อนาคตใหม่ การเมืองใหม่ กับปัญหาความยากจน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็มีมติยกเลิกการห้ามดำเนินกิจการทางการเมืองของพรรคการเมืองตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๒๗ และจะเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๑๕ ซึ่งเมื่อผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และประกาศเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะมีผลให้การจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นได้ต่อไป
ถือได้ว่าการออกมติคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตามบรรยากาศทางการเมือง ก็ยังมีความไม่แน่นอน และความตึงเครียดอยู่ โดยเฉพาะการชุมนุมต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) และการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบไป
เพื่อให้การฟื้นฟูประชาธิปไตยเดินไปได้อย่างต่อเนื่อง ผมขอย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะอนุญาตให้กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และกลุ่มอื่นๆจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยเร็ว
นั่นหมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควรจะถือเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วน โดยการพิจารณากฎหมายซึ่งไม่มีความซับซ้อนใดๆโดยเร็ว
นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ควรอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งพรรคการเมือง
ไม่ควรตั้งแง่ เรื่องชื่อ
ไม่ควรตั้งแง่เรื่องเงื่อนไขและการชำระบัญชีของพรรคที่ถูกยุบ
ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการรักษาหลักสำคัญของประชาธิปไตย คือการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางการเมืองให้มากที่สุด ในกรอบของกฎหมาย ไม่ใช่เพื่อตอบสนองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ส่วนปัญหาที่มีการเสนอเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมนั้น
ควรใช้เวลาช่วงนี้ ให้สังคมรับทราบ และ เข้าใจคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่มีความละเอียด ชัดเจน อย่างถ่องแท้
เมื่อตกผลึกแล้ว คำตอบที่เหมาะสมก็จะปรากฏออกมา เป็นที่ยอมรับของสังคม
สำหรับการชุมนุมต่อต้าน คมช. ที่ดูจะมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงมากขึ้นนั้น
ขอให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ใช้สิทธิเสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่บนสันติวิธี
เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะจบลงอย่างไร มีแต่จะทำให้ประชาธิปไตยตกอยู่ในภาวะถดถอยมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ความตึงเครียดยังดำรงอยู่
ปัญหาของประชาชนก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบ และ ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง น้ำมันแพง เงินบาทแข็ง ราคาพืชผลไม่ดี ฯลฯ
ทุกคนตั้งความหวังว่าปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลายเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ “ภาวะปกติ”
“ภาวะปกติ” หนีไม่พ้น การมีการเลือกตั้งที่สุจริต เที่ยงธรรม ประชาชนมีทางเลือก ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย (ดูบทความ ใน www.abhisit.org ทุกฝ่ายต้องสนองกระแสพระราชดำรัสโดยช่วยกันแก้ปัญหาความเดือดร้อนหลังคดียุบพรรค โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
อย่างไรก็ดี สภาวะที่ไม่ปกติของปัญหา ทำให้การขับเคลื่อนให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ต้องอาศัยเงื่อนไขหลายประการ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผมและพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้ประกาศจุดยืนภายหลังที่ได้รับสิทธิในการเคลื่อนไหวทางการเมืองกลับคืนมา (ดูประเด็นร้อน ใน www.abhisit.org เรื่อง จุดยืนประชา ธิปัตย์หลังการยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ และ ใน www.democrat.or.th)
