แท็ก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
พรรคประชาธิปัตย์
จังหวัดชุมพร
โรงแรมคอนราด
น้ำมันดิบ
วันนี้( 28 มี.ค. 50) เวลา 10.30 น. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่ ถึงการทุจริตใน ปตท.สผ. ว่าเบื้องต้นต้องขอปูพื้นเกี่ยวกับเรื่องการสำรวจน้ำมันในอ่าวไทยก่อนว่า โครงการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง โครงการนางนวลเป็นโครงการผลิตน้ำมันดิบจากแปลงสำรวจเลขที่ B6/27 นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย บริเวณจังหวัดชุมพร เดิมโครงการนี้เป็นของบริษัท Thai Shell แต่ต่อมาบริษัท ปตท.สผ. ได้ซื้อต่อมาพร้อมกับแหล่งผลิตน้ำมันทางภาคเหนือ (ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร)
โดยนายยุทธพงศ์ ได้อธิบายถึงขั้นตอนดังกล่าวนี้ว่า
วิธีการผลิตน้ำมันจากแหล่งใต้ทะเล
1.หลักทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป น้ำ หนักที่สุด , น้ำมัน ลอยเหนือน้ำ , กาซ เบาสุด
2.โครงสร้างทางธรณีวิทยา ของน้ำมันดิบบริเวณแหล่งนางนวล
3.ใช้เรือบรรจุน้ำมัน FSO (Floating Stowage Of Loading) ทอดสมออยู่กลางทะเล แล้วใช้ท่อสูบ
น้ำมันดิบมาจากใต้พื้นดินในทะเล
4.จากนั้นได้น้ำมันดิบมาเก็บไว้ในเรือบรรจุน้ำมัน
5.พอน้ำมันดิบเต็มเรือ ก็เอาเรือบรรทุกน้ำมันดิบมาถ่ายน้ำมันจากเรือ FSO อีกทีหนึ่ง เพื่อนำน้ำมันไปที่โรงกลั่น น้ำมัน
เดิมทีบริษัท Thai Shell ผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งนางนวลอยู่ แต่ต่อมาเลิกผลิตเพราะมีปัญหาที่เวลาผลิตมากๆแล้ว น้ำจะปนกับน้ำมันมาก มันไม่คุ้มกับราคาต้นทุน ต่อมาบริษัท Thai Shell ขายแหล่งน้ำมันดิบนางนวลให้กับ ปตท.สผ. ทางบริษัท ปตท.สผ. อยากจะผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งนางนวล เพราะราคาน้ำมันมีราคาสูง แต่ปตท.สผ. ไม่ต้องการใช้วิธีผลิตที่บริษัท Thai Shell ใช้คือใช้เรือ FSO เพราะราคามันถูก แต่ต้องการใช้เป็นแท่นติดตั้งอุปกรณ์การผลิตแบบ Jack Up (ดูรูป) ซึ่งการใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันจะมีราคาแพง แต่จะมีความจำเป็นต้องใช้ ถ้าการขุดเจาะน้ำมันในทะเล มีคลื่นลมแรงๆ แต่บริเวณแหล่งนางนวล อยู่ในอ่าวไทย ห่างฝั่ง จ.ชุมพร เพียงแค่ 20 กม. ไม่มีคลื่นลมแรง และไม่มีความจำเป็นต้องใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันเลย
ขั้นตอนการประมูลหาบริษัทขุดเจาะน้ำมัน สำหรับการผลิตน้ำมันจากแหล่งนางนวล โดย บริษัท ปตท.สผ.
