อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,817.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์
เคหะสิ่งทอ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.4
การผลิต
การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย การจำหน่าย
ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 3.8 ซึ่งสอดคล้องกับการ
จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปรับตัว
ลดลง เนื่องจากการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปสูงถึงร้อยละ 84.9 ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน ฮ่องกง เวียดนามและอินเดีย
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว : (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q3(49)/Q2(49) Q3(49)/Q3(48)
ผลผลิต 89 86.5 90.7 90.1 88.1 82.6 83 0.5 -8.5
การส่งสินค้า 91.1 88.4 94.6 94.3 90.2 86.4 85 -1.6 -10.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 160.1 163.1 160.1 149.9 146.8 143.3 143.5 0.1 -10.4
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว : (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q3(49)/Q2(49) Q3(49)/Q3(48)
ผลผลิต 134.5 130.8 139.6 140.4 133.2 120.4 123.1 2.2 -11.8
การส่งสินค้า 108 101.7 100.8 101.4 99.4 96.1 99.5 3.5 -1.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 118.4 112.2 123.8 144 132.3 126.8 127.6 0.6 3
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว : (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q3(49)/Q2(49) Q3(49)/Q3(48)
ผลผลิต 154.2 139.4 147.6 147.6 152.3 141.1 146.5 3.8 -0.8
การส่งสินค้า 140.8 123.6 133.9 131 135.6 127.9 135.7 6.1 1.4
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 201.6 190.3 198.6 215 227.5 240.2 247.7 3.1 24.7
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,817.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,649.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ
2.6 โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 976.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 846.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำ
จากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 44.9 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 464.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน มีมูลค่าการส่งออก 439.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำแนกเป็น
2.1 ผ้าผืน ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 282.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และ 2.6 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
2.2 ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 181.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 215.5 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 103.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 120.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว :(%)
2548 2549 Q3/2549 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/2549 Q3/2548
สิ่งทอ 1,533.60 1,608.30 1,862.10 1,705.50 1,671.40 1,649.80 1,817.10 10.1 -2.4
เครื่องนุ่งห่ม 779.8 812.2 998.2 884.5 868.3 846.4 976 15.3 -2.2
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป 702.1 737.9 913.2 802.6 783.7 763.4 882.9 15.7 -3.3
- เครื่องยกทรง รัดทรงฯ 60.7 57.9 64.9 66.5 68.7 67.5 73.3 8.6 12.9
- ถุงเท้าและถุงน่อง 14.8 14.3 17.3 13.1 13.5 13.1 16.7 27.5 -3.5
- ถุงมือผ้า 2.2 2.1 2.8 2.5 2.4 2.4 3.2 33.3 14.3
ผ้าผืนและด้าย 424.7 457 490.7 468 448.4 439.4 464.3 5.7 -5.4
- ผ้าผืน 243 282.5 275.2 282.4 264.4 264.4 282.3 6.8 2.6
- ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ 181.8 174.4 215.5 185.7 184 175.1 181.9 3.9 -15.6
เคหะสิ่งทอ 51.2 56.6 71.6 61.7 63.7 59.3 85.7 44.5 19.7
เส้นใยประดิษฐ์ 108.5 104.1 120.8 111.6 116.3 118.1 103.9 -12 -14
ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 24 28 32.1 33.4 28.7 29.6 39 31.8 21.5
ตาข่ายจับปลา 15.5 16.1 17.2 17.8 16 21.4 19.8 -7.5 15.1
ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 2.1 2.1 1.9 1.6 1.6 2.3 2.2 -4.3 15.8
ผ้าสำหรับตัดเสื้อฯ 13.1 9.5 10 12.9 16.4 19.1 16.5 -13.6 65
สิ่งทออื่นๆ 114.5 122.9 119.6 113.8 112 114.3 109.7 -4 -8.3
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ : * ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มี
มูลค่า 580.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัด
ส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดร้อยละ 31.9 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย
สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
กลุ่มสหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 342.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.9 ของการส่งออกสิ่งทอ ทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็น
กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 207.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 11.4 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 105.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงเล็ก
น้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ
ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 91.7) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 8.3)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 91.7 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ที่ผ่านมา มี
มูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์
สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 716.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
1. เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 184.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
186.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 26.6, 23.5 และ 6.6 ตาม
ลำดับ
2. ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 126.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 119.9
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 21.8, 16.4 และ 12.3 ตามลำดับ
3. ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 360.8 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 38.2, 18.2 และ 8.5 ตามลำดับ
4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 38.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
