นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงวันนี้ (28 เมษายน50)ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า ภายใต้นโยบายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคในการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์สู่มิติใหม่ได้กำหนดให้จัดกิจกรรมทางวิชาการระดมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในกระบวนการการกำหนดนโยบายแบบมีส่วนร่วม เพื่อเป็นแนวทางระดับยุทธศาสตร์และนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในห้วงเวลา ที่ประเทศชาติ ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพของประเทศ รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกชนชั้น ด้วยความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติของพรรคประชาธิปัตย์ที่อยู่คู่ประเทศไทยและระบอบประชาธิปไตยมากว่า 62 ปี
การสัมมนาเชิงวิชาการนี้จะมีไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป เริ่มจากยุทธศาสตร์ “คนไทยฉลาดแข็งแรง” ภายใต้แนวคิด “สร้างคนสร้างชาติ” โดยจะมีการสัมมนา “นโยบายการศึกษา” ในวันที่ 9 พฤษภาคม ต่อด้วยการสัมมนา “นโยบายสุขภาพ” ในวันที่ 11 พฤษภาคม นี้ เพราะเชื่อมั่นว่าการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือยุทธศาสตร์สำคัญที่สุด หลังจากนั้นจะต่อด้วยยุทธศาสตร์ “ประสิทธิภาพประเทศไทย” โดยมีการสัมมนาเชิงนโยบายเรื่อง “ปฏิรูปประสิทธิภาพ เศรษฐกิจและธุรกิจ” ในวันที่ 17 พฤษภาคม ซึ่งผลการศึกษา จุดอ่อนของประเทศไทยของ IMD ปีล่าสุดพบว่าประเทศไทยมีจุดอ่อนแอในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐและเอกชนหากไม่แก้ไขจะทำให้ขีดความสามารถในแข่งขันของประเทศไทยจะถดถอยไม่สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ หลังจากนั้นในวันที่ 25 พฤษภาคม จะจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ “เชื่อมโยงไทย เชื่อมโยงโลก” เกี่ยวกับนโยบาย โลจิสติกส์, เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายระดับสากล และระดับชาติ,การค้าการลงทุนระหว่างประเทศซึงเป็นจุดอ่อนมากที่สุดจุดหนึ่งของประเทศและในวันที่ 8 มิถุนายน จะจัดสัมมนายุทธศาสตร์ “สวัสดิการคนไทยมั่นคง” ตามด้วยการสัมมนายุทธศาสตร์” “เมืองไทยฟ้าใส” เกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อม,ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานซึ่งรวมถึงประเด็นปัญหาโลกร้อนจากนั้นจะเป็นการสัมมนายุทธศาสตร์ “เมืองไทยสันติสุข”เกี่ยวโยงกับนโยบายคุณภาพสังคมและนโยบายความมั่นคงโดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ในวันที่ 15 มิถุนายน และจบการสัมมนาเชิงวิชาการรอบแรกด้วยการสัมมนายุทธศาสตร์ “เมืองไทยใสสะอาด” ในกรอบนโยบายธรรมาภิบาลของประเทศไทยในวันที่ 22 มิถุนายน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่าการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการรอบแรกครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะเชิงผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและปฏิบัติการจากวงการต่างๆโดยเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและบุคคลในแวดวงที่เกี่ยวข้องรวมทั้งอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและกรรมการบริหารพรรคตลอดจนตัวแทนภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นหลังจากนั้นจะประมวลข้อคิดเห็นแล้วจัดการสัมมนารอบสองเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายใหม่ของประเทศชาติและของพรรค ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป
นายอลงกรณ์ย้ำว่า การจัดกิจกรรมทางวิชาการดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองที่จะกระทบต่อความมั่นคงที่เป็นข้อห้ามตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ แต่อย่างใด นอกจากนั้นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังเห็นว่าสาธารณชนไม่ประสงค์จะเห็นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองหมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมืองเรื่องความขัดแย้ง แก่งแย่ง อำนาจและผลประโยชน์แต่คาดหวังว่าพรรคการเมืองจะมุ่งสร้างนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้งจึงให้สมาชิกพรรคและแกนนำพรรคปรับตัวเองสู่แนวทางใหม่ในการสร้างพรรคสู่ความก้าวหน้าทันสมัยเป็นสถาบันการเมืองที่มีประสิทธิภาพและวัฒนธรรม องค์กรเชิงสร้างสรรค์และพร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ และคนใหม่ๆ เพื่อร่วมอุดมการณ์ของพรรคและร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “คุณภาพประชาชน — ประสิทธิภาพของประเทศไทย” ให้สามารถขับเคลื่อนประเทศชาติพ้นจากวิกฤติการณ์และความอ่อนแอมีขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศแลแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นคงแข็งแรง
