ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ไม่ได้อ่อนค่าลงแต่อย่างใด แต่ต้องเทียบค่าเงินอื่น ๆ ทั้งหมด เพราะหาก
เทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่กำลังแข็งค่าในขณะนี้ก็อาจจะดูเหมือนว่าเงินบาทอ่อนค่าลง แต่เทียบกับค่าเงินยูโร
เงินเยน หรือเงินหยวน จะพบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทอยู่ตรงกลางระหว่างความผันผวนที่เกิดขึ้น
ในตลาดโลก ซึ่งไม่น่าเป็นห่วงเพราะไม่ก่อให้เกิดปัญหา และ ธปท. ได้สำรองทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ในเงิน
หลายสกุล ยืนยันได้ว่าสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง โดยเงินลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ไหลออก แต่จะไป
อยู่ในบัญชีเงินบาทผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศหรืออยู่ในตลาดหุ้น แม้บางส่วนจะออกจากตลาดหุ้นก็อาจจะไปอยู่ใน
ตลาดพันธบัตร ซึ่ง ธปท. ได้ติดตามดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่อัตรา
แลกเปลี่ยนของโลกมีความผันผวนสูงมากจากประเด็นค่าเงินหยวนของจีนและความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์
สรอ. โดยค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับนี้ช่วยในเรื่องการส่งออกของไทยให้ส่งออกได้ต่อเนื่อง และจะดูแลค่าเงินบาทให้
อยู่ในอัตราที่เหมาะสมอย่างนี้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. นรม. ให้ ก.คลังและ ธปท.ช่วยกันหาทางป้องกันหนี้บัตรเครดิตพล.ต.อ.เฉลิมเดช ชมพูนุท
โฆษกประจำสำนัก นรม. แถลงผลการประชุม ครม. ว่า นรม. ได้แสดงความเป็นห่วงกรณีที่ประชาชนมีบัตรเครดิต
คนละหลายใบ บางคนมีถึง 10 ใบ ทำให้มีปัญหาการใช้เงิน ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และยังทำให้ต้องไปกู้เงิน
นอกระบบเพื่อมาชำระหนี้บัตรเครดิตในแต่ละเดือน จึงได้มอบหมายให้ รมว.คลังไปหารือร่วมกับ ธปท. เพื่อหา
ทางป้องกันปัญหาต่อไป ด้าน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า จะดูแลเรื่องดังกล่าวตามบัญชาของ นรม. แต่ขณะนี้ยัง
ไม่ได้รับเรื่องอย่างเป็นทางการ และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท. ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมปริมาณบัตรเครดิต
อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของการกำหนดวงเงินขั้นต่ำของผู้ถือบัตร การผ่อนชำระหนี้เงินขั้นต่ำ การกำหนดวงเงิน
รวมสินเชื่อไม่เกิน 5 เท่าของรายได้รวม เป็นต้น สำหรับยอดการใช้บัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา มี
ยอดการใช้จ่ายลดลง แม้จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 8.77 ล้านบัตร เป็น 8.89 ล้านบัตร แต่ยอดการใช้จ่ายกลับลดลง
285 ล้านบาท จากยอด 45,997.31 ล้านบาท เหลือ 45,692.7 ล้านบาท (ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ก.คลังปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ 7 เดือน มูลค่า 2 แสนล้านบาท นางพรรณี สถาวโรดม
ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า ในรอบ 7 เดือน ปี งปม.48 (ต.ค.47-เม.ย.48) ก.คลังสามารถปรับ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ 62,829 ล้านบาท และปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 134,518 ล้านบาท ทำให้
สามารถประหยัดเงินต้น 20,124 ล้านบาท และประหยัดภาระดอกเบี้ยในอนาคต 5,608 ล้านบาท สำหรับการกู้
เงินในรอบ 7 เดือน ภาครัฐได้กู้เงินภายในประเทศ 94,422 ล้านบาท เป็นการกู้ของ ก.คลัง 10,000 ล้าน
บาท รัฐวิสาหกิจ 84,422 ล้านบาท และเงินกู้ตามแผนก่อหนี้ต่างประเทศ 463 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ
18,277 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.พ.48 มีอยู่ 3.10 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
43.13 ของจีดีพี (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังปรับนโยบายประมาณการจีดีพีใหม่เป็นรายภาคอุตสาหกรรม นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่
ปรึกษารอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า การแถลงตัวเลขประมาณการจีดีพีในวันที่ 30 พ.ค.นี้ ทาง สนง.
