ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ยืนยันยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงไม่ยกเลิก
การใช้มาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยการกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับการลงทุนในตราสารระยะสั้นหลังจากที่ได้ผ่อนผันมาตรการ
ดังกล่าวไปแล้ว โดยให้นักลงทุนเลือกระหว่างการกันสำรองในระดับร้อยละ 30 หรือการทำการป้องกันความเสี่ยงด้วยการวางเงินประกันเท่ากับ
จำนวนเงินและระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ในรูปของการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งถือว่านักลงทุนมีทางเลือกในการดำเนินการ
แล้ว ธปท. จึงยังไม่จำเป็นต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าว แต่หากค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วก็อาจจะพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวได้
ส่วนการที่เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความคาดหมายอยู่แล้ว และขณะนี้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศกับตลาดในประเทศเริ่ม
จะมีส่วนต่างแคบลงมาแล้ว จากเดิมที่มีส่วนต่างมากถึง 2.50 บาท จึงคาดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น สำหรับแนวโน้ม
อัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นช่วงขาลง แต่จะปรับลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ได้ติดตามปัจจัยต่าง ๆ
อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว และไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะปรับลดลงในระดับเท่าใด นอกจากนี้ ยังคงต้องดูถึงปัจจัยทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่ปัจจุบันอยู่ใน
ระดับร้อยละ 3 ซึ่งถือเป็นระดับที่เหมาะสมและมีแนวโน้มจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลง โดยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 — 2.5 (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. เตือน ธ.พาณิชย์ระวังการบริหารจัดการด้านสินทรัพย์และหนี้สินให้มีประสิทธิภาพ รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินของ
ธปท. ฉบับล่าสุดประเมินว่า ในปี 50 มี ธ.พาณิชย์ไทยบางแห่งที่จะต้องกันสำรองเพิ่มเติมอีก ซึ่งคาดว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนให้เพียงพอตาม
มาตรฐาน และคาดว่าความต้องการสินเชื่อในประเทศน่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อทดแทนการกู้ยืมจากต่างประเทศที่เป็นผลจากมาตรการกันสำรองเงิน
ตราต่างประเทศที่นำมาแลกเงินบาทในสัดส่วนร้อยละ 30 ซึ่ง ธ.พาณิชย์จะต้องระมัดระวังการบริหารจัดการทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สินให้มี
ประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรและการดำรงเงินกองทุน สำหรับผลประกอบการของ ธ.พาณิชย์ไทยในไตรมาส
สุดท้ายของปี 49 มีขาดทุนสุทธิรวม 1.43 หมื่นล้านบาท โดยเป็นผลจากการขาดทุนของธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่ง ขณะที่
ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งมีผลกำไรลดลง เนื่องจากมีรายการหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญและการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง
3.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกันสำรองในระดับสูง เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี IAS 39 ที่ ธปท. ประกาศให้เริ่มทยอยดำเนินการใน
งวดบัญชีสิ้นเดือน ธ.ค.49 และงวดบัญชีสิ้นเดือน มิ.ย.50 และงวดบัญชีสิ้นเดือน ธ.ค.50 ตามลำดับ อีกทั้งบางธนาคารได้ดำเนินการกันสำรอง
ทั้งหมดภายในงวดที่ผ่านมา (มติชน)
3. ธปท. สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินกีบของลาว นายธานินทร์ มุกดาประกร ผอ.อาวุโส ธปท.
สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ธปท. และ ธ.แห่ง สปป.ลาว ได้สนับสนุนให้ ธ.ไทยพาณิชย์ของไทย และ ธ.พัฒนาลาวของลาว
ลงนามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ สามารถใช้สกุลเงินของ
ประเทศตนเองในการทำการค้าระหว่างกัน อีกทั้งเพื่อเป็นการประกันว่าผู้มีเงินกีบสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้ เนื่องจากปัจจุบันการค้า
ชายแดนระหว่างไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา มีมูลค่าสูงมาก แต่การค้าส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนสินค้าด้วยเงินสดทำให้มีอุปสรรคในการทำการค้ามาก
เพราะเงินกีบของลาวและเงินเรียลของกัมพูชาได้รับความเชื่อถือน้อย ทำให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินทั้ง 3 สกุล ผ่านตลาดมืดเป็นส่วนใหญ่
โดยเฉพาะที่ตลาดช่องเม็ก จ.อุบลฯ ธปท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงได้ร่วมกับ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยช่องเม็ก เร่งประชาสัมพันธ์ให้
ประชาชนได้ทราบว่าสามารถแลกเปลี่ยนเงินบาทและเงินกีบได้ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุนในพื้นที่และช่วยสร้าง
ความเชื่อมั่นในเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธปท. และ ธ.แห่ง สปป.ลาว อยู่ระหว่างติดตามและประเมินผลการ
ทำธุรกรรมดังกล่าว หากได้ผลเป็นที่น่าพอใจจะขยายความร่วมมือไปยังจุดการค้าตามแนวชายแดนไทย-ลาวที่สำคัญอื่นอีก เช่น บริเวณด่าน
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร และบริเวณสะพานแห่งใหม่ที่จะมีการก่อสร้างที่ด่านเชียงของ จ.เชียงราย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในปี 50 คนงานในแถบเอเซียจะได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุด รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 50
ผลการสำรวจโดย ECA International ชี้ว่า ในปีนี้คนงานในภูมิภาคเอเซียจะได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในโลก เนื่องจากเศรษฐกิจ
ขยายตัว การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างที่แท้จริงซึ่งเป็นตัวแทนการเพิ่มขึ้นของ
เงินเดือนรายปีหลังจากปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วคาดว่าในปีนี้ คนงานในแถบเอเซียจะได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.6 จากร้อยละ 2.4
ในปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งส่งผลให้เอเชียกลายเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีเศรษฐีจำนวนมาก ซึ่ง
Merrill Lynch/Capgemini เชื่อว่าผู้มั่งคั่งในเอเชียอาจมีสินทรัพย์สูงถึง 10.6 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ภายในปี 53 ทั้งนี้ผลการสำรวจ 45
ประเทศทั่วโลก พบว่า 10 ประเทศที่ได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุดได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย จีน ฟิลิบปินส์ ไทย สโลวาเกีย เกาหลีใต้
มาเลเซีย อียิปต์ และรัสเซีย โดยคนงานในอินเดียได้รับค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึงร้อยละ 7.0 รองลงมาคืออินโดนีเซีย และจีน เพิ่มขึ้น
ราวร้อยละ 6.0 ส่วนสโลวาเกียได้รับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ขณะที่คนงานสรอ.ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.1 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
5 ก.พ.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานซึ่งจัดทำโดย Unicredit และ Reuters จากตัวเลขที่ได้จากรัฐ
North Rhine-Westphalia และรัฐ Bavaria ของเยอรมนี ชี้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
ในเดือน ธ.ค.49 และคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือนเดียวกัน โดยเมื่อเทียบต่อไตรมาสแล้ว คาดว่าผลผลิตอาจเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.6 แต่คำสั่งซื้ออาจลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 ทั้งนี้ภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวดีจากสภาพอากาศที่อบอุ่นผิดปรกติ
มีส่วนช่วยให้ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับภาคพลังงานที่ทำให้ผลผลิตโดยรวมลดลง โดยเมื่อดูตลอดทั้งปี 49 แล้วถือว่าเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ผลิต
จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 9.0 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 ทั้งนี้ ก.เศรษฐกิจมีกำหนดจะรายงานตัวเลขคำสั่งซื้อและผลผลิตสำหรับเดือน
ธ.ค.49 อย่างเป็นทางการในวันที่ 6 และ 7 ก.พ.50 นี้ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. PMI ภาคบริการของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 59.2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 5 ก.พ.50 รัฐบาลอังกฤษ เปิดเผยว่า Purchasing Manager Index (PMI) ภาคบริการของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวอยู่ที่
ระดับ 59.2 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 60.0 และต่ำกว่าเดือน ธ.ค.49 ที่อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษที่ระดับ 60.6