34.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.8, 15.9 และ 9.3 ตามลำดับ
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 65.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำ
เข้า 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี
และสเปน สัดส่วนร้อยละ 43.6, 15.0, 6.9 และ 5.3 ตามลำดับ
6. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 นำเข้ามูลค่า 111.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 25.6, 16.3 และ 13.6 ตามลำดับ
ตารางที่ 5 มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว (%)
2548 2549 Q3/2549 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/2549 Q3/2548
1. เครื่องจักรสิ่งทอ 103.6 112.4 114 90.2 90.2 93 111.1 19.5 -2.5
2. สิ่งทอ 659.8 801.8 672.9 646.2 631.3 730.3 716.3 -1.9 6.4
1) ด้ายและด้ายเส้นใยฯ 330.5 394.7 303.3 267.6 282.8 334.8 334.9 0 10.4
- ด้ายทอผ้าฯ 202.3 245.3 172.3 140.2 158.5 186.8 184.6 -1.2 7.1
- เส้นใยที่ใช้ในการทอ 104.2 123.3 107.7 103.9 101.5 119.9 126.6 5.6 17.5
- วัตถุทออื่น ๆ 23.9 26.1 23.4 23.6 22.9 27.9 23.8 -14.7 1.7
2) ผ้าผืน 296.8 367.5 335.3 339.8 312.5 360.8 343.1 -4.9 2.3
3) ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 32.5 39.6 34.3 38.8 36 34.7 38.3 10.4 11.7
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 32.9 24.1 46.9 44.4 47.8 35.2 65.1 84.9 38.8
รวม 692.7 825.9 719.8 690.6 679.1 765.5 781.4 2.1 8.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ : * ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
สรุปและแนวโน้ม
สถานการณ์การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
แต่เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายลดลงเนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนด้านการเมืองส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก
เหมาะกับกำลังซื้อที่มีจำกัด การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจากจีน เวียดนามและอินเดีย สูง
ถึงร้อยละ 84.9 จากไตรมาสก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 คาดว่ายังมีแนวโน้มการบริโภคที่ขยายตัวไม่มากนักจากปัจจัยเสี่ยงในหลายๆปัจจัย
ทั้งเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจใน 3 ประเทศที่เป็นตลาดหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่ง
การรับออเดอร์ใหม่ลูกค้าเริ่มชะลอการสั่งซื้อ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาอาจจะลดการนำเข้า หรือแม้แต่สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้รับจาก
การส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา สินค้าที่คาดว่าจะอ่อนไหวที่สุด ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากไทย
มีการส่งออกไปยัง 3 กลุ่มประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษ GSP ไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุดจากสินค้า
ที่ไทยได้รับ GSP ทั้งหมดของไทย ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพิจารณาทบทวนการต่ออายุ GSP ที่สหรัฐอเมริกาให้แก่ประเทศคู่ค้ารวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่ง
คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะหาตลาดรองรับเพื่อขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศใหม่ ๆ เพื่อลด
ความเสี่ยง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์
เคหะสิ่งทอ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.4
การผลิต
การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย การจำหน่าย
ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 3.8 ซึ่งสอดคล้องกับการ
จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปรับตัว
ลดลง เนื่องจากการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปสูงถึงร้อยละ 84.9 ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน ฮ่องกง เวียดนามและอินเดีย
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว : (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q3(49)/Q2(49) Q3(49)/Q3(48)
ผลผลิต 89 86.5 90.7 90.1 88.1 82.6 83 0.5 -8.5
การส่งสินค้า 91.1 88.4 94.6 94.3 90.2 86.4 85 -1.6 -10.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 160.1 163.1 160.1 149.9 146.8 143.3 143.5 0.1 -10.4
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว : (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q3(49)/Q2(49) Q3(49)/Q3(48)
ผลผลิต 134.5 130.8 139.6 140.4 133.2 120.4 123.1 2.2 -11.8
การส่งสินค้า 108 101.7 100.8 101.4 99.4 96.1 99.5 3.5 -1.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 118.4 112.2 123.8 144 132.3 126.8 127.6 0.6 3
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว : (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q3(49)/Q2(49) Q3(49)/Q3(48)
ผลผลิต 154.2 139.4 147.6 147.6 152.3 141.1 146.5 3.8 -0.8
การส่งสินค้า 140.8 123.6 133.9 131 135.6 127.9 135.7 6.1 1.4
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 201.6 190.3 198.6 215 227.5 240.2 247.7 3.1 24.7
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,817.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,649.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ
2.6 โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 976.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 846.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำ
จากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 44.9 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 464.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน มีมูลค่าการส่งออก 439.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำแนกเป็น
2.1 ผ้าผืน ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 282.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และ 2.6 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
2.2 ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 181.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 215.5 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 103.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 120.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว :(%)
2548 2549 Q3/2549 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/2549 Q3/2548
สิ่งทอ 1,533.60 1,608.30 1,862.10 1,705.50 1,671.40 1,649.80 1,817.10 10.1 -2.4
เครื่องนุ่งห่ม 779.8 812.2 998.2 884.5 868.3 846.4 976 15.3 -2.2
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป 702.1 737.9 913.2 802.6 783.7 763.4 882.9 15.7 -3.3
- เครื่องยกทรง รัดทรงฯ 60.7 57.9 64.9 66.5 68.7 67.5 73.3 8.6 12.9
- ถุงเท้าและถุงน่อง 14.8 14.3 17.3 13.1 13.5 13.1 16.7 27.5 -3.5
- ถุงมือผ้า 2.2 2.1 2.8 2.5 2.4 2.4 3.2 33.3 14.3
ผ้าผืนและด้าย 424.7 457 490.7 468 448.4 439.4 464.3 5.7 -5.4
- ผ้าผืน 243 282.5 275.2 282.4 264.4 264.4 282.3 6.8 2.6
- ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ 181.8 174.4 215.5 185.7 184 175.1 181.9 3.9 -15.6
เคหะสิ่งทอ 51.2 56.6 71.6 61.7 63.7 59.3 85.7 44.5 19.7
เส้นใยประดิษฐ์ 108.5 104.1 120.8 111.6 116.3 118.1 103.9 -12 -14
ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 24 28 32.1 33.4 28.7 29.6 39 31.8 21.5
ตาข่ายจับปลา 15.5 16.1 17.2 17.8 16 21.4 19.8 -7.5 15.1
ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 2.1 2.1 1.9 1.6 1.6 2.3 2.2 -4.3 15.8
ผ้าสำหรับตัดเสื้อฯ 13.1 9.5 10 12.9 16.4 19.1 16.5 -13.6 65
สิ่งทออื่นๆ 114.5 122.9 119.6 113.8 112 114.3 109.7 -4 -8.3
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ : * ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มี
มูลค่า 580.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัด
ส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดร้อยละ 31.9 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย
สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
กลุ่มสหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 342.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.9 ของการส่งออกสิ่งทอ ทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็น
กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 207.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 11.4 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 105.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงเล็ก
น้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ
ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 91.7) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 8.3)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 91.7 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ที่ผ่านมา มี
มูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์
สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 716.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
1. เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 184.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
186.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 26.6, 23.5 และ 6.6 ตาม
ลำดับ
2. ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 126.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 119.9
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 21.8, 16.4 และ 12.3 ตามลำดับ
3. ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 360.8 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 38.2, 18.2 และ 8.5 ตามลำดับ
4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 38.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
34.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.8, 15.9 และ 9.3 ตามลำดับ
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 65.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำ
เข้า 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี
และสเปน สัดส่วนร้อยละ 43.6, 15.0, 6.9 และ 5.3 ตามลำดับ
6. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 นำเข้ามูลค่า 111.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 25.6, 16.3 และ 13.6 ตามลำดับ
ตารางที่ 5 มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว (%)
2548 2549 Q3/2549 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/2549 Q3/2548
1. เครื่องจักรสิ่งทอ 103.6 112.4 114 90.2 90.2 93 111.1 19.5 -2.5
2. สิ่งทอ 659.8 801.8 672.9 646.2 631.3 730.3 716.3 -1.9 6.4
1) ด้ายและด้ายเส้นใยฯ 330.5 394.7 303.3 267.6 282.8 334.8 334.9 0 10.4
- ด้ายทอผ้าฯ 202.3 245.3 172.3 140.2 158.5 186.8 184.6 -1.2 7.1
- เส้นใยที่ใช้ในการทอ 104.2 123.3 107.7 103.9 101.5 119.9 126.6 5.6 17.5
- วัตถุทออื่น ๆ 23.9 26.1 23.4 23.6 22.9 27.9 23.8 -14.7 1.7
2) ผ้าผืน 296.8 367.5 335.3 339.8 312.5 360.8 343.1 -4.9 2.3
3) ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 32.5 39.6 34.3 38.8 36 34.7 38.3 10.4 11.7
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 32.9 24.1 46.9 44.4 47.8 35.2 65.1 84.9 38.8
รวม 692.7 825.9 719.8 690.6 679.1 765.5 781.4 2.1 8.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ : * ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
สรุปและแนวโน้ม
สถานการณ์การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
แต่เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายลดลงเนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนด้านการเมืองส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก
เหมาะกับกำลังซื้อที่มีจำกัด การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจากจีน เวียดนามและอินเดีย สูง
ถึงร้อยละ 84.9 จากไตรมาสก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 คาดว่ายังมีแนวโน้มการบริโภคที่ขยายตัวไม่มากนักจากปัจจัยเสี่ยงในหลายๆปัจจัย
ทั้งเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจใน 3 ประเทศที่เป็นตลาดหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่ง
การรับออเดอร์ใหม่ลูกค้าเริ่มชะลอการสั่งซื้อ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาอาจจะลดการนำเข้า หรือแม้แต่สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้รับจาก
การส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา สินค้าที่คาดว่าจะอ่อนไหวที่สุด ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากไทย
มีการส่งออกไปยัง 3 กลุ่มประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษ GSP ไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุดจากสินค้า
ที่ไทยได้รับ GSP ทั้งหมดของไทย ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพิจารณาทบทวนการต่ออายุ GSP ที่สหรัฐอเมริกาให้แก่ประเทศคู่ค้ารวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่ง
คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะหาตลาดรองรับเพื่อขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศใหม่ ๆ เพื่อลด
ความเสี่ยง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-