“นโยบายปฏิรูปพรรคของหัวหน้าพรรคครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนและก้าวสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ที่สืบสานรากฐานของพรรค คนรุ่นก่อนจนถึงปัจจุบัน” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 เม.ย. 2550--จบ--
การสัมมนาเชิงวิชาการนี้จะมีไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป เริ่มจากยุทธศาสตร์ “คนไทยฉลาดแข็งแรง” ภายใต้แนวคิด “สร้างคนสร้างชาติ” โดยจะมีการสัมมนา “นโยบายการศึกษา” ในวันที่ 9 พฤษภาคม ต่อด้วยการสัมมนา “นโยบายสุขภาพ” ในวันที่ 11 พฤษภาคม นี้ เพราะเชื่อมั่นว่าการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือยุทธศาสตร์สำคัญที่สุด หลังจากนั้นจะต่อด้วยยุทธศาสตร์ “ประสิทธิภาพประเทศไทย” โดยมีการสัมมนาเชิงนโยบายเรื่อง “ปฏิรูปประสิทธิภาพ เศรษฐกิจและธุรกิจ” ในวันที่ 17 พฤษภาคม ซึ่งผลการศึกษา จุดอ่อนของประเทศไทยของ IMD ปีล่าสุดพบว่าประเทศไทยมีจุดอ่อนแอในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐและเอกชนหากไม่แก้ไขจะทำให้ขีดความสามารถในแข่งขันของประเทศไทยจะถดถอยไม่สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ หลังจากนั้นในวันที่ 25 พฤษภาคม จะจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ “เชื่อมโยงไทย เชื่อมโยงโลก” เกี่ยวกับนโยบาย โลจิสติกส์, เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายระดับสากล และระดับชาติ,การค้าการลงทุนระหว่างประเทศซึงเป็นจุดอ่อนมากที่สุดจุดหนึ่งของประเทศและในวันที่ 8 มิถุนายน จะจัดสัมมนายุทธศาสตร์ “สวัสดิการคนไทยมั่นคง” ตามด้วยการสัมมนายุทธศาสตร์” “เมืองไทยฟ้าใส” เกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อม,ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานซึ่งรวมถึงประเด็นปัญหาโลกร้อนจากนั้นจะเป็นการสัมมนายุทธศาสตร์ “เมืองไทยสันติสุข”เกี่ยวโยงกับนโยบายคุณภาพสังคมและนโยบายความมั่นคงโดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ในวันที่ 15 มิถุนายน และจบการสัมมนาเชิงวิชาการรอบแรกด้วยการสัมมนายุทธศาสตร์ “เมืองไทยใสสะอาด” ในกรอบนโยบายธรรมาภิบาลของประเทศไทยในวันที่ 22 มิถุนายน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่าการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการรอบแรกครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะเชิงผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและปฏิบัติการจากวงการต่างๆโดยเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและบุคคลในแวดวงที่เกี่ยวข้องรวมทั้งอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและกรรมการบริหารพรรคตลอดจนตัวแทนภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นหลังจากนั้นจะประมวลข้อคิดเห็นแล้วจัดการสัมมนารอบสองเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายใหม่ของประเทศชาติและของพรรค ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป
นายอลงกรณ์ย้ำว่า การจัดกิจกรรมทางวิชาการดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองที่จะกระทบต่อความมั่นคงที่เป็นข้อห้ามตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ แต่อย่างใด นอกจากนั้นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังเห็นว่าสาธารณชนไม่ประสงค์จะเห็นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองหมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมืองเรื่องความขัดแย้ง แก่งแย่ง อำนาจและผลประโยชน์แต่คาดหวังว่าพรรคการเมืองจะมุ่งสร้างนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้งจึงให้สมาชิกพรรคและแกนนำพรรคปรับตัวเองสู่แนวทางใหม่ในการสร้างพรรคสู่ความก้าวหน้าทันสมัยเป็นสถาบันการเมืองที่มีประสิทธิภาพและวัฒนธรรม องค์กรเชิงสร้างสรรค์และพร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ และคนใหม่ๆ เพื่อร่วมอุดมการณ์ของพรรคและร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “คุณภาพประชาชน — ประสิทธิภาพของประเทศไทย” ให้สามารถขับเคลื่อนประเทศชาติพ้นจากวิกฤติการณ์และความอ่อนแอมีขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศแลแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นคงแข็งแรง
“นโยบายปฏิรูปพรรคของหัวหน้าพรรคครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนและก้าวสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ที่สืบสานรากฐานของพรรค คนรุ่นก่อนจนถึงปัจจุบัน” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 เม.ย. 2550--จบ--