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังพบว่าต้นทุนค่าจ้างเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญทำให้ดัชนีราคานำเข้า (Input Prices Index) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
60.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งผู้ประกอบการผลักดันต้นทุนดังกล่าวให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้ Prices charged Index
เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 55.2 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน
ธ.กลางอังกฤษ เพราะจะเป็นอุปสรรคของภาครัฐในการทำให้อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเข้าสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้คือร้อยละ 2.0 หลังจากที่
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ธ.กลางอังกฤษได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. และนักวิเคราะห์กล่าวให้ความเห็นว่า
ข้อมูลตัวเลขชี้วัดดังกล่าวอาจส่งให้ ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่ไม่แน่นอน
บางอย่าง เช่น ดัชนีการจ้างงานที่ชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับ 54.6 จากที่เคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบทศวรรษที่ระดับ 56.0 ในเดือน ธ.ค.49 ส่วน
ดัชนีความคาดหวังภาคธุรกิจลดลงมาอยู่ที่ระดับ 76.0 จากระดับ 79.1 ในเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และดัชนีการเติบโต
ธุรกิจใหม่ก็ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 57.9 จากระดับ 59.5 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าจีดีพีของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 0.9 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ
5 ก.พ.50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 4
ปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 0.9 เทียบต่อไตรมาส และขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งจะเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 สูงสุด
ในรอบเกือบ 3 ปี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า หากจีดีพีขยายตัวตามที่คาดการณ์ จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความต้องการภายในประเทศได้ฟื้นตัว
ขึ้นอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการใช้จ่ายส่วนบุคคลด้วย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และอาจส่งผลให้ ธ.กลางญี่ปุ่นปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งต่อไป ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนกลับมีความเห็นว่าการใช้จ่ายส่วนบุคคลและราคาสินค้าที่ยังคงเปราะบาง
อยู่ในขณะนี้ อาจเป็นเหตุให้ ธ.กลางจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 0.25 ต่อไปอีก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.พ. 50 5 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.827 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6228/35.9550 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.42/13.17 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,900/11,000 10,900/11,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.05 55.29 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50 25.59*/22.94* 25.59*/22.94* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ยืนยันยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงไม่ยกเลิก
การใช้มาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยการกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับการลงทุนในตราสารระยะสั้นหลังจากที่ได้ผ่อนผันมาตรการ
ดังกล่าวไปแล้ว โดยให้นักลงทุนเลือกระหว่างการกันสำรองในระดับร้อยละ 30 หรือการทำการป้องกันความเสี่ยงด้วยการวางเงินประกันเท่ากับ
จำนวนเงินและระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ในรูปของการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งถือว่านักลงทุนมีทางเลือกในการดำเนินการ
แล้ว ธปท. จึงยังไม่จำเป็นต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าว แต่หากค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วก็อาจจะพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวได้
ส่วนการที่เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความคาดหมายอยู่แล้ว และขณะนี้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศกับตลาดในประเทศเริ่ม
จะมีส่วนต่างแคบลงมาแล้ว จากเดิมที่มีส่วนต่างมากถึง 2.50 บาท จึงคาดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น สำหรับแนวโน้ม
อัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นช่วงขาลง แต่จะปรับลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ได้ติดตามปัจจัยต่าง ๆ
อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว และไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะปรับลดลงในระดับเท่าใด นอกจากนี้ ยังคงต้องดูถึงปัจจัยทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่ปัจจุบันอยู่ใน
