สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม—กันยายน)พ.ศ.2549(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 16, 2007 15:53 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          ภาวะตลาดรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ซบเซาจากปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นผลมาจากปัจจัยลบหลายด้าน 
ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์เนื่องจากความไม่มั่นใจในสภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น แนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2549 จึงชะลอตัวอย่าง
ชัดเจนเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และคาดว่าตลาดรถยนต์ในประเทศของปีนี้จะมีการขยายตัวในอัตราต่ำที่สุดนับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 —
2541 เป็นต้นมา ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์จึงได้มีการปรับเป้าหมายเกี่ยวกับขนาดตลาดรถยนต์ของไทยในปี 2549 จากที่ได้ประมาณไว้เมื่อต้นปีว่า จะ
ขยายตัวร้อยละ 9 — 10 เป็นเพียงร้อยละ 3 โดยในขณะนี้ ตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ซึ่งเป็นเซกเม้นทหลักและมีปริมาณการจำหน่ายขยายตัวอย่างต่อ
เนื่องมาตลอด กลับมีปริมาณการจำหน่ายชะลอตัว รวมทั้งรถยนต์ประเภทอื่นๆ ก็ชะลอตัวด้วย ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งเป็นเซกเม้นทเดียวที่มีการขยาย
ตัว โดยเฉพาะตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กขยายตัวได้ดีมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัว
สูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยหนุนด้านราคาที่จูงใจให้เป็นเจ้าของได้ง่าย จากข้อมูลตัวเลขปริมาณการจำหน่ายของรถยนต์นั่งขนาดเล็กในช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2549 มีจำนวนประมาณ 7 หมื่นคัน ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ในปี 2549 ตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กจะมีถึงประมาณ 1 แสนคัน ซึ่งเป็นดัชนีชี้ให้เห็น
ถึงความสดใสของตลาดรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นรถที่เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์ราคาน้ำมันและกำลังซื้อของผู้บริโภคในขณะนี้ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดง
ให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์นั่งขนาดเล็กประหยัดน้ำมันให้มีความพร้อมที่จะเป็น Product Champion ตัวที่สองของอุตสาหกรรมยา
ยนต์ไทย
สำหรับสถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีโครงการลงทุน
ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 29 โครงการ โดยเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 28 โครงการ และ
โครงการผลิตยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าและส่วนประกอบ 1 โครงการ มีเงินลงทุนรวม 8,846 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น
ไม่น้อยกว่า 5 พันคน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ คือ 1. โครงการขยาย
กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ และ ED Painting Part ของบริษัท เอเชี่ยน พาร์ทส์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุน 1,279 ล้าน
บาท มีกำลังการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ ประมาณ 417,000 ชิ้น/ปี และชิ้นส่วนชุบสี (ED Painting) ประมาณ 131,000 ชิ้น/ปี โดยจะ
ตั้งโรงงานที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เขต 2) 2. โครงการขยายการผลิตเครื่องยนต์ Common Rail ของบริษัท อีซูซุ
เอ็นยิ่นแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,465 ล้านบาท มีกำลังการผลิตเครื่องยนต์ Common Rail ขนาดประมาณ 2,500-
3,000 ซีซี จำนวน 95,200 เครื่อง/ปี โดยจะตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และ 3. โครงการขยายการผลิต
Steel Tyre Cord ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กใช้เสริมหน้ายางรถยนต์ ประเภทยางเรเดียล ของบริษัท บริดจสโตน เมตัลฟา (ประเทศไทย) จำกัด
เงินลงทุน 1623.9 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 13,000 ตัน/ปี โดยจะตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดจังหวัดระยอง
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 899,771 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.54 และ 11.18
ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.66 โดยภาพรวมการผลิตรถยนต์ขยายตัวอย่างต่อนื่อง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งและรถ
ยนต์ปิกอัพ 1 ตัน มีการขยายตัวเนื่องจากบริษัทรถยนต์ได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาดจากหลากหลายค่าย ซึ่งนอกจากผลิตเพื่อจำหน่ายใน
ประเทศแล้วยังผลิตเพื่อการส่งออกด้วย ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบ ได้แก่ ภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน และอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนของภาครัฐและเอกชน เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี
2549 มีการผลิตรถยนต์จำนวน 302,297 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 โดยมีการผลิตรถ
ยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.17 และ 2.77 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 8.78 หากเปรียบ
เทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.15 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์
เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.80, 3.97 และ 3.83 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 488,450 คัน เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ลดลงร้อยละ 3.23 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.37 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์
เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 2.56, 7.19 และ 38.25 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ภาพรวมตลาดรถยนต์ภายใน
ประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากปัจจัยลบด้านระดับราคาน้ำมัน สถานการณ์ทางเมือง ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อัตรา
ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสำคัญกดดันการบริโภค การลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ โดยเฉพาะรถยนต์ PPV รวม SUV ที่เคย
ได้รับความนิยมสูงในปี 2548 กลับได้รับความนิยมลดลงทำให้ปริมาณการจำหน่ายหดตัวลง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบจากการ
ชะลอตัวลงของด้านอุปสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์นั่งมีการขยายตัวได้ เนื่องจากมีปัจจัยเสริมด้านการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะรถ
ยนต์นั่งขนาดเล็กออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องจากหลายค่าย เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 153,674 คัน
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 3.25 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.91 และ 1.31 ตามลำดับ แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 4.21 และ 45.83 ตามลำดับ หาก
เปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.75 ซึ่งในช่วงไตรมาสที่สามนี้เป็นช่วงฤดูฝน โดย
เฉพาะในปีนี้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถ
ยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 9.74, 4.43, 1.44 และ 23.98 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์
(CBU) จำนวน 398,209 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.74 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า
177,713.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ร้อยละ 22.13 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มีปริมาณการส่งออก
จำนวน 134,618 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 60,038.08 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 11.66
คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.39 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79 คิดเป็นมูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.80 จากข้อมูลการส่งออกของผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ ดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยยังคงขยายตัวได้อย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เพื่อการส่งออก และรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนเป็นผลจากการ
เปิดเสรีทางการค้า จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทย
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 45.13 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่
ออสเตรเลีย มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 59.28 ตลาดที่มีการขยายตัวสูงมาก คือ ซาอุดีอาระเบีย โอมาน และ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ122.96, 242.44, และ 167.84 ตามลำดับ สำหรับตลาดที่สำคัญในอา
เซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ขยายตัวจากช่วงเดียว
กันของปีที่แล้วร้อยละ 20.00 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพได้แก่ ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักรฯ และซาอุดีอาระเบีย มีการ
ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.21, 59.67 และ 38.28 ตามลำดับ ตลาดที่มีการขยายตัวสูงมาก คือ เยอรมนี มีการขยายตัวจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 141.20 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 หดตัวจากช่วงเดียวกันของปี
ที่แล้วร้อยละ 19.72 ตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย แต่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 48.31 ตลาดที่มี
การขยายตัวสูงมาก คือ ซาอุดีอาระเบีย มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 218.99
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 7,470.50 และ 7,118.9 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ลดลงร้อย
ละ 20.91 และ 18.31 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก
1,909.8 และ 2,794.3 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 30.43 แต่รถ
ยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.30 โดยเฉพาะการนำเข้ารถโดยสารมีการนำเข้าขยายตัวมาก เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาส
ที่สองของปี 2549 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 18.09 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.64 จากข้อมูลการนำเข้าดัง
กล่าว แสดงให้เห็นว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศเผชิญกับปัจจัยลบหลายด้าน ตลาดภายในประเทศเริ่มชะลอตัว ประชาชนผู้บริโภคมีการนำเข้ารถ
ยนต์นั่งลดลงซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ แล้วหันมานิยมรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ประกอบขึ้นในประเทศ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงานเชื้อ
เพลิง ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ร้อยละ 33.07 และ 19.33 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าจากประเทศเยอรมนี,อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 8.32, 77.76
และ 50.95 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น แต่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.68 แล้วหัน
ไปนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการขยายตัวร้อยละ 211.95
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 การผลิตมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอ
ลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัวลง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลทางด้านจิตวิทยาแก่ผู้บริโภค นอกจากนี้
แล้วยังมีภัยทางธรรมชาติซึ่งในปีนี้เกิดฝนตกหนักอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งกับผู้ผลิตและ
ผู้บริโภค และส่งผลด้านลบให้ตลาดรถยนต์ในประเทศชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามการส่งออกยังมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลด้านบวกต่อการ
ผลิตรถยนต์ในประเทศ ทั้งนี้คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 จะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
ปัจจัยทางการเมืองเริ่มคลี่คลายทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนเริ่มกลับคืนมา นอกจากนี้ยังจะได้รับผลดีจากการจัดงาน Motor Expo
2006 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งคาดว่าบริษัทรถยนต์ต่างๆจะจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายให้ได้ตามเป้าที่ตั้ง
ไว้
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,627,646 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ลดลงร้อยละ 6.29 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,567,078 คัน และรถ
จักรยานยนต์แบบสปอร์ต 60,568 คัน ลดลงร้อยละ 6.09 และ 11.20 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มีปริมาณการผลิต รถ
จักรยานยนต์จำนวน 503,941 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 9.61 โดยการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลง
ร้อยละ 10.23 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 มีปริมาณการผลิตรถ
จักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.41 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 4.65 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 2.21
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน
1,614,655 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
1,598,937 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 15,718 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 และ 9.46 ตามลำดับ ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมี
ส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.03 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 487,539 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 3.18 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลลดลงร้อยละ 3.28 แต่การจำหน่าย
รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.78 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลง
ร้อยละ 12.00 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 12.09 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.66
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มี
จำนวน 1,124,162 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 90,388 คัน และ CKD จำนวน 1,033,774 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.74 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 17,901.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6.70
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มีปริมาณการส่งออก 363,643 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 5,986.09 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่
สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.91 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.48 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง
ออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อย
ละ 34.91 ส่วนตลาดที่มีการขยายตัวสูงคือ โคลัมเบีย มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 103.83
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์
คิดเป็นมูลค่า 1,596.50 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.01 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี
2549 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 549.8 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.40 หากเปรียบ
เทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยที่สำคัญในช่วง
9 เดือนแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น และจีน มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 30.53 และ 94.09 ตามลำดับ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 การผลิตรถจักรยานยนต์ชะลอตัวลง การจำหน่ายขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจโดย
รวมที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้แล้วการที่มีช่วงฤดูฝนที่ยาวนานกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่สำคัญของประเทศไทย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
ตลาดหลักของรถจักรยานยนต์ที่เป็นภาคการเกษตรที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ ประกอบกับการที่แหล่งเงินทุนต่างๆ ชะลอการปล่อยสินเชื่อ
เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังมีการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์อยู่มาก ในส่วนของการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ยังขยายตัวได้ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่น้อยลง
จากระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง อัตราดอกเบี้ยที่เริ่มทรงตัว สถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น และภาวะน้ำท่วมเริ่มคลี่คลายไปในทางที่
ดี ประกอบกับการที่ค่ายรถจักรยานยนต์ได้ออกแคมเปญและมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมทางการตลาด เช่น โครงการจักรยานยนต์ราคาถูกเพื่อผู้
ประกันตน การจัดคาราวานออกให้บริการฟรีแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น ในด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากจะเริ่มมีการส่งออกรถ
จักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดยุโรป
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในส่วนของบริษัทผู้ผลิตและ
ประกอบรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ( ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 65,083.43 และ 3,908.83 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88 และ 31.85 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 23,279.69 และ 1,437.43 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่
แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 และ 26.50 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์(OEM) และ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04 และ 14.06 ตามลำดับ จากข้อมูลมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ดังกล่าว แม้
ว่าจะยังคงมีการขยายตัวแต่ก็เป็นอัตราที่ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลกใช้ชิ้นส่วนที่
ผลิตในประเทศจีนมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออก
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.01 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง
ออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 20.18, 8.09 และ 19.14 ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของ
ปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 9,310.75 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.59 ในขณะที่การส่งออก
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยมีมูลค่า 475.34 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.29 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2549 มูลค่าการ
ส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 3,416.26 และ 222.92 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.95 และ 12.88 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549
มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.93 และ 103.36 ตามลำดับ
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์
ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.73 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และ
กัมพูชามีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 100.11 และ 205.41 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.)
มีมูลค่า 88,633.4 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ลดลงร้อยละ 8.74 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2549 ส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 29,512.8 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลง
ร้อยละ 14.45 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22
แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2549 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 6,124.2 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.94 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่
สามของปี 2549 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯมีมูลค่า 2,443.5 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.72 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2549 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.45 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเชีย
คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง แต่สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์นั้นจะต้องพยายามปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของของตนให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อรองรับการ
แข่งขันจากประเทศจีน ส่วนการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์มีแนวโน้มลดลง แต่การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ปี 2547 ปี 2548 ม.ค.-ก.ย.2548 ม.ค.-ก.ย.2549 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 928,081 1,125,316 813,492 899,771 10.61
รถยนต์นั่ง 304,349 277,555 203,982 225,482 10.54
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 597,914 822,867 590,617 656,655 11.18
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 25,818 24,894 18,893 17,634 -6.66
รถจักรยานยนต์ 3,028,070 2,358,511 1,736,968 1,627,646 -6.29
ครอบครัว 2,936,738 2,265,889 1,668,762 1,567,078 -6.09
สปอร์ต 91,332 92,622 68,206 60,568 -11.2
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2549 ปี 2549 แปลง ปี 2548 ปี 2549 แปลง
รถยนต์ 293,056 302,297 3.15 293,157 302,297 3.12
รถยนต์นั่ง 75,125 75,729 0.8 72,005 75,729 5.17
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 212,497 220,926 3.97 214,967 220,926 2.77
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,434 5,642 3.83 6,185 5,642 -8.78
รถจักรยานยนต์ 527,202 503,941 -4.41 557,525 503,941 -9.61
ครอบครัว 508,669 484,998 -4.65 540,243 484,998 -10.23
สปอร์ต 18,533 18,943 2.21 17,282 18,943 9.61
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ปี 2547 ปี 2548 ม.ค.-ก.ย.2548 ม.ค.-ก.ย.2549 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 625,978 703,410 504,740 488,450 -3.23
รถยนต์นั่ง 209,103 188,211 131,904 138,985 5.37
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 1 358,476 426,635 307,975 300,080 -2.56
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 36,038 40,136 30,043 27,884 -7.19
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