นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง
เปิดเผยฐานะการคลังภาคสาธารณะ (รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจตลอดทั้งปีงบประมาณ
2547 (ตามระบบ สศค) ดังนี้
ในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ดังนั้น
เมื่อรัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย จึงได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจำนวน 135,500 ล้านบาท
เท่ากับจำนวนรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการเพิ่มอำนาจซื้อในการบริโภคของประชาชน
และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งมีผลให้ระบบเศรษฐกิจของไทยมีการขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่อง และส่งผลให้ดุลการคลังภาคสาธารณะตามระบบ สศค. เกินดุลสูงถึง 110,291 ล้านบาท หรือคิด
เป็นร้อยละ 1.7 ของ GDP โดยประกอบด้วยการเกินดุลการคลังของรัฐบาล 40,119 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 0.6 ของ GDP องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกินดุล 55,040 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ
GDP และรัฐวิสาหกิจเกินดุล จำนวน 15,132 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP
ตารางที่ 1 ดุลการคลังภาคสาธารณะปีงบประมาณ 2547
หน่วย : ล้านบาท
ดุลการคลังของภาคสาธารณะ 2547 ร้อยละของ 2546 ร้อยละของ เปลี่ยนแปลง
GDP GDP ร้อยละ
1. รัฐบาล 40,119.30 0.6 67,039.90 1.2 -40.2
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 55,040.00 0.9 31,325.40 0.5 75.7
3. รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 15,131.90 0.2 44,494.40 0.8 -66
4. ดุลการคลังของภาคสาธารณะ 110,291.20 1.7 142,859.70 2.5 -22.8
1 หมายเหตุ ระบบ สศค.: ระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง หรือ
Government Financial Statistics (GFS) เป็นระบบสถิติที่รวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาค
สาธารณะทั้งหมด ฐานะการคลังในที่นี้ครอบคลุมการใช้จ่ายตามระบบงบประมาณ เงินฝากนอกงบประมาณ
เงินทุนและกองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ เงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
การเกินดุลการคลังของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 เนื่องจากรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานจัดเก็บภาษี รวม
ทั้งกองทุนประกันสังคมซึ่งอยู่ในส่วนของเงินกองทุนนอกงบประมาณได้ปรับอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนฯเพิ่มขึ้น
และได้เพิ่มการคุ้มครองการว่างงาน (จากเดิมที่ไม่มีการคุ้มครอง)
สำหรับดุลการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในอัตราที่สูง เนื่อง
จากรัฐบาลได้จัดสรรรายได้และเร่งรัดการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้น
ส่วนดุลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเกินดุลลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบลงทุนใน
ปีนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่ปีที่แล้วมีการชะลอการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจหลายโครงการ
ผลกระทบของผลการดำเนินงานด้านการคลังของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจ
ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้
สินค้าและบริการ ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP) ในปีงบประมาณ 2547 มีจำนวนทั้งสิ้น 654,637
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2546 ร้อยละ 10.9 สาเหตุสำคัญเนื่องจากมีรายจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมใน
ส่วนของเงินเบี้ยหวัดบำนาญ ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ และค่าใช้จ่ายตามมาตรการ
พัฒนาการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
รายจ่ายลงทุนของภาครัฐบาล (Gross capital formation) ในปีงบประมาณ 2547 มีจำนวน
119,814 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้วร้อยละ 6.7
ในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการออกตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรจำนวน
60,000 และ 30,000 ล้านบาท ตามลำดับ เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 มีจำนวน
153,242 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย 38 วันทำการ (ระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมคือไม่ต่ำกว่า 10
วันทำการ หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2548 10 มกราคม 2548--
เปิดเผยฐานะการคลังภาคสาธารณะ (รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจตลอดทั้งปีงบประมาณ
2547 (ตามระบบ สศค) ดังนี้
ในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ดังนั้น
เมื่อรัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย จึงได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจำนวน 135,500 ล้านบาท
เท่ากับจำนวนรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการเพิ่มอำนาจซื้อในการบริโภคของประชาชน
และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งมีผลให้ระบบเศรษฐกิจของไทยมีการขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่อง และส่งผลให้ดุลการคลังภาคสาธารณะตามระบบ สศค. เกินดุลสูงถึง 110,291 ล้านบาท หรือคิด
เป็นร้อยละ 1.7 ของ GDP โดยประกอบด้วยการเกินดุลการคลังของรัฐบาล 40,119 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 0.6 ของ GDP องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกินดุล 55,040 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ
GDP และรัฐวิสาหกิจเกินดุล จำนวน 15,132 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP
ตารางที่ 1 ดุลการคลังภาคสาธารณะปีงบประมาณ 2547
หน่วย : ล้านบาท
ดุลการคลังของภาคสาธารณะ 2547 ร้อยละของ 2546 ร้อยละของ เปลี่ยนแปลง
GDP GDP ร้อยละ
1. รัฐบาล 40,119.30 0.6 67,039.90 1.2 -40.2
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 55,040.00 0.9 31,325.40 0.5 75.7
3. รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 15,131.90 0.2 44,494.40 0.8 -66
4. ดุลการคลังของภาคสาธารณะ 110,291.20 1.7 142,859.70 2.5 -22.8
1 หมายเหตุ ระบบ สศค.: ระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง หรือ
Government Financial Statistics (GFS) เป็นระบบสถิติที่รวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาค
สาธารณะทั้งหมด ฐานะการคลังในที่นี้ครอบคลุมการใช้จ่ายตามระบบงบประมาณ เงินฝากนอกงบประมาณ
เงินทุนและกองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ เงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
การเกินดุลการคลังของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 เนื่องจากรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานจัดเก็บภาษี รวม
ทั้งกองทุนประกันสังคมซึ่งอยู่ในส่วนของเงินกองทุนนอกงบประมาณได้ปรับอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนฯเพิ่มขึ้น
และได้เพิ่มการคุ้มครองการว่างงาน (จากเดิมที่ไม่มีการคุ้มครอง)
สำหรับดุลการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในอัตราที่สูง เนื่อง
จากรัฐบาลได้จัดสรรรายได้และเร่งรัดการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้น
ส่วนดุลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเกินดุลลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบลงทุนใน
ปีนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่ปีที่แล้วมีการชะลอการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจหลายโครงการ
ผลกระทบของผลการดำเนินงานด้านการคลังของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจ
ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้
สินค้าและบริการ ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP) ในปีงบประมาณ 2547 มีจำนวนทั้งสิ้น 654,637
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2546 ร้อยละ 10.9 สาเหตุสำคัญเนื่องจากมีรายจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมใน
ส่วนของเงินเบี้ยหวัดบำนาญ ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ และค่าใช้จ่ายตามมาตรการ
พัฒนาการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
รายจ่ายลงทุนของภาครัฐบาล (Gross capital formation) ในปีงบประมาณ 2547 มีจำนวน
119,814 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้วร้อยละ 6.7
ในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการออกตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรจำนวน
60,000 และ 30,000 ล้านบาท ตามลำดับ เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 มีจำนวน
153,242 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย 38 วันทำการ (ระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมคือไม่ต่ำกว่า 10
วันทำการ หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2548 10 มกราคม 2548--