31 มี.ค. 2547 ออกประกาศเชิญชวนผู้สนใจ
23 เม.ย. 2547 ผู้สนใจตอบกลับ พร้อมกับทำบัญชีผู้สนใจ
7 พ.ค. 2547 ประกาศออกประกวดราคา วันสุดท้ายที่ยื่นซองคือ 31 พ.ค. 47
21 พ.ค. 2547 เลื่อนวันยื่นซองสุดท้ายเป็น 14 มิ.ย.2547
มี 5 บริษัท
1) Tanker Pacific Offshore (N/A)
2) Swire Pacific Offshore (45,152,312 $)
3) Compass Energy (36,610,400 $)
4) Al Manzoori Production (41,000,177 $)
5) Auo Siam Marine (31,885,860 $)
14 มิ.ย. 2547 เปิดซองเทคนิค
21 มิ.ย. 2547 ประกาศรายชื่อบริษัท ที่ผ่านซองเทคนิค
เพียง 4 ราย ที่ไม่ผ่าน 1 รายคือ Tanker Pacific Offshore
25 มิ.ย. 2547 หน่วยงานที่ดูแลการจัดซื้อของบริษัท (PC = Procurement Committee) โต้แย้งว่า
บริษัท อ่าวสยาม มารีน ราคาถูกที่สุดแต่ไม่ประสบการณ์
29 มิ.ย. 2547 ขอความเห็นชอบจากบอร์ด, แต่บอร์ดให้ไปเจรจากับบริษัทที่เสนอถูกเป็นอันดับสอง
เพราะมีประสบการณ์
6 ส.ค. 2547 หน่วยงานที่ดูแลการจัดซื้อ หรือ PC ไม่เห็นด้วยที่จะเซ็นสัญญากับ บ.อ่าวสยามฯ
ให้เอากลับไปเข้าบอร์ดใหม่
12 ส.ค. 2547 ฝ่ายโครงการ ออก Letter of Intent (LOI) หนังสือแจ้งความจำนง ให้กับ บ.อ่าวสยามฯ
โดยไม่นำกลับเข้าขอความเห็นชอบจากบอร์ดอีก
27 พ.ค. 2548 บ.อ่าวสยามฯ เริ่มดำเนินการขุดเจาะน้ำมัน (ช้ากว่ากำหนด 6 เดือน)
การดำเนินการที่ไม่โปร่งใส
1.บริษัท อ่าวสยาม มารีน จำกัด ไม่มีประสบการณ์ ในการขุดเจาะน้ำมันมาก่อน แต่ทำธุรกิจ ให้ เช่าเรือและ ขาย เรือ
แต่เหตุใด? สามารถมาคว้างานมูลค่า 31.85 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,300 ล้านบาท)
2.บ.อ่าวสยามฯ เป็นบริษัท ในเครือของ บ.อิตาเลี่ยนไทย เพราะมีนายเปรมชัย กรรณสูต เป็นกรรมการ จะเห็นได้ว่า
บริษัท ในเครือของอิตาเลี่ยนไทย จะได้งานต่างๆจากรัฐบาลในสมัยทักษิณ ทั้งนั้น เช่น งานก่อสร้างในสนามบินสุวรรณภูมิ
3.บ.อ่าวสยามจะต้องถูกปรับ เพราะทำงานล่าช้ากว่ากำหนด 6 เดือน เพราะไม่มีประสบการณ์ ทำให้ ปตท.สผ. เสียหาย
อย่างมาก แต่ผู้บริหาร ปตท.สผ. มีความพยายามที่จะไม่ปรับ บ.อ่าวสยามฯ เพราะบอกว่าที่ช้ากว่ากำหนดเพราะ
ปตท.สผ. เป็นคนเปลี่ยนแปลงงานเอง (Change Order)
4.การผลิตน้ำมันจากแหล่งนางนวลเป็นแหล่งน้ำมันขนาดเล็ก จึงจำเป็นจะต้องหาวิธีการผลิตที่ราคาถูกที่สุด จึงจะเป็น
ผลดีต่อ ปตท.สผ. แต่ ปตท.สผ. กลับไปจ้างบริษัท อ่าวสยามฯ ทำ แทนที่จะทำเองเพราะมีราคาถูกกว่า
5.การออก หนังสือแจ้งความจำนง LOI ทำไมต้องรีบเร่งขนาดนั้น
6.การออก หนังสือแจ้งความจำนง LOI ไม่ได้รับความเห็นชอบจากใครเลย ยกเว้นกรรมการผู้จัดการใหญ่
(นายมารุต มฤคทัต)
7.ปัจจุบัน บ.อ่าวสยามฯ ทำมาแล้ว 1 ปี เกิดปัญหาเหมือนกับ Thai Shell คือน้ำเข้ามาปนกับน้ำมัน เป็น
Permanent ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตมากๆไม่ได้ สัญญาว่าจ้างมาครบ 1 ปี (พ.ค. 2549) ปตท.สผ. ต้องหยุด
แล้วเพราะขาดทุนไป 147 ล้าบาท แต่กลับต่อสัญญาให้กับ บ.อ่าวสยามฯ ไปอีก 1 ปี ถึง พ.ค. 2550
ถ้าจ้างที่ประมาณ 32 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องผลิตได้ประมาณที่ 2,000 บาเรล/วัน แต่ปัจจุบันผลิตได้แค่
500 บาเรล/วัน
คำถาม?
