กรุงเทพ--8 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. อาเซียนกับ EU มีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มระหว่างกันมาเป็นเวลานานและ EU ถือเป็นคู่เจรจา (dialogue partner) กับ อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ปี 2515(1972) และได้พัฒนาเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการ ในปี 2520 (1977) ซึ่งในปี 2550 (2007) จะครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียนและ EU ทั้งนี้ กลไกหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและคู่เจรจา 2) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป 3) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป และ 4) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมอาเซียน-ประชาคมยุโรป
2. ในส่วนของความสัมพันธ์ทางการเมือง อาเซียนและ EU มี Joint Declaration on Combat Terrorism (2546/2003) ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังดำเนินโครงการความร่วมมือในเรื่องการจัดการชายแดนภายใต้แผน Regional Indicative Programme (RIP) 2005-2006 ซึ่งเป็นแผนความร่วมมือระยะกลางระหว่างอาเซียนและ EU ทั้งนี้ EU ได้เข้าร่วมใน ARF โดยให้ความสนใจเรื่อง Energy Security และยัง แสดงความสนใจที่จะภาคยานุวัติ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) ด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักในความสัมพันธ์ ได้แก่ พม่า ซึ่งทำให้ความร่วมมืออาเซียน - EU ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
3. ในส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ EU เป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยเป็นตลาดที่สำคัญอันดับสามของอาเซียนรองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และเป็นแหล่งลงทุนโดยตรง (FDI) อันดับหนึ่งของอาเซียน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญสำหรับอาเซียนในการส่งออกไปยังยุโรป ได้แก่ กฎ ระเบียบต่างๆ ของ EU ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกลไก Trans Regional EU-ASEAN Trade Initiative (TREATI) ขึ้นเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้าของสองฝ่ายให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-EU ซึ่งแสดงผลในทางบวกที่จะให้มีการจัดทำความตกลงฯ อีกด้วย
4. ในส่วนของความร่วมมือด้านการพัฒนา นั้น EU ได้ออกออกเอกสารยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งใช้ชื่อว่า A New Partnership with South East Asia เพื่อวางแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคในอนาคตผ่านกระบวนการและกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค และกำหนดกลไก Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (READI) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่ไม่ใช่การค้า โดยสหภาพยุโรปเป็นคู่เจรจาที่ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่อาเซียนมากที่สุด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. อาเซียนกับ EU มีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มระหว่างกันมาเป็นเวลานานและ EU ถือเป็นคู่เจรจา (dialogue partner) กับ อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ปี 2515(1972) และได้พัฒนาเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการ ในปี 2520 (1977) ซึ่งในปี 2550 (2007) จะครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียนและ EU ทั้งนี้ กลไกหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและคู่เจรจา 2) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป 3) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป และ 4) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมอาเซียน-ประชาคมยุโรป
2. ในส่วนของความสัมพันธ์ทางการเมือง อาเซียนและ EU มี Joint Declaration on Combat Terrorism (2546/2003) ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังดำเนินโครงการความร่วมมือในเรื่องการจัดการชายแดนภายใต้แผน Regional Indicative Programme (RIP) 2005-2006 ซึ่งเป็นแผนความร่วมมือระยะกลางระหว่างอาเซียนและ EU ทั้งนี้ EU ได้เข้าร่วมใน ARF โดยให้ความสนใจเรื่อง Energy Security และยัง แสดงความสนใจที่จะภาคยานุวัติ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) ด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักในความสัมพันธ์ ได้แก่ พม่า ซึ่งทำให้ความร่วมมืออาเซียน - EU ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
3. ในส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ EU เป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยเป็นตลาดที่สำคัญอันดับสามของอาเซียนรองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และเป็นแหล่งลงทุนโดยตรง (FDI) อันดับหนึ่งของอาเซียน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญสำหรับอาเซียนในการส่งออกไปยังยุโรป ได้แก่ กฎ ระเบียบต่างๆ ของ EU ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกลไก Trans Regional EU-ASEAN Trade Initiative (TREATI) ขึ้นเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้าของสองฝ่ายให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-EU ซึ่งแสดงผลในทางบวกที่จะให้มีการจัดทำความตกลงฯ อีกด้วย
4. ในส่วนของความร่วมมือด้านการพัฒนา นั้น EU ได้ออกออกเอกสารยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งใช้ชื่อว่า A New Partnership with South East Asia เพื่อวางแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคในอนาคตผ่านกระบวนการและกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค และกำหนดกลไก Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (READI) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่ไม่ใช่การค้า โดยสหภาพยุโรปเป็นคู่เจรจาที่ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่อาเซียนมากที่สุด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-