จีนเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับรายสำคัญและน่าสนใจแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Geological Association of China คาดการณ์มูลค่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2553 หรือขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 15 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การส่งออกอัญมณีและ เครื่องประดับของไทยไปจีนยังต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการค้าหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1. อุปสรรคด้านภาษี
ภาษีนำเข้า จีนกำหนดภาษีนำเข้าวัตถุดิบในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับในอัตราร้อยละ 0-21 อาทิ เพชร และทองคำ อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 พลอยสี ร้อยละ 3 และไข่มุก ร้อยละ 21 ขณะที่ภาษีนำเข้า สินค้าสำเร็จรูปในหมวดเดียวกันมีอัตราไม่เกินร้อยละ 35 อาทิ เครื่องประดับแท้ อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 20-35 และเครื่องประดับเทียม ร้อยละ17-35
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) สินค้าในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 17 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับการค้าขายสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ตาม การซื้อขายทองคำ (พิกัด 7108) แพลทินัมยังไม่ได้ขึ้นรูปหรือเป็นผง (พิกัด 7110.1100) แพลทินัมในรูปอื่น ๆ (พิกัด 7110.1910 และ พิกัด 7110.1990) และแพลเลเดียม (พิกัด 7110.2910) เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 13
ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) จีนกำหนดภาษีการบริโภคสินค้าอัญมณีและ เครื่องประดับในอัตราร้อยละ 10 ครอบคลุมไข่มุก (พิกัด 7101) เพชร (พิกัด 7102) รัตนชาติ (พิกัด 7103) รัตนชาติ สังเคราะห์ (พิกัด 7104) ฝุ่นและผงของรัตนชาติ (พิกัด 7105) เครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่า(พิกัด 7113) และ เครื่องประดับที่ทำจากไข่มุก (พิกัด 7116) ยกเว้นเครื่องประดับทองเสียภาษีการบริโภคในอัตราร้อยละ 5
ค่าธรรมเนียมพิเศษ เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าที่ได้รับการลดหรือยกเว้น ภาษีนำเข้า โดยเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 1-3 ของมูลค่านำเข้าตามราคา C.I.F.
2. อุปสรรคที่มิใช่ภาษี
กฎหมายควบคุมการค้าขายโลหะมีค่า กำหนดให้ธนาคารกลางของจีน (People s Bank of China : PBC) เป็นผู้กำกับดูแลการซื้อขายโลหะทองคำและโลหะเงิน รวมทั้งไม่อนุญาตให้เอกชนมีโลหะดังกล่าว ไว้ในครอบครอง เก็บรักษา หรือจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต หากหน่วยงานหรือองค์กรใดมีโลหะทองและโลหะเงิน อยู่ในความครอบครองต้องนำมาจำหน่ายให้กับ PBC และเมื่อต้องการใช้โลหะมีค่าดังกล่าวต้องยื่นแผนการผลิต หรือแปรรูปเพื่อขออนุญาตจาก PBC ให้ทำการจัดสรรตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การนำเข้าโลหะมีค่าของจีนมีทั้งที่ ดำเนินการโดย PBC เอง และนำเข้าโดยเอกชนผ่าน PBC อีกทอดหนึ่ง
กฎหมายเกี่ยวกับการค้าขายเพชร การนำเข้าเพชรมายังจีนต้องมีเอกสารครบถ้วนตาม กระบวนการ Kimberly Process ที่แสดงให้เห็นว่าเพชรดังกล่าวมีที่มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ รัฐบาลจีนได้ปรับปรุงนโยบายการส่งออกและนำเข้าเพชรเพื่อผลักดันให้จีนเป็นศูนย์กลางการค้าเพชร โดยกำหนดให้เพชรที่นำเข้าโดย Shanghai Diamond Exchange (SDE) ซึ่งเป็นตลาดกลางการค้าเพชรในจีนและ เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ของการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเพชรในจีน ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด (ครอบคลุมทั้งภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีการบริโภค) สำหรับการส่งออก หากเป็นเพชรที่มีแหล่งกำเนิดในจีนและส่งออก ผ่าน SDE จะได้รับการคืนภาษีส่งออกทั้งหมด
นอกจากอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว จีนยังมีกฎระเบียบที่ซับซ้อนทั้งในระดับประเทศและระดับมณฑล ดังนั้น ผู้ส่งออกที่ต้องการเจาะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจีนจึงจำเป็นต้องศึกษากฎระเบียบดังกล่าว อย่างละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขหรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากอุปสรรคดังกล่าว ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของจีนมีลักษณะโน้มเอียงไปในทางที่เอื้อประโยชน์ แก่ผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภคในประเทศ แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลจีนในการพัฒนาอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับอย่างจริงจัง ซึ่งนับว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้จีนสามารถก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ในตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญหลายแห่งของโลก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550--
-พห-
1. อุปสรรคด้านภาษี
ภาษีนำเข้า จีนกำหนดภาษีนำเข้าวัตถุดิบในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับในอัตราร้อยละ 0-21 อาทิ เพชร และทองคำ อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 พลอยสี ร้อยละ 3 และไข่มุก ร้อยละ 21 ขณะที่ภาษีนำเข้า สินค้าสำเร็จรูปในหมวดเดียวกันมีอัตราไม่เกินร้อยละ 35 อาทิ เครื่องประดับแท้ อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 20-35 และเครื่องประดับเทียม ร้อยละ17-35
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) สินค้าในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 17 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับการค้าขายสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ตาม การซื้อขายทองคำ (พิกัด 7108) แพลทินัมยังไม่ได้ขึ้นรูปหรือเป็นผง (พิกัด 7110.1100) แพลทินัมในรูปอื่น ๆ (พิกัด 7110.1910 และ พิกัด 7110.1990) และแพลเลเดียม (พิกัด 7110.2910) เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 13
ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) จีนกำหนดภาษีการบริโภคสินค้าอัญมณีและ เครื่องประดับในอัตราร้อยละ 10 ครอบคลุมไข่มุก (พิกัด 7101) เพชร (พิกัด 7102) รัตนชาติ (พิกัด 7103) รัตนชาติ สังเคราะห์ (พิกัด 7104) ฝุ่นและผงของรัตนชาติ (พิกัด 7105) เครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่า(พิกัด 7113) และ เครื่องประดับที่ทำจากไข่มุก (พิกัด 7116) ยกเว้นเครื่องประดับทองเสียภาษีการบริโภคในอัตราร้อยละ 5
ค่าธรรมเนียมพิเศษ เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าที่ได้รับการลดหรือยกเว้น ภาษีนำเข้า โดยเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 1-3 ของมูลค่านำเข้าตามราคา C.I.F.
2. อุปสรรคที่มิใช่ภาษี
กฎหมายควบคุมการค้าขายโลหะมีค่า กำหนดให้ธนาคารกลางของจีน (People s Bank of China : PBC) เป็นผู้กำกับดูแลการซื้อขายโลหะทองคำและโลหะเงิน รวมทั้งไม่อนุญาตให้เอกชนมีโลหะดังกล่าว ไว้ในครอบครอง เก็บรักษา หรือจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต หากหน่วยงานหรือองค์กรใดมีโลหะทองและโลหะเงิน อยู่ในความครอบครองต้องนำมาจำหน่ายให้กับ PBC และเมื่อต้องการใช้โลหะมีค่าดังกล่าวต้องยื่นแผนการผลิต หรือแปรรูปเพื่อขออนุญาตจาก PBC ให้ทำการจัดสรรตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การนำเข้าโลหะมีค่าของจีนมีทั้งที่ ดำเนินการโดย PBC เอง และนำเข้าโดยเอกชนผ่าน PBC อีกทอดหนึ่ง
กฎหมายเกี่ยวกับการค้าขายเพชร การนำเข้าเพชรมายังจีนต้องมีเอกสารครบถ้วนตาม กระบวนการ Kimberly Process ที่แสดงให้เห็นว่าเพชรดังกล่าวมีที่มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ รัฐบาลจีนได้ปรับปรุงนโยบายการส่งออกและนำเข้าเพชรเพื่อผลักดันให้จีนเป็นศูนย์กลางการค้าเพชร โดยกำหนดให้เพชรที่นำเข้าโดย Shanghai Diamond Exchange (SDE) ซึ่งเป็นตลาดกลางการค้าเพชรในจีนและ เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ของการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเพชรในจีน ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด (ครอบคลุมทั้งภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีการบริโภค) สำหรับการส่งออก หากเป็นเพชรที่มีแหล่งกำเนิดในจีนและส่งออก ผ่าน SDE จะได้รับการคืนภาษีส่งออกทั้งหมด
นอกจากอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว จีนยังมีกฎระเบียบที่ซับซ้อนทั้งในระดับประเทศและระดับมณฑล ดังนั้น ผู้ส่งออกที่ต้องการเจาะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจีนจึงจำเป็นต้องศึกษากฎระเบียบดังกล่าว อย่างละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขหรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากอุปสรรคดังกล่าว ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของจีนมีลักษณะโน้มเอียงไปในทางที่เอื้อประโยชน์ แก่ผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภคในประเทศ แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลจีนในการพัฒนาอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับอย่างจริงจัง ซึ่งนับว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้จีนสามารถก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ในตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญหลายแห่งของโลก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550--
-พห-