1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 — 1 ก.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,200.70 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 658.29 ตัน สัตว์น้ำจืด 542.41 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.52 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.46 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 164.38 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 23.35 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.63 ตัน
การตลาด
อุตสาหกรรมปลาป่นภาคใต้ขอให้รัฐพยุงราคาอีก 2 บาท/กก.
นายทวี ปิยะพัฒนา นายกสมาคมปลาป่นไทยกล่าวถึงสถานการณ์ธุรกิจปลาป่นในขณะนี้ว่า นับเป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วที่ผู้ประกอบการโรงงานปลาป่นได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาปลาป่นที่ตกต่ำ ซึ่งจากเดิมราคาปลาป่นอยู่ประมาณ 21-22 บาท/กก. แต่กลับลดลงเหลือเพียง 18 บาท/กก. โดยราคาที่เป็นอยู่ขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ปัญหาเกิดจากผู้ซื้อรายใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของไทย กดราคารับซื้อปลาป่น โดยอ้างว่ายอดขายอาหารสัตว์ มียอดขายลดลง ทำให้ต้องปรับราคารับซื้อปลาป่นลง ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการโรงงานปลาป่น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงนั้นราคาอาหารสัตว์มีการปรับราคาในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเบื้องต้นทางสมาคมฯได้ทำหนังสือไปถึงกระทรวงพาณิชย์ไปนานกว่า 1 เดือนแล้ว เพื่อให้เข้ามาแก่ปัญหาโดยเฉพาะการเจรจากับผู้ซื้อรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 60% ปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้น โดยเสนอราคาที่เหมาะสม และผู้ประกอบการโรงงานปลาป่นสามารถอยู่ได้ คือ 20 บาท/กก. แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบ นอกจากนี้การกดราคารับซื้อปลาป่นยังมีผลกระทบถึงธุรกิจเรือประมงด้วย เพราะการที่ราคาปลาป่นตกต่ำ ผู้ประกอบการโรงงานปลาป่นก็จะไม่รับซื้อวัตถุดิบ(ปลาเป็ด) จากเรือประมงในราคาที่สูงได้ และที่สำคัญราคาปลาป่น เป็นราคาใช้ในการกำหนดราคาปลาด้วย ฉะนั้นผลกระทบจึงเป็นลูกโซ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับปริมาณการผลิตปลาป่นปีนี้จะอยู่ประมาณ 450,000 ตัน ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้ปริมาณการผลิตปลาป่นปีนี้ไม่เพิ่มนั้น ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง เนื่องจากเรือประมงประมาณ 40% ที่หยุดทำการประมง อันเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมัน ส่วนการส่งออกในปีนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเดิมปี 2549 สามารถส่งออกได้ประมาณ 80,000 ตัน แต่ในปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ทั้งปีประมาณ 100,000 ตัน เนื่องจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยอดการส่งออกทะลุ 50,000 ตันไปแล้ว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.77 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.61 บาท ทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.— 3 ส.ค.2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 ก.ค. — 5 ส.ค. 2550--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 — 1 ก.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,200.70 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 658.29 ตัน สัตว์น้ำจืด 542.41 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.52 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.46 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 164.38 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 23.35 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.63 ตัน
การตลาด
อุตสาหกรรมปลาป่นภาคใต้ขอให้รัฐพยุงราคาอีก 2 บาท/กก.
นายทวี ปิยะพัฒนา นายกสมาคมปลาป่นไทยกล่าวถึงสถานการณ์ธุรกิจปลาป่นในขณะนี้ว่า นับเป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วที่ผู้ประกอบการโรงงานปลาป่นได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาปลาป่นที่ตกต่ำ ซึ่งจากเดิมราคาปลาป่นอยู่ประมาณ 21-22 บาท/กก. แต่กลับลดลงเหลือเพียง 18 บาท/กก. โดยราคาที่เป็นอยู่ขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ปัญหาเกิดจากผู้ซื้อรายใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของไทย กดราคารับซื้อปลาป่น โดยอ้างว่ายอดขายอาหารสัตว์ มียอดขายลดลง ทำให้ต้องปรับราคารับซื้อปลาป่นลง ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการโรงงานปลาป่น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงนั้นราคาอาหารสัตว์มีการปรับราคาในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเบื้องต้นทางสมาคมฯได้ทำหนังสือไปถึงกระทรวงพาณิชย์ไปนานกว่า 1 เดือนแล้ว เพื่อให้เข้ามาแก่ปัญหาโดยเฉพาะการเจรจากับผู้ซื้อรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 60% ปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้น โดยเสนอราคาที่เหมาะสม และผู้ประกอบการโรงงานปลาป่นสามารถอยู่ได้ คือ 20 บาท/กก. แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบ นอกจากนี้การกดราคารับซื้อปลาป่นยังมีผลกระทบถึงธุรกิจเรือประมงด้วย เพราะการที่ราคาปลาป่นตกต่ำ ผู้ประกอบการโรงงานปลาป่นก็จะไม่รับซื้อวัตถุดิบ(ปลาเป็ด) จากเรือประมงในราคาที่สูงได้ และที่สำคัญราคาปลาป่น เป็นราคาใช้ในการกำหนดราคาปลาด้วย ฉะนั้นผลกระทบจึงเป็นลูกโซ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับปริมาณการผลิตปลาป่นปีนี้จะอยู่ประมาณ 450,000 ตัน ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้ปริมาณการผลิตปลาป่นปีนี้ไม่เพิ่มนั้น ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง เนื่องจากเรือประมงประมาณ 40% ที่หยุดทำการประมง อันเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมัน ส่วนการส่งออกในปีนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเดิมปี 2549 สามารถส่งออกได้ประมาณ 80,000 ตัน แต่ในปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ทั้งปีประมาณ 100,000 ตัน เนื่องจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยอดการส่งออกทะลุ 50,000 ตันไปแล้ว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.77 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.61 บาท ทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.— 3 ส.ค.2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 ก.ค. — 5 ส.ค. 2550--
-พห-