กรุงเทพ--28 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 นาย Koichiro Matsuura ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายตำแหน่งทูตสันถวไมตรีแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการระดับโลกว่าด้วยจริยธรรมในการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (COMEST) ครั้งที่ 4 โดยภายหลังการเข้าพบ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
1. การที่ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตำแหน่งทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากทางยูเนสโก ได้เห็นถึงบทบาทของพระองค์ท่านในการพัฒนาคน และสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นจะประโยชน์แก่ประเทศไทย แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่น ๆ ด้วย และเป็นการแสดงถึงความสำคัญอย่างมากที่ UNESCO ให้แก่ไทย
2. ยูเนสโกได้เชิญ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ในการประชุมประจำปีของยูเนสโก เดือนตุลาคม 2548 ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตอบรับในหลักการแล้ว
3. การที่ไทยเป็นสมาชิกยูเนสโก ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1949 ทำให้ไทยได้มีบทบาท และได้ร่วมมือกับยูเนสโกอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน และขณะนี้ ไทยมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับยูเนสโกในการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาน้อยกว่า อันจะเป็นการลดช่องว่างทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ อันเป็นการแสดงบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของไทยในการพัฒนาภูมิภาค รวมทั้งประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย ยูเนสโกก็ได้เห็นบทบาทของไทย โดยได้จัดตั้งสำนักงานสาขาขนาดใหญ่ในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานของยูเนสโกในภูมิภาคนี้
4. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงบทบาทของยูเนสโกในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับเตือนภัยสึนามิในเขตมหาสมุทรอินเดีย เนื่องจากหน่วยงานของยูเนสโกมีบทบาทด้านนี้มากว่า 40 ปี ซึ่งขณะนี้ ยูเนสโกพร้อมที่จะช่วยประเทศในมหาสมุทรอินเดียในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยเฉพาะการช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมบุคลากรในการทำงานโดยเร็วที่สุด โดยไทยพร้อมในการเป็นศูนย์กลางในการเตือนภัยศูนย์หนึ่งในภูมิภาค ส่วนบทบาทของศูนย์เตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ยูเนสโกจะดำเนินการศึกษาต่อไปว่าศูนย์ ฯ ควรมีบทบาทเป็นองค์กรระดับชาติหรือเป็น APDC ต่อไป นอกจากนี้ ยูเนสโกกับไทยจะร่วมกันศึกษาถึงจุดอ่อน จุดแข็งของ ADPC ด้วย
5. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับบทบาทของยูเนสโกและไทยที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา ซึ่งการที่จะทำให้ประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์นั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาที่ทำให้คนสามารถคิดล่วงหน้า แก้ปัญหา และป้องกันปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยจะร่วมมือกับยูเนสโกต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 นาย Koichiro Matsuura ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายตำแหน่งทูตสันถวไมตรีแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการระดับโลกว่าด้วยจริยธรรมในการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (COMEST) ครั้งที่ 4 โดยภายหลังการเข้าพบ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
1. การที่ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตำแหน่งทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากทางยูเนสโก ได้เห็นถึงบทบาทของพระองค์ท่านในการพัฒนาคน และสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นจะประโยชน์แก่ประเทศไทย แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่น ๆ ด้วย และเป็นการแสดงถึงความสำคัญอย่างมากที่ UNESCO ให้แก่ไทย
2. ยูเนสโกได้เชิญ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ในการประชุมประจำปีของยูเนสโก เดือนตุลาคม 2548 ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตอบรับในหลักการแล้ว
3. การที่ไทยเป็นสมาชิกยูเนสโก ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1949 ทำให้ไทยได้มีบทบาท และได้ร่วมมือกับยูเนสโกอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน และขณะนี้ ไทยมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับยูเนสโกในการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาน้อยกว่า อันจะเป็นการลดช่องว่างทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ อันเป็นการแสดงบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของไทยในการพัฒนาภูมิภาค รวมทั้งประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย ยูเนสโกก็ได้เห็นบทบาทของไทย โดยได้จัดตั้งสำนักงานสาขาขนาดใหญ่ในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานของยูเนสโกในภูมิภาคนี้
4. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงบทบาทของยูเนสโกในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับเตือนภัยสึนามิในเขตมหาสมุทรอินเดีย เนื่องจากหน่วยงานของยูเนสโกมีบทบาทด้านนี้มากว่า 40 ปี ซึ่งขณะนี้ ยูเนสโกพร้อมที่จะช่วยประเทศในมหาสมุทรอินเดียในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยเฉพาะการช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมบุคลากรในการทำงานโดยเร็วที่สุด โดยไทยพร้อมในการเป็นศูนย์กลางในการเตือนภัยศูนย์หนึ่งในภูมิภาค ส่วนบทบาทของศูนย์เตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ยูเนสโกจะดำเนินการศึกษาต่อไปว่าศูนย์ ฯ ควรมีบทบาทเป็นองค์กรระดับชาติหรือเป็น APDC ต่อไป นอกจากนี้ ยูเนสโกกับไทยจะร่วมกันศึกษาถึงจุดอ่อน จุดแข็งของ ADPC ด้วย
5. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับบทบาทของยูเนสโกและไทยที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา ซึ่งการที่จะทำให้ประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์นั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาที่ทำให้คนสามารถคิดล่วงหน้า แก้ปัญหา และป้องกันปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยจะร่วมมือกับยูเนสโกต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-