โดยเน้นไปที่การสร้างอนาคตใหม่ให้ประเทศ
ที่สังคมสันติสุข ผู้คนสมัครสมานสามัคคี
ที่เศรษฐกิจแข็งแกร่ง
ที่คนไทย ฉลาด แข็งแรง มีคุณธรรม มีหลักประกัน สวัสดิการถ้วนหน้า
ที่สังคมมีธรรมาภิบาล ใช้ทรัพยากรในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
อนาคตใหม่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการรวมพลังของคนทั้งชาติ
ผมและพรรคจึงได้ประกาศว่า กิจกรรมของเราจากนี้ไปคือ การเดินหน้าพบปะประชาชนทั่วประเทศ เพื่อสร้างพลังร่วมตรงนี้ โดยการอธิบาย สร้างความเข้าใจ รับฟัง ถึงปัญหาต่างๆและแนวทางแก้ไข
ถือเป็นภาคต่อของการจัดสมัชชาประชาชน และ การจัดเสวนาทางวิชาการที่ผ่านมา
บ้านเมืองต้องการแนวทางการเมืองใหม่แบบนี้ เข้ามาแทนที่การเผชิญหน้า การแก่งแย่ง การช่วงชิง ในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการหาเสียง หรือ การเลือกตั้ง
กิจกรรมอย่างนี้ จะช่วยให้เกิดความยอมรับ นักการเมือง พรรคการเมือง
กิจกรรมอย่างนี้ จะทำให้การแก้ปัญหาต่อไป สำเร็จลุล่วงได้
สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ใช้ภาพปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นตัวสะท้อน ความเป็นจริง และ แนวทางแก้ไขปัญหาโดยรวมของประเทศ (ดูบทความ ใน www.abhisit.org ประเทศไทยต้องเดินหน้า — ปัญหารอไม่ได้ โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๐)
สัปดาห์นี้ จะขอยกประเด็นปัญหา ความยากจนบ้าง เพราะปัญหานี้ยังเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของคนส่วนใหญ่ของประเทศ แม้รัฐบาลทุกชุดก็พยายามแก้ไขมาโดยตลอด
กรอบความคิดที่ควรจะใช้จากนี้ไป ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
๑. การแก้ปัญหาความยากจน แยกจากนโยบายเศรษฐกิจโดยรวมไม่ได้ ที่ผ่านมามักจะมี
การแยกนโยบายเกี่ยวกับความยากจนออกจากนโยบายอื่นๆ โดยมองข้ามไปว่า นโยบายเกือบทุกด้าน มีผลต่อปัญหาความยากจน ทั้งในแง่การไปแย่งชิงทรัพยากร เปลี่ยนวิถีชีวิต ชักจูงให้เกิดความเสี่ยง ฯลฯ หากต้องการแก้ปัญหาความยากจนจริง จากนี้ไปทุกนโยบายจะต้องมีการประเมินผลกระทบต่อคนยากจนด้วย
๒. การหลุดพ้นจากความยากจน คือ การมีงานทำ การมีรายได้ พึ่งตนเองได้ นั่น
หมายความว่า การเติบโตของเศรษฐกิจ และการจ้างงาน มีความสำคัญ โดยเฉพาะหากโอกาสของการมีงาน มีรายได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตเดิม เช่น ขณะนี้ ต้องสร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกมัน หรือชาวไร่อ้อย ได้ประโยชน์สูงสุดจากการผลิตพลังงานทดแทน ที่เติบโตอย่างเป็นระบบ ทั่วถึง ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการมาไล่ตามแก้ปัญหาเรื่องการพยุงราคา การจำนำผลผลิต เป็นต้น
๓. จัดระบบและปรับปรุงทุกโครงการที่ให้โอกาสและลดภาระคนจน โดยไม่คำนึงถึงการ
ช่วงชิงทางการเมือง โครงการที่มีความมุ่งหมายดีต้องสานต่อ เช่น การรักษาฟรีต้องดำเนินต่อไป โดยจัดระบบงบประมาณให้มีความเพียงพอ กองทุนหมู่บ้านก็ต้องมีการสนับสนุนให้เดินต่อไปได้อย่างรัดกุม มีเงินไปให้ประชาชนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ เป็นต้น
๔. สร้างระบบสวัสดิการให้ทุกคน โดยถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นหลักประกันให้
ผู้ด้อยโอกาส เรื่อง การศึกษา การรักษาพยาบาล การมีรายได้เมื่อชรา ไปจนถึงการจัดระบบประกันภัยให้พืชผล โดยยืนยันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิของคนไทย ไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งหมดนี้ หมายถึงการเปลี่ยนวิธีคิด ทั้งจากภาคการเมือง ภาคราชการ รวมไปถึงประชาชนอีกหลายกลุ่ม ที่ต้องอาศัยกระบวนการการเมืองใหม่ เพื่อสร้างอนาคตใหม่ของประเทศและประชาชน
