สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอนที่ 1)
โดย เจะอามิง โตะตาหยง
อดีต สส.นราธิวาส / ประธานคณะทำงานด้านการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มุมมอง ด้านการเมือง การปกครอง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สภาพปัญหา
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเทพา อำเภอจะนะ และอำเภอสะบ้าย้อย) ปัจจุบันได้สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงของรัฐ กำลังเผชิญอย่างเป็นรูปธรรม
การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้จากเดิม ที่ปักหลักต่อสู้ในพื้นที่กันดาร มาเป็นการต่อสู้โดยอาศัยมวลชน เป็นเกราะกำบัง จาก ป่า - สู่เมือง
ประเด็นที่น่าสนใจปัจจุบัน แนวร่วมของขบวนการโจรก่อการร้ายกลับเป็นสงครามมวลชน และอุดมการณ์ ที่คนหนุ่มสาวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งวิ่งเข้าหาเพื่อต้องการเข้าร่วมอุดมการณ์และต่อสู้กับอำนาจรัฐ จำนวนไม่น้อย เป็นภาพที่สะเทือนใจแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับข้าราชการในท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนอำนาจของรัฐบาลอย่างชัดเจน
ปัญหาในภาคใต้ มิใช่เพิ่งจะเกิดขึ้น หากแต่มีความเกี่ยวพันกันมากับความต้องการปกครองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐเอกราช ของขบวนการก่อความไม่สงบ (คือกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์และความคิดแตกต่างออกไปจากรัฐบาล เป็นความคิดของคนส่วนน้อย ของประชากรในพื้นที่ )
ที่น่าสังเกต อำนาจของขบวนการก่อความไม่สงบ สามารถสะกดจิต ให้ประชากรส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของตนเองได้อย่างเหนือชั้น ในขณะที่ฝ่ายรัฐเอง ยังตั้งท่าปรับขบวนอยู่ตลอดเวลา
รัฐไม่สามารถเดินไปข้างหน้ากับการแก้ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างสะดวกนัก มัวแต่พะวงอยู่กับอำนาจสั่งการ ในการปฏิบัติหน้าที่ และความไม่เป็นเอกภาพขององค์กรรัฐ ที่ขาดเจ้าภาพ ในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ในการสั่งการ ทำให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ ไม่แน่ใจกับการที่จะรับคำสั่งจากหน่วยไหนกันแน่
ง่าย ๆ คือองค์กรของรัฐทุกฝ่ายต่างแย่งชิงอำนาจ ในการแก้ปัญหาด้วยกันเอง ทำให้เกิด ข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรรัฐขึ้น
กลไกรัฐเกิดการปีนเกลียว ฟันเฟือง เกิดการสึกหรอ จนทำให้การขับเคลื่อนในการแก้ปัญหา เป็นไปอย่าง ช้า ๆ เกิดจากความระแวง ระหว่างองค์กรของรัฐกันเอง
วันนี้ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้น กลไกที่เคยสึกเหรอ เริ่มได้รับการแก้ไข ทำให้การขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง ถึงไปได้ไม่มากนัก แต่สามารถขับเคลื่อนได้ รอยร้าว ที่เคยเกิดขึ้น เริ่มมีการประสานรอยร้าวบ้าง ถือเป็นนิมิตที่ดี ต่อการแก้ปัญหา
ในขณะที่ฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ กดดันรัฐด้วยการสร้างอาณาจักรแห่งความ เกรงกลัว ด้วยการวางระเบิด ฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐ ฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำลายเส้นทางคมนาคม เพื่อไม่ให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เกิดเหตุเป็นระยะ ๆ เบาบางลงบ้าง หรือจะเป็นการรอจังหวะ เพื่อก่อการอีกเมื่อช่วงจังหวะอำนวยให้
ผลจากการสร้างอาณาจักรให้ประชาชนเกิดความเกรงกลัวอำนาจของขบวนการก่อความ ไม่สงบ มีผลทำให้ประชาชนเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าให้ความร่วมมือกับฝ่ายรัฐ
ในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบกันทุกฝ่าย ทั้ง ประชาชนที่นับถือ ศาสนาพุทธ และอิสลาม ได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน
นับรวมยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม2547 จนถึง 15 มิถุนายน 2550 จากยอดเดิมอยู่ที่ 2,352 ราย เพิ่มตัวเลขผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2550 จำนวน 46 รายทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิต จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อยู่ที่ รวม 2,398 ราย (ศูนย์ข่าวอิสรา)
ปัญหาในภาคใต้ ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้จะต้องจับตามองอย่าได้กระพริบตา กรณีมักจะมีผู้ที่หวังดี ไม่เข้าใจสถานการณ์ ตั้งใจอยากจะเข้าไปทำงาน ช่วยเหลือ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ด้วยความจริงใจ และบริสุทธิใจ
แต่ไม่รู้จักกาลเทศะ แทนที่จะเป็นผลดีต่อการแก้ปัญหา กลับกลายเป็นการประสงค์ร้าย ด้วยซ้ำไปหรือไม่ ไม่อาจจะทราบได้ ลองนึกทบทวนดูตนก่อนเข้าไปช่วยเหลือในการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การแสดงความเป็นห่วง เพื่อนร่วมชาติ ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก เป็นสิ่งที่ดี บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้แยกแยะ ปัญหาคนที่ดี กับคนไม่ดี ต้องแยกออกจากกัน อย่ามีอคติ ต่อกัน ต้องไม่ซ้ำเติมปัญหาที่จะนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างกัน เพิ่มขึ้นอีก
อยากให้เก็บความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้คนในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บไว้ในลิ้นชักสมองไว้ชั่วคราว ไม่ใช่ว่าชอบใคร หลงใคร ก็ปกป้องคนนั้น ทั้ง ๆ ที่เขาทำผิดมหันต์ หรือเกลียดใคร ก็ตำหนิคนนั้น ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไรเลย
สิ่งที่เป็นห่วง และไม่อยากเห็นความแตกแยกในสังคมมากไปกว่านี้ ขออย่าได้มีอคติต่อประชาชนผู้บริสุทธิส่วนใหญ่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือมีความลำเอียงต่อกันมากกว่าที่เป็นอยู่
ณ วันนี้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปรียบเสมือน คนเราที่ใส่แว่นสี ถ้าเราใส่แว่นสีอะไร เราก็มักจะมองเป็นสีแว่นที่เราใส่ตลอดเวลา การใส่แว่นสีเขียว จะมองเห็นทุกสิ่งเป็นสีเขียว คนใส่แว่นสีแดงจะมองทุกสิ่งเป็นสีแดง คนใส่แว่นสีเหลือง จะมองเห็นแต่สีเหลือง
การใส่แว่นสีทำให้เราไม่สามารถเห็นสีที่แท้จริง คือสีอะไรไม่มีทางทราบ แต่ที่แน่ ๆ สีที่เห็นเป็นสีที่ ผิดธรรมชาติ
อยากเห็นคนที่อยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกฝ่ายหันกลับมาใส่แว่นสีขาว จะทำให้สามารถเห็นสีที่แท้จริง คืออะไร
การแก้ปัญหา ต้องระวังกลุ่ม ปั่นหัว จิ้งหรีด ให้กัดกัน
เดี่ยวจะกลายเป็นการเตะลูกบอลเข้าทางฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบอีกเป็นรอบที่สอง สิ่งที่สำคัญต้องอย่าได้ใช้อารมณ์ ในการตัดสิน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น กับการแก้ปัญหาภาคใต้
อย่าพยายามโยงปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ไปเกี่ยวข้องกับศาสนา ทั้ง ๆ ปัญหามิได้เกิดจากปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนา แต่ประการใด รัฐบาลควรติดตามปัญหานี้อย่างใก้ลชิด ด้วยความระมัดระวังให้รอบคอบ กับปัญหาที่ละเอียดอ่อน ให้มาก
หากแต่เงื่อนไขของปัญหาเกิดจากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการใช้อำนาจรัฐเหนือกว่ากฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐบางราย ในสมัยรัฐบาลภายใต้การนำของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
การใช้อำนาจเหนือกว่ากฎหมาย กลายเป็นเหยื่อ ให้กับฝ่ายก่อความไม่สงบ ไล่ตะครุบใช้สถานการณ์ ปลูกระดม มวลชน สร้างกระแส อ้างความชอบธรรม ความเป็นธรรม ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบางรายเข้าไปดำเนินการ อุ้ม ฆ่า ประชาชนส่วนหนึ่ง ว่ารัฐบาลไม่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน เรียกว่า สถานการณ์เข้าทางกลุ่มก่อความไม่สงบเข้าอย่างจัง
สถานการณ์ข้างต้น เปรียบเสมือนการเตะลูกบอลไปเข้าเท้าฝ่ายตรงข้าม นำเตะเข้าประตู นำชัย ไปก่อน
………….……………………………
มีต่อ ตอนที่สอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ก.ค. 2550--จบ--
