วันนี้(31 มี.ค.50)นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหลังจากประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤตการเมืองต่อเนื่องกว่า 1 ปี ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ จนเกิดการชะลอตัวทำให้เกษตรกรทั่วทั้งประเทศ ได้รับผลกระทบ ดังนั้นรัฐบาลควรให้ความใส่ใจต่อปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งถือว่าต้องมีการเร่งรัดเยียวยา แก้ไข โดยเสนอให้ทางรัฐบาลจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรทั้งระบบ ทั้งประเทศ โดยเริ่มจากกลุ่มที่มีความพร้อมในเรื่องของตัวเลขข้อมูล กล่าวคือรัฐบาลต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามที่รัฐบาลได้ทำความตกลงไว้ในวันที่ 15 ม.ค.2550 โดย
1. ให้ ธกส. สหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานภายในธกส. ดำเนินการกับหนี้สินเกษตรกร โดยแบ่งเป็นหนี้สินเกษตรกรที่ยังไม่มีการฟ้องร้องให้ชะลอการฟ้องร้อง ส่วนคดีที่ฟ้องร้องและคดีได้ถึงที่สุดแล้วให้ชะลอคดีไว้ก่อน และในส่วนที่คดีมีการบังคับคดีแล้วและอยู่ระหว่างต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินเกษตกรนั้นให้มีการชะลอการขายทอดตลาด
2. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตกร ได้ประสานงานและเจราจากับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร ให้ปฏิบัติตามมติครม. และตามแนวทางที่ได้เสนอไปข้างต้นนั้น
ที่สำคัญรัฐบาลต้องเข้าไปดูแลกับหนี้สินของเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยการจัดการสำรวจสำมะโนประชากรหนี้สินเกษตรกรทั้งประเทศ แล้วรวบรวมจำนวนหนี้ทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขหนี้อย่างเป็นระบบ
“โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าแล้ง ถือว่าเป็นฤดูกาลซึ่งเกษตรกรจะได้รับกระทบจากปัญหาหนี้สิน ซึ่งขณะนี้ต้องถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลควรจะให้ความสำคัญ และช่วงนี้จะมีม็อบเกษตรกร ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญม็อบเกษตร มากกว่าม็อบการเมือง ”นายอลงกรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 มี.ค. 2550--จบ--
1. ให้ ธกส. สหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานภายในธกส. ดำเนินการกับหนี้สินเกษตรกร โดยแบ่งเป็นหนี้สินเกษตรกรที่ยังไม่มีการฟ้องร้องให้ชะลอการฟ้องร้อง ส่วนคดีที่ฟ้องร้องและคดีได้ถึงที่สุดแล้วให้ชะลอคดีไว้ก่อน และในส่วนที่คดีมีการบังคับคดีแล้วและอยู่ระหว่างต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินเกษตกรนั้นให้มีการชะลอการขายทอดตลาด
2. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตกร ได้ประสานงานและเจราจากับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร ให้ปฏิบัติตามมติครม. และตามแนวทางที่ได้เสนอไปข้างต้นนั้น
ที่สำคัญรัฐบาลต้องเข้าไปดูแลกับหนี้สินของเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยการจัดการสำรวจสำมะโนประชากรหนี้สินเกษตรกรทั้งประเทศ แล้วรวบรวมจำนวนหนี้ทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขหนี้อย่างเป็นระบบ
“โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าแล้ง ถือว่าเป็นฤดูกาลซึ่งเกษตรกรจะได้รับกระทบจากปัญหาหนี้สิน ซึ่งขณะนี้ต้องถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลควรจะให้ความสำคัญ และช่วงนี้จะมีม็อบเกษตรกร ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญม็อบเกษตร มากกว่าม็อบการเมือง ”นายอลงกรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 มี.ค. 2550--จบ--