ระดับร้อยละ 3 ซึ่งถือเป็นระดับที่เหมาะสมและมีแนวโน้มจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลง โดยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 — 2.5 (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. เตือน ธ.พาณิชย์ระวังการบริหารจัดการด้านสินทรัพย์และหนี้สินให้มีประสิทธิภาพ รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินของ
ธปท. ฉบับล่าสุดประเมินว่า ในปี 50 มี ธ.พาณิชย์ไทยบางแห่งที่จะต้องกันสำรองเพิ่มเติมอีก ซึ่งคาดว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนให้เพียงพอตาม
มาตรฐาน และคาดว่าความต้องการสินเชื่อในประเทศน่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อทดแทนการกู้ยืมจากต่างประเทศที่เป็นผลจากมาตรการกันสำรองเงิน
ตราต่างประเทศที่นำมาแลกเงินบาทในสัดส่วนร้อยละ 30 ซึ่ง ธ.พาณิชย์จะต้องระมัดระวังการบริหารจัดการทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สินให้มี
ประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรและการดำรงเงินกองทุน สำหรับผลประกอบการของ ธ.พาณิชย์ไทยในไตรมาส
สุดท้ายของปี 49 มีขาดทุนสุทธิรวม 1.43 หมื่นล้านบาท โดยเป็นผลจากการขาดทุนของธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่ง ขณะที่
ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งมีผลกำไรลดลง เนื่องจากมีรายการหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญและการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง
3.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกันสำรองในระดับสูง เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี IAS 39 ที่ ธปท. ประกาศให้เริ่มทยอยดำเนินการใน
งวดบัญชีสิ้นเดือน ธ.ค.49 และงวดบัญชีสิ้นเดือน มิ.ย.50 และงวดบัญชีสิ้นเดือน ธ.ค.50 ตามลำดับ อีกทั้งบางธนาคารได้ดำเนินการกันสำรอง
ทั้งหมดภายในงวดที่ผ่านมา (มติชน)
3. ธปท. สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินกีบของลาว นายธานินทร์ มุกดาประกร ผอ.อาวุโส ธปท.
สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ธปท. และ ธ.แห่ง สปป.ลาว ได้สนับสนุนให้ ธ.ไทยพาณิชย์ของไทย และ ธ.พัฒนาลาวของลาว
ลงนามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ สามารถใช้สกุลเงินของ
ประเทศตนเองในการทำการค้าระหว่างกัน อีกทั้งเพื่อเป็นการประกันว่าผู้มีเงินกีบสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้ เนื่องจากปัจจุบันการค้า
ชายแดนระหว่างไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา มีมูลค่าสูงมาก แต่การค้าส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนสินค้าด้วยเงินสดทำให้มีอุปสรรคในการทำการค้ามาก
เพราะเงินกีบของลาวและเงินเรียลของกัมพูชาได้รับความเชื่อถือน้อย ทำให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินทั้ง 3 สกุล ผ่านตลาดมืดเป็นส่วนใหญ่
โดยเฉพาะที่ตลาดช่องเม็ก จ.อุบลฯ ธปท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงได้ร่วมกับ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยช่องเม็ก เร่งประชาสัมพันธ์ให้
ประชาชนได้ทราบว่าสามารถแลกเปลี่ยนเงินบาทและเงินกีบได้ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุนในพื้นที่และช่วยสร้าง
ความเชื่อมั่นในเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธปท. และ ธ.แห่ง สปป.ลาว อยู่ระหว่างติดตามและประเมินผลการ
ทำธุรกรรมดังกล่าว หากได้ผลเป็นที่น่าพอใจจะขยายความร่วมมือไปยังจุดการค้าตามแนวชายแดนไทย-ลาวที่สำคัญอื่นอีก เช่น บริเวณด่าน
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร และบริเวณสะพานแห่งใหม่ที่จะมีการก่อสร้างที่ด่านเชียงของ จ.เชียงราย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในปี 50 คนงานในแถบเอเซียจะได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุด รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 50
ผลการสำรวจโดย ECA International ชี้ว่า ในปีนี้คนงานในภูมิภาคเอเซียจะได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในโลก เนื่องจากเศรษฐกิจ
ขยายตัว การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างที่แท้จริงซึ่งเป็นตัวแทนการเพิ่มขึ้นของ
เงินเดือนรายปีหลังจากปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วคาดว่าในปีนี้ คนงานในแถบเอเซียจะได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.6 จากร้อยละ 2.4
ในปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งส่งผลให้เอเชียกลายเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีเศรษฐีจำนวนมาก ซึ่ง
Merrill Lynch/Capgemini เชื่อว่าผู้มั่งคั่งในเอเชียอาจมีสินทรัพย์สูงถึง 10.6 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ภายในปี 53 ทั้งนี้ผลการสำรวจ 45
ประเทศทั่วโลก พบว่า 10 ประเทศที่ได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุดได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย จีน ฟิลิบปินส์ ไทย สโลวาเกีย เกาหลีใต้
มาเลเซีย อียิปต์ และรัสเซีย โดยคนงานในอินเดียได้รับค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึงร้อยละ 7.0 รองลงมาคืออินโดนีเซีย และจีน เพิ่มขึ้น
ราวร้อยละ 6.0 ส่วนสโลวาเกียได้รับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ขณะที่คนงานสรอ.ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.1 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
5 ก.พ.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานซึ่งจัดทำโดย Unicredit และ Reuters จากตัวเลขที่ได้จากรัฐ
North Rhine-Westphalia และรัฐ Bavaria ของเยอรมนี ชี้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
ในเดือน ธ.ค.49 และคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือนเดียวกัน โดยเมื่อเทียบต่อไตรมาสแล้ว คาดว่าผลผลิตอาจเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.6 แต่คำสั่งซื้ออาจลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 ทั้งนี้ภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวดีจากสภาพอากาศที่อบอุ่นผิดปรกติ
มีส่วนช่วยให้ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับภาคพลังงานที่ทำให้ผลผลิตโดยรวมลดลง โดยเมื่อดูตลอดทั้งปี 49 แล้วถือว่าเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ผลิต
จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 9.0 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 ทั้งนี้ ก.เศรษฐกิจมีกำหนดจะรายงานตัวเลขคำสั่งซื้อและผลผลิตสำหรับเดือน
ธ.ค.49 อย่างเป็นทางการในวันที่ 6 และ 7 ก.พ.50 นี้ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. PMI ภาคบริการของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 59.2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 5 ก.พ.50 รัฐบาลอังกฤษ เปิดเผยว่า Purchasing Manager Index (PMI) ภาคบริการของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวอยู่ที่
ระดับ 59.2 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 60.0 และต่ำกว่าเดือน ธ.ค.49 ที่อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษที่ระดับ 60.6
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังพบว่าต้นทุนค่าจ้างเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญทำให้ดัชนีราคานำเข้า (Input Prices Index) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
60.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งผู้ประกอบการผลักดันต้นทุนดังกล่าวให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้ Prices charged Index
เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 55.2 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน
ธ.กลางอังกฤษ เพราะจะเป็นอุปสรรคของภาครัฐในการทำให้อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเข้าสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้คือร้อยละ 2.0 หลังจากที่
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ธ.กลางอังกฤษได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. และนักวิเคราะห์กล่าวให้ความเห็นว่า
ข้อมูลตัวเลขชี้วัดดังกล่าวอาจส่งให้ ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่ไม่แน่นอน
บางอย่าง เช่น ดัชนีการจ้างงานที่ชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับ 54.6 จากที่เคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบทศวรรษที่ระดับ 56.0 ในเดือน ธ.ค.49 ส่วน
ดัชนีความคาดหวังภาคธุรกิจลดลงมาอยู่ที่ระดับ 76.0 จากระดับ 79.1 ในเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และดัชนีการเติบโต
ธุรกิจใหม่ก็ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 57.9 จากระดับ 59.5 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าจีดีพีของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 0.9 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ
5 ก.พ.50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 4
ปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 0.9 เทียบต่อไตรมาส และขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งจะเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 สูงสุด
ในรอบเกือบ 3 ปี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า หากจีดีพีขยายตัวตามที่คาดการณ์ จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความต้องการภายในประเทศได้ฟื้นตัว
ขึ้นอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการใช้จ่ายส่วนบุคคลด้วย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และอาจส่งผลให้ ธ.กลางญี่ปุ่นปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งต่อไป ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนกลับมีความเห็นว่าการใช้จ่ายส่วนบุคคลและราคาสินค้าที่ยังคงเปราะบาง
อยู่ในขณะนี้ อาจเป็นเหตุให้ ธ.กลางจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 0.25 ต่อไปอีก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.พ. 50 5 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.827 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6228/35.9550 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.42/13.17 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,900/11,000 10,900/11,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.05 55.29 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50 25.59*/22.94* 25.59*/22.94* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--