1.บริษัท ปตท.สผ. มีสโลแกนบริษัทว่า “มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ก้าวไกล มั่นคง ปตท.สผ. รณรงค์ส่งเสริม “บรรษัทภิบาล” ปล่อยให้กรณี บ.อ่าวสยามฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่สนใจแก้ไขเลย
2.ทำไม ปตท.สผ. ยังต้องไปเช่าตึกชินวัตร 3 อยู่ที่ ถ.วิภาวดี แทนที่พรรคไทยรักไทย ที่ย้ายไปอยู่ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แสดงว่ากลุ่มผลประโยชน์ ในรัฐบาลทักษิณยังมีอิทธิพลอยู่
3.การดำเนินการต่างๆ ในปตท.สผ. มีเสี่ย ส. ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ (รมต.ที่ชอบ ตรวจชาเขียว) จะเป็นคอยดำเนินการจัดการเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ในปตท.สผ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องเข้าไปจัดการ
การดำเนินการ
วันนี้ เวลา 14.30 น. ผมจะเดินทางเข้ายื่นเรื่องดังกล่าวให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตรวจสอบเรื่องนี้ และผมได้นัดหมายท่านไว้เรียบร้อยแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 มี.ค. 2550--จบ--
โดยนายยุทธพงศ์ ได้อธิบายถึงขั้นตอนดังกล่าวนี้ว่า
วิธีการผลิตน้ำมันจากแหล่งใต้ทะเล
1.หลักทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป น้ำ หนักที่สุด , น้ำมัน ลอยเหนือน้ำ , กาซ เบาสุด
2.โครงสร้างทางธรณีวิทยา ของน้ำมันดิบบริเวณแหล่งนางนวล
3.ใช้เรือบรรจุน้ำมัน FSO (Floating Stowage Of Loading) ทอดสมออยู่กลางทะเล แล้วใช้ท่อสูบ
น้ำมันดิบมาจากใต้พื้นดินในทะเล
4.จากนั้นได้น้ำมันดิบมาเก็บไว้ในเรือบรรจุน้ำมัน
5.พอน้ำมันดิบเต็มเรือ ก็เอาเรือบรรทุกน้ำมันดิบมาถ่ายน้ำมันจากเรือ FSO อีกทีหนึ่ง เพื่อนำน้ำมันไปที่โรงกลั่น น้ำมัน
เดิมทีบริษัท Thai Shell ผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งนางนวลอยู่ แต่ต่อมาเลิกผลิตเพราะมีปัญหาที่เวลาผลิตมากๆแล้ว น้ำจะปนกับน้ำมันมาก มันไม่คุ้มกับราคาต้นทุน ต่อมาบริษัท Thai Shell ขายแหล่งน้ำมันดิบนางนวลให้กับ ปตท.สผ. ทางบริษัท ปตท.สผ. อยากจะผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งนางนวล เพราะราคาน้ำมันมีราคาสูง แต่ปตท.สผ. ไม่ต้องการใช้วิธีผลิตที่บริษัท Thai Shell ใช้คือใช้เรือ FSO เพราะราคามันถูก แต่ต้องการใช้เป็นแท่นติดตั้งอุปกรณ์การผลิตแบบ Jack Up (ดูรูป) ซึ่งการใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันจะมีราคาแพง แต่จะมีความจำเป็นต้องใช้ ถ้าการขุดเจาะน้ำมันในทะเล มีคลื่นลมแรงๆ แต่บริเวณแหล่งนางนวล อยู่ในอ่าวไทย ห่างฝั่ง จ.ชุมพร เพียงแค่ 20 กม. ไม่มีคลื่นลมแรง และไม่มีความจำเป็นต้องใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันเลย
ขั้นตอนการประมูลหาบริษัทขุดเจาะน้ำมัน สำหรับการผลิตน้ำมันจากแหล่งนางนวล โดย บริษัท ปตท.สผ.
