อนาคตในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ สิ่งกำหนดหรือหยั่งรู้ได้อย่างแม่นยำว่าจะสามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้ลุล่วงไปด้วยดี แต่ที่แน่นอนที่สุด ในไม่ช้าอนาคต จะก็มาถึง แล้วกลายเป็นปัจจุบัน ถือเป็นสิทธิของผู้คนใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ กระหายอยากรู้ถึงอนาคตของตัวเอง สิ่งที่อยากได้มากที่สุดของผู้คนในแถบนี้คือ ความเป็นอยู่ในสังคมต้องดีกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับแนวทางแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาล ดูเสมือนยังมืดมน สถานการณ์ยังไม่มีท่าทีที่จะสงบ ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าขบวนการก่อความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ว่ามีอยู่จริง ที่สำคัญในปัจจุบันมีการปลูกเร้าความรู้สึกคนรุ่นใหม่ ให้สอดรับความคิดเห็นกับแนวทางของกลุ่มก่อการความไม่สงบ ดูจะได้ผลมากขึ้น ปัญหาเดิมเกิดจากเงื่อนไขความไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิในรูปแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ มีผลทำให้สถานการณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้น ในยุคสมัย พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นรัฐบาล จนถึงปัจจุบัน
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจำนวนประชากรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ผู้คนจำนวนน้อยนิดกลับมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ความรุนแรง ในภาคใต้มากที่สุด ประชาชนไม่กล้าให้ความร่วมมือกับรัฐ เพราะขาดความเชื่อมั่น ในระบบราชการ และไม่ไว้ใจอำนาจรัฐ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยปรากฏในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
เหตุการณ์ในปัจจุบัน ประชาชนทุกหมู่เหล่าตกอยู่บนความหวาดกลัวต่อสถานการณ์เสมือนหนึ่งลูกแตงโม ที่กลิ้งอยู่ตรงกลาง ระหว่างลูกทุเรียนสองใบจะกลิ้งไปทางไหนก็เสียหาย ทั้งสองด้าน ปรากฏการณ์เหล่านี้จะหมดไปต่อเมื่อรัฐสามารถสร้าง และเรียกศรัทธากลับคืนมาเท่านั้น
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือได้ว่าเป็นวิกฤตของบ้านเมืองในปัจจุบัน นำไปสู่ปัญหาของชาติในอนาคต หากรัฐยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นการสะสม หมักหมมปัญหาต่อไปในอนาคต จะยิ่งยากกับการแก้ปัญหามากยิ่งขึ้น หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ยุติลงโดยเร็ว
การยอมรับแนวทางแก้ปัญหาจากหลาย ๆ ฝ่าย เป็นพื้นฐานที่รัฐจะต้องรับฟัง การก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ จะสามารถรักษาชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน ผลตามมาคือความสงบสุข นั่นคือชัยชนะแห่งรัฐในอนาคต
ปัญหาความรุนแรงใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความรุนแรงสูง (พื้นที่สีแดง) มี 257 หมู่บ้าน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด1,638 หมู่บ้าน ที่มา:(รายงาน กอส. น.24)
สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส (รวมทั้งสงขลาและสตูลในบางครั้ง) ในช่วง 11 ปี ตั้งแต่ปี 2536-2546 เกิดเหตุทั้งหมด 748 ครั้ง หรือเฉลี่ยปีละ 68 ครั้ง น่าตกใจมากที่สุดกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในภาคใต้ในขณะนั้น แต่ในปัจจุบันความรุนแรงกลับมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ความวิตกกังวล ความน่ากลัว ในหมู่ของผู้คนในชายแดนภาคใต้จะขนาดไหน สุดที่จะบรรยายได้
ช่วงปี 2547 มีเหตุการณ์ความรุนแรง 1,843 ครั้ง ในปี 2548 เกิดเหตุ 1,703 ครั้ง รวม 2 ปี ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์รุนแรง 3,546 ครั้ง ผู้คนเสียชีวิต 1,175 คน และบาดเจ็บ 1,765 คน โดยเฉลี่ยเกิดเหตุการณ์รุนแรงในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาปีละ 1,773 ครั้ง หรือเดือนละ 148 ครั้ง ในปี 2547-2548 เหตุการณ์เกิดขึ้นเพิ่มสูงถึง 26 เท่า เมื่อเทียบกับจำนวน เหตุการณ์ความไม่สงบในรอบ 11 ปี ก่อน ข้อมูลตัวเลขยังไม่รวมเหตุการณ์ในปี 2549 ที่มา:(รายงาน กอส. น.9)
