กรุงเทพ--19 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อ 15 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (AEMM) ครั้งที่ 16 ณ เมืองนูเร็มเบิร์ก โอกาสนี้ ดร. Frank-Walter Steinmeier รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ประธานร่วมของการประชุมฯ (นาย Hor Namhong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาเป็นประธานร่วมฝ่ายอาเซียน) ได้เชิญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศไทยบรรยายสรุปถึงสถานการณ์การเมืองไทยในช่วงการแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเซียน ภายหลังการบรรยายสรุป รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีได้กล่าวขอบคุณที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นต่อสถานการณ์ในไทย และเมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งบางประเทศมีความไม่สบายใจต่อเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 แล้ว
ขอแสดงความชื่นชมในนาม EU ต่อความมุ่งมั่นของไทยที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยกระบวนการดังกล่าวรวมถึงการรับฟังความเห็นประชาชนและการออกเสียงประชามติซึ่งมิใช่ขั้นตอนง่ายๆ จึงขอเป็นกำลังใจสนับสนุนและอวยพรให้รัฐบาลไทยและประชาชนไทยประสบความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว
ในระหว่างการบรรยายสรุป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความชะงักงันทางการเมือง การยุบสภาในต้นปี 2549 และการจัดเลือกตั้งที่พรรคการเมืองต่างๆ ไม่ส่งผู้สมัครและมีประชาชนแสดงความไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้ถูกศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้เป็นโมฆะ ขณะที่องค์กรอิสระและกลไกตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ การเมืองถึงทางตันและมีการเผชิญหน้าสูง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำความมุ่งมั่นของไทยที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยจะยึดมั่นดำเนินการตามหลักและครรลองของกฎหมาย รวมถึงการตรวจสอบคอรัปชั่นซึ่งอาจทำให้กระบวนการต้องใช้เวลา ขณะที่จะก้าวต่อไปในกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองและนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง และการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องผ่านการรับฟังความเห็นประชาชนและการออกเสียงประชามติ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งและการให้ประชาชนใช้สิทธิ์ตัดสินใจเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อไปในปลายปี 2550
นอกจากนี้ ยังย้ำถึงบรรยากาศที่เปิดกว้างและมีเสถียรภาพทางธุรกิจและการลงทุนในไทยที่จะเห็นได้จากตัวเลขการลงทุนของประเทศสำคัญที่ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศในไทย ขณะเดียวกัน ก็ได้ชี้แจงให้ EU เข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ที่มุ่งให้เกิดการแข่งขันบนพื้นฐานกฎหมายที่เท่าเทียมกัน และการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการกันสำรองทุนร้อยละ 30 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและปกป้องการส่งออกของนักลงทุนไทยและต่างชาติด้วย
ภายหลังการประชุมซึ่งมีผู้แทนจาก 10 ประเทศอาเซียนและ 27 ประเทศสมาชิก EU เข้าร่วม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สนทนากับรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจากอีกหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี สโลวีเนีย สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส เบลเยี่ยม รวมถึงนาง Benita Ferrero-Waldner กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ และนาย Javier Solana เลขาธิการและผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของ EU ซึ่งต่างก็แสดงความชื่นชมและให้กำลังใจกับการดำเนินการของรัฐบาลไทยเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยกลับมา
อนึ่ง ในช่วงเช้าของวันที่ 15 มีนาคม รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับนาย Carl Bildt รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดน โดยรัฐมนตรีทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ภารกิจและการดำเนินการของรัฐบาลไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้ย้ำให้ฝ่ายสวีเดนมีความมั่นใจในการยึดมั่นของไทยที่จะนำประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับสู่ประเทศและบรรยากาศที่เปิดกว้างต่อการลงทุน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นจริง และเข้าใจมาตรการเศรษฐกิจ อาทิ มาตรการทุนสำรองร้อยละ 30 และการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าวที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ทำให้ไทยลดความสำคัญในฐานะปลายทางสำหรับการลงทุนของต่าง ประเทศลงแต่อย่างใด
หลังจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับนาย Maxime Verhagen รัฐมนตรีต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยได้แสดงความยินดีแก่นาย Verhagen ในโอกาสที่ เข้ารับตำแหน่งใหม่ และบรรยายสรุปให้ทราบถึงพัฒนาการทางการเมืองของไทย ซึ่งรัฐมนตรีต่าง ประเทศ เนเธอร์แลนด์แสดงความยินดีและให้กำลังใจไทยในการเดินหน้าต่อไปในการนำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศ
การเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-EU ครั้งที่ 16 ที่เมืองนูเร็มเบิร์กนับเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยได้ชี้แจง สร้างความเข้าใจและทำให้ยุโรปมีความเชื่อมั่นในไทยและรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ได้รับการตอบด้วยดีจากมิตรประเทศใน EU
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อ 15 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (AEMM) ครั้งที่ 16 ณ เมืองนูเร็มเบิร์ก โอกาสนี้ ดร. Frank-Walter Steinmeier รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ประธานร่วมของการประชุมฯ (นาย Hor Namhong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาเป็นประธานร่วมฝ่ายอาเซียน) ได้เชิญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศไทยบรรยายสรุปถึงสถานการณ์การเมืองไทยในช่วงการแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเซียน ภายหลังการบรรยายสรุป รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีได้กล่าวขอบคุณที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นต่อสถานการณ์ในไทย และเมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งบางประเทศมีความไม่สบายใจต่อเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 แล้ว
ขอแสดงความชื่นชมในนาม EU ต่อความมุ่งมั่นของไทยที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยกระบวนการดังกล่าวรวมถึงการรับฟังความเห็นประชาชนและการออกเสียงประชามติซึ่งมิใช่ขั้นตอนง่ายๆ จึงขอเป็นกำลังใจสนับสนุนและอวยพรให้รัฐบาลไทยและประชาชนไทยประสบความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว
ในระหว่างการบรรยายสรุป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความชะงักงันทางการเมือง การยุบสภาในต้นปี 2549 และการจัดเลือกตั้งที่พรรคการเมืองต่างๆ ไม่ส่งผู้สมัครและมีประชาชนแสดงความไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้ถูกศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้เป็นโมฆะ ขณะที่องค์กรอิสระและกลไกตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ การเมืองถึงทางตันและมีการเผชิญหน้าสูง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำความมุ่งมั่นของไทยที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยจะยึดมั่นดำเนินการตามหลักและครรลองของกฎหมาย รวมถึงการตรวจสอบคอรัปชั่นซึ่งอาจทำให้กระบวนการต้องใช้เวลา ขณะที่จะก้าวต่อไปในกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองและนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง และการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องผ่านการรับฟังความเห็นประชาชนและการออกเสียงประชามติ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งและการให้ประชาชนใช้สิทธิ์ตัดสินใจเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อไปในปลายปี 2550
นอกจากนี้ ยังย้ำถึงบรรยากาศที่เปิดกว้างและมีเสถียรภาพทางธุรกิจและการลงทุนในไทยที่จะเห็นได้จากตัวเลขการลงทุนของประเทศสำคัญที่ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศในไทย ขณะเดียวกัน ก็ได้ชี้แจงให้ EU เข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ที่มุ่งให้เกิดการแข่งขันบนพื้นฐานกฎหมายที่เท่าเทียมกัน และการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการกันสำรองทุนร้อยละ 30 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและปกป้องการส่งออกของนักลงทุนไทยและต่างชาติด้วย
ภายหลังการประชุมซึ่งมีผู้แทนจาก 10 ประเทศอาเซียนและ 27 ประเทศสมาชิก EU เข้าร่วม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สนทนากับรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจากอีกหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี สโลวีเนีย สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส เบลเยี่ยม รวมถึงนาง Benita Ferrero-Waldner กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ และนาย Javier Solana เลขาธิการและผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของ EU ซึ่งต่างก็แสดงความชื่นชมและให้กำลังใจกับการดำเนินการของรัฐบาลไทยเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยกลับมา
อนึ่ง ในช่วงเช้าของวันที่ 15 มีนาคม รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับนาย Carl Bildt รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดน โดยรัฐมนตรีทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ภารกิจและการดำเนินการของรัฐบาลไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้ย้ำให้ฝ่ายสวีเดนมีความมั่นใจในการยึดมั่นของไทยที่จะนำประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับสู่ประเทศและบรรยากาศที่เปิดกว้างต่อการลงทุน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นจริง และเข้าใจมาตรการเศรษฐกิจ อาทิ มาตรการทุนสำรองร้อยละ 30 และการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าวที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ทำให้ไทยลดความสำคัญในฐานะปลายทางสำหรับการลงทุนของต่าง ประเทศลงแต่อย่างใด
หลังจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับนาย Maxime Verhagen รัฐมนตรีต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยได้แสดงความยินดีแก่นาย Verhagen ในโอกาสที่ เข้ารับตำแหน่งใหม่ และบรรยายสรุปให้ทราบถึงพัฒนาการทางการเมืองของไทย ซึ่งรัฐมนตรีต่าง ประเทศ เนเธอร์แลนด์แสดงความยินดีและให้กำลังใจไทยในการเดินหน้าต่อไปในการนำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศ
การเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-EU ครั้งที่ 16 ที่เมืองนูเร็มเบิร์กนับเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยได้ชี้แจง สร้างความเข้าใจและทำให้ยุโรปมีความเชื่อมั่นในไทยและรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ได้รับการตอบด้วยดีจากมิตรประเทศใน EU
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-