มาเริ่มต้นกันตั้งแต่เดี๋ยวนี้ แทนการหมกมุ่นอยู่กับความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ดีกว่าหรือ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 มิ.ย. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็มีมติยกเลิกการห้ามดำเนินกิจการทางการเมืองของพรรคการเมืองตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๒๗ และจะเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๑๕ ซึ่งเมื่อผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และประกาศเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะมีผลให้การจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นได้ต่อไป
ถือได้ว่าการออกมติคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตามบรรยากาศทางการเมือง ก็ยังมีความไม่แน่นอน และความตึงเครียดอยู่ โดยเฉพาะการชุมนุมต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) และการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบไป
เพื่อให้การฟื้นฟูประชาธิปไตยเดินไปได้อย่างต่อเนื่อง ผมขอย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะอนุญาตให้กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และกลุ่มอื่นๆจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยเร็ว
นั่นหมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควรจะถือเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วน โดยการพิจารณากฎหมายซึ่งไม่มีความซับซ้อนใดๆโดยเร็ว
นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ควรอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งพรรคการเมือง
ไม่ควรตั้งแง่ เรื่องชื่อ
ไม่ควรตั้งแง่เรื่องเงื่อนไขและการชำระบัญชีของพรรคที่ถูกยุบ
ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการรักษาหลักสำคัญของประชาธิปไตย คือการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางการเมืองให้มากที่สุด ในกรอบของกฎหมาย ไม่ใช่เพื่อตอบสนองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ส่วนปัญหาที่มีการเสนอเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมนั้น
ควรใช้เวลาช่วงนี้ ให้สังคมรับทราบ และ เข้าใจคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่มีความละเอียด ชัดเจน อย่างถ่องแท้
เมื่อตกผลึกแล้ว คำตอบที่เหมาะสมก็จะปรากฏออกมา เป็นที่ยอมรับของสังคม
สำหรับการชุมนุมต่อต้าน คมช. ที่ดูจะมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงมากขึ้นนั้น
ขอให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ใช้สิทธิเสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่บนสันติวิธี
เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะจบลงอย่างไร มีแต่จะทำให้ประชาธิปไตยตกอยู่ในภาวะถดถอยมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ความตึงเครียดยังดำรงอยู่
ปัญหาของประชาชนก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบ และ ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง น้ำมันแพง เงินบาทแข็ง ราคาพืชผลไม่ดี ฯลฯ
ทุกคนตั้งความหวังว่าปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลายเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ “ภาวะปกติ”
“ภาวะปกติ” หนีไม่พ้น การมีการเลือกตั้งที่สุจริต เที่ยงธรรม ประชาชนมีทางเลือก ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย (ดูบทความ ใน www.abhisit.org ทุกฝ่ายต้องสนองกระแสพระราชดำรัสโดยช่วยกันแก้ปัญหาความเดือดร้อนหลังคดียุบพรรค โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
อย่างไรก็ดี สภาวะที่ไม่ปกติของปัญหา ทำให้การขับเคลื่อนให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ต้องอาศัยเงื่อนไขหลายประการ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผมและพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้ประกาศจุดยืนภายหลังที่ได้รับสิทธิในการเคลื่อนไหวทางการเมืองกลับคืนมา (ดูประเด็นร้อน ใน www.abhisit.org เรื่อง จุดยืนประชา ธิปัตย์หลังการยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ และ ใน www.democrat.or.th)
