กรุงเทพ--8 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (7 มีนาคม 2550) นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายไทย) และ ดร.ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายลาว) ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8 ที่ห้องประชุมแขวง เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป. ลาว การประชุมในครั้งนี้ดำเนินไปในบรรยากาศของความร่วมมือและไมตรีจิตมิตรภาพอันอบอุ่นระหว่างกัน รวมทั้งการมีเจตนารมย์มุ่งมั่นร่วมกันที่จะแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างกันให้แล้วเสร็จ โดยตั้งปณิธานว่าจะพยายามให้การปักปันเขตแดนทางบกแล้วเสร็จภายในปี 2551 และการปันเขตแดนทางน้ำให้แล้วเสร็จภายในปี 2553
นายนิตย์ฯ กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมย์ที่จะทำให้เขตแดนระหว่างไทย-ลาว เป็นเขตแดนแห่งสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมืออย่างแท้จริง นอกจากนี้ การประชุมฯ ดังกล่าวเป็นวาระพิเศษ เพราะนอกจากจะว่างเว้นมา 4 ปี ยังตรงกับวาระครบรอบ 10 ปี ของการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2540 อีกด้วย และเพื่อเฉลิมฉลองวาระดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันให้จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ (Historical Record) เกี่ยวกับโครงการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-ลาว เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญในหลักการสำรวจ ตั้งแต่เริ่มโครงการเป็นต้นมา และเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ต่อสาธารณชนและเป็นเกียรติประวัติแก่บุคคลต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้
นายนิตย์ฯ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมกันจัดทำหลักเขตแดนทางบกได้แล้ว 190 หลัก คิดเป็นระยะทาง 676 กิโลเมตร หรือร้อยละ 96 ของเขตแดนทางบกซึ่งยาวประมาณ 702 กิโลเมตร เป็นการจัดทำหลักเขตแดนเพิ่มเติม 19 หลัก และสำรวจสันปันน้ำที่เป็นเส้นเขตแดนอีก 8.51 กิโลเมตร นับตั้งแต่การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 7 เป็นต้นมา นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนบริเวณช่องทางผ่านแดนที่สำคัญ ซึ่งเป็นบริเวณที่สันปันน้ำที่เป็นเขตแดนในภูมิประเทศถูกทำลายได้จำนวน 4 บริเวณ ได้แก่ ช่องทางห้วยโก๋น-เมืองเงิน จังหวัดน่าน บริเวณช่องทางภูดู่ ช่องทางห้วยต่าง-ปางฝ้าย และช่องทางห้วยพร้าว-หนองปะจีด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับช่องทางผ่านแดนดังกล่าวให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรระหว่างประเทศ
สำหรับความคืบหน้าในแก้ไขปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้างมาตั้งแต่ปี 2540 นั้น การประชุมฯ ครั้งนี้ได้นำปัญหาดังกล่าวทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขโดยใช้หลักการทำงานที่มุ่งผลักดันให้การแก้ไขปัญหาในภาพรวมมีความคืบหน้าบนพื้นฐานของการก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน โดยคงคำนึงถึงลำดับความสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อความสะดวกในการดำเนินงานด้วย กล่าวคือ ชุดสำรวจร่วมจะดำเนินการแก้ไขปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้างทางบกในพื้นที่ตอนที่ 15 และ 16 ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีให้แล้วเสร็จก่อน ต่อจากนั้น ทั้งสองฝ่ายจะย้ายพื้นที่การสำรวจไปดำเนินการแก้ไขปัญหาหลักเขตแดน ที่คงค้างในพื้นที่ตอนอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ทั้งหมด นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านกฎหมายเริ่มต้นการปรึกษาหารือกันในประเด็นข้อกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนบริเวณต้นน้ำเหืองภายในเดือนมีนาคม 2550 ด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำร่วมระหว่างไทย-ลาวนั้นก็มีความคืบหน้า คือทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันให้ดำเนินการจัดทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่โดยจะเริ่มต้นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2550
นายนิตย์ฯ ได้ชี้แจงถึงความท้าทายที่ทั้งสองฝ่ายยังต้องร่วมกันเผชิญต่อไปในอนาคต สรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่ ความคิดเห็นซึ่งอาจจะไม่ตรงกันในบางครั้ง ความยากลำบากในการสำรวจพื้นที่ในบางบริเวณ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศอยู่ตลอด ปัญหาทางด้านเทคนิค และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่จะมีการสำรวจ โดยในประเด็นสุดท้าย นายนิตย์ฯ กล่าวย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายได้ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่มีถิ่นพำนักในบริเวณดังกล่าวมายาวนาน จึงต้องมีกระบวนการชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย
นายนิตย์ฯ แจ้งด้วยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป ลาว มีความยินดีต่อความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้เป็นพิเศษ การประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้รัฐบาลใหม่ และมีเจตนารมย์ทางการเมืองที่ชัดเจนที่ต้องการเห็นความคืบหน้า และความสำเร็จของการปักปันเขตแดน สัญญานดังกล่าวได้ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในลำดับต่อไป
ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป ลาว ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ รวมทั้งได้จัดการบายศรีสู่ขวัญให้แก่คณะด้วย ในโอกาสนี้ เจ้าแขวงหลวงพระบางได้ให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันนี้ (7 มีนาคม 2550) นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายไทย) และ ดร.ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายลาว) ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8 ที่ห้องประชุมแขวง เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป. ลาว การประชุมในครั้งนี้ดำเนินไปในบรรยากาศของความร่วมมือและไมตรีจิตมิตรภาพอันอบอุ่นระหว่างกัน รวมทั้งการมีเจตนารมย์มุ่งมั่นร่วมกันที่จะแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างกันให้แล้วเสร็จ โดยตั้งปณิธานว่าจะพยายามให้การปักปันเขตแดนทางบกแล้วเสร็จภายในปี 2551 และการปันเขตแดนทางน้ำให้แล้วเสร็จภายในปี 2553
นายนิตย์ฯ กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมย์ที่จะทำให้เขตแดนระหว่างไทย-ลาว เป็นเขตแดนแห่งสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมืออย่างแท้จริง นอกจากนี้ การประชุมฯ ดังกล่าวเป็นวาระพิเศษ เพราะนอกจากจะว่างเว้นมา 4 ปี ยังตรงกับวาระครบรอบ 10 ปี ของการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2540 อีกด้วย และเพื่อเฉลิมฉลองวาระดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันให้จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ (Historical Record) เกี่ยวกับโครงการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-ลาว เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญในหลักการสำรวจ ตั้งแต่เริ่มโครงการเป็นต้นมา และเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ต่อสาธารณชนและเป็นเกียรติประวัติแก่บุคคลต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้
นายนิตย์ฯ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมกันจัดทำหลักเขตแดนทางบกได้แล้ว 190 หลัก คิดเป็นระยะทาง 676 กิโลเมตร หรือร้อยละ 96 ของเขตแดนทางบกซึ่งยาวประมาณ 702 กิโลเมตร เป็นการจัดทำหลักเขตแดนเพิ่มเติม 19 หลัก และสำรวจสันปันน้ำที่เป็นเส้นเขตแดนอีก 8.51 กิโลเมตร นับตั้งแต่การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 7 เป็นต้นมา นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนบริเวณช่องทางผ่านแดนที่สำคัญ ซึ่งเป็นบริเวณที่สันปันน้ำที่เป็นเขตแดนในภูมิประเทศถูกทำลายได้จำนวน 4 บริเวณ ได้แก่ ช่องทางห้วยโก๋น-เมืองเงิน จังหวัดน่าน บริเวณช่องทางภูดู่ ช่องทางห้วยต่าง-ปางฝ้าย และช่องทางห้วยพร้าว-หนองปะจีด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับช่องทางผ่านแดนดังกล่าวให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรระหว่างประเทศ
สำหรับความคืบหน้าในแก้ไขปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้างมาตั้งแต่ปี 2540 นั้น การประชุมฯ ครั้งนี้ได้นำปัญหาดังกล่าวทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขโดยใช้หลักการทำงานที่มุ่งผลักดันให้การแก้ไขปัญหาในภาพรวมมีความคืบหน้าบนพื้นฐานของการก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน โดยคงคำนึงถึงลำดับความสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อความสะดวกในการดำเนินงานด้วย กล่าวคือ ชุดสำรวจร่วมจะดำเนินการแก้ไขปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้างทางบกในพื้นที่ตอนที่ 15 และ 16 ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีให้แล้วเสร็จก่อน ต่อจากนั้น ทั้งสองฝ่ายจะย้ายพื้นที่การสำรวจไปดำเนินการแก้ไขปัญหาหลักเขตแดน ที่คงค้างในพื้นที่ตอนอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ทั้งหมด นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านกฎหมายเริ่มต้นการปรึกษาหารือกันในประเด็นข้อกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนบริเวณต้นน้ำเหืองภายในเดือนมีนาคม 2550 ด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำร่วมระหว่างไทย-ลาวนั้นก็มีความคืบหน้า คือทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันให้ดำเนินการจัดทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่โดยจะเริ่มต้นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2550
นายนิตย์ฯ ได้ชี้แจงถึงความท้าทายที่ทั้งสองฝ่ายยังต้องร่วมกันเผชิญต่อไปในอนาคต สรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่ ความคิดเห็นซึ่งอาจจะไม่ตรงกันในบางครั้ง ความยากลำบากในการสำรวจพื้นที่ในบางบริเวณ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศอยู่ตลอด ปัญหาทางด้านเทคนิค และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่จะมีการสำรวจ โดยในประเด็นสุดท้าย นายนิตย์ฯ กล่าวย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายได้ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่มีถิ่นพำนักในบริเวณดังกล่าวมายาวนาน จึงต้องมีกระบวนการชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย
นายนิตย์ฯ แจ้งด้วยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป ลาว มีความยินดีต่อความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้เป็นพิเศษ การประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้รัฐบาลใหม่ และมีเจตนารมย์ทางการเมืองที่ชัดเจนที่ต้องการเห็นความคืบหน้า และความสำเร็จของการปักปันเขตแดน สัญญานดังกล่าวได้ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในลำดับต่อไป
ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป ลาว ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ รวมทั้งได้จัดการบายศรีสู่ขวัญให้แก่คณะด้วย ในโอกาสนี้ เจ้าแขวงหลวงพระบางได้ให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-