31 มี.ค. 2547 ออกประกาศเชิญชวนผู้สนใจ
23 เม.ย. 2547 ผู้สนใจตอบกลับ พร้อมกับทำบัญชีผู้สนใจ
7 พ.ค. 2547 ประกาศออกประกวดราคา วันสุดท้ายที่ยื่นซองคือ 31 พ.ค. 47
21 พ.ค. 2547 เลื่อนวันยื่นซองสุดท้ายเป็น 14 มิ.ย.2547
มี 5 บริษัท
1) Tanker Pacific Offshore (N/A)
2) Swire Pacific Offshore (45,152,312 $)
3) Compass Energy (36,610,400 $)
4) Al Manzoori Production (41,000,177 $)
5) Auo Siam Marine (31,885,860 $)
14 มิ.ย. 2547 เปิดซองเทคนิค
21 มิ.ย. 2547 ประกาศรายชื่อบริษัท ที่ผ่านซองเทคนิค
เพียง 4 ราย ที่ไม่ผ่าน 1 รายคือ Tanker Pacific Offshore
25 มิ.ย. 2547 หน่วยงานที่ดูแลการจัดซื้อของบริษัท (PC = Procurement Committee) โต้แย้งว่า
บริษัท อ่าวสยาม มารีน ราคาถูกที่สุดแต่ไม่ประสบการณ์
29 มิ.ย. 2547 ขอความเห็นชอบจากบอร์ด, แต่บอร์ดให้ไปเจรจากับบริษัทที่เสนอถูกเป็นอันดับสอง
เพราะมีประสบการณ์
6 ส.ค. 2547 หน่วยงานที่ดูแลการจัดซื้อ หรือ PC ไม่เห็นด้วยที่จะเซ็นสัญญากับ บ.อ่าวสยามฯ
ให้เอากลับไปเข้าบอร์ดใหม่
12 ส.ค. 2547 ฝ่ายโครงการ ออก Letter of Intent (LOI) หนังสือแจ้งความจำนง ให้กับ บ.อ่าวสยามฯ
โดยไม่นำกลับเข้าขอความเห็นชอบจากบอร์ดอีก
27 พ.ค. 2548 บ.อ่าวสยามฯ เริ่มดำเนินการขุดเจาะน้ำมัน (ช้ากว่ากำหนด 6 เดือน)
การดำเนินการที่ไม่โปร่งใส
1.บริษัท อ่าวสยาม มารีน จำกัด ไม่มีประสบการณ์ ในการขุดเจาะน้ำมันมาก่อน แต่ทำธุรกิจ ให้ เช่าเรือและ ขาย เรือ
แต่เหตุใด? สามารถมาคว้างานมูลค่า 31.85 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,300 ล้านบาท)
2.บ.อ่าวสยามฯ เป็นบริษัท ในเครือของ บ.อิตาเลี่ยนไทย เพราะมีนายเปรมชัย กรรณสูต เป็นกรรมการ จะเห็นได้ว่า
บริษัท ในเครือของอิตาเลี่ยนไทย จะได้งานต่างๆจากรัฐบาลในสมัยทักษิณ ทั้งนั้น เช่น งานก่อสร้างในสนามบินสุวรรณภูมิ
3.บ.อ่าวสยามจะต้องถูกปรับ เพราะทำงานล่าช้ากว่ากำหนด 6 เดือน เพราะไม่มีประสบการณ์ ทำให้ ปตท.สผ. เสียหาย
อย่างมาก แต่ผู้บริหาร ปตท.สผ. มีความพยายามที่จะไม่ปรับ บ.อ่าวสยามฯ เพราะบอกว่าที่ช้ากว่ากำหนดเพราะ
ปตท.สผ. เป็นคนเปลี่ยนแปลงงานเอง (Change Order)