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ยังไม่มีแวว หรือ ท่าทีว่าจะสงบลงได้ในระยะเวลาอันใก้ลนี้ สอดคล้องกับรายงานเหตุการณ์ "32 เดือนแห่งความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้" ดร.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี พบว่าในห้วงระยะเวลา 32 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2547 ถึง สิงหาคม พ.ศ.2549 มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น5,460 ครั้ง แบ่งระดับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรายจังหวัดเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด
จังหวัดนราธิวาส มีสถิติสูงสุด 2,074 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 1,656ครั้ง จังหวัดยะลา 1,412 ครั้ง และจังหวัดสงขลา 318 ครั้ง เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนกันมากมาย ในช่วง 32 เดือน โดยในภาพรวมของเหตุการณ์มีจำนวนผู้เสียชีวิต 1,730 คน มีผู้ได้ บาดเจ็บรวม 2,513คน จากช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ 4,243 คน
จากรายงานในเชิงข้อมูลข้างต้น เป็นข้อมูลที่เก็บได้จากความเป็นจริงใน สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นสถิติที่น่ากลัว กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งชีวิตของผู้คนอีกมากมาย ไม่รู้อีกเท่าไรที่จะต้องสังเวยชีวิตลงไปกับถสานการณ์ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่ามีค่ามากที่สุดในประเทศ ลงไปอย่างไม่น่าจะเกิด
สถานการณ์สร้างเจ็บปวดให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงได้ง่าย ๆ และทุกครั้งที่รัฐประกาศนโยบายใหม่ ๆ กับการแก้ปัญหาภาคใต้ กลุ่มผู้ไม่หวังดีก็จะตอบโต้นโยบาย ทุกครั้งที่มีการประกาศในการแก้ปัญหาภาคใต้ ด้วยการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาตอบโต้อำนาจรัฐ อย่างท้าทาย โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายแต่ประการใด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ให้ประชาชนในพื้นที่ให้มองเห็นว่า อำนาจรัฐ เกิด ความอ่อนแอ ไม่สามารถให้ความ คุ้มครอง ในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนได้ เป็นสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกำลังกระทำอยู่ในขณะนี้ และได้ผลจริง ๆ คือประชาชนไม่กล้าให้ความร่วมมือกับรัฐ
เพราะกลัวอำนาจมืด จะมีภัยมาให้ตัวเองได้ หรือนัยหนึ่งอำนาจมืดที่เกิดจากกลุ่มคนส่วนน้อยนิด กลับมามีอำนาจเหนือกว่าอำนาจรัฐอย่างชัดเจน ทั้ง ๆ ที่อำนาจรัฐเต็มไปด้วย อำนาจทางกฎหมาย งบประมาณ อาวุธ กำลังคน และคลังสมองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญา ฝ่ายนโยบายต้องกลับไปทบทวน คิดให้รอบคอบ ทำไมในกระบวนการแก้ปัญหาของรัฐจึงเกิดความอ่อนแอมากถึงขนาดนี้
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมายาวนาน นับเป็นเวลาหลายปี เป็นสิ่งที่ส่งสัญญานอะไรบางอย่างแก่รัฐบาลและสังคมไทย ในอนาคต ที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างใก้ลชิด
เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ณ.ปัจจุบันนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก และ มีความหมายที่ท้าทายอำนาจรัฐ และความรับรู้ของสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมชายแดนภาคใต้ ในขณะนี้กำลังบอกอะไรให้สังคมได้รู้ถึง ความเปลี่ยนแปลงที่สังคมชายแดนภาคใต้กำลังเผชิญหน้า กับความท้าทาย และ ความเข้าใจอย่างแท้จริง จากสังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและชาติพันธ์ นำสู่ความสามารถ ของรัฐกับการจัดการความรุนแรงที่ซับซ้อนมากขึ้น เกี่ยวกับการต่อสู้บนความเชื่อ และศรัทธาในรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เข้าใจ