โดย เจะอามิง โตะตาหยง
อดีต สส.นราธิวาส / ประธานคณะทำงานด้านการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มุมมอง ด้านการเมือง การปกครอง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สภาพปัญหา
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเทพา อำเภอจะนะ และอำเภอสะบ้าย้อย) ปัจจุบันได้สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงของรัฐ กำลังเผชิญอย่างเป็นรูปธรรม
การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้จากเดิม ที่ปักหลักต่อสู้ในพื้นที่กันดาร มาเป็นการต่อสู้โดยอาศัยมวลชน เป็นเกราะกำบัง จาก ป่า - สู่เมือง
ประเด็นที่น่าสนใจปัจจุบัน แนวร่วมของขบวนการโจรก่อการร้ายกลับเป็นสงครามมวลชน และอุดมการณ์ ที่คนหนุ่มสาวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งวิ่งเข้าหาเพื่อต้องการเข้าร่วมอุดมการณ์และต่อสู้กับอำนาจรัฐ จำนวนไม่น้อย เป็นภาพที่สะเทือนใจแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับข้าราชการในท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนอำนาจของรัฐบาลอย่างชัดเจน
ปัญหาในภาคใต้ มิใช่เพิ่งจะเกิดขึ้น หากแต่มีความเกี่ยวพันกันมากับความต้องการปกครองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐเอกราช ของขบวนการก่อความไม่สงบ (คือกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์และความคิดแตกต่างออกไปจากรัฐบาล เป็นความคิดของคนส่วนน้อย ของประชากรในพื้นที่ )
ที่น่าสังเกต อำนาจของขบวนการก่อความไม่สงบ สามารถสะกดจิต ให้ประชากรส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของตนเองได้อย่างเหนือชั้น ในขณะที่ฝ่ายรัฐเอง ยังตั้งท่าปรับขบวนอยู่ตลอดเวลา
รัฐไม่สามารถเดินไปข้างหน้ากับการแก้ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างสะดวกนัก มัวแต่พะวงอยู่กับอำนาจสั่งการ ในการปฏิบัติหน้าที่ และความไม่เป็นเอกภาพขององค์กรรัฐ ที่ขาดเจ้าภาพ ในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ในการสั่งการ ทำให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ ไม่แน่ใจกับการที่จะรับคำสั่งจากหน่วยไหนกันแน่
ง่าย ๆ คือองค์กรของรัฐทุกฝ่ายต่างแย่งชิงอำนาจ ในการแก้ปัญหาด้วยกันเอง ทำให้เกิด ข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรรัฐขึ้น
กลไกรัฐเกิดการปีนเกลียว ฟันเฟือง เกิดการสึกหรอ จนทำให้การขับเคลื่อนในการแก้ปัญหา เป็นไปอย่าง ช้า ๆ เกิดจากความระแวง ระหว่างองค์กรของรัฐกันเอง
วันนี้ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้น กลไกที่เคยสึกเหรอ เริ่มได้รับการแก้ไข ทำให้การขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง ถึงไปได้ไม่มากนัก แต่สามารถขับเคลื่อนได้ รอยร้าว ที่เคยเกิดขึ้น เริ่มมีการประสานรอยร้าวบ้าง ถือเป็นนิมิตที่ดี ต่อการแก้ปัญหา
ในขณะที่ฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ กดดันรัฐด้วยการสร้างอาณาจักรแห่งความ เกรงกลัว ด้วยการวางระเบิด ฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐ ฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำลายเส้นทางคมนาคม เพื่อไม่ให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เกิดเหตุเป็นระยะ ๆ เบาบางลงบ้าง หรือจะเป็นการรอจังหวะ เพื่อก่อการอีกเมื่อช่วงจังหวะอำนวยให้
ผลจากการสร้างอาณาจักรให้ประชาชนเกิดความเกรงกลัวอำนาจของขบวนการก่อความ ไม่สงบ มีผลทำให้ประชาชนเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าให้ความร่วมมือกับฝ่ายรัฐ
ในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบกันทุกฝ่าย ทั้ง ประชาชนที่นับถือ ศาสนาพุทธ และอิสลาม ได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน
นับรวมยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม2547 จนถึง 15 มิถุนายน 2550 จากยอดเดิมอยู่ที่ 2,352 ราย เพิ่มตัวเลขผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2550 จำนวน 46 รายทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิต จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อยู่ที่ รวม 2,398 ราย (ศูนย์ข่าวอิสรา)
ปัญหาในภาคใต้ ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้จะต้องจับตามองอย่าได้กระพริบตา กรณีมักจะมีผู้ที่หวังดี ไม่เข้าใจสถานการณ์ ตั้งใจอยากจะเข้าไปทำงาน ช่วยเหลือ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ด้วยความจริงใจ และบริสุทธิใจ
แต่ไม่รู้จักกาลเทศะ แทนที่จะเป็นผลดีต่อการแก้ปัญหา กลับกลายเป็นการประสงค์ร้าย ด้วยซ้ำไปหรือไม่ ไม่อาจจะทราบได้ ลองนึกทบทวนดูตนก่อนเข้าไปช่วยเหลือในการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การแสดงความเป็นห่วง เพื่อนร่วมชาติ ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก เป็นสิ่งที่ดี บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้แยกแยะ ปัญหาคนที่ดี กับคนไม่ดี ต้องแยกออกจากกัน อย่ามีอคติ ต่อกัน ต้องไม่ซ้ำเติมปัญหาที่จะนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างกัน เพิ่มขึ้นอีก
อยากให้เก็บความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้คนในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บไว้ในลิ้นชักสมองไว้ชั่วคราว ไม่ใช่ว่าชอบใคร หลงใคร ก็ปกป้องคนนั้น ทั้ง ๆ ที่เขาทำผิดมหันต์ หรือเกลียดใคร ก็ตำหนิคนนั้น ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไรเลย
สิ่งที่เป็นห่วง และไม่อยากเห็นความแตกแยกในสังคมมากไปกว่านี้ ขออย่าได้มีอคติต่อประชาชนผู้บริสุทธิส่วนใหญ่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือมีความลำเอียงต่อกันมากกว่าที่เป็นอยู่
ณ วันนี้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปรียบเสมือน คนเราที่ใส่แว่นสี ถ้าเราใส่แว่นสีอะไร เราก็มักจะมองเป็นสีแว่นที่เราใส่ตลอดเวลา การใส่แว่นสีเขียว จะมองเห็นทุกสิ่งเป็นสีเขียว คนใส่แว่นสีแดงจะมองทุกสิ่งเป็นสีแดง คนใส่แว่นสีเหลือง จะมองเห็นแต่สีเหลือง
การใส่แว่นสีทำให้เราไม่สามารถเห็นสีที่แท้จริง คือสีอะไรไม่มีทางทราบ แต่ที่แน่ ๆ สีที่เห็นเป็นสีที่ ผิดธรรมชาติ
อยากเห็นคนที่อยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกฝ่ายหันกลับมาใส่แว่นสีขาว จะทำให้สามารถเห็นสีที่แท้จริง คืออะไร
การแก้ปัญหา ต้องระวังกลุ่ม ปั่นหัว จิ้งหรีด ให้กัดกัน
เดี่ยวจะกลายเป็นการเตะลูกบอลเข้าทางฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบอีกเป็นรอบที่สอง สิ่งที่สำคัญต้องอย่าได้ใช้อารมณ์ ในการตัดสิน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น กับการแก้ปัญหาภาคใต้
อย่าพยายามโยงปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ไปเกี่ยวข้องกับศาสนา ทั้ง ๆ ปัญหามิได้เกิดจากปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนา แต่ประการใด รัฐบาลควรติดตามปัญหานี้อย่างใก้ลชิด ด้วยความระมัดระวังให้รอบคอบ กับปัญหาที่ละเอียดอ่อน ให้มาก
หากแต่เงื่อนไขของปัญหาเกิดจากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการใช้อำนาจรัฐเหนือกว่ากฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐบางราย ในสมัยรัฐบาลภายใต้การนำของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
การใช้อำนาจเหนือกว่ากฎหมาย กลายเป็นเหยื่อ ให้กับฝ่ายก่อความไม่สงบ ไล่ตะครุบใช้สถานการณ์ ปลูกระดม มวลชน สร้างกระแส อ้างความชอบธรรม ความเป็นธรรม ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบางรายเข้าไปดำเนินการ อุ้ม ฆ่า ประชาชนส่วนหนึ่ง ว่ารัฐบาลไม่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน เรียกว่า สถานการณ์เข้าทางกลุ่มก่อความไม่สงบเข้าอย่างจัง
สถานการณ์ข้างต้น เปรียบเสมือนการเตะลูกบอลไปเข้าเท้าฝ่ายตรงข้าม นำเตะเข้าประตู นำชัย ไปก่อน
………….……………………………
มีต่อ ตอนที่สอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ก.ค. 2550--จบ--