4.การผลิตน้ำมันจากแหล่งนางนวลเป็นแหล่งน้ำมันขนาดเล็ก จึงจำเป็นจะต้องหาวิธีการผลิตที่ราคาถูกที่สุด จึงจะเป็น
ผลดีต่อ ปตท.สผ. แต่ ปตท.สผ. กลับไปจ้างบริษัท อ่าวสยามฯ ทำ แทนที่จะทำเองเพราะมีราคาถูกกว่า
5.การออก หนังสือแจ้งความจำนง LOI ทำไมต้องรีบเร่งขนาดนั้น
6.การออก หนังสือแจ้งความจำนง LOI ไม่ได้รับความเห็นชอบจากใครเลย ยกเว้นกรรมการผู้จัดการใหญ่
(นายมารุต มฤคทัต)
7.ปัจจุบัน บ.อ่าวสยามฯ ทำมาแล้ว 1 ปี เกิดปัญหาเหมือนกับ Thai Shell คือน้ำเข้ามาปนกับน้ำมัน เป็น
Permanent ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตมากๆไม่ได้ สัญญาว่าจ้างมาครบ 1 ปี (พ.ค. 2549) ปตท.สผ. ต้องหยุด
แล้วเพราะขาดทุนไป 147 ล้าบาท แต่กลับต่อสัญญาให้กับ บ.อ่าวสยามฯ ไปอีก 1 ปี ถึง พ.ค. 2550
ถ้าจ้างที่ประมาณ 32 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องผลิตได้ประมาณที่ 2,000 บาเรล/วัน แต่ปัจจุบันผลิตได้แค่
500 บาเรล/วัน
คำถาม?
1.บริษัท ปตท.สผ. มีสโลแกนบริษัทว่า “มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ก้าวไกล มั่นคง ปตท.สผ. รณรงค์ส่งเสริม “บรรษัทภิบาล” ปล่อยให้กรณี บ.อ่าวสยามฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่สนใจแก้ไขเลย
2.ทำไม ปตท.สผ. ยังต้องไปเช่าตึกชินวัตร 3 อยู่ที่ ถ.วิภาวดี แทนที่พรรคไทยรักไทย ที่ย้ายไปอยู่ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แสดงว่ากลุ่มผลประโยชน์ ในรัฐบาลทักษิณยังมีอิทธิพลอยู่
3.การดำเนินการต่างๆ ในปตท.สผ. มีเสี่ย ส. ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ (รมต.ที่ชอบ ตรวจชาเขียว) จะเป็นคอยดำเนินการจัดการเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ในปตท.สผ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องเข้าไปจัดการ
การดำเนินการ
วันนี้ เวลา 14.30 น. ผมจะเดินทางเข้ายื่นเรื่องดังกล่าวให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตรวจสอบเรื่องนี้ และผมได้นัดหมายท่านไว้เรียบร้อยแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 มี.ค. 2550--จบ--