จากรายงานของ กอส. แสดงถึงความชัดเจนในการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ฯ เริ่มต้นแห่งการเดินนโยบายที่ล้มเหลวทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่า เสียชีวิตกันอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะแรก เจ้าหน้าที่ของรัฐมักจะถูกข้อกล่าวหาจากประชาชนในพื้นที่เป็นระยะ ๆ ว่า เป็นการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ กระทำ ต่อประชาชนในพื้นที่โดยอาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องมือในการทำร้ายประชาชน ตลอดระยะที่ผ่านมา มาจนถึงกระทั้งเดียวนี้ ข้อกล่าวหาเหล่านี้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ยังไม่สามารถลบออกจากความรู้สึกของประชาชนได้
ประเด็นเหล่านี้ รัฐต้องให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา ต้องฉับไว อย่าปล่อยให้ สถานการณ์พาไป ทุกฝ่ายต้องตระหนักให้มาก กับการแก้ข้อกล่าวหาอย่างเป็นระบบ
ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ มิใช่หรือ ที่เป็นแรงผลักดันคอยโอบอุ้ม ให้สถานการณ์รับรองการกระทำของความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของคนในพื้นที่
ความรู้สึกเช่นนี้ เกิดขึ้นในสังคมภาคใต้จริง ๆ และต่อมาได้ขยายตัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเป็นฐานในการก่อการเหตุร้าย เป็นที่มาของการฆ่ารายวัน การลอบวางระเบิด การเผาสถานที่ราชการ การโจมตีหน่วยกองกำลัง ทำลายทรัพย์สินของประชาชน อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ถือว่าเลวร้ายที่สุดในชีวิต ของผู้คน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเทศชาติเท่าที่เคยมีมา
จากสถานการณ์เหล่านี้นำไปสู่กรอบความนึกคิดของผู้คนทั้งประเทศ ที่ยัง ไม่เข้าใจปัญหาภาคใต้ จะตั้งข้อรังเกียจผู้คนในภูมิภาคนี้ ส่อที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมได้ในอนาคตระหว่างผู้คนในภูมิภาคอื่นกับผู้คนในภาคใต้ อย่างน่าเป็นห่วง
รัฐต้องระวังสถานการณ์สร้างความแตกแยกในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มที่จะขยาย ในหมู่ประชาชน กับประชาชน อยู่ในระดับที่จะเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ รัฐจะต้องตั้งสติ หาแนวทางแก้ปัญหาในอนาคตไว้ด้วย หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้สงบได้โดยเร็ว แนวโน้มปัญหานี้จะเกิดขึ้นในประเทศอีกปัญหาหนึ่ง จะเป็นอันตรายล่อแหลมต่อความแตกแยกของประชาชน และเป็นภัยยิ่งต่อประเทศชาติในอนาคต
ขอให้ทุกคนตั้งสติให้ดี อย่าได้หลงประเด็น อย่าใช้อารมณ์ เดี่ยวจะเหมือน เตะลูกฟุตบอล ดันไปเตะลูกบอลไป เข้าขาฝ่ายตรงข้าม ที่ตั้งท่าจะนำลูกทำประตูชัย
ทุกคนต้องไม่ลืมว่าผู้คนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการความ สันติสุข ความสงบสุข ไม่ได้แตกต่างไปจากผู้คนทั้งประเทศ ต้องช่วยกันไตร่ตรอง ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ คนส่วนใหญ่ในชายแดนภาคใต้ไว้ด้วย อย่าได้ตั้งข้อรังเกียจ
โดยเฉพาะผู้คนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางสาธารณะอย่างรุนแรง อย่าง ในกระดาน ความคิดทางสื่ออีเล็คทรอนิค ในเว็บไซด์ โพล์สำรวจความคิดเห็น รายการวิทยุโทรทัศน์ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลและการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อประชาชนในชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นการสวนทางกับความคิดเห็นของผู้คน ในพื้นที่ ที่มีความรู้สึกว่า มีลักษณะการละเมิดสิทธิอันชอบธรรม ของพวกเขา เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความหวาดระแวง นำสู่สถานการณ์ความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นการกระทำที่มิชอบจาก เจ้าหน้าที่ของรัฐ
การแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นถือเป็นความคิดที่โอบอุ้ม รับรองความรุนแรง ที่รัฐกระทำต่อผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การสนับสนุนในความคิดเหล่านี้ต่างหาก ที่จะต้องมองในมุมกลับไปในอีก ด้านหนึ่งว่า เป็นการผลักให้เป็นช่องทาง และโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามได้เปรียบและ ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำสงครามจิตวิทยา เพื่อดึงมวลชนเข้ามาสนับสนุนและเห็นใจฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น อย่างน่าเป็นห่วง
