ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้นในอัตราสูง จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้น แต่ละประเทศจึงได้ออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้สารเคมี เช่น การทำเครื่องหมาย ฉลาก หรือเผยแพร่เอกสารข้อมูลความปลอดภัย ให้ผู้บริโภคหรือผู้เกี่ยวข้องทราบถึงอันตรายต่าง ๆ ที่ควรระวัง อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ความแตกต่างของกฎระเบียบในแต่ละประเทศ ได้สร้างความสับสนให้แก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดทำฉลากสินค้าให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ด้วยเหตุนี้ การประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development : WSSD) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนกันยายน 2545 องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) จึงเห็นชอบให้ทุกประเทศนำระบบสากลการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี (Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals : GHS) มาใช้ ให้เร็วที่สุดภายในปี 2551 เพื่อให้การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสารเคมีของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีมาตรฐานเดียวกัน
GHS คืออะไร
GHS เป็นระบบการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถสื่อสารและเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทดสอบและประเมินสารเคมี ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ขอบข่ายสารเคมีอันตรายภายใต้ GHS
สารเคมีอันตรายภายใต้ระบบ GHS ครอบคลุมสารเคมีอันตรายทุกชนิด สารละลายเจือจาง และสารผสมของสารเคมี ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรค สารเติมแต่งในอาหาร เครื่องสำอาง และสารป้องกันศัตรูพืชที่ตกค้างในอาหาร ทั้งนี้ มีการจำแนกสารเคมีอันตรายได้ 2 ลักษณะ คือ สารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายทางกายภาพ มี 16 ชนิด อาทิ สารเคมีที่ระเบิดได้ ก๊าซไวไฟ ละอองไอที่ไวไฟ เป็นต้น และสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมี 9 ชนิด อาทิ สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิวหนัง ดวงตา สารก่อมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ การระบุรายละเอียดของสารเคมีแต่ละประเภทต้องแสดงข้อมูลและอันตรายจากการใช้สารเคมี บนฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการเลือกใช้สารเคมีแต่ละประเภท
หลักเกณฑ์ในการติดฉลาก ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจง่ายทั้งในระดับผู้ทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี ผู้บริโภค และสาธารณชน ทั้งนี้ รายละเอียดบนฉลากต้องประกอบด้วยคำเตือนและข้อความที่ชี้ระดับความรุนแรงของอันตราย ข้อควรระวังหรือข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงจากอันตราย ชื่อสารเคมี ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย สถานที่ติดต่อ และรูปภาพที่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอันตรายด้านต่าง ๆ อาทิ
หลักเกณฑ์ในการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ต้องแสดงรายละเอียดของชื่อสารเคมี ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายและสถานที่ติดต่อ ส่วนประกอบ อันตราย การปฐมพยาบาล มาตรการจัดการสารรั่วไหล การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ คุณสมบัติทางกายภาพ/เคมี ความไวในการเกิดปฏิกิริยา พิษวิทยา นิเวศวิทยา การกำจัด เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูลในเอกสารดังกล่าวมีไว้สำหรับสถานประกอบการ เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้าง ทราบถึงอันตราย วิธีป้องกันอันตราย และวิธีระงับเหตุจากสารเคมีอย่างละเอียด
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
แม้ว่าการพัฒนาการผลิตให้เข้าสู่ระบบ GHS จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจากการจัดทำฉลากซึ่งมีต้นทุนราวร้อยละ 0.5-3.0 ของต้นทุนค่าสินค้า (ขึ้นอยู่กับประเภทของบรรจุภัณฑ์) ตลอดจนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนับว่าคุ้มค่า เนื่องจาก ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีเฉพาะตลาดใดตลาดหนึ่งอีกต่อไปทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีระหว่างประเทศมีความสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2550--
-พห-
ด้วยเหตุนี้ การประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development : WSSD) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนกันยายน 2545 องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) จึงเห็นชอบให้ทุกประเทศนำระบบสากลการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี (Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals : GHS) มาใช้ ให้เร็วที่สุดภายในปี 2551 เพื่อให้การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสารเคมีของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีมาตรฐานเดียวกัน
GHS คืออะไร
GHS เป็นระบบการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถสื่อสารและเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทดสอบและประเมินสารเคมี ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ขอบข่ายสารเคมีอันตรายภายใต้ GHS
สารเคมีอันตรายภายใต้ระบบ GHS ครอบคลุมสารเคมีอันตรายทุกชนิด สารละลายเจือจาง และสารผสมของสารเคมี ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรค สารเติมแต่งในอาหาร เครื่องสำอาง และสารป้องกันศัตรูพืชที่ตกค้างในอาหาร ทั้งนี้ มีการจำแนกสารเคมีอันตรายได้ 2 ลักษณะ คือ สารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายทางกายภาพ มี 16 ชนิด อาทิ สารเคมีที่ระเบิดได้ ก๊าซไวไฟ ละอองไอที่ไวไฟ เป็นต้น และสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมี 9 ชนิด อาทิ สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิวหนัง ดวงตา สารก่อมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ การระบุรายละเอียดของสารเคมีแต่ละประเภทต้องแสดงข้อมูลและอันตรายจากการใช้สารเคมี บนฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการเลือกใช้สารเคมีแต่ละประเภท
หลักเกณฑ์ในการติดฉลาก ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจง่ายทั้งในระดับผู้ทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี ผู้บริโภค และสาธารณชน ทั้งนี้ รายละเอียดบนฉลากต้องประกอบด้วยคำเตือนและข้อความที่ชี้ระดับความรุนแรงของอันตราย ข้อควรระวังหรือข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงจากอันตราย ชื่อสารเคมี ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย สถานที่ติดต่อ และรูปภาพที่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอันตรายด้านต่าง ๆ อาทิ
หลักเกณฑ์ในการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ต้องแสดงรายละเอียดของชื่อสารเคมี ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายและสถานที่ติดต่อ ส่วนประกอบ อันตราย การปฐมพยาบาล มาตรการจัดการสารรั่วไหล การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ คุณสมบัติทางกายภาพ/เคมี ความไวในการเกิดปฏิกิริยา พิษวิทยา นิเวศวิทยา การกำจัด เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูลในเอกสารดังกล่าวมีไว้สำหรับสถานประกอบการ เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้าง ทราบถึงอันตราย วิธีป้องกันอันตราย และวิธีระงับเหตุจากสารเคมีอย่างละเอียด
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
แม้ว่าการพัฒนาการผลิตให้เข้าสู่ระบบ GHS จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจากการจัดทำฉลากซึ่งมีต้นทุนราวร้อยละ 0.5-3.0 ของต้นทุนค่าสินค้า (ขึ้นอยู่กับประเภทของบรรจุภัณฑ์) ตลอดจนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนับว่าคุ้มค่า เนื่องจาก ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีเฉพาะตลาดใดตลาดหนึ่งอีกต่อไปทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีระหว่างประเทศมีความสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2550--
-พห-