฉลี่ยของอังกฤษในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน เม.ย.50 ขยายตัวชะลอลงที่ระดับร้อยละ 4.0 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 13 มิ.ย.50 The Office for National Statistics เปิดเผยว่า รายได้เฉลี่ยของอังกฤษในช่วง 3 เดือน สิ้นสุดเดือน เม.ย.50
ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 4.5 สาเหตุจากการจ่ายโบนัสของธุรกิจด้านการเงินในลอนดอนในช่วงปีใหม่ลดลง และส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงเนื่องจาก
นักลงทุนเห็นว่าตัวเลขรายได้เฉลี่ยดังกล่าวจะช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของรายได้ของทางการลงได้ และอาจเป็นปัจจัย
ที่ส่งผลให้ ธ.กลางชะลอการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่า จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่
ระดับร้อยละ 5.75 ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า ในสัปดาห์นี้ ธ.กลางอาจมีความจำเป็นต้องดำเนินการ
อย่างหนึ่งอย่างใด หากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวเหนือเป้าหมายที่กำหนด สำหรับรายได้เฉลี่ยเมื่อเทียบต่อปีในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 3.3 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มิ.ย. 50 13 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.622 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3994/34.7364 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66453 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 726.60/16.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,600/10,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.21 63.60 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ไม่อนุมัติให้ ธ.ทหารไทยจ่ายดอกเบี้ยไฮบริดบอนด์เนื่องจากยังมีผลการดำเนินงานขาดทุน นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. ไม่อนุมัติให้ ธ.ทหารไทยจ่ายดอกเบี้ยไฮบริดจ์บอนด์ เนื่องจากธนาคารยังประสบปัญหาขาดทุนอยู่และเป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ของ BIS เพราะเป็นตราสารที่ค่อนข้างไปทางตราสารทุน ถ้าไม่ทำตามเกณฑ์ของสากลต่างชาติจะขาดความเชื่อถือ สำหรับ
ครั้งที่แล้วธนาคารจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวได้เนื่องจากธนาคารขาดทุนจากการตั้งสำรองตามเกณฑ์บัญชี IAS 39 ซึ่งธนาคารได้ทำล่วงหน้าแทนที่
จะทยอยทำ 3 งวด แต่ครั้งนี้เป็นการขาดทุนที่มีหลักเกณฑ์ประกาศไว้อยู่แล้ว ด้าน นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ
ธ.ทหารไทย กล่าวว่า ธนาคารต้องปฏิบัติตามที่ ธปท. ระบุ และการไม่จ่ายดอกเบี้ยก็ไม่ได้ผิดเงื่อนไข เพราะมีการกำหนดไว้ว่าหากขาดทุน
ก็ไม่จ่ายผลตอบแทน (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. เศรษฐกิจจะขยายตัวได้หากความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนปรับตัวดีขึ้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ขณะนี้ความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัว แต่เศรษฐกิจของประเทศยังสามารถขยายตัวได้ในระดับกว่า
ร้อยละ 4 ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจและแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าหากความเชื่อมั่นกลับเป็นปกติเมื่อใดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ทันที ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้
มีสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว รอเพียงแรงส่ง ได้แก่ การบริโภคและการลงทุนในประเทศ โดย ธปท. ประมาณการล่าสุดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะ
ขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.8 และคาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 3 และ 4 ซึ่งน่าจะส่งผลต่อเนื่องไปยังปีหน้าให้เศรษฐกิจขยายตัวได้
ร้อยละ 4.3 — 5.8 ส่วนประเด็นสำคัญที่น่ากังวลคือ การใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนและการลงทุนที่ชะลอตัวครั้งแรกในรอบหลายปี
แต่เชื่อว่าหลังจากรัฐบาลมีนโยบายในการแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคกับเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย น่าจะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่น
เพิ่มขึ้น (เดลินิวส์)
3. เจบิคขออนุญาตออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในไทยวงเงิน 3 — 4 พันล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้
สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ได้เข้าพบ รมว.คลัง เพื่อขออนุญาตออกพันธบัตรสกุล
เงินบาทในไทย วงเงิน 3 — 4 พันล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่ประกอบกิจการในไทย ซึ่ง สบน. จะนำเรื่องดังกล่าว
เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายหนี้สาธารณะเพื่อพิจารณาอนุมัติในวันที่ 21 มิ.ย.50 ทั้งนี้ ในปี งปม.50 สบน. ได้กำหนดวงเงิน
ออกพันธบัตรสกุลเงินบาททั้งหมด 5 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกของปี งปม. 50 มีสถาบันการเงินต่างประเทศกลุ่มยุโรปและตะวันออกกลาง
ขอออกพันธบัตรสกุลเงินบาทแล้ว 7 พันล้านบาท (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นที่ 9 วงเงิน 500 ล้านบาท อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า
ธนาคารได้เตรียมจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ในปี งปม.50 รุ่นที่ 9 จำนวน 500 ล้านบาท อายุพันธบัตร 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.50
ต่อปี สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์ในปี งปม.50 ออกโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ก.คลัง ในนามรัฐบาลไทย มี ธปท. เป็นนายทะเบียนและตัวแทน
การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น และมอบหมายให้ ธ.กรุงเทพได้รับสิทธิเป็นผู้แทนในการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว วงเงินรวม 6 พันล้านบาท
อายุพันธบัตร 3 ปี กำหนดจำหน่ายทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือน ต.ค.49 ถึง ก.ย.50 วงเงินจำหน่ายครั้งละ 500 ล้านบาท
โดยผู้ลงทุนจะได้รับอัตราผลตอบแทนคงที่ในรูปดอกเบี้ยพันธบัตร กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง และหากผู้ลงทุนต้องการโอนกรรมสิทธิ์ก็สามารถ
ทำได้เมื่อพันธบัตรมีอายุครบ 1 ปี (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน พ.ค.50 จะชะลอตัวที่ร้อยละ 0.2 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 มิ.ย.50
ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน พ.ค.50 น่าจะชะลอตัวลงโดยจะขยายตัวอยู่ที่
ร้อยละ 0.2 อันเป็นผลจากภูมิอากาศที่อบอุ่นขึ้น ส่งผลให้มีการลดจำนวนการผลิตลง ในขณะที่กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และการก่อสร้าง
ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน ส่วนความสามารถของการใช้กำลังการผลิตคาดว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 81.6 ทั้งนี้ ในเดือน
เม.ย.50 ผลผลิตอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจที่ร้อยละ 0.7 เนื่องจากผลผลิตสาธารณูปโภค รถยนต์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ขั้นสูงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมการผลิต (โดยคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตที่ไม่นับรวมสินค้า
หมวดรถยนต์จะขยายตัวร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย.50 หลังจากที่เดือน มี.ค.ขยายตัวร้อยละ 0.6)) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาสำหรับ
การเติบโตทางเศรษฐกิจ สรอ. ซึ่งปัจจุบันยังมีภาวะกดดันจากการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ธ.กลาง สรอ.จะรายงานตัวเลขผลผลิต
อุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย.นี้ เวลา 9.15 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. สินค้าคงคลังภาคธุรกิจของ สรอ.ในเดือน เมงย.50 เพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ร้อยละ 0.4 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 13 มิ.ย.50 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังภาคธุรกิจของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่เดือน
มี.ค.50 ไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 7 เดือน (ตั้งแต่เดือน ก.ย.49) ที่เคยขยายตัวในระดับร้อยละ 0.4 เช่น
เดียวกัน ทั้งนี้ มีสาเหตุจากมีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคการค้าปลีก โดยยอดขายภาคธุรกิจของผู้ค้าปลีก
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต และผู้ค้าส่งในเดือน เม.ย.50 มีจำนวน 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ส่วน
อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายในเดือน เม.ย. (ซึ่งบ่งชี้ถึงจำนวนเดือนที่จะสามารถนำสินค้าคงคลังที่มีอยู่ออกขายได้) ลดลงอยู่ที่ 1.27 เดือน
จาก 1.28 เดือนในเดือน มี.ค.50 (รอยเตอร์)
3. การจ้างงานใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 13 มิ.ย.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานการจ้างงานใน 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 49 โดยคนที่มีงานทำมี
จำนวนทั้งสิ้น 141.6 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าอัตรา
ว่างงานใน Euro zone ในเดือน เม.ย.50 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 7.1 หลังจากเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ขยายตัว
ร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ในมุมมองของ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB เห็นว่าการจ้างงานที่ดีขึ้นอาจนำไป
สู่การสูงขึ้นของค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อในอนาคต นักวิเคราะห์จึงยังคงคาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็น
ร้อยละ 4.25 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
4. รายได้เฉลี่ยของอังกฤษในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน เม.ย.50 ขยายตัวชะลอลงที่ระดับร้อยละ 4.0 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 13 มิ.ย.50 The Office for National Statistics เปิดเผยว่า รายได้เฉลี่ยของอังกฤษในช่วง 3 เดือน สิ้นสุดเดือน เม.ย.50
ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 4.5 สาเหตุจากการจ่ายโบนัสของธุรกิจด้านการเงินในลอนดอนในช่วงปีใหม่ลดลง และส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงเนื่องจาก
นักลงทุนเห็นว่าตัวเลขรายได้เฉลี่ยดังกล่าวจะช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของรายได้ของทางการลงได้ และอาจเป็นปัจจัย
ที่ส่งผลให้ ธ.กลางชะลอการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่า จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่
ระดับร้อยละ 5.75 ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า ในสัปดาห์นี้ ธ.กลางอาจมีความจำเป็นต้องดำเนินการ
อย่างหนึ่งอย่างใด หากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวเหนือเป้าหมายที่กำหนด สำหรับรายได้เฉลี่ยเมื่อเทียบต่อปีในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 3.3 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มิ.ย. 50 13 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.622 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3994/34.7364 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66453 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 726.60/16.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,600/10,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.21 63.60 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--