โดยเน้นไปที่การสร้างอนาคตใหม่ให้ประเทศ
ที่สังคมสันติสุข ผู้คนสมัครสมานสามัคคี
ที่เศรษฐกิจแข็งแกร่ง
ที่คนไทย ฉลาด แข็งแรง มีคุณธรรม มีหลักประกัน สวัสดิการถ้วนหน้า
ที่สังคมมีธรรมาภิบาล ใช้ทรัพยากรในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
อนาคตใหม่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการรวมพลังของคนทั้งชาติ
ผมและพรรคจึงได้ประกาศว่า กิจกรรมของเราจากนี้ไปคือ การเดินหน้าพบปะประชาชนทั่วประเทศ เพื่อสร้างพลังร่วมตรงนี้ โดยการอธิบาย สร้างความเข้าใจ รับฟัง ถึงปัญหาต่างๆและแนวทางแก้ไข
ถือเป็นภาคต่อของการจัดสมัชชาประชาชน และ การจัดเสวนาทางวิชาการที่ผ่านมา
บ้านเมืองต้องการแนวทางการเมืองใหม่แบบนี้ เข้ามาแทนที่การเผชิญหน้า การแก่งแย่ง การช่วงชิง ในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการหาเสียง หรือ การเลือกตั้ง
กิจกรรมอย่างนี้ จะช่วยให้เกิดความยอมรับ นักการเมือง พรรคการเมือง
กิจกรรมอย่างนี้ จะทำให้การแก้ปัญหาต่อไป สำเร็จลุล่วงได้
สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ใช้ภาพปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นตัวสะท้อน ความเป็นจริง และ แนวทางแก้ไขปัญหาโดยรวมของประเทศ (ดูบทความ ใน www.abhisit.org ประเทศไทยต้องเดินหน้า — ปัญหารอไม่ได้ โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๐)
สัปดาห์นี้ จะขอยกประเด็นปัญหา ความยากจนบ้าง เพราะปัญหานี้ยังเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของคนส่วนใหญ่ของประเทศ แม้รัฐบาลทุกชุดก็พยายามแก้ไขมาโดยตลอด
กรอบความคิดที่ควรจะใช้จากนี้ไป ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
๑. การแก้ปัญหาความยากจน แยกจากนโยบายเศรษฐกิจโดยรวมไม่ได้ ที่ผ่านมามักจะมี
การแยกนโยบายเกี่ยวกับความยากจนออกจากนโยบายอื่นๆ โดยมองข้ามไปว่า นโยบายเกือบทุกด้าน มีผลต่อปัญหาความยากจน ทั้งในแง่การไปแย่งชิงทรัพยากร เปลี่ยนวิถีชีวิต ชักจูงให้เกิดความเสี่ยง ฯลฯ หากต้องการแก้ปัญหาความยากจนจริง จากนี้ไปทุกนโยบายจะต้องมีการประเมินผลกระทบต่อคนยากจนด้วย
๒. การหลุดพ้นจากความยากจน คือ การมีงานทำ การมีรายได้ พึ่งตนเองได้ นั่น
หมายความว่า การเติบโตของเศรษฐกิจ และการจ้างงาน มีความสำคัญ โดยเฉพาะหากโอกาสของการมีงาน มีรายได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตเดิม เช่น ขณะนี้ ต้องสร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกมัน หรือชาวไร่อ้อย ได้ประโยชน์สูงสุดจากการผลิตพลังงานทดแทน ที่เติบโตอย่างเป็นระบบ ทั่วถึง ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการมาไล่ตามแก้ปัญหาเรื่องการพยุงราคา การจำนำผลผลิต เป็นต้น
๓. จัดระบบและปรับปรุงทุกโครงการที่ให้โอกาสและลดภาระคนจน โดยไม่คำนึงถึงการ
ช่วงชิงทางการเมือง โครงการที่มีความมุ่งหมายดีต้องสานต่อ เช่น การรักษาฟรีต้องดำเนินต่อไป โดยจัดระบบงบประมาณให้มีความเพียงพอ กองทุนหมู่บ้านก็ต้องมีการสนับสนุนให้เดินต่อไปได้อย่างรัดกุม มีเงินไปให้ประชาชนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ เป็นต้น
๔. สร้างระบบสวัสดิการให้ทุกคน โดยถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นหลักประกันให้
ผู้ด้อยโอกาส เรื่อง การศึกษา การรักษาพยาบาล การมีรายได้เมื่อชรา ไปจนถึงการจัดระบบประกันภัยให้พืชผล โดยยืนยันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิของคนไทย ไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งหมดนี้ หมายถึงการเปลี่ยนวิธีคิด ทั้งจากภาคการเมือง ภาคราชการ รวมไปถึงประชาชนอีกหลายกลุ่ม ที่ต้องอาศัยกระบวนการการเมืองใหม่ เพื่อสร้างอนาคตใหม่ของประเทศและประชาชน
มาเริ่มต้นกันตั้งแต่เดี๋ยวนี้ แทนการหมกมุ่นอยู่กับความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ดีกว่าหรือ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 มิ.ย. 2550--จบ--