เศรษฐกิจการคลังจะปรับเปลี่ยนประมาณการตัวเลขจีดีพีใหม่ โดยจะลงลึกเป็นรายภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก
โดยจะแบ่งเป็น 5 ภาค คือ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ภาคการจ้างงาน และภาคบริการ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนมากกว่าแบบเดิมที่รายงานเป็นภาพรวม ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมใดมี
ปัญหา และภาคอุตสาหกรรมไหนดี ทำให้เกิดความตื่นตระหนกเมื่อมีข่าวว่าจีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5 โดยการ
รายงานจีดีพีเป็นรายอุตสาหกรรมสามารถทำได้รวดเร็วเพราะมาจากรายภาคอุตสาหกรรม ทำให้เห็นภาพชัดเจน
ของเศรษฐกิจ เช่น หากจีดีพีภาคบริการและท่องเที่ยวเกิดปัญหา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถลงไป
แก้ไข นักลงทุนและนักธุรกิจจะได้ไม่เหมารวมเศรษฐกิจทุกภาคอุตสาหกรรมมีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่
เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันโลกเริ่มลดลงและมาตรการ
ประหยัดพลังงานของรัฐบาลจะเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ทำให้ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด
จะทยอยลดลง และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุลในสิ้นปี สำหรับตัวเลขประมาณการจีดีพีของ ก.คลังครั้งก่อนที่
ประกาศเมื่อเดือน ก.พ. อยู่ที่ร้อยละ 6 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการค้าติดลบ
1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินเฟ้อร้อยละ 4.1 (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของสรอ. ในปี 48 จะชะลอตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 17
พ.ค. 48 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแห่งชาติของสรอ. เปิดเผยผลการวิจัยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
ครึ่งแรกปีนี้จะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากการอ่อนตัวอย่างมากของอุตสาหกรรมไฮเทครวมทั้งอุปกรณ์
อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง และคาดว่าทั้งปีผลผลิตดังกล่าวจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 5.1 ในปี
ก่อน เนื่องจากการลงทุนของทั้งธุรกิจและครัวเรือนลดลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มการใช้จ่ายของภาคธุรกิจจะช่วย
กระตุ้นให้ผลผลิตอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะที่ดีโดยคาดว่าในช่วงครึ่งหลังปีนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวสูงกว่า
ร้อยละ 4 และจะขยายตัวถึงร้อยละ 5.7 ในปี 49 และการที่ผลผลิตฯ ลดลงทำให้การจ้างงานใหม่น้อยลงด้วย
โดยการชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมจนถึงช่วงครึ่งหลังปีนี้จะส่งผลให้ไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และในช่วง 5 ปีที่
ผ่านมาการจ้างงานในโรงงานของสรอ. ลดลงถึง 3 ล้านตำแหน่ง อนึ่งสมาคมฯ ยังได้คาดการณ์แนวโน้มการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจของสรอ.ในช่วงครี่งหลังปีนี้ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.8 เทียบกับระดับร้อยละ 3.0 ใน
ช่วงครึ่งแรกของปีนี้เนื่องจากการฟื้นนตัวของการลงทุนของธุรกิจและการส่งออก แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับสูงขึ้นรวม
ทั้งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ตาม(รอยเตอร์)
2. ไตรมาสแรกปี 48 ตัวเลขการเติบโตของจีดีพีของเยอรมนีอาจจะสูงกว่าความเป็นจริง รายงาน
จากเบอร์ลินเมื่อ 17 พ.ค.48 ธ.กลางเยอรมนี เปิดเผยว่า การที่ตัวเลขเบื้องต้นของอัตราการเติบโตของ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเกินความคาดหมายในช่วงไตรมาสแรกปี 48 นั้น น่า
จะเป็นตัวเลขที่เกินความเป็นจริง เนื่องจากมีการปรับด้วยจำนวนวันทำงานที่ไม่แม่นยำพอ ทั้งนี้ จากการรายงานตัว
เลขของ The Federal Statistics Office เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่า อัตราการขยายตัวของ จีดีพีของ
เยอรมนี (หลังปรับฤดูกาลและวันทำงานแล้ว) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 หลังจากที่
ชะลอตัวในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 44 ซึ่งมีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ว่า
การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสแรกปี 48 ภายหลังจากการชะลอตัวในช่วงไตรมาสก่อนหน้า เป็นการขยายตัวที่เกิน
ความจริง โดยปัญหาเกิดจากการปรับจำนวนวันทำงานในการคำนวณอัตราการขยายตัวของจีดีพีในช่วง 2 ไตรมาส
ดังกล่าว ซึ่งมีการนับจำนวนวันทำงานมากเกินไปในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 47 ในขณะที่มีการนับจำนวนวันทำงานน้อย
เกินไปในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ทั้งนี้ หากมีการปรับจำนวนวันทำงานอย่างถูกต้องจะทำให้จีดีพีของเยอรมนีในไตร
มาสแรกปี 48 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากสองไตรมาสก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน เม.ย.48 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดใน
รอบ 7 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 17 พ.ค.48 อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน เม.ย.48 คงที่อยู่ที่ร้อยละ
1.9 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 7 ปี อันเป็นผลกระทบจากราคาค่าสาธารณูปโภคและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นใน
ขณะที่ราคาอาหารและค่าโดยสารเครื่องบินชะลอตัวลง โดยราคาสินค้าทุกประเภทเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ต่อปี
ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปี ในขณะที่ราคาค่าบริการยังคงยืนอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน
เม.ย.48 อยู่ในระดับที่นักวิเคราะห์คาดไว้และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค.48 และอยู่ในระดับต่ำกว่าเพดานที่
ธ.กลางอังกฤษกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเพียงเล็กน้อย นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคอาจเพิ่มขึ้นสูงกว่า
ร้อยละ 2.0 ต่อปีในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ทำให้คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อย
ละ 4.75 ต่อปีต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้าหรือแม้กระทั่งลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ
(รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าจีดีพีเกาหลีใต้ในไตรมาสแรกปี 48 จะขยายตัวลดลงที่ร้อยละ 0.7 เทียบต่อไตร
มาส รายงานจากโซล เมื่อ 17 พ.ค.48 ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ
(จีดีพี) เกาหลีใต้ในไตรมาสแรก ปี 48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งลดลง
เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 47 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าจะขยาย
ตัวร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ สาเหตุจีดีพีเกาหลีใต้ลดลงเนื่องจากความต้องการในประเทศ (ซึ่งมีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของจีดี
พี) ชะลอตัวในปี 46 และ 47 แม้ว่าการบริโภคในประเทศจะมีสัญญาณฟื้นตัวในปีนี้ แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน
เดือน เม.ย.ลดลงจากเดือนมี.ค.ที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง นอกจากนี้ภาวะการส่งออก ซึ่งเป็นพลังขับ
เคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปีที่ผ่านมาก็เริ่มชะลอตัว เนื่องจากความต้องสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์
(ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้) เบาบางลง ประกอบกับค่าเงินวอนที่แข็งค่าขึ้น
โดยการส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสแรก ปี 48 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11 หลังจากที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
37.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวแสดงความเห็นเพิ่มเติมภายหลัง
จากที่ ธ.กลางประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม คือ ร้อยละ 3.25 เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า การเติบโต
ทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้น่าจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 3.0 ในไตรมาส 1 ปี 48 อย่างไรก็ตาม ทั้ง ธ.กลางและ
ก.คลังต่างคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะฟื้นตัวในไตรมาส 2 ปีนี้ เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและ
การใช้จ่ายในประเทศฟื้นตัวเต็มที่ในไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จีดีพีของเกาหลี
ใต้ในปี 48 อาจจะเติบโตถึงร้อยละ 4.0 สูงกว่าปีก่อน สอดคล้องกับที่ ธ.กลางเคยประมาณการไว้ หลังจากที่เคย
ขยายตัวร้อยละ 3.1 และ 4.6 ในปี 46 และ 47 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีจะประกาศอย่างเป็นทางการใน
วันศุกร์ที่ 20 พ.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 พ.ค. 48 17 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.841 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.6253/39.9095 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.34375 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 664.61/17.83 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.62 44.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.14*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จะดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ไม่ได้อ่อนค่าลงแต่อย่างใด แต่ต้องเทียบค่าเงินอื่น ๆ ทั้งหมด เพราะหาก
เทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่กำลังแข็งค่าในขณะนี้ก็อาจจะดูเหมือนว่าเงินบาทอ่อนค่าลง แต่เทียบกับค่าเงินยูโร
เงินเยน หรือเงินหยวน จะพบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทอยู่ตรงกลางระหว่างความผันผวนที่เกิดขึ้น
ในตลาดโลก ซึ่งไม่น่าเป็นห่วงเพราะไม่ก่อให้เกิดปัญหา และ ธปท. ได้สำรองทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ในเงิน
หลายสกุล ยืนยันได้ว่าสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง โดยเงินลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ไหลออก แต่จะไป
อยู่ในบัญชีเงินบาทผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศหรืออยู่ในตลาดหุ้น แม้บางส่วนจะออกจากตลาดหุ้นก็อาจจะไปอยู่ใน
ตลาดพันธบัตร ซึ่ง ธปท. ได้ติดตามดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่อัตรา
แลกเปลี่ยนของโลกมีความผันผวนสูงมากจากประเด็นค่าเงินหยวนของจีนและความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์
สรอ. โดยค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับนี้ช่วยในเรื่องการส่งออกของไทยให้ส่งออกได้ต่อเนื่อง และจะดูแลค่าเงินบาทให้
อยู่ในอัตราที่เหมาะสมอย่างนี้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. นรม. ให้ ก.คลังและ ธปท.ช่วยกันหาทางป้องกันหนี้บัตรเครดิตพล.ต.อ.เฉลิมเดช ชมพูนุท
โฆษกประจำสำนัก นรม. แถลงผลการประชุม ครม. ว่า นรม. ได้แสดงความเป็นห่วงกรณีที่ประชาชนมีบัตรเครดิต
คนละหลายใบ บางคนมีถึง 10 ใบ ทำให้มีปัญหาการใช้เงิน ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และยังทำให้ต้องไปกู้เงิน
นอกระบบเพื่อมาชำระหนี้บัตรเครดิตในแต่ละเดือน จึงได้มอบหมายให้ รมว.คลังไปหารือร่วมกับ ธปท. เพื่อหา
ทางป้องกันปัญหาต่อไป ด้าน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า จะดูแลเรื่องดังกล่าวตามบัญชาของ นรม. แต่ขณะนี้ยัง
ไม่ได้รับเรื่องอย่างเป็นทางการ และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท. ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมปริมาณบัตรเครดิต
อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของการกำหนดวงเงินขั้นต่ำของผู้ถือบัตร การผ่อนชำระหนี้เงินขั้นต่ำ การกำหนดวงเงิน
รวมสินเชื่อไม่เกิน 5 เท่าของรายได้รวม เป็นต้น สำหรับยอดการใช้บัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา มี
ยอดการใช้จ่ายลดลง แม้จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 8.77 ล้านบัตร เป็น 8.89 ล้านบัตร แต่ยอดการใช้จ่ายกลับลดลง
285 ล้านบาท จากยอด 45,997.31 ล้านบาท เหลือ 45,692.7 ล้านบาท (ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ก.คลังปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ 7 เดือน มูลค่า 2 แสนล้านบาท นางพรรณี สถาวโรดม
ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า ในรอบ 7 เดือน ปี งปม.48 (ต.ค.47-เม.ย.48) ก.คลังสามารถปรับ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ 62,829 ล้านบาท และปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 134,518 ล้านบาท ทำให้
สามารถประหยัดเงินต้น 20,124 ล้านบาท และประหยัดภาระดอกเบี้ยในอนาคต 5,608 ล้านบาท สำหรับการกู้
เงินในรอบ 7 เดือน ภาครัฐได้กู้เงินภายในประเทศ 94,422 ล้านบาท เป็นการกู้ของ ก.คลัง 10,000 ล้าน
บาท รัฐวิสาหกิจ 84,422 ล้านบาท และเงินกู้ตามแผนก่อหนี้ต่างประเทศ 463 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ
18,277 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.พ.48 มีอยู่ 3.10 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
43.13 ของจีดีพี (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังปรับนโยบายประมาณการจีดีพีใหม่เป็นรายภาคอุตสาหกรรม นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่
ปรึกษารอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า การแถลงตัวเลขประมาณการจีดีพีในวันที่ 30 พ.ค.นี้ ทาง สนง.
เศรษฐกิจการคลังจะปรับเปลี่ยนประมาณการตัวเลขจีดีพีใหม่ โดยจะลงลึกเป็นรายภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก
โดยจะแบ่งเป็น 5 ภาค คือ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ภาคการจ้างงาน และภาคบริการ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนมากกว่าแบบเดิมที่รายงานเป็นภาพรวม ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมใดมี
ปัญหา และภาคอุตสาหกรรมไหนดี ทำให้เกิดความตื่นตระหนกเมื่อมีข่าวว่าจีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5 โดยการ
รายงานจีดีพีเป็นรายอุตสาหกรรมสามารถทำได้รวดเร็วเพราะมาจากรายภาคอุตสาหกรรม ทำให้เห็นภาพชัดเจน
ของเศรษฐกิจ เช่น หากจีดีพีภาคบริการและท่องเที่ยวเกิดปัญหา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถลงไป
แก้ไข นักลงทุนและนักธุรกิจจะได้ไม่เหมารวมเศรษฐกิจทุกภาคอุตสาหกรรมมีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่
เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันโลกเริ่มลดลงและมาตรการ
ประหยัดพลังงานของรัฐบาลจะเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ทำให้ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด
จะทยอยลดลง และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุลในสิ้นปี สำหรับตัวเลขประมาณการจีดีพีของ ก.คลังครั้งก่อนที่
ประกาศเมื่อเดือน ก.พ. อยู่ที่ร้อยละ 6 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการค้าติดลบ
1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินเฟ้อร้อยละ 4.1 (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของสรอ. ในปี 48 จะชะลอตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 17
พ.ค. 48 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแห่งชาติของสรอ. เปิดเผยผลการวิจัยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
ครึ่งแรกปีนี้จะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากการอ่อนตัวอย่างมากของอุตสาหกรรมไฮเทครวมทั้งอุปกรณ์
อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง และคาดว่าทั้งปีผลผลิตดังกล่าวจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 5.1 ในปี
ก่อน เนื่องจากการลงทุนของทั้งธุรกิจและครัวเรือนลดลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มการใช้จ่ายของภาคธุรกิจจะช่วย
กระตุ้นให้ผลผลิตอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะที่ดีโดยคาดว่าในช่วงครึ่งหลังปีนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวสูงกว่า
ร้อยละ 4 และจะขยายตัวถึงร้อยละ 5.7 ในปี 49 และการที่ผลผลิตฯ ลดลงทำให้การจ้างงานใหม่น้อยลงด้วย
โดยการชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมจนถึงช่วงครึ่งหลังปีนี้จะส่งผลให้ไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และในช่วง 5 ปีที่
ผ่านมาการจ้างงานในโรงงานของสรอ. ลดลงถึง 3 ล้านตำแหน่ง อนึ่งสมาคมฯ ยังได้คาดการณ์แนวโน้มการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจของสรอ.ในช่วงครี่งหลังปีนี้ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.8 เทียบกับระดับร้อยละ 3.0 ใน
ช่วงครึ่งแรกของปีนี้เนื่องจากการฟื้นนตัวของการลงทุนของธุรกิจและการส่งออก แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับสูงขึ้นรวม
ทั้งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ตาม(รอยเตอร์)
2. ไตรมาสแรกปี 48 ตัวเลขการเติบโตของจีดีพีของเยอรมนีอาจจะสูงกว่าความเป็นจริง รายงาน
จากเบอร์ลินเมื่อ 17 พ.ค.48 ธ.กลางเยอรมนี เปิดเผยว่า การที่ตัวเลขเบื้องต้นของอัตราการเติบโตของ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเกินความคาดหมายในช่วงไตรมาสแรกปี 48 นั้น น่า
จะเป็นตัวเลขที่เกินความเป็นจริง เนื่องจากมีการปรับด้วยจำนวนวันทำงานที่ไม่แม่นยำพอ ทั้งนี้ จากการรายงานตัว
เลขของ The Federal Statistics Office เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่า อัตราการขยายตัวของ จีดีพีของ
เยอรมนี (หลังปรับฤดูกาลและวันทำงานแล้ว) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 หลังจากที่
ชะลอตัวในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 44 ซึ่งมีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ว่า
การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสแรกปี 48 ภายหลังจากการชะลอตัวในช่วงไตรมาสก่อนหน้า เป็นการขยายตัวที่เกิน
ความจริง โดยปัญหาเกิดจากการปรับจำนวนวันทำงานในการคำนวณอัตราการขยายตัวของจีดีพีในช่วง 2 ไตรมาส
ดังกล่าว ซึ่งมีการนับจำนวนวันทำงานมากเกินไปในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 47 ในขณะที่มีการนับจำนวนวันทำงานน้อย
เกินไปในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ทั้งนี้ หากมีการปรับจำนวนวันทำงานอย่างถูกต้องจะทำให้จีดีพีของเยอรมนีในไตร
มาสแรกปี 48 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากสองไตรมาสก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน เม.ย.48 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดใน
รอบ 7 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 17 พ.ค.48 อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน เม.ย.48 คงที่อยู่ที่ร้อยละ
1.9 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 7 ปี อันเป็นผลกระทบจากราคาค่าสาธารณูปโภคและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นใน
ขณะที่ราคาอาหารและค่าโดยสารเครื่องบินชะลอตัวลง โดยราคาสินค้าทุกประเภทเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ต่อปี
ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปี ในขณะที่ราคาค่าบริการยังคงยืนอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน
เม.ย.48 อยู่ในระดับที่นักวิเคราะห์คาดไว้และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค.48 และอยู่ในระดับต่ำกว่าเพดานที่
ธ.กลางอังกฤษกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเพียงเล็กน้อย นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคอาจเพิ่มขึ้นสูงกว่า
ร้อยละ 2.0 ต่อปีในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ทำให้คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อย
ละ 4.75 ต่อปีต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้าหรือแม้กระทั่งลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ
(รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าจีดีพีเกาหลีใต้ในไตรมาสแรกปี 48 จะขยายตัวลดลงที่ร้อยละ 0.7 เทียบต่อไตร
มาส รายงานจากโซล เมื่อ 17 พ.ค.48 ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ
(จีดีพี) เกาหลีใต้ในไตรมาสแรก ปี 48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งลดลง
เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 47 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าจะขยาย
ตัวร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ สาเหตุจีดีพีเกาหลีใต้ลดลงเนื่องจากความต้องการในประเทศ (ซึ่งมีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของจีดี
พี) ชะลอตัวในปี 46 และ 47 แม้ว่าการบริโภคในประเทศจะมีสัญญาณฟื้นตัวในปีนี้ แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน
เดือน เม.ย.ลดลงจากเดือนมี.ค.ที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง นอกจากนี้ภาวะการส่งออก ซึ่งเป็นพลังขับ
เคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปีที่ผ่านมาก็เริ่มชะลอตัว เนื่องจากความต้องสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์
(ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้) เบาบางลง ประกอบกับค่าเงินวอนที่แข็งค่าขึ้น
โดยการส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสแรก ปี 48 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11 หลังจากที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
37.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวแสดงความเห็นเพิ่มเติมภายหลัง
จากที่ ธ.กลางประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม คือ ร้อยละ 3.25 เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า การเติบโต
ทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้น่าจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 3.0 ในไตรมาส 1 ปี 48 อย่างไรก็ตาม ทั้ง ธ.กลางและ
ก.คลังต่างคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะฟื้นตัวในไตรมาส 2 ปีนี้ เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและ
การใช้จ่ายในประเทศฟื้นตัวเต็มที่ในไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จีดีพีของเกาหลี
ใต้ในปี 48 อาจจะเติบโตถึงร้อยละ 4.0 สูงกว่าปีก่อน สอดคล้องกับที่ ธ.กลางเคยประมาณการไว้ หลังจากที่เคย
ขยายตัวร้อยละ 3.1 และ 4.6 ในปี 46 และ 47 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีจะประกาศอย่างเป็นทางการใน
วันศุกร์ที่ 20 พ.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 พ.ค. 48 17 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.841 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.6253/39.9095 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.34375 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 664.61/17.83 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.62 44.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.14*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--