1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงห้ามใช้อวนตาถี่ล้อมจับปลากะตัก
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่ากรณีชาวประมงที่ชอบใช้อวนล้อมจับปลากะตักในเวลากลางคืนร้องเรียนว่าได้รับความเดือนร้อนจากการถูกเจ้าหน้าที่กรมประมงจับกุมข้อหาทำผิดกฎหมายประมงอย่างไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่ากรมประมงได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการทำประมงปลากะตักดังกล่าวไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ความจริงแล้วประกาศกระทรวงเกษตรฯ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2534 เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือ อวนล้อมจับที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ทำการประมงในเวลากลางคืน มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและยังเจริญเติบโตไม่ได้ขนาดไม่ให้ถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นการทำลายทรัพยากรอย่างร้ายแรง เช่น ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลาอินทรี ปลาสีกุน เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลังจากมีการร้องเรียนจากชาวประมง ขอให้ผ่อนผันประกาศกระทรวงเกษตรฯ กรมประมงได้มีการศึกษาติดตามอย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอด และพบว่าการทำประมงอวนล้อมจับปลากะตักปั่นไฟในเวลากลางคืนนั้น มีปริมาณของลูกปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นปะปนสูงถึงร้อยละ 35-50 ของปริมาณการจับปลาทั้งหมด เช่น ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลากุแลกล้วย ปลาสีกุน ปลาอินทรี เป็นต้น ดังนั้น กรมฯ จึงไม่สามารถผ่อนผันได้ ซึ่งชาวประมงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อนึ่งชาวประมงอวนล้อมจับปลากะตักสามารถประกอบอาชีพจับปลากะตักตามกฎหมายอยู่แล้ว โดยจับปลากะตักในเวลากลางวันด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตักที่มีขนาดช่องตาไม่น้อยกว่า 0.6 เซนติเมตร นอกจากนี้ ชาวประมงยังสามารถใช้เครื่องมือครอบช้อนยกปลากะตักจับปลากะตักในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟ แต่ต้องทำประมงนอกเขตอนุรักษ์ที่แต่ละท้องที่ได้ประกาศเขตไว้ โดยกรมประมงได้ศึกษาวิจัยแล้ว พบว่าการจับปลากะตักตามวิธีการที่ได้กล่าวมาในภายหลังจะไม่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนถูกทำลายจนเกินความสมดุลของธรรมชาติที่จะเกิดทดแทนได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 — 31 ก.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 815.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 533.23 ตัน สัตว์น้ำจืด 282.30 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.90 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.20 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.00 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 48.90 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.79 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.61 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 — 17 ส.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 13 - 19 สิงหาคม 2550--
-พห-
การผลิต
กรมประมงห้ามใช้อวนตาถี่ล้อมจับปลากะตัก
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่ากรณีชาวประมงที่ชอบใช้อวนล้อมจับปลากะตักในเวลากลางคืนร้องเรียนว่าได้รับความเดือนร้อนจากการถูกเจ้าหน้าที่กรมประมงจับกุมข้อหาทำผิดกฎหมายประมงอย่างไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่ากรมประมงได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการทำประมงปลากะตักดังกล่าวไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ความจริงแล้วประกาศกระทรวงเกษตรฯ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2534 เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือ อวนล้อมจับที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ทำการประมงในเวลากลางคืน มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและยังเจริญเติบโตไม่ได้ขนาดไม่ให้ถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นการทำลายทรัพยากรอย่างร้ายแรง เช่น ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลาอินทรี ปลาสีกุน เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลังจากมีการร้องเรียนจากชาวประมง ขอให้ผ่อนผันประกาศกระทรวงเกษตรฯ กรมประมงได้มีการศึกษาติดตามอย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอด และพบว่าการทำประมงอวนล้อมจับปลากะตักปั่นไฟในเวลากลางคืนนั้น มีปริมาณของลูกปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นปะปนสูงถึงร้อยละ 35-50 ของปริมาณการจับปลาทั้งหมด เช่น ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลากุแลกล้วย ปลาสีกุน ปลาอินทรี เป็นต้น ดังนั้น กรมฯ จึงไม่สามารถผ่อนผันได้ ซึ่งชาวประมงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อนึ่งชาวประมงอวนล้อมจับปลากะตักสามารถประกอบอาชีพจับปลากะตักตามกฎหมายอยู่แล้ว โดยจับปลากะตักในเวลากลางวันด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตักที่มีขนาดช่องตาไม่น้อยกว่า 0.6 เซนติเมตร นอกจากนี้ ชาวประมงยังสามารถใช้เครื่องมือครอบช้อนยกปลากะตักจับปลากะตักในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟ แต่ต้องทำประมงนอกเขตอนุรักษ์ที่แต่ละท้องที่ได้ประกาศเขตไว้ โดยกรมประมงได้ศึกษาวิจัยแล้ว พบว่าการจับปลากะตักตามวิธีการที่ได้กล่าวมาในภายหลังจะไม่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนถูกทำลายจนเกินความสมดุลของธรรมชาติที่จะเกิดทดแทนได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 — 31 ก.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 815.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 533.23 ตัน สัตว์น้ำจืด 282.30 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.90 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.20 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.00 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 48.90 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.79 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.61 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 — 17 ส.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 13 - 19 สิงหาคม 2550--
-พห-