ในขณะที่แนวนโยบายของรัฐบาลยังไม่สามารถหาความชัดเจนในการแก้ปัญหา ดูเสมือนในสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งมากนโยบาย ยิ่งห่างไกลจากความสงบที่จะสามารถคุมสถานการณ์ได้เสียด้วยซ้ำไป
รัฐต้องนำนโยบายในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว อย่ามัวแต่แต่งตัวรอจนสถานการณ์สุขงอมไปมากกว่านี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ม.ค. 2550--จบ--
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าขบวนการก่อความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ว่ามีอยู่จริง ที่สำคัญในปัจจุบันมีการปลูกเร้าความรู้สึกคนรุ่นใหม่ ให้สอดรับความคิดเห็นกับแนวทางของกลุ่มก่อการความไม่สงบ ดูจะได้ผลมากขึ้น ปัญหาเดิมเกิดจากเงื่อนไขความไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิในรูปแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ มีผลทำให้สถานการณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้น ในยุคสมัย พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นรัฐบาล จนถึงปัจจุบัน
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจำนวนประชากรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ผู้คนจำนวนน้อยนิดกลับมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ความรุนแรง ในภาคใต้มากที่สุด ประชาชนไม่กล้าให้ความร่วมมือกับรัฐ เพราะขาดความเชื่อมั่น ในระบบราชการ และไม่ไว้ใจอำนาจรัฐ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยปรากฏในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
เหตุการณ์ในปัจจุบัน ประชาชนทุกหมู่เหล่าตกอยู่บนความหวาดกลัวต่อสถานการณ์เสมือนหนึ่งลูกแตงโม ที่กลิ้งอยู่ตรงกลาง ระหว่างลูกทุเรียนสองใบจะกลิ้งไปทางไหนก็เสียหาย ทั้งสองด้าน ปรากฏการณ์เหล่านี้จะหมดไปต่อเมื่อรัฐสามารถสร้าง และเรียกศรัทธากลับคืนมาเท่านั้น
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือได้ว่าเป็นวิกฤตของบ้านเมืองในปัจจุบัน นำไปสู่ปัญหาของชาติในอนาคต หากรัฐยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นการสะสม หมักหมมปัญหาต่อไปในอนาคต จะยิ่งยากกับการแก้ปัญหามากยิ่งขึ้น หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ยุติลงโดยเร็ว
การยอมรับแนวทางแก้ปัญหาจากหลาย ๆ ฝ่าย เป็นพื้นฐานที่รัฐจะต้องรับฟัง การก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ จะสามารถรักษาชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน ผลตามมาคือความสงบสุข นั่นคือชัยชนะแห่งรัฐในอนาคต
ปัญหาความรุนแรงใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความรุนแรงสูง (พื้นที่สีแดง) มี 257 หมู่บ้าน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด1,638 หมู่บ้าน ที่มา:(รายงาน กอส. น.24)
สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส (รวมทั้งสงขลาและสตูลในบางครั้ง) ในช่วง 11 ปี ตั้งแต่ปี 2536-2546 เกิดเหตุทั้งหมด 748 ครั้ง หรือเฉลี่ยปีละ 68 ครั้ง น่าตกใจมากที่สุดกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในภาคใต้ในขณะนั้น แต่ในปัจจุบันความรุนแรงกลับมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ความวิตกกังวล ความน่ากลัว ในหมู่ของผู้คนในชายแดนภาคใต้จะขนาดไหน สุดที่จะบรรยายได้
ช่วงปี 2547 มีเหตุการณ์ความรุนแรง 1,843 ครั้ง ในปี 2548 เกิดเหตุ 1,703 ครั้ง รวม 2 ปี ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์รุนแรง 3,546 ครั้ง ผู้คนเสียชีวิต 1,175 คน และบาดเจ็บ 1,765 คน โดยเฉลี่ยเกิดเหตุการณ์รุนแรงในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาปีละ 1,773 ครั้ง หรือเดือนละ 148 ครั้ง ในปี 2547-2548 เหตุการณ์เกิดขึ้นเพิ่มสูงถึง 26 เท่า เมื่อเทียบกับจำนวน เหตุการณ์ความไม่สงบในรอบ 11 ปี ก่อน ข้อมูลตัวเลขยังไม่รวมเหตุการณ์ในปี 2549 ที่มา:(รายงาน กอส. น.9)
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ยังไม่มีแวว หรือ ท่าทีว่าจะสงบลงได้ในระยะเวลาอันใก้ลนี้ สอดคล้องกับรายงานเหตุการณ์ "32 เดือนแห่งความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้" ดร.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี พบว่าในห้วงระยะเวลา 32 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2547 ถึง สิงหาคม พ.ศ.2549 มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น5,460 ครั้ง แบ่งระดับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรายจังหวัดเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด
จังหวัดนราธิวาส มีสถิติสูงสุด 2,074 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 1,656ครั้ง จังหวัดยะลา 1,412 ครั้ง และจังหวัดสงขลา 318 ครั้ง เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนกันมากมาย ในช่วง 32 เดือน โดยในภาพรวมของเหตุการณ์มีจำนวนผู้เสียชีวิต 1,730 คน มีผู้ได้ บาดเจ็บรวม 2,513คน จากช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ 4,243 คน
จากรายงานในเชิงข้อมูลข้างต้น เป็นข้อมูลที่เก็บได้จากความเป็นจริงใน สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นสถิติที่น่ากลัว กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งชีวิตของผู้คนอีกมากมาย ไม่รู้อีกเท่าไรที่จะต้องสังเวยชีวิตลงไปกับถสานการณ์ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่ามีค่ามากที่สุดในประเทศ ลงไปอย่างไม่น่าจะเกิด
สถานการณ์สร้างเจ็บปวดให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงได้ง่าย ๆ และทุกครั้งที่รัฐประกาศนโยบายใหม่ ๆ กับการแก้ปัญหาภาคใต้ กลุ่มผู้ไม่หวังดีก็จะตอบโต้นโยบาย ทุกครั้งที่มีการประกาศในการแก้ปัญหาภาคใต้ ด้วยการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาตอบโต้อำนาจรัฐ อย่างท้าทาย โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายแต่ประการใด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ให้ประชาชนในพื้นที่ให้มองเห็นว่า อำนาจรัฐ เกิด ความอ่อนแอ ไม่สามารถให้ความ คุ้มครอง ในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนได้ เป็นสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกำลังกระทำอยู่ในขณะนี้ และได้ผลจริง ๆ คือประชาชนไม่กล้าให้ความร่วมมือกับรัฐ
เพราะกลัวอำนาจมืด จะมีภัยมาให้ตัวเองได้ หรือนัยหนึ่งอำนาจมืดที่เกิดจากกลุ่มคนส่วนน้อยนิด กลับมามีอำนาจเหนือกว่าอำนาจรัฐอย่างชัดเจน ทั้ง ๆ ที่อำนาจรัฐเต็มไปด้วย อำนาจทางกฎหมาย งบประมาณ อาวุธ กำลังคน และคลังสมองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญา ฝ่ายนโยบายต้องกลับไปทบทวน คิดให้รอบคอบ ทำไมในกระบวนการแก้ปัญหาของรัฐจึงเกิดความอ่อนแอมากถึงขนาดนี้
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมายาวนาน นับเป็นเวลาหลายปี เป็นสิ่งที่ส่งสัญญานอะไรบางอย่างแก่รัฐบาลและสังคมไทย ในอนาคต ที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างใก้ลชิด
เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ณ.ปัจจุบันนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก และ มีความหมายที่ท้าทายอำนาจรัฐ และความรับรู้ของสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมชายแดนภาคใต้ ในขณะนี้กำลังบอกอะไรให้สังคมได้รู้ถึง ความเปลี่ยนแปลงที่สังคมชายแดนภาคใต้กำลังเผชิญหน้า กับความท้าทาย และ ความเข้าใจอย่างแท้จริง จากสังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและชาติพันธ์ นำสู่ความสามารถ ของรัฐกับการจัดการความรุนแรงที่ซับซ้อนมากขึ้น เกี่ยวกับการต่อสู้บนความเชื่อ และศรัทธาในรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เข้าใจ
จากรายงานของ กอส. แสดงถึงความชัดเจนในการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ฯ เริ่มต้นแห่งการเดินนโยบายที่ล้มเหลวทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่า เสียชีวิตกันอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะแรก เจ้าหน้าที่ของรัฐมักจะถูกข้อกล่าวหาจากประชาชนในพื้นที่เป็นระยะ ๆ ว่า เป็นการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ กระทำ ต่อประชาชนในพื้นที่โดยอาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องมือในการทำร้ายประชาชน ตลอดระยะที่ผ่านมา มาจนถึงกระทั้งเดียวนี้ ข้อกล่าวหาเหล่านี้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ยังไม่สามารถลบออกจากความรู้สึกของประชาชนได้
ประเด็นเหล่านี้ รัฐต้องให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา ต้องฉับไว อย่าปล่อยให้ สถานการณ์พาไป ทุกฝ่ายต้องตระหนักให้มาก กับการแก้ข้อกล่าวหาอย่างเป็นระบบ
ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ มิใช่หรือ ที่เป็นแรงผลักดันคอยโอบอุ้ม ให้สถานการณ์รับรองการกระทำของความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของคนในพื้นที่
ความรู้สึกเช่นนี้ เกิดขึ้นในสังคมภาคใต้จริง ๆ และต่อมาได้ขยายตัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเป็นฐานในการก่อการเหตุร้าย เป็นที่มาของการฆ่ารายวัน การลอบวางระเบิด การเผาสถานที่ราชการ การโจมตีหน่วยกองกำลัง ทำลายทรัพย์สินของประชาชน อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ถือว่าเลวร้ายที่สุดในชีวิต ของผู้คน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเทศชาติเท่าที่เคยมีมา
จากสถานการณ์เหล่านี้นำไปสู่กรอบความนึกคิดของผู้คนทั้งประเทศ ที่ยัง ไม่เข้าใจปัญหาภาคใต้ จะตั้งข้อรังเกียจผู้คนในภูมิภาคนี้ ส่อที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมได้ในอนาคตระหว่างผู้คนในภูมิภาคอื่นกับผู้คนในภาคใต้ อย่างน่าเป็นห่วง
รัฐต้องระวังสถานการณ์สร้างความแตกแยกในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มที่จะขยาย ในหมู่ประชาชน กับประชาชน อยู่ในระดับที่จะเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ รัฐจะต้องตั้งสติ หาแนวทางแก้ปัญหาในอนาคตไว้ด้วย หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้สงบได้โดยเร็ว แนวโน้มปัญหานี้จะเกิดขึ้นในประเทศอีกปัญหาหนึ่ง จะเป็นอันตรายล่อแหลมต่อความแตกแยกของประชาชน และเป็นภัยยิ่งต่อประเทศชาติในอนาคต
ขอให้ทุกคนตั้งสติให้ดี อย่าได้หลงประเด็น อย่าใช้อารมณ์ เดี่ยวจะเหมือน เตะลูกฟุตบอล ดันไปเตะลูกบอลไป เข้าขาฝ่ายตรงข้าม ที่ตั้งท่าจะนำลูกทำประตูชัย
ทุกคนต้องไม่ลืมว่าผู้คนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการความ สันติสุข ความสงบสุข ไม่ได้แตกต่างไปจากผู้คนทั้งประเทศ ต้องช่วยกันไตร่ตรอง ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ คนส่วนใหญ่ในชายแดนภาคใต้ไว้ด้วย อย่าได้ตั้งข้อรังเกียจ
โดยเฉพาะผู้คนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางสาธารณะอย่างรุนแรง อย่าง ในกระดาน ความคิดทางสื่ออีเล็คทรอนิค ในเว็บไซด์ โพล์สำรวจความคิดเห็น รายการวิทยุโทรทัศน์ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลและการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อประชาชนในชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นการสวนทางกับความคิดเห็นของผู้คน ในพื้นที่ ที่มีความรู้สึกว่า มีลักษณะการละเมิดสิทธิอันชอบธรรม ของพวกเขา เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความหวาดระแวง นำสู่สถานการณ์ความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นการกระทำที่มิชอบจาก เจ้าหน้าที่ของรัฐ
การแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นถือเป็นความคิดที่โอบอุ้ม รับรองความรุนแรง ที่รัฐกระทำต่อผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การสนับสนุนในความคิดเหล่านี้ต่างหาก ที่จะต้องมองในมุมกลับไปในอีก ด้านหนึ่งว่า เป็นการผลักให้เป็นช่องทาง และโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามได้เปรียบและ ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำสงครามจิตวิทยา เพื่อดึงมวลชนเข้ามาสนับสนุนและเห็นใจฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น อย่างน่าเป็นห่วง
ในขณะที่แนวนโยบายของรัฐบาลยังไม่สามารถหาความชัดเจนในการแก้ปัญหา ดูเสมือนในสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งมากนโยบาย ยิ่งห่างไกลจากความสงบที่จะสามารถคุมสถานการณ์ได้เสียด้วยซ้ำไป
รัฐต้องนำนโยบายในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว อย่ามัวแต่แต่งตัวรอจนสถานการณ์สุขงอมไปมากกว่านี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ม